เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สแตนด์บาย

ดัชนี สแตนด์บาย

สัญลักษณ์ IEC 60417 ที่มักแสดงบนปุ่มสแตนด์บายของเครื่องใช้ไฟฟ้า IEEE 1621 ที่มักแสดงบนปุ่มสแตนด์บายของคอมพิวเตอร์ สแตนด์บาย หรือ โหมดประหยัดพลังงาน (Standby หรือ Sleep mode) เป็นสถานะการทำงานพิเศษของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด ที่คล้ายกับการปิดเครื่อง แต่บางส่วนของระบบยังคงทำงานอยู่ ทำให้กินไฟน้อยกว่าปกติมาก และสามารถเปิดกลับมาทำงานเต็มที่ได้อย่างรวดเร็วเมื่อผู้ใช้ต้องการ โดยไม่ต้องรอทำการเปิดเครื่องใหม่แต่ต้น อุปกรณ์ที่รองรับการสแตนด์บาย มักจะเป็นอุปกรณ์ที่รองรับการเปิดปิดระยะไกลผ่านรีโมต ซึ่งต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงวงจรรีโมตไว้ตลอดเวลาเพื่อให้ใช้รีโมตเปิดเครื่องได้ เช่นโทรทัศน์, เครื่องเสียง, หรือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เวลานานในการเปิดใหม่ เช่นคอมพิวเตอร์, หรือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการให้เปิดขึ้นมาอัตโนมัติเพื่อตอบสนองกับเหตุการณ์เฉพาะ เช่นโทรศัพท์มือถือ (เมื่อมีสายโทรเข้า) เมื่อสแตนด์บายเครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟแสดงสถานะการเปิดเครื่องมักจะติดสว่างเป็นสีแดง (แทนที่จะเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินตามปกติ), ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มักจะใช้การกระพริบไฟเพื่อแสดงสถานะสแตนด์บายแทนการเปลี่ยนสี หมวดหมู่:อิเล็กทรอนิกส์.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: รีโมตคอนโทรลคอมพิวเตอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรทัศน์เครื่องเสียง

  2. การอนุรักษ์พลังงาน
  3. เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการ

รีโมตคอนโทรล

รีโมตคอนโทรลของโทรทัศน์ รีโมตคอนโทรล (remote control) คือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับควบคุมการดำเนินการของสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องเล่นดีวีดี จากระยะไกล โดยไม่ใช้สายไฟเป็นตัวส่งสัญญาณ แต่ใช้อินฟราเรดแทน (หรือใช้สัญญาณวิทยุแต่พบได้น้อย) ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็กไม่กี่ก้อนเท่านั้น มีขนาดเหมาะมือ และมีปุ่มฟังก์ชันต่างๆ อยู่ครบครัน รีโมตคอนโทรล เป็นการเรียกย่อมาจาก รีโมตคอนโทรลเลอร์ (remote controller) อีกต่อหนึ่ง และสามารถเรียกย่อลงได้อีกเหลือเพียง รีโมต (อ่านว่า รี-โหมด) ในภาษาไทยสามารถใช้คำไทยแทนได้ว่า เครื่องควบคุมระยะไกล หรือ อุปกรณ์ควบคุมระยะไกล รีโมทคอนโทรล จะสามารถสั่งงานได้ ต้องประกอบด้วย2สิ่งนี้คือ รหัส และ ตัวส่งสัญญาณ 1.รหัส(Code) เป็นระบบสัญญาณจะนำออกได้ต้องมีตัวคลื่นพานำออกไป 2.ตัวส่งสัญญาณ(Carrier) ตัวรับสัญญาณ เพื่อถอดหรือรับรหัสที่ถูกส่งมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ หมวดหมู่:เทคโนโลยีโทรทัศน์ หมวดหมู่:เทคโนโลยีดิจิทัล หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา.

ดู สแตนด์บายและรีโมตคอนโทรล

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.

ดู สแตนด์บายและคอมพิวเตอร์

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..

ดู สแตนด์บายและโทรศัพท์เคลื่อนที่

โทรทัศน์

อรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501 โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ.

ดู สแตนด์บายและโทรทัศน์

เครื่องเสียง

รื่องเสียง หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายเสียง ถ่ายทอดเสียง กระจายเสียง เป็นต้น ในภายหลังยังนิยมเรียกรวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัญญาณภาพด้วย            เมื่อพูดถึงเครื่องขยายเสียงหรือแอมพลิฟายเออร์ตามภาษาอังกฤษ พวกเรามักจะนึกถึงเครื่องเสียงเสตอริโอราคาเป็นหมื่นเป็นแสน หรือไม่ก็เครื่องดนตรีแสนแพง แต่ที่จริงแล้วเครื่องขยายเสียง มีอยู่ในวิทยุราคาตั้งแต่ 50 บาท จนถึงราคาเป็นหลักสิบล้านก็มี คุณสามารถได้ยินจากโทรทัศน์ลำโพงของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเล่นซีดีและอื่นๆอีกมากมายที่สามารถให้เสียงออกมาได้.

ดู สแตนด์บายและเครื่องเสียง

ดูเพิ่มเติม

การอนุรักษ์พลังงาน

เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Standby