โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สรรพันตรเทวนิยม

ดัชนี สรรพันตรเทวนิยม

รรพัชฌัตเทวนิยม (Panentheism) เป็นเทวนิยมรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงสถิตแทรกซึมอยู่ทั่วโลก (ตลอดทั้งจักรวาล) มีลักษณะเป็นแนวคิดสายกลางระหว่างแนวคิดแบบเอกเทวนิยมด้ังเดิมที่มองว่าพระเป็นเจ้าทรงอยู่แยกขาดจากโลก กับแนวคิดสรรพเทวนิยมที่มองว่าพระเป็นเจ้ากับโลกเป็นสิ่งเดียวกัน สรรพัชฌัตเทวนิยมจึงเสนอว่าพระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์ในโลก (ไม่ได้แยกขาดจากกัน) แต่พระองค์ก็ไม่ใช่ภาวะเดียวกับโลก แนวคิดนี้ปรากฏในสาขาปรัชญาและเทววิทยามาหลายศตวรรษ แต่มาเฟื่องฟูมากในโลกตะวันตกเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว เมื่อศาสนาคริสต์ต้องปรับตัวเข้ากับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ศาสนาที่มีแนวคิดแบบสรรพัชฌัตเทวนิยม เช่น ศาสนาฮินดูสำนักวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ และลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น.

15 ความสัมพันธ์: พระเป็นเจ้าภาษากรีกภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นลัทธิอนุตตรธรรมศาสนาศาสนาฮินดูสรรพเทวนิยมจักรวาลปรัชญาโลกเอกเทวนิยมเทววิทยาเทวนิยม

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น (Saint John's University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยอาจารย์สมัย ชินะผา ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สรรพเทวนิยม

รรพเทวนิยม (Pantheism) เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อว่าเอกภพ (ธรรมชาติ) กับพระเป็นเจ้านั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในสรรพเทวนิยมจึงไม่เชื่อในแนวคิดพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคล มีรูปร่างแบบมนุษย์ (anthropomorphism) หรือพระผู้สร้าง สรรพเทวนิยมยังได้แสดงแนวคิดที่ว่า "พระเจ้า" นั้นควรถูกมองในวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับเอกภพจึงจะดีที่สุดOwen, H. P. Concepts of Deity.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและสรรพเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เทวนิยม

หล่าทวยเทพในภาพ ''The Triumph of Civilization'' (ชัยชนะแห่งความศิวิไลซ์) เทวนิยม (Theism) ในความหมายอย่างกว้างหมายถึงความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้า ความหมายอย่างแคบคือเชื่อแบบเอกเทวนิยมว่ามีพระเจ้าองค์เดียวและทรงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของเอกภพ เทวนิยมยังเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคล และมีอำนาจปกครองและจัดการโลกและเอกภพ แนวคิดตามแบบแผนนี้อธิบายพระเจ้าในเชิงเอกเทวนิยมซึ่งปรากฏในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูในบางสำนัก คำว่า Theism ตามแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อให้ต่างจากคำว่าเทวัสนิยม ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นอุตตรภาวะสูงสุด แต่พระเจ้ามิได้ทรงแทรกแซงโลกตามธรรมชาติ และมนุษย์รู้จักพระองค์ได้ด้วยการใช้เหตุผล ไม่ใช่โดยการวิวรณ์ ส่วนสรรพเทวนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งคือพระเจ้า และพหุเทวนิยมเชื่อว่ามีเทวดาหลายองค์ แต่ละองค์มีอำนาจต่าง ๆ กันไป คำว่า Theism มาจาก theos ในภาษากรีกที่แปลว่า เทพ นักปรัชญาชื่อ Ralph Cudworth ใช้คำนี้เป็นคนแรก ส่วนอเทวนิยมเป็นการปฏิเสธความเชื่อแบบเทวนิยมในความหมายกว้าง คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว ถ้าปฏิเสธพระเจ้าในความหมายแคบ จะเรียกว่า เทวัสนิยม สรรพเทวนิยม พหุเทวนิยม ตามแต่ลักษณะของความเชื่อ ถ้าเห็นว่าพระเจ้าหรือเทวดาจะมีอยู่หรือไม่เราก็รู้ไม่ได้เรียกว่าอไญยนิยม ถ้าเชื่อว่ารู้ได้ (ว่ามีหรือไม่มี) ก็ถือว่าเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยม (ตามแต่ลักษณะความเชื่อ) เทวนิยมและอเทวนิยมจึงเป็นยืนยันหรือปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า แต่อไญยนิยมปฏิเสธการรับรู้ ผู้ที่ไม่มีศาสนาจะไม่เชื่อในเรื่องการมีสิ่งศักดิ์สิทธื์ใด ๆ เลย ศาสนาพุทธอาจจัดว่าเป็นทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม นิกายเถรวาทและนิกายเซน เชื่อในกฎธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง จัดเป็นอเทวนิยม นิกายสุขาวดีและวัชรยาน เชื่อว่ามีพระอาทิพุทธะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งเฉกเช่นพระเจ้า จึงอาจจัดนิกายเหล่านี้เป็นเทวนิยมได้.

ใหม่!!: สรรพันตรเทวนิยมและเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สรรพัชฌัตเทวนิยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »