โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต

ดัชนี หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต (Dynamic random-access memory, DRAM) หรือ ดีแรม เป็นหน่วยความจำชั่วคราวเข้าถึงโดยสุ่ม (หรือ แรม) โดยเก็บข้อมูลแต่ละบิตในแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งอยู่ภายในแผงวงจรรวมของหน่วยความจำ การทำงานอาศัยการเก็บประจุและการเสียประจุของแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งจะใช้แทนค่า 0 และ 1 ของแต่ละบิตได้ แต่เมื่อหน่วยความจำมีการเสียประจุออกจึงทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้นั้นอันตรธานหายไปด้วย ดังนั้นการใช้ดีแรมจึงต้องมีการทวนความจำให้กับดีแรมอย่างสม่ำเสมอตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลได้อยู่ จึงทำให้เรียกแรมชนิดนี้ว่าพลวัต (ซึ่งต่างจากเอสแรม) และทำให้ดีแรมถือเป็นหน่วยความจำชั่วคราวด้วย ดีแรมยังถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลักในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, โน้ตบุ๊ค และสมาร์ทโฟน กล่าวคือคำว่า "แรม" ที่นิยมเรียกกันนั้นก็เป็นแรมชนิด ดีแรม นั่นเอง (เป็นประเภท DDR SDRAM) จุดเด่นอย่างหนึ่งของดีแรมก็คือความง่ายของโครงสร้าง กล่าวคือมีเพียงทรานซิสเตอร์หนึ่งตัวประกอบกับตัวเก็บประจุหนึ่งตัวก็เพียงต่อการเก็บข้อมูลหนึ่งบิตแล้ว ต่างกับหน่วยความจำอย่างเอสแรมที่อาจะต้องใช้ 4-6 ทรานซิสเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลหนึ่งบิตเท่ากัน ความง่ายนี่เองทำให้ดีแรมมีความจุต่อพื้นที่สูงกว่าเอสแรม และได้รับความนิยมมากกว่า หมวดหมู่:ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา el:Μνήμη τυχαίας προσπέλασης#Τύποι μνήμης RAM.

10 ความสัมพันธ์: บิตวงจรรวมสมาร์ตโฟนหน่วยความจำชั่วคราวทรานซิสเตอร์ดีดีอาร์ เอสดีแรมคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะตัวเก็บประจุแรมแล็ปท็อป

บิต

ต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและบิต · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

สมาร์ตโฟน

มาร์ทโฟน ไอบีเอ็มไซมอน สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลก สมาร์ตโฟน หรือ สมาร์ตโฟน (smartphone, smart phone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มเติมเหนือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป สมาร์ตโฟนถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและสมาร์ตโฟน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำชั่วคราว

หน่วยความจำชั่วคราว (Volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลนั้นอยู่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหากไม่ได้รับไฟฟ้าเลี้ยงแล้วข้อมูลที่เคยเก็บอยู่ในหน่วยความจำชั่วคราวก็จะหายไป ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือ แรมชนิดต่างๆ ตรงกันข้ามกับหน่วยความจำถาวรที่ยังรักษาข้อมูลอยู่แม้ว่าจะไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงแล้วก็ตาม หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและหน่วยความจำชั่วคราว · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีดีอาร์ เอสดีแรม

หน้าตาของหน่วยความจำ DDR-266 ทั่วไปซึ่งมี 184 พินแบบ DIMM หน่วยความจำ Corsair DDR-400 และมีแผ่นกระจายความร้อนติดตั้งอยู่ หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่า (Double data rate synchronous dynamic random-access memory, DDR SDRAM) หรือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม นิยมเรียกว่า ดีดีอาร์แรม คือชื่อเรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและดีดีอาร์ เอสดีแรม · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น หมวดหมู่:ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ประเภทของคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor หรือ condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บ้างเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) แต่ส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า แคป (Cap) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักร้างกันหรือทำงานร่วมกันในวงจรต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ในระบบจ่ายไฟฟ้าใช้ตัวเก็บประจุเป็นชุดหลายตัวเพิ่มค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ให้กับระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า แคปแบงค์ (Cap Bank) ตัวเก็บประจุบางชนิดในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor).

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและตัวเก็บประจุ · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและแรม · ดูเพิ่มเติม »

แล็ปท็อป

แล็ปท็อป คีย์บอร์ดของแล็ปท็อป จะมีลักษณะที่ต่างจากคีย์บอร์ดทั่วไป แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก.

ใหม่!!: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตและแล็ปท็อป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DRAMDynamic random-access memoryดีแรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »