โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์

ดัชนี สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์

นมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ (Maha Chesadabodindranusorn Bridge) หรือที่เรียกกันติดปากว่า สะพานนนทบุรี 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เชื่อมพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ (ฝั่งตะวันออก) เข้ากับตำบลบางศรีเมือง (ฝั่งตะวันตก) โดยเริ่มต้นจากปลายสะพานทางแยกต่างระดับบนถนนนนทบุรี 1 ใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลสวนใหญ่ ทางด้านใต้ของชุมชนตลาดขวัญและท่าเรือพิบูลสงคราม 4 โดยวางตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และขึ้นฝั่งตะวันตกบริเวณปากคลองอ้อมฝั่งใต้ ระหว่างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (เดิม) ที่อยู่ทางเหนือกับอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกที่อยู่ทางใต้ ในท้องที่หมู่ที่ 3 บ้านท่าน้ำนนท์ ตำบลบางศรีเมือง เส้นทางจากนั้นเป็นแนวถนนตัดใหม่ซึ่งมุ่งไปสู่ทางแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ.

26 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาพิชัยมงกุฎกรมทางหลวงชนบทกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครและปริมณฑลราชวงศ์จักรีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสะพานพระราม 5สะพานพระนั่งเกล้าสะพานขึงสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้าอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรีถนนราชพฤกษ์ถนนงามวงศ์วานถนนนครอินทร์ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ)ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306คลองอ้อมนนท์แม่น้ำเจ้าพระยาโรงเรียนศรีบุณยานนท์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาพิชัยมงกุฎ

ระมหาพิชัยมงกุฎ ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพจำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และพระมหาพิชัยมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และกรมทางหลวงชนบท · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Metropolitan Region)NESDB, Bangkok Metropolitan Region Study, 1985 เป็นเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบ ("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7 พันตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีประชากรตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมกันประมาณ 10 ล้านกว่าคน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555) ซึ่งในเวลากลางวันจะมีถึง 13 ล้านกว่าคนที่อยู่ในเขตนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนับว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเจริญที่สุด และเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหารราชการ พาณิชยกรรม และการเงินของประเท.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์".

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (Metropolitan Rapid Transit Chalong Ratchadham Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (MRT Purple Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุลาไลย

มเด็จพระศรีสุลาไลยพระนามของพระองค์มีการสะกดได้หลายทาง ได้แก.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสมเด็จพระศรีสุลาไลย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 5

นพระราม 5 (Rama V Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 14 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชื่อมระหว่างตำบลสวนใหญ่ (ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ) กับตำบลบางไผ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ) อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเป็นส่วนหนึ่งของถนนนครอินทร.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสะพานพระราม 5 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระนั่งเกล้า

link.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสะพานพระนั่งเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานขึง

นรุสสกี (The Russky Bridge) สะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกในรัสเซีย สะพานพระราม 9 สะพานขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย สะพานพระราม 8 สะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดียวที่ยาวที่สุดในโลก สะพานขึง (cable-stayed bridge) คือ สะพานรูปแบบหนึ่งที่มีหนึ่งหอคอยหรือมากกว่า ซึ่งมีสายเคเบิลในการพยุงพื้นสะพาน รูปแบบของสะพานนี้มีสองแบบหลัก ๆ ได้แก่ ฮาร์ป (harp) และแฟน (fan) ในส่วนของฮาร์ปหรือการออกแบบแนวขนาน สายเคเบิลเกือบจะขนานกันเพื่อที่จะให้ความสูงและการเชื่อมต่อของหอคอยได้สัดส่วน ในส่วนของแฟน สายเคเบิลทั้งหมดเชื่อมต่อหรือผ่านส่วนบนสุดของหอคอย การออกแบบของแฟนเหนือกว่าในด้านโครงสร้าง เพราะสายเคเบิลจบใกล้กับส่วนบนสุดของหอคอย แต่มีช่องว่างของแต่ละสายอย่างเพียงพอ ซึ่งปรับปรุงด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงสายเคเบิลแต่ละสายได้อย่างดีในการดูแลรักษา สะพานขึงเหมาะสมสำหรับช่วงกลางที่ยาวกว่าสะพานยื่น (cantilever bridge) และสั้นกว่าสะพานแขวน (suspension bridge) เพราะสะพานยืนจะหนักขึ้นอย่างรวดเร็วหากมีการสร้างช่วงกลางที่ยาวขึ้น และสะพานแขวนจะไม่ประหยัดมากขึ้นหากมีการสร้างช่วงกลางที่สั้นลง เพราะฉะนั้นสะพานขึงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับสะพานที่ไม่สั้นหรือยาวมากเกินไป.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสะพานขึง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า

นรูปกล่อง สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า ออกแบบเป็นสะพานคอนกรีตอยู่ด้านเหนือน้ำของสะพานพระนั่งเกล้า มีขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมต่อกับช่องทางหลักของถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) โดยช่องทางคู่ขนานใช้สะพานเก่า มีความยาวตลอดช่วงสะพานถึง 2 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนนนทบุรี 1 ความยาวช่วงกลางแม่น้ำของ 2 ตอม่อในแม่น้ำคือ 229 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตรูปกล่องที่ก่อสร้างด้วยวิธีคานยื่นสมดุล (balanced cantilever) ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย สูงกว่าสะพานเดิม 9 เมตร คร่อมสะพานเดิมบริเวณทางลาดลงเล็กน้อย เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จเปิดการจราจรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และอำเภอเมืองนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชพฤกษ์

นนราชพฤกษ์ (Thanon Ratchaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และถนนราชพฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนงามวงศ์วาน

นนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน (Thanon Ngam Wong Wan) เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มจากทางแยกแครายซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนติวานนท์และถนนรัตนาธิเบศร์ ในท้องที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เข้าเขตตำบลบางเขน ตัดกับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ตรงไปทางทิศเดิม ข้ามคลองประปาและตัดกับถนนประชาชื่นเข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นแนวเส้นทางเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่ท้องที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ข้ามคลองเปรมประชากร ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 ทางรถไฟสายเหนือ และถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกบางเขน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเกษตรซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วานเป็นถนนที่กรมทางหลวงตัดขึ้นและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายดำรง งามวงศ์วาน อดีตนายช่างกำกับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ ตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อของนายช่างที่กำกับการก่อสร้างหรือผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันถนนงามวงศ์วานเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ต่างระดับบางใหญ่) อยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงนนทบุรีและแขวงทางหลวงกรุงเทพ กรมทางหลวง ยกเว้นช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองประปาถึงหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมซึ่งมีฐานะเป็นทางหลวงท้องถิ่นในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และถนนงามวงศ์วาน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครอินทร์

นนนครอินทร์ (Thanon Nakhon In) หรือ ทางหลวงชนบท น.1020 สายนครอินทร์ เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นถนนขนาด 10 ช่องทางจราจร มีเส้นทางเริ่มต้นที่แยกติวานนท์ ในอำเภอเมืองนนทบุรี ไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียงในอำเภอบางกรว.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และถนนนครอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ)

นนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ) เป็นทางหลวงท้องถิ่นสายสำคัญในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีตลอดทั้งสาย ประกอบด้วยถนนสองสายเรียงต่อกันคือถนนนนทบุรี 1 และถนนสนามบินน้ำ ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ) แยกจากถนนประชาราษฎร์หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าในท้องที่ตำบลสวนใหญ่ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านหน้าเรือนจำกลางบางขวาง ตรงไปทางทิศเหนือและข้ามคลองบางแพรก จากนั้นแนวเส้นทางจะขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ไปทางทิศตะวันตก โค้งไปทางทิศเหนือก่อนข้ามคลองมะขามโพรง ผ่านปากซอยเลี่ยงเมืองนนทบุรี 13 (เรวดี) ข้ามคลองบางซื่อเข้าเขตตำบลบางกระสอ ตรงไปทางทิศเดิม ตัดกับถนนรัตนาธิเบศร์ที่ทางแยกสะพานพระนั่งเกล้า จากนั้นข้ามคลองบางกระสอ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางสร้อยทอง ข้ามคลองบางธรณีเข้าเขตตำบลท่าทราย ก่อนวกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ ตัดกับซอยนนทบุรี 39 (จารุกลัส) และซอยนนทบุรี 42 (รณสิทธิพิชัย) ที่แยกกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ตัดกับซอยนนทบุรี 41 (หมู่บ้านกรนพเกล้า 3) และซอยนนทบุรี 46 (ไทยานนท์) ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสุดระยะถนนที่ทางแยกสนามบินน้ำ (จุดตัดกับถนนติวานนท์).

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ) · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 สายแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–ต่างระดับบางใหญ่ เป็นทางหลวงแผ่นดินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ครอบคลุมถนนสองสายต่อเนื่องกัน ได้แก่ ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนงามวงศ์วาน ทางหลวงสายนี้ช่วงที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจะอยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานครและแขวงทางหลวงกรุงเทพ ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีจะอยู่ในเขตควบคุมของแขวงทางหลวงนนทบุรี โดยสองหน่วยงานหลังเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานทางหลวงที่ 13 กรุงเท.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 · ดูเพิ่มเติม »

คลองอ้อมนนท์

ลองอ้อมนนท์ หรือแม่น้ำอ้อม คลองอ้อมนนท์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยก่อน เมื่อถึงปี..

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และคลองอ้อมนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนศรีบุณยานนท์

ัญลักษณ์ของโรงเรียน ศรีบุณยานนท์ รูปทั่งและเข็ม อันหมายถึง การให้นักเรียนใช้ความพยายามในการเล่าเรียน เหมือนการฝนทั่งเป็นเข็ม โรงเรียนศรีบุณยานนท์ เป็นโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 41/1 หมู่ที่ 1 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี.

ใหม่!!: สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์และโรงเรียนศรีบุณยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1สะพานนครนนทบุรีสะพานนนทบุรี 1สะพานนนทบุรี1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »