โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏแมนฮัตตัน

ดัชนี กบฏแมนฮัตตัน

กบฏแมนฮัตตัน หรือ กรณีแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา ร.น.ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกาภา ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี ประกาย พุทธารี สังกัดกรมนาวิกโยธิน และ นาวาตรี สุภัทร ตันตยาภรณ์ สังกัดกรมนาวิกโยธิน ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่ท่าราชวรดิฐ โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน..

43 ความสัมพันธ์: ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนีพ.ศ. 2492พ.ศ. 2494พ.ศ. 2495พ.ศ. 2500พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรพระที่นั่งอนันตสมาคมกบฏวังหลวงกฎอัยการศึกกรมอู่ทหารเรือกรุงเทพกองทัพอากาศไทยกองทัพเรือไทยรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทยรายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทยวังปารุสกวันวัน แบงค็อกวินทร์ เลียววาริณสภาผู้แทนราษฎรสฤษดิ์ ธนะรัชต์สะพานพระพุทธยอดฟ้าหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนผิน ชุณหะวัณจังหวัดพระนครจังหวัดธนบุรีถนนวิทยุทหาร ขำหิรัญทำเนียบรัฐบาลไทยท่าราชวรดิฐคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22ประเทศพม่าประเทศสิงคโปร์นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)แม่น้ำเจ้าพระยาแปลก พิบูลสงครามโรงเรียนเตรียมทหารเรือหลวงศรีอยุธยาเผ่า ศรียานนท์29 มิถุนายน30 มิถุนายน

ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี

อมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข รองนายกรัฐมนตรี จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี มีนามเดิมว่า ฟื้น ฤทธาคนี เป็นบุตรของนายฟุ้ง ฤทธาคนีและนางพุดตาน ฤทธาคนี ศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2494

ทธศักราช 2494 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1951.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพ.ศ. 2494 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพ.ศ. 2495 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

ระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล" (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 — 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ประธานองคมนตรี และผู้สำเร็จราชการแทนพระอง.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอนันตสมาคม

ระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเดิมของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนี้ นำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่สร้างไม่ทันเสร็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต จึงสร้างต่อแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมใช้เวลาสร้างทั้งหมด 8 ปี พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นอาคารทรงยุโรปล้วน เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทยวลัญช์ สุภากร,, กรุงเทพธุรก.วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ซึ่งก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวชั้นหนึ่งจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลีนามว่า มาริโอ ตามานโญ มีแรงบรรดาลใจมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร งานก่อสร้างทั้งหมดมาจากแรงงานทั้งคนไทยและจีน ส่วนงานภายในที่มีการตกแต่งด้วยศิลปะเฟรสโก เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ มาจากฝีมือช่างจากอิตาลีเป็นส่วนใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมมีจุดเด่นที่โดมใหญ่ตรงกลางซึ่งทำจากทองแดงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร และรวมไปถึงโดมย่อยอีก 6 โดม แต่เนื่องจากสนิมทำให้เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมน้ำเงินในปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังจัดได้ว่า เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ อาคารรัฐสภา ปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งอนันตสมาคม ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆ มากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และการเสด็จออกมหาสมาคมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอีก 4 ครั้ง.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและพระที่นั่งอนันตสมาคม · ดูเพิ่มเติม »

กบฏวังหลวง

กบฏวังหลวง ชื่อเรียกกบฏที่เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพัน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกบฏวังหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กฎอัยการศึก

กฎอัยการศึก (martial law) เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน กฎอัยการศึกมักกำหนดเป็นการชั่วคราวเมื่อรัฐบาลหรือข้าราชการพลเรือนไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง หรือให้บริการที่สำคัญ ในกฎอัยการศึกเต็มขั้น นายทหารยศสูงสุดจะยึด หรือได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าการทหารหรือเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฉะนั้น จึงเป็นการถอดอำนาจทั้งหมดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการของรัฐบาล กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาปกติ แต่ไม่ได้ใช้บังคับ โดยเมื่อจะใช้บังคับจะต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ ในหลายประเทศจะไม่มีการตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในบางประเทศจะตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น ฝรั่งเศส ไทย รัฐบาลอาจใช้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสาธารณะ เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร (เช่น ประเทศไทยใน พ.ศ. 2549) เมื่อถูกการประท้วงของประชาชนคุกคาม (เช่น การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในประเทศจีน พ.ศ. 2532) เพื่อปราบปรามคู่แข่งทางการเมือง (เช่น ประเทศโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2524) หรือเพื่อกำราบการก่อการกบฏ (เช่น วิกฤตการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 ในประเทศแคนาดา) อาจมีประกาศกฎอัยการศึกในกรณีภัยพิบัติธรรมชาติใหญ่ ทว่า ประเทศส่วนมากประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินแทน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดกฎอัยการศึกระหว่างความขัดแย้งหรือในกรณีการยึดครอง เมื่อไม่มีการจัดรัฐบาลพลเรือนอื่นใดให้กับประชากรที่ไม่มีเสถียรภาพ ตัวอย่างเช่น การบูรณะประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนการบูรณะตอนใต้หลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ตามแบบ การกำหนดกฎอัยการศึกจะประกอบกับการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน การระงับกฎหมายแพ่ง สิทธิพลเมือง หมายสั่งให้ส่งตัวผู้ถูกคุมขังมาศาล และการใช้หรือขยายกฎหมายทหารหรือการศาลทหารกับพลเรือน.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกฎอัยการศึก · ดูเพิ่มเติม »

กรมอู่ทหารเรือ

ตราราขการกรมอู่ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ ภาพกรมอู่ทหารเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยา กรมอู่ทหารเรือ เดิมชื่อ "อู่เรือหลวง" มีหน้าที่ซ่อมสร้างเรือมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นได้เริ่มมีเรือกลไฟใช้แล้ว ต่อมามีเรือมากขึ้นและเรือมีขนาดใหญ่ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้สร้างอู่ไม้ขนาดใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2433 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ นับได้ว่าเป็นหน่วยงานทางช่างลำดับต้น ๆ ของประเทศ กรมอู่ทหารเรือซึ่งเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้ย้ายที่ตั้งกองบังคับการ กรมอู่ทหารเรือ ไปอยู่ในพื้นที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช สัตหีบ ชลบุรี เจ้ากรมอู่ทหารเรือคนปัจจุบันได้แก่ พล.ร.ท.มิ่ง อิ่มวิท.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกรมอู่ทหารเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกองทัพอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.).

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและกองทัพเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 · ดูเพิ่มเติม »

รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย

รายพระนาม รายนาม ผู้บัญชาการทหารบก แห่งกองทัพบกไท.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและรายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย

รายพระนาม รายนาม ผู้บัญชาการทหารเรือ แห่งกองทัพเรือไท.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและรายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

วังปารุสกวัน

ตำหนักปารุสก์ ตำหนักสวนจิตรลดา ตำหนักจิตรลดาในวังปารุสกวัน วังปารุสกวัน หรือย่อว่า วังปารุสก์ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลก ตัดกับถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวังที่ประทับของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร จากประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2449 ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์กรมตำรวจ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและวังปารุสกวัน · ดูเพิ่มเติม »

วัน แบงค็อก

วัน แบงค็อก (One Bangkok) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบประสม บนพื้นที่ 104 ไร่ หัวมุมถนนพระรามที่ 4 และถนนวิทยุ ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร และสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริหารงานโดยบริษัท เกษมทรัพย์วัฒน จำกัด ในกลุ่มทีซีซี ออกแบบแผนแม่บทโครงการโดยสคิดมอร์, โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์ ร่วมกับ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด และบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด โดยใช้เงินลงทุน 120,000 ล้านบาท สูงที่สุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย กำหนดเปิดให้บริการระยะแรกภายในปี..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและวัน แบงค็อก · ดูเพิ่มเติม »

วินทร์ เลียววาริณ

วินทร์ เลียววาริณ (ชื่อเกิด สมชัย เลี้ยววาริณ) เกิดปี พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและวินทร์ เลียววาริณ · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎร

ผู้แทนราษฎร เป็นหน่วยหนึ่งในกระบวนการนิติบัญญัติ โดยทั่วไปมักเป็นสภาล่างในระบบสภาคู.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและสภาผู้แทนราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

ลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย มีชื่อจริงว่า สินธุ์ กมลนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนแรก ภายหลังเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ, แม่ทัพเรือ หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

อาคารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็นหน่วยงานขึ้นในสังกัดกองทัพบก เดิมใช้ชื่อว่า กรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน · ดูเพิ่มเติม »

ผิน ชุณหะวัณ

อมพลผิน ชุณหะวัณ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 - 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นบิดาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน จอมพลผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและผิน ชุณหะวัณ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนคร

รถรางในจังหวัดพระนครก่อนที่จะถูกยกเลิกไป อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในอดีต ตราประจำจังหวัดพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีขึ้นในช่วง..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและจังหวัดพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดธนบุรี

ตราประจำจังหวัดธนบุรี จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและจังหวัดธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิทยุ

นนวิทยุ ถนนวิทยุ (quote เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (แยกวิทยุ) ในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนสารสิน (แยกสารสิน) และถนนเพลินจิต (แยกเพลินจิต) จากนั้นข้ามคลองแสนแสบเข้าสู่ท้องที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรบุรี (แยกวิทยุ-เพชรบุรี) ถนนวิทยุเป็นถนนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัดเพื่อเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 ผ่านที่ตั้งวิทยุโทรเลข ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 เนื่องจากตัดผ่านสถานีวิทยุแห่งแรกของไทย ซึ่งพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2479 ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของสวนลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร) จึงตั้งชื่อถนนตามสถานที่ที่ตัดถนนผ่านว่าถนนวิทยุ ถนนวิทยุ นับว่าเป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีความยาวประมาณ 2.6 กิโลเมตร แต่เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงศุลมากถึง 22 แห่ง นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ตลอดจนโรงแรม และยังอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์การค้าชั้นแนวหน้าหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความร่มรื่นด้วยทั้งสองข้างทาง รวมถึงเกาะกลางถนนมีต้นไม้ใหญ่ และยังเลียบขนานไปกับสวนลุมพินีในช่วงระหว่างแยกวิทยุกับแยกสารสิน สวนสาธารณะขนาดใหญ่และเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย จึงทำให้ที่ดินแถบถนนวิทยุนี้มีมูลค่าสูงมาก.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและถนนวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร ขำหิรัญ

ลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ อดีตนายทหารนาวิกโยธินชาวไทย อดีตนักการเมือง และหนึ่งในคณะราษฎรสายทหารเรือ ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พล.ร.ต.ทหาร เดิมมีชื่อว่า ทองหล่อ ขำหิรัญ เป็นนายทหารเรือพรรคนาวิกโยธิน ในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและทหาร ขำหิรัญ · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบรัฐบาลไทย

ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 44 ตารางว.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและทำเนียบรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าราชวรดิฐ

250px ท่าราชวรดิฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ท่าราชวรดิฐเป็นท่าเทียบเรือพระทีนั่ง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นที่ตั้งของพระตำหนักน้ำซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคานเหมือนเรือนแพ มีหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้านมีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา ข้างเหนือขึ้นไปทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่าหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าเรือรับส่งข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรีขึ้นตรงท่าของกรมอู่ทหารเรือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐชำรุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมรักษาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยไว้ นอกนั้นให้รื้อเสีย ปัจจุบันท่าราชวรดิฐยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมาร.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและท่าราชวรดิฐ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22

อมพลแปลก พิบูลสงคราม''' นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 22 ของไทย (25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 กรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้ลงนามในประกาศ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

ันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) อดีตประธานวุฒิสภา, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเตรียมทหาร

รงเรียนเตรียมทหาร (Armed Forces Academies Preparatory School.) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.) การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและโรงเรียนเตรียมทหาร · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงศรีอยุธยา

รือหลวงศรีอยุธยา (HTMS Sri Ayudhya) เป็นเรือรบประเภทเรือปืนยามฝั่งสังกัดราชนาวีไทย มีระวางขับน้ำ 2,350 ตัน เครื่องจักรดีเซล 2 เครื่อง ความเร็วมัธยัสถ์ 12.2 นอต ติดอาวุธปืน 8 นิ้ว ป้อมคู่ จำนวน 2 ป้อม ปืน 3 นิ้ว จำ นวน 4 กระบอก ปืน 50 มิลลิเมตร จำนวน 2 แท่น พลประจำเรือ 234 นาย ต่อจากอู่ต่อเรือคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 19 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและเรือหลวงศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

เผ่า ศรียานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2452 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) อดีตอธิบดีกรมตำรว..

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและเผ่า ศรียานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

29 มิถุนายน

วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันที่ 180 ของปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ (วันที่ 181 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 185 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและ29 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

30 มิถุนายน

วันที่ 30 มิถุนายน เป็นวันที่ 181 ของปี (วันที่ 182 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 184 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กบฏแมนฮัตตันและ30 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Manhattan Rebellionกรณีแมนฮัตตันกบฎแมนฮัตตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »