โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดีดีอาร์ เอสดีแรม

ดัชนี ดีดีอาร์ เอสดีแรม

หน้าตาของหน่วยความจำ DDR-266 ทั่วไปซึ่งมี 184 พินแบบ DIMM หน่วยความจำ Corsair DDR-400 และมีแผ่นกระจายความร้อนติดตั้งอยู่ หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่า (Double data rate synchronous dynamic random-access memory, DDR SDRAM) หรือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม นิยมเรียกว่า ดีดีอาร์แรม คือชื่อเรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s.

6 ความสัมพันธ์: บิตวงจรรวมหน่วยอัตราข้อมูลแผงวงจรหลักไบต์DDR3 SDRAM

บิต

ต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและบิต · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอัตราข้อมูล

ในสาขาโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์, อัตราบิต หรือ จำนวนบิตข้อมูลที่ถูกส่งในหนึ่งหน่วยเวลา สามารถวัดได้ในหน่วยของ บิตต่อวินาที, ไบต์ต่อวินาที และยังนิยมเติมคำอุปสรรคของระบบเอสไอไว้ด้านหน้า ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายของหน่วยอัตราข้อมูล (data rate units) ในการวัดดังนี้.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและหน่วยอัตราข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

แผงวงจรหลัก

แผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (ในรูป ASRock KT400A) แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด (mainboard/main board), มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะมี ประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก แผงวงจรหลัก หมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่ออยู่อีกทีหนึ่ง โฆษณาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในบางประเทศใช้ศัพท์สแลงเรียกแผงวงจรหลักว่า mobo (โมโบ) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและแผงวงจรหลัก · ดูเพิ่มเติม »

ไบต์

ต์ (byte) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

DDR3 SDRAM

หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่ารุ่นที่สาม หรือ DDR3 SDRAM (Double data rate type three synchronous dynamic random-access memory, DDR3 SDRAM) เป็นวิวัฒนาการยุคถัดไปของเทคโนโลยีหน่วยความจำ DDR2 SDRAM และ DDR SDRAM รุ่นเก่า ซึ่งจะขจัดอุปสรรคเรื่องอัตราการส่งข้อมูลของหน่วยความจำ เพื่อข้ามสู่ความถี่สัญญาณนาฬิการะดับจิกะเฮิร์ซ DDR3 เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ JEDEC ซึ่งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานเซมิคอนดักเตอร์ของ Electronic Industries Alliance (EIA) หน่วยความจำ DDR3 มีความถี่สัญญาณนาฬิกา และมีแบนด์วิทสำหรับส่งข้อมูลมากขึ้น ใช้แรงดันไฟฟ้าและกินไฟน้อยลงย่อมส่งผลให้หน่วยความจำผลิตความร้อนน้อยลงด้วย หน่วยความจำ DDR3 ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรม ให้สามารถรองรับโปรเซสเซอร์สี่แกนในยุคถัดไป ซึ่งต้องใช้แบนด์วิทสำหรับข้อมูลสูงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น หน่วยความจำ DDR3 มีหลายระดับความถี่สัญญาณนาฬิกาดังนี้ 1066 MHz, 1333 MHz และ 1600 MHz.

ใหม่!!: ดีดีอาร์ เอสดีแรมและDDR3 SDRAM · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DDR SDRAM

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »