โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หน้าลายพรม

ดัชนี หน้าลายพรม

หน้าลายพรม (Carpet page) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะ ซึ่งเป็นหน้าหนังสือที่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายตกแต่งที่เป็นลายเรขาคณิต ที่อาจจะรวมทั้งรูปสัตว์ที่วาดซ้ำกันเป็นลาย งานลักษณะนี้มักจะใช้เป็นหน้าเริ่มต้นของพระวรสารแต่ละตอนของพระวรสารสี่ฉบับ คำว่า “หน้าลายพรม” หมายถึงหน้าหนังสือวิจิตรของศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลามที่ไม่ข้อคความ และจะมีก็แต่ลวดลายตกแต่งเท่านั้น หน้าลายพรมแตกต่างจากหน้าที่อุทิศให้กับหน้าที่มีอักษรตัวต้นประดิษฐ์ แม้ว่าการตกแต่งโดยทั่วไปแล้วจะคล้ายคลึงกันก็ตาม หน้าลายพรมเป็นหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการตกแต่งด้วยสีสันอันสดใส, เส้นที่มีพลัง และลายสอดประสานอันซับซ้อน ลักษณะของการตกแต่งมักจะมีความสมมาตร หรือเกือบจะมีความสมมาตร ทั้งตามแนวนอนและตามแนวตั้ง นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปะที่มีต้นรากมาจากการตกแต่งหน้าหนังสือของชาวค็อพท์ และที่แน่ที่สุดคือเป็นงานที่ยืมมาจากงานโลหะร่วมสมัย และพรมโอเรียนทัลหรือผ้าแบบอื่นๆ เองก็อาจจะมีอิทธิพลต่อหน้าลายพรมดังกล่าวด้วย ตราและหนังสือพระวรสารสโตนีเฮิร์สท์ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเขียนหน้าลายพรมอย่างง่ายๆ และงานหน้าปกโลหะอีกสองสามชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากสมัยเดียวกันเช่น “พระวรสารลินเดา” ก็เป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่มาอีกแห่งหนึ่งคือลวดลายของพื้นโมเสกของโรมันที่พบในบริเตนในสมัยหลังโรมัน “พระวรสารไคเรนซิส” ภาษาฮิบรูจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็มีหน้าหนังสือที่คล้ายกันกับหน้าลายพรม งานชิ้นแรกที่สุดที่มีหน้าลายพรมมาจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 “หนังสือบอบบิโอ โอโรซิอัส” และมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตกแต่งของปลายยุคโบราณมากกว่า งานหน้าลายพรมที่สำคัญๆก็ได้แก่ “พระวรสารเคลล์ส”, “พระวรสารลินดิสฟาร์น”, “พระวรสารเดอร์โรว์” และหนังสือวิจิตรฉบับอื่น.

10 ความสัมพันธ์: พระวรสารพระวรสารลินดิสฟาร์นพระวรสารเคลล์สภาษาฮีบรูลายสอดประสานศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันอักษรตัวต้นประดิษฐ์งานโมเสกประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและพระวรสารลินดิสฟาร์น · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารเคลล์ส

ระวรสารเคลล์ส หรือ พระวรสารโคลัมบา (Leabhar Cheanannais Book of Kells หรือ Book of Columba) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละตินที่ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่พร้อมด้วยเนื้อหาอื่นๆ และตาราง “พระวรสารเคลล์ส” ที่เป็นงานที่เขียนขึ้นโดยนักบวชเคลต์เมื่อราวปี ราว ค.ศ. 800 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น เป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนอักษรวิจิตรของยุโรปและเป็นงานที่แสดงถึงจุดสุดยอดของงานเขียนหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ และเป็นสมบัติของชาติชิ้นสำคัญของไอร์แลนด์ เนื้อหาของพระวรสารส่วนใหญ่นำมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติน แต่ก็มีหลายส่วนที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับก่อนหน้านั้นที่เรียกกันว่า “คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินเดิม” (Vetus Latina) ภาพวาดและงานตกแต่ง “พระวรสารเคลล์ส” เป็นฝีมือที่งดงามกว่าพระวรสารฉบับอื่นใดของหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ ทั้งในด้านความหรูหราและความซับซ้อน การตกแต่งรวมธรรมเนียมนิยมของการเขียนรูปสัญลักษณ์ของศิลปะคริสต์ศาสนา เข้ากับลวดลายสอดผสานอันเป็นแบบฉบับของศิลปะเกาะอันหรูหรา รูปลักษณ์ของมนุษย์, สัตว์ และ สัตว์ในตำนาน พร้อมด้วยเงื่อนเคลติค และ ลายสอดประสานอันเต็มไปด้วยสีสันอันสดใสทำให้งานหนังสือวิจิตรเป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังและมีชีวิตจิตใจ องค์ประกอบของสิ่งตกแต่งข้างเคียงเหล่านี้ผสานไปด้วยสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการช่วยเน้นเนื้อหาของภาพหลักที่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมไปด้วย “พระวรสารเคลล์ส” ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 340 สี่หน้ายกและตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: หน้าลายพรมและพระวรสารเคลล์ส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: หน้าลายพรมและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ลายสอดประสาน

ลายสอดประสาน (Interlace) ในด้านทัศนศิลป์ “ลายสอดประสาน" คือองค์ประกอบของงานตกแต่งที่พบในศิลปะสมัยกลาง ในงานสอดประสานจะเป็นแถบหรือลวดลายที่กระหวัด สาน หรือผูกเป็นเงื่อน เป็นลักษณะโครงสร้างของเรขาคณิตที่มักจะเขียนเติมให้เต็มเนื้อที่ที่ว่างอยู่ ลายสอดประสานของอิสลามและเงื่อนเคลต์มีลักษณะรูปแบบและโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีต้นตอมาจากรากเหง้าเดียวกัน ศิลปะลายสอดประสานนิยมสร้างกันในงานของศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานของยุโรปเหนือโดยเฉพาะศิลปะเกาะของเกาะบริติชและศิลปะนอร์สของยุคกลางตอนต้น.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและลายสอดประสาน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน หรือ ศิลปะเกาะ (Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซกซัน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า "the Insular period in art" ซึ่งมาจากคำว่า "insula" ของภาษาละตินที่แปลว่า "เกาะ" ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตนและไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปและศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ของศาสนาคริสต์แบบเคลต์ หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว..

ใหม่!!: หน้าลายพรมและศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวต้นประดิษฐ์

อักษรตัวต้นประดิษฐ์ (Historiated initial หรือ Inhabited initial) เป็นอักษรตัวแรกของย่อหน้าหรือบางส่วนของบทเขียนที่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรตัวที่ตามมาที่จะประกอบด้วยภาพตกแต่ง ส่วนความหมายที่เฉพาะเจาะจงของ “อักษรตัวต้นตกแต่ง” (Inhabited initial) ที่ตกแต่งด้วยรูปลักษณ์ของคนหรือสัตว์จะใช้ในการตกแต่งเท่านั้นโดยไม่มีเนื้อหาเช่น “อักษรตัวต้นประดิษฐ์” อักษรดังกล่าวพบเป็นครั้งแรกในศิลปะเกาะเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตัวอย่างของงานแรกที่ใช้อักษรตัวต้นประดิษฐ์พบใน “หนังสือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบีด” ซึ่งเป็นหนังสือต้นฉบับศิลปะเกาะที่เขียนขึ้นระหว่างราวปี..

ใหม่!!: หน้าลายพรมและอักษรตัวต้นประดิษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: หน้าลายพรมและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Carpet page

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »