โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน vs. หน้าลายพรม

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน หรือ ศิลปะเกาะ (Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซกซัน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า "the Insular period in art" ซึ่งมาจากคำว่า "insula" ของภาษาละตินที่แปลว่า "เกาะ" ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตนและไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปและศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ของศาสนาคริสต์แบบเคลต์ หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว.. หน้าลายพรม (Carpet page) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะ ซึ่งเป็นหน้าหนังสือที่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายตกแต่งที่เป็นลายเรขาคณิต ที่อาจจะรวมทั้งรูปสัตว์ที่วาดซ้ำกันเป็นลาย งานลักษณะนี้มักจะใช้เป็นหน้าเริ่มต้นของพระวรสารแต่ละตอนของพระวรสารสี่ฉบับ คำว่า “หน้าลายพรม” หมายถึงหน้าหนังสือวิจิตรของศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลามที่ไม่ข้อคความ และจะมีก็แต่ลวดลายตกแต่งเท่านั้น หน้าลายพรมแตกต่างจากหน้าที่อุทิศให้กับหน้าที่มีอักษรตัวต้นประดิษฐ์ แม้ว่าการตกแต่งโดยทั่วไปแล้วจะคล้ายคลึงกันก็ตาม หน้าลายพรมเป็นหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการตกแต่งด้วยสีสันอันสดใส, เส้นที่มีพลัง และลายสอดประสานอันซับซ้อน ลักษณะของการตกแต่งมักจะมีความสมมาตร หรือเกือบจะมีความสมมาตร ทั้งตามแนวนอนและตามแนวตั้ง นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปะที่มีต้นรากมาจากการตกแต่งหน้าหนังสือของชาวค็อพท์ และที่แน่ที่สุดคือเป็นงานที่ยืมมาจากงานโลหะร่วมสมัย และพรมโอเรียนทัลหรือผ้าแบบอื่นๆ เองก็อาจจะมีอิทธิพลต่อหน้าลายพรมดังกล่าวด้วย ตราและหนังสือพระวรสารสโตนีเฮิร์สท์ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเขียนหน้าลายพรมอย่างง่ายๆ และงานหน้าปกโลหะอีกสองสามชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากสมัยเดียวกันเช่น “พระวรสารลินเดา” ก็เป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่มาอีกแห่งหนึ่งคือลวดลายของพื้นโมเสกของโรมันที่พบในบริเตนในสมัยหลังโรมัน “พระวรสารไคเรนซิส” ภาษาฮิบรูจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็มีหน้าหนังสือที่คล้ายกันกับหน้าลายพรม งานชิ้นแรกที่สุดที่มีหน้าลายพรมมาจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 “หนังสือบอบบิโอ โอโรซิอัส” และมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตกแต่งของปลายยุคโบราณมากกว่า งานหน้าลายพรมที่สำคัญๆก็ได้แก่ “พระวรสารเคลล์ส”, “พระวรสารลินดิสฟาร์น”, “พระวรสารเดอร์โรว์” และหนังสือวิจิตรฉบับอื่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวรสารลินดิสฟาร์นพระวรสารเคลล์สเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

พระวรสารลินดิสฟาร์นและศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน · พระวรสารลินดิสฟาร์นและหน้าลายพรม · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารเคลล์ส

ระวรสารเคลล์ส หรือ พระวรสารโคลัมบา (Leabhar Cheanannais Book of Kells หรือ Book of Columba) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละตินที่ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่พร้อมด้วยเนื้อหาอื่นๆ และตาราง “พระวรสารเคลล์ส” ที่เป็นงานที่เขียนขึ้นโดยนักบวชเคลต์เมื่อราวปี ราว ค.ศ. 800 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น เป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนอักษรวิจิตรของยุโรปและเป็นงานที่แสดงถึงจุดสุดยอดของงานเขียนหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ และเป็นสมบัติของชาติชิ้นสำคัญของไอร์แลนด์ เนื้อหาของพระวรสารส่วนใหญ่นำมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติน แต่ก็มีหลายส่วนที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับก่อนหน้านั้นที่เรียกกันว่า “คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินเดิม” (Vetus Latina) ภาพวาดและงานตกแต่ง “พระวรสารเคลล์ส” เป็นฝีมือที่งดงามกว่าพระวรสารฉบับอื่นใดของหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ ทั้งในด้านความหรูหราและความซับซ้อน การตกแต่งรวมธรรมเนียมนิยมของการเขียนรูปสัญลักษณ์ของศิลปะคริสต์ศาสนา เข้ากับลวดลายสอดผสานอันเป็นแบบฉบับของศิลปะเกาะอันหรูหรา รูปลักษณ์ของมนุษย์, สัตว์ และ สัตว์ในตำนาน พร้อมด้วยเงื่อนเคลติค และ ลายสอดประสานอันเต็มไปด้วยสีสันอันสดใสทำให้งานหนังสือวิจิตรเป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังและมีชีวิตจิตใจ องค์ประกอบของสิ่งตกแต่งข้างเคียงเหล่านี้ผสานไปด้วยสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการช่วยเน้นเนื้อหาของภาพหลักที่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมไปด้วย “พระวรสารเคลล์ส” ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 340 สี่หน้ายกและตั้งแต่ปี..

พระวรสารเคลล์สและศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน · พระวรสารเคลล์สและหน้าลายพรม · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · หน้าลายพรมและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ หน้าลายพรม มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 10.34% = 3 / (19 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »