โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แจ็กคัล

ดัชนี แจ็กคัล

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแจ็กคัลทั้ง 3 ชนิด แจ็กคัล (Jackal) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์สุนัข (Canidae) ในสกุล Canis จำพวกหนึ่ง แจ็กคัลจะมีขนาดเล็กกว่าหมาป่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก โดยที่คำว่า "jackal" นั้น แผลงมาจากคำว่า "ชะฆาล" (شغال, shaghāl) ในภาษาเปอร์เซีย หรือคำว่า "ชาคัล" (çakal) ในภาษาตุรกี หรือมาจากคำว่า "ศฤคาล" (शृगाल, śṛgāla) ในภาษาสันสกฤต แจ็กคัลมีทั้งหมด 3 ชนิด กระจายพันธุ์ไปทั้งทวีปเอเชีย, ยุโรปบางส่วน และแอฟริกา ได้แก่ หมาจิ้งจอกทอง (Canis aureus), หมาจิ้งจอกข้างลาย (C. adustus) และหมาจิ้งจอกหลังดำ (C. mesomelas) ซึ่งชนิดแรกนั้นพบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมถึงในประเทศไทย), แอฟริกาตอนเหนือและบางส่วนของยุโรป ส่วนสองชนิดหลังนั้นพบเฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว หมาป่าไคโยตี (C. latrans) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งที่ถูกเรียกว่า "อเมริกันแจ็กคัล" ด้วยเหมือนกัน.

11 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญภาษาสันสกฤตภาษาตุรกีภาษาเปอร์เซียสปีชีส์หมาจิ้งจอกหมาจิ้งจอกหลังดำหมาจิ้งจอกทองหมาจิ้งจอกข้างลายหมาป่าหมาป่าไคโยตี

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: แจ็กคัลและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: แจ็กคัลและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: แจ็กคัลและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: แจ็กคัลและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: แจ็กคัลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกหลังดำ

หมาจิ้งจอกหลังดำ หรือ หมาจิ้งจอกหลังเงิน (black-backed jackal, silver-backed jackal, red jackal) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่งในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาจำพวกแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีใบหูใหญ่ ปลายหางมีสีดำ ช่วงขาสั้นกว่าหมาจิ้งจอกข้างลาย (C. adustus) ตัวผู้กับตัวเมียมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันแต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย มีความสูงจากหัวไหล่ถึงปลายเท้า 40–45 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 70–80 เซนติเมตร ความยาวหาง 28–35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 6–13.5 กิโลกรัม อายุโดยเฉลี่ย 8–10 ปี พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา โดยเป็นแจ็กคัลชนิดที่หาได้ง่ายที่สุด พบเห็นได้บ่อยที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยจะอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กึ่งทะเลทราย จะจับคู่เพียงคู่เดียวไปตลอดทั้งชีวิตและช่วยกันปกป้องถิ่นอาศัยและถิ่นหากิน หมาจิ้งจอกหลังดำเป็นนักฉกฉวยโอกาสแย่งกินซากสัตว์จากสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ แต่เมื่อมีโอกาสก็จะล่าลูกแอนทีโลป หรือลูกกวางขนาดเล็ก เป็นอาหารได้ รวมถึงหนู, นกที่หากินตามพื้นดิน ลูกหมาขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น เสือดาว, อินทรีขนาดใหญ่, งูเหลือม.

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาจิ้งจอกหลังดำ · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกทอง

หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย (pmc Reed wolf) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) และถึงแม้ว่าจะได้ชื่อสามัญว่าในภาษาไทยว่า "หมาจิ้งจอก" แต่ก็มิได้เป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะมิได้อยู่ในสกุล Vulpini แต่จัดเป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็ก (แจ็กคัล) กว่าหมาใน.

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาจิ้งจอกทอง · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกข้างลาย

หมาจิ้งจอกข้างลาย (side-striped jackal) สัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) จัดเป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็กกว่าหมาป่า และหมาใน ด้วยเป็นแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีความแตกต่างจากแจ็กคัลชนิดอื่น ๆ โดยมีใบหน้าที่แหลมน้อยกว่า ใบหูมนกว่า ปลายหางเป็นสีขาว และมีลายเส้นสีขาวเส้นเดียวพาดทแยงตามทั้งสองข้างลำตัว มีความใกล้เคียงกับหมาจิ้งจอกหลังดำ (C. mesomelas) ซึ่งเป็นแจ็กคัลอีกชนิดหนึ่ง มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า มีความสูงจากปลายเท้าถึงหัวไหล่ 40–45 เซนติเมตร ความยาว 70–80 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 7–13 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและมีน้ำหนักมากกว่า พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดเป็นแจ็กคัลชนิดที่พบได้ยากที่สุด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูแลลูกที่อยู่กันเป็นคู่ มีการจับคู่แบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต อาศัยอยู่ในสถานที่ ๆ เป็นทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ กินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย, นกที่หากินตามพื้นดิน, สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังอาจล่าสัตว์กีบที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกแอนทีโลป หรือแอนทีโลปขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย โดยเฉพาะการล่าแบบคู่ โดยคู่ผสมพันธุ์ มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 57–70 วัน พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเหมือนกับแจ็คเกิลชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงดู ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลรังและดูแลลูกมากกว่า แต่ก็อาจจะช่วยตัวผู้ล่าเหยื่อได้ในบางครั้ง ลูกขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น เสือดาว, ไฮยีน่า, งูเหลือม, อินทรีขนาดใหญ.

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาจิ้งจอกข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่าไคโยตี

หมาป่าโคโยตี หรือ ไคโยตี หรือ ไคโยต หรือ โคโยตี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นหมาป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลหมาใกล้เคียงกับหมาบ้าน หมาป่าไคโยตีมักออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วงชีวิตของหมาป่าไคโยตีประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ หมาป่าไคโยตีถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และแถบคอสตาริกา ซึ่งภายหลังหมาป่าไคโยตีได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: แจ็กคัลและหมาป่าไคโยตี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jackalแจ็คเกิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »