โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ดัชนี หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (Royal Thai Marine Corps) มีหน้าที่บังคับบัญชา นาวิกโยธิน คือ ทหารที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติภารกิจ โดยมุ่งเน้นการรบภาคพื้นดิน นับ เป็นการรบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสนับสนุนการรบของทหารเรือ และอาจทำการรบร่วมกับทหารจากหน่วยรบอื่นๆ เช่น ทหารบก หรือ ทหารอากาศก็ได้ นาวิกโยธินจึงเปรียบเสมือนทหารเหล่าราบของกองทัพเรือนั่นเอง ทหารเรือฝ่ายนาวิกโยธินนับว่ามีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น.

38 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2498พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกบฏแมนฮัตตันกรณีพิพาทอินโดจีนกองทัพบกกองทัพบกไทยกองทัพอากาศกองทัพเรือไทยภาษาอังกฤษมาร์ชราชนาวิกโยธินรถถังหลักวันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)สหรัฐสุวิทย์ ธาระรูปสงครามแปซิฟิกสงครามโลกครั้งที่สองสนอง นิสาลักษณ์อำเภอสัตหีบอีซูซุจังหวัดชลบุรีทหารทหาร ขำหิรัญทหารรักษาพระองค์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยซิก ซาวเออร์ เอสเอสจี 3000ประเทศไทยปืนกลปืนกลหนักปืนใหญ่อัตตาจรปืนไรเฟิลซุ่มยิงปืนเล็กยาวจู่โจมแปลก พิบูลสงครามไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21เอ็ม 16เอ็ม 4 คาร์ไบน์เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 3630 กรกฎาคม5.56×45 มม. นาโต

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กบฏแมนฮัตตัน

กบฏแมนฮัตตัน หรือ กรณีแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา ร.น.ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกาภา ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี ประกาย พุทธารี สังกัดกรมนาวิกโยธิน และ นาวาตรี สุภัทร ตันตยาภรณ์ สังกัดกรมนาวิกโยธิน ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่ท่าราชวรดิฐ โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกบฏแมนฮัตตัน · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทอินโดจีน

กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเขตวีชีเหนือดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศส จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวปราศรัยแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมเรียกร้องเอาดินแดนอินโดจีน คืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม หลวงวิจิตรวาทการประกาศสงครามผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกรณีพิพาทอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบก

กองทัพบก คือกองกำลังทหารที่ปฏิบัติการในภาคพื้นดินเป็นหลัก มีหน้าที่ป้องกันและปฏิบัติการรบในภาคพื้นดิน กองทัพบกนับเป็นกองกำลังทหารที่กำเนิดขึ้นเป็นประเภทแรก หน่วยรบหลักในกองทัพบกแบ่งออกเป็น 3 เหล่าคือ.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกองทัพบกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกองทัพอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.).

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกองทัพเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ชราชนาวิกโยธิน

หรือ Royal Marines March เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๙ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและมาร์ชราชนาวิกโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

รถถังหลัก

ลพเพิร์ด 2เอ5ของกองทัพบกเยอรมัน รถถังหลัก (Main Battle Tank: MBT) คือ รถถังที่หลักที่เป็นหัวหอกในการรบ องค์ประกอบที่สำคัญคือ อำนาจการยิง(ความแม่นยำ อำนาจการทำลาย ความรวดเร็วในการใช้อาวุธ) ความคล่องตัว และการป้องกันตนเอง(เกราะ) โดยรถถังหลักจะต้องเป็นรถถังที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 37-65 ตันขึ้นไป และสามารถติดปืนใหญ่ตั้งแต่ขนาด 90-125 มม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและรถถังหลัก · ดูเพิ่มเติม »

วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)

วันเด็กแห่งชาติ ในไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและวันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สุวิทย์ ธาระรูป

ลเรือเอก สุวิทย์ ธาระรูป ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรของ นายสอาด และนางทวี ธาระรูป จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 (ตท.11-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์, พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร, พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล), โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 68 ระหว่างรับราชการได้เข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรที่สำคัญ ๆ อาทิ หลักสูตรจู่โจมจากโรงเรียนสงครามพิเศษ กองทัพบก, หลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธิน รุ่นที่ 1, หลักสูตรการรบพิเศษ แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน รุ่นที่ 15, หลักสูตรผู้ควบคุมการกระโดดร่ม จากโรงเรียนสงครามพิเศษ กองทัพบก, หลักสูตรเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 64 จากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก, หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 25 จากสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง, หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐเอกชนและการเมือง จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.) เป็นต้น นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาอบรมจากต่างประเทศ ได้แก่ หลักสูตรนายทหารสื่อสาร นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา, หลักสูตรการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรเสนาธิการทหารนาวิกโยธิน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น การรับราชการ ถือได้ว่า เป็นนายทหารที่เติบโตมาจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินโดยตรง โดยเริ่มจากตำแหน่ง ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก ร้อยปืนเล็กที่ 1 กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมนาวิกโยธิน เรื่อยมาจนถึงผู้บังคับบัญชา, รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีกด้วย จากนั้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งในผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลเรือเอก (พล.ร.อ.) และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกิจการศูนย์พัฒนากีฬาราชนาวี อีกด้วย ปัจจุบันเกษียณราชการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2554 ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางฐิติปรางค์ ธาระรูป มีบุตรชาย 2 คน คือ ร.อ.จักษ์ และ ดร.ปรบ ธาระรูป.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและสุวิทย์ ธาระรูป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนอง นิสาลักษณ์

ลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ อดีตนายทหารเรือ นักการทูต และนักการเมืองไท.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและสนอง นิสาลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและอำเภอสัตหีบ · ดูเพิ่มเติม »

อีซูซุ

ริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (いすゞ自動車株式会社:Isuzu Jidōsha Kabushiki-gaisha?; Isuzu Motors Ltd.) เป็นผู้ผลิตยานพาหนะส่วนบุคคล ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ และ รถบรรทุกของหนัก มีสำนักงานใหญ่ในโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2548 อีซูซุ คือ ผู้ผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองฟูจิซะวะ และยังมีที่ จังหวัดโทะจิงิ และ จังหวัดฮกไกโด อีกด้วย 31 ธันวาคม 2543.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและอีซูซุ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชลบุรี

ังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและจังหวัดชลบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร ขำหิรัญ

ลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ อดีตนายทหารนาวิกโยธินชาวไทย อดีตนักการเมือง และหนึ่งในคณะราษฎรสายทหารเรือ ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พล.ร.ต.ทหาร เดิมมีชื่อว่า ทองหล่อ ขำหิรัญ เป็นนายทหารเรือพรรคนาวิกโยธิน ในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและทหาร ขำหิรัญ · ดูเพิ่มเติม »

ทหารรักษาพระองค์

ร.1 รอ. ทหารรักษาพระองค์ คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างใกล้ชิด เฉพาะกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เนื่องด้วยเป็นหน่วยที่ถวายการรับใช้ต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดที่สุด (คำว่า "ราชวัลลภ" นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา).

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและทหารรักษาพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

นการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย หรือ ไฟใต้ เป็นความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ความขัดแย้งนี้กำเนิดในปี..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ซิก ซาวเออร์ เอสเอสจี 3000

ซิก ซาวเออร์ เอสเอสจี 3000 (SIG Sauer SSG 3000) เป็นปืนไรเฟิลที่ขึ้นลำโดยใช้ระบบลูกเลื่อน ป้อนกระสุนด้วยแมกกาซีนขนาด 5 นัด ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในกองทัพสวิสโดย สวิสอาร์มส เอจี ซึ้งปัจจุบันนี้ถูกควบรวมเป็นบริษัทลูกของ Schweizerische Industrie Gesellschaft (SIG) สัญชาติเยอรมนี และทำการตลาดปืนรุ่นนี้โดย ซิก ซาวเออร์ เอสเอสจี 3000 นิยมใช้งานเป็นปืนซุ่มยิงระยะไกล ในหน่วยงานตำรวจและทหารในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีน้ำหนักเบา เมื่อติดกล้องเล็งแล้วมีน้ำหนักเพียง 6.2 กิโลกรัม มีระยะยิงหวังผล 800 - 1,000 เมตร.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและซิก ซาวเออร์ เอสเอสจี 3000 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปืนกล

ปืนกล M2: ออกแบบโดย John Browning หนึ่งในปืนระยะหวังผลไกลและเป็นปืนกลที่ออกแบบดีที่สุด ปืนกล เป็นปืนที่ทำการยิงกระสุนออกไปพร้อมทั้งบรรจุกระสุนนัดต่อไปเข้ามาในรังเพลิงตามวงรอบการทำงานจนกว่าพลยิงจะเลิกเหนี่ยวไกหรือเมื่อกระสุนหม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและปืนกล · ดูเพิ่มเติม »

ปืนกลหนัก

ปืนกลหนัก Browning M2HB หรือชื่อในราชการกองทัพไทยคือ ปืนกลหนักแบบ 93 (ปกน.93) ปืนกลหนัก (Heavy machine gun) เป็นปืนกลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะต่างจากปืนกลเบา คือ มีขนาดและน้ำหนักของตัวปืนที่ใหญ่กว่ามาก มีอัตราการยิงสูง ส่วนใหญ่นิยมใช้สายกระสุน (Ammunition Belt) ในการบรรจุ บางรุ่นจำเป็นต้องมีขาหยั่งเพื่อติดตั้งปืนก่อนยิงเนื่องจากน้ำหนักของตัวปืนมีมาก ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้สะดวกนัก เช่น ปืนกล 93 หรือปืนกล Browning M2HB ที่จำเป็นต้องติดตั้งบนขาหยั่ง M3 ก่อนทำการยิง สำหรับปืนกลหนักที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2และในปัจจุบัน เช่น ปืนกล 93 จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดีและมีลำกล้องสำรอง เนื่องจากตัวปืนเมื่อทำการยิงไปนานๆ ลำกล้องปืนจะขยายตัวจนยิงทำกลุ่มกระสุนได้ไม่ดีนักและเกลียวลำกล้องรวมถึงชิ้นส่วนต่างๆจะสึกหรอเร็วมากจากความร้อนและการเสียดสี จึงต้องมีการพักปืนเป็นระยะหลังทำการยิงเพื่อระบายความร้อนออกไปก่อน ที่สำคัญหากทำการยิงต่อเนื่องไปเรื่อยๆจะมีการสะสมความร้อนในรังเพลิง จนอาจทำให้เกิดการ Cock Off หรือการจุดระเบิดเองของกระสุนในรังเพลิง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพลยิงและสร้างความเสียหายแก่ตัวปืนได้ หมวดหมู่:อาวุธปืน.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและปืนกลหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ปืนใหญ่อัตตาจร

ปืนใหญ่อัตตาจร (Self-propelled artillery) เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึงพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ และติดตั้งปืนใหญ่ ปืนฮาวอิตเซอร์ หรือเครื่องยิงจรวด สามารถเคลื่อนย้ายไปตามภูมิประเทศทุรกันดาร โดยอาจเป็นพาหนะล้อสายพานหรือล้อยาง ทำการยิงแล้วเคลื่อนย้ายที่ตั้งอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการตรวจจับสถานที่ตั้งและถูกโจมตีกลับ ปืนใหญ่อัตตาจรจะประจำการอยู่ในกองพันทหารปืนใหญ่ มีหน้าที่ยิงสนับสนุนทหารราบในแนวหน้าจากระยะไกล ปืนอัตตาจรสมัยใหม่อาจมีลักษณะคล้ายรถถัง และหุ้มเกราะขนาดกลาง บางรุ่นอาจติดตั้งปืนกลเพื่อป้องกันตนเองจากทหารราบของฝ่ายตรงข้าม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและปืนใหญ่อัตตาจร · ดูเพิ่มเติม »

ปืนไรเฟิลซุ่มยิง

M40, ปืนไรเฟิลซุ่มยิงมาตรฐานของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา คำศัพท์ในทางการทหารและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ปืนไรเฟิลซุ่มยิง (sniper rifle) คือปืนเล็กยาวที่สามารถวางต่ำแหน่งกระสุนได้แม่นยำในระยะยิงที่ไกลกว่าอาวุธปืนประจำกายชนิดอื่น ปืนไรเฟิลซุ่มยิงโดยทั่วไปจะถูกสร้างขั้นอย่างระมัดระวังในความถูกต้องเหมาะสม ติดตั้งกล้องเล็ง และรังเพลิงสำหรับปลอกกระสุนชนวนกลาง คำๆนี้บ่อยครั้งที่ในสื่อใช้บรรยายถึงปืนที่ติดตั้งกล้องส่องเพิ่มที่ใช้กับเป้าหมายที่เป็นบุคคล บทบาททางทหารของพลซุ่มยิง (คำนี้มาจากนกปากซ่อม (snipe) ซึ่งเป็นนกที่ล่าหรือยิงได้ยากมาก) สามารถสืบย้อนไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ปืนไรเฟิลซุ่มยิงที่แท้จริงกลับมีการพัฒนาเป็นอย่างมากเมื่อเร็วๆนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะกล้องส่องและอุตสาหกรรมการผลิตยิ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำให้กับปืน ยิ่งถูกใช้ด้วยบุคลากรทางกองทัพที่ได้รับการฝึกเป็นพิเศษปืนจะยิ่งได้แม่นยำไกลกว่าปืนไรเฟิลปกติ ปืนไรเฟิลซุ่มยิงอาจมีพื้นฐานจากปืนไรเฟิลพื้นฐานแต่เมื่อติดกล้องส่องมันก็จะกลายเป็นปืนไรเฟิลซุ่มยิง.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและปืนไรเฟิลซุ่มยิง · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาวจู่โจม

ปืนเอ็ม16 ประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ใช้กระสุนขนาด 5.56x45 มม. นาโต เป็นอาวุธปืนที่ประจำการยาวนานที่สุดในกองทัพสหรัฐ ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม (Assault rifle) เป็นปืนเล็กยาว ยิงด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติไปตามวงรอบจนกว่ากระสุนจะหมด ด้วยอัตราการยิงสูง ปืนเล็กยาวจู่โจมจัดเป็นอาวุธประจำกายของทหารในราชการกองทัพ ตามหลักนิยมในการจัดกำลัง 1 หมู่ (Squad) จะมีพลปืนเล็กจำนวน 5 นายและอีก 1 นายใช้ปืนเล็กกลหรือปืนกลเบา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรบ เช่น เอ็ม1 กาแรนด์และเอสวีที-40 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่างปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น เอเค 47 เอ็ม16 ฟามาส สไตเออร์ เอยูจี ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ เออาร์-15.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและปืนเล็กยาวจู่โจม · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

ไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21

ทาวอร์ ทาร์ 21 (IMI Tavor TAR-21) เป็นปืนเล็กยาวรุ่นใหม่ของอิสราเอล ออกแบบตั้งแต..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ม 16

อ็ม 16 เป็นชื่อทางราชการของอาวุธปืนเล็กยาวจู่โจมประจำกายที่ทาง ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดขึ้น ภายหลังการรับปืน AR-15 ขนาด 5.56 มม. ที่ออกแบบโดยยูจีน สโตนเนอร์ (Eugene Stoner) วิศวกรของบริษัทอาร์มาไลท์ (ArmaLite) เมื่อ..

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและเอ็ม 16 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ม 4 คาร์ไบน์

อ็ม 4 คาร์ไบน์ (M4 carbine) เป็นอาวุธปืนเล็กยาวอัตโนมัติที่พัฒนามาจากปืนเล็กยาวจู่โจมเอ็ม 16 ซึ่งเป็นปืนในตระกูล เออาร์-15ที่ออกแบบโดยยูจีน สโตนเนอร์ให้แก่บริษัทอาร์มาไลท์ มีความยาวและน้ำหนักน้อยกว่าเอ็ม16 มีชิ้นส่วนกว่าร้อยละ 80 ที่ใช้งานร่วมกับปืนเอ็ม 16 เอ 2 ได้ เอ็ม4สามารถเลือกระบบการยิงได้แก่ กึ่งอัตโนมัติและการยิงทีละ 3 นัด (เหมือนเอ็ม16เอ2) ขณะที่เอ็ม4เอ1มี"ระบบอัตโนมัติ"แทนที่ระบบยิงทีละ 3 นั.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและเอ็ม 4 คาร์ไบน์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 36

ลอร์แอนด์คอช จี 36 เป็นปืนจู้โจม ขนาดกระสุน 5.56 × 45 มม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและเฮคเลอร์แอนด์คอช จี 36 · ดูเพิ่มเติม »

30 กรกฎาคม

วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันที่ 211 ของปี (วันที่ 212 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 154 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและ30 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

5.56×45 มม. นาโต

'''จากซ้ายไปขวา''': 5.56×45 mm. NATO (SS109),.30-30 Winchester, 7.62×51 mm. NATO ('''หมายเหตุ''' กระสุน 5.56 มม. แบบ SS109 ของบริษัท FN จะไม่แต้มสีเขียวที่หัวกระสุนเหมือนกระสุน M855 ของสหรัฐฯ) กระสุนขนาด 5.56×45 มม.

ใหม่!!: หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและ5.56×45 มม. นาโต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นาวิกโยธินแห่งราชอาณาจักรไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »