โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิอนุตตรธรรม

ดัชนี ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

71 ความสัมพันธ์: พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนพระพุทธเจ้าพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมหากัสสปะพระศรีอริยเมตไตรยพระอานนท์พระผู้สร้างพระทีปังกรพุทธเจ้าพระแม่องค์ธรรมพระโพธิธรรมพระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าอวี่พระเจ้าโจวเหวินพระเจ้าเหยาพระเป็นเจ้าพหุเทวนิยมกรรมกวนอิมกวนอูการผสานความเชื่อก๊กมินตั๋งฝูซีมณฑลชานตงยุคสามกัปสุดท้ายรัตนตรัยราชวงศ์ชิงราชวงศ์หยวนลัทธิบัวขาวลัทธิหลัวลัทธิขงจื๊อลัทธิคอมมิวนิสต์ลัทธิเต๋าลัทธิเซียนเทียนเต้าลังกาวตารสูตรลู่ จงอีวิญญาณศาสดาศาสนาศาสนาพุทธศาสนาพุทธในประเทศจีนศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สัตวโลกสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสติปัฏฐาน 4หวัง เจฺว๋อีอวตารอาณัติแห่งสวรรค์ฮุ่ยเหนิงจักรพรรดิเหลียงอู่...จาง เทียนหรันจู่ซือจีนโพ้นทะเลจี้กงขงจื๊อคุยหลัทธิคนพื้นเมืองซุน ฮุ่ยหมิงประเทศจีนประเทศไต้หวันนรกภูมินาคารชุนะนิพพานเม่งจื๊อเล่าจื๊อเสินหนงเจียง จื่อหยาเง็กเซียนฮ่องเต้เตี่ยนฉวนซือเต้าซิ่นเซน ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party of China (CPC) หรือ Chinese Communist Party (CCP)) เป็นพรรคการเมืองหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิกกว่า 80 ล้านคน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เริ่มต้นเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่เซี่ยงไฮ้ ได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังโค่นพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ลงในสงครามกลางเมือง โดย หม่าหลิน (Marine) เป็นผู้แทนเลนิน พบกับ ดร.ซุนยัตเซ็น และ หลี่ต้าเจา กับ จางเหลย เสนอให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่รวบรวมความสามัคคีของกรรมกรและชาวน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากัสสปะ

ระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์, พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระมหากัสสปะ · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระอานนท์

ระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระอานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระโพธิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอวี่

ระเจ้าอวี่ (2194 ปีก่อนคริสตกาล - 2149 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย ซึ่งนับเป็นราชวงศ์แรกของจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายโลหิต เกิดเมื่อปีที่ 2059 ก่อนคริสตกาล ที่หมู่บ้านเป่ยฉวน ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเสฉวน ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ห้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของจีน เดิมเขาเป็นขุนนางในสมัยที่พระเจ้าซุ่นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศจีน มีผลงานที่โด่งดังคือการคิดค้นระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระเจ้าอวี่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโจวเหวิน

ระเจ้าโจวเหวิน (King Wen of Zhou) เป็นกษัตริย์จีนในราชวงศ์โจวอยู่ในช่วงระหว่างปลายราชวงศ์ชาง แม้ว่าโจวอู่หวัง พระราชโอรสของพระองค์ ได้ยกทัพมาปราบพระเจ้าซางโจ้วกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชางพระองค์สุดท้าย แล้วสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น แต่พระเจ้าโจวเหวิน ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาก่อตั้งราชวงศ์โจว.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระเจ้าโจวเหวิน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเหยา

ระเจ้าเหยา พระเจ้าเหยา, (ตามตำนาน 2356-2255 ก่อนคริสตกาล) คือ ผู้ปกครองจีนตามตำนาน ในยุคสามกษัตริย์ห้าจักรพรรดิ ชื่ออื่นที่เรียกกันได้แก่ เถาถัง ซื่อ (陶唐氏) หรือ ถัง เหยา (唐堯) เมื่อแรกเกิดมีนามว่า อี ฟ่างซวิน (伊放勳) หรือ อี ฉี (伊祁) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของจักรพรรดิคู่ พระเจ้าเหยามักได้รับยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่สมบูรณ์แบบและมีคุณธรรมอย่างสูง เป็นผู้เฉลียวฉลาดและเป็นแบบอย่างแก่จักรพรรดิราชวงศ์ต่าง ๆ ของจีนในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนในยุคต้นมักเอ่ยถึงพระเจ้าเหยา พระเจ้าซุ่น และพระเจ้าอวี่ ว่าเป็นบุคคลสำคัญ นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่าทั้งสามอาจเป็นหัวหน้าเผ่าที่ก่อตั้งระบบการปกครองที่เป็นหนึ่งเดียวและมีระบบลำดับชั้นในช่วงยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมศักดินา ตามตำนานเล่าว่า เหยาขึ้นเป็นผู้ปกครองเมื่ออายุ 20 ปี และสวรรคตเมื่ออายุ 119 ปี และมอบบัลลังก์ให้กับซุ่น ซึ่งสมรสกับพระราชธิดาของพระองค์ทั้ง 2 คน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระเจ้าเหยา · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและพหุเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

การผสานความเชื่อ

การผสานความเชื่อ (Syncretism) คือความพยายามที่จะผสานความคิดหรือปรัชญาที่ต่างกันหรือตรงกันข้ามกันเข้าด้วยกัน โดยการนำตระกูลความคิดต่าง ๆ มาผสมผสานให้กลืนกันกันตามแนวปรัชญาใหม่ ที่อาจจะทำได้จากการดึงแนวเทียบของปรัชญาดั้งเดิม ธรรมเนียม และโดยเฉพาะจากเทววิทยาและปรัมปราวิทยาของศาสนาต่าง ๆ มาผสานกัน ในการสร้างพื้นฐานของความเป็นเอกทัศน์ของความคิดต่าง ๆ ดังว่าที่สามารถทำให้สร้างความเข้าใจได้จากมุมมองร่วมกัน (inclusive approach) ได้ การผสานความเชื่อมักจะใช้ในการเขียนวรรณกรรม, คีตกรรม, ศิลปะแสดงลักษณ์ และการแสดงออกทางวัฒนธรรม (เปรียบเทียบกับคตินิยมสรรผสาน) นอกจากนั้นการผสานความเชื่อก็ยังปรากฏในงานสถาปัตยกรรมหรือทางด้านการเมืองที่เรียกว่า “การเมืองเชิงผสาน” (Syncretic Politics) แต่ความหมายหลังจะมีความหมายแตกต่างออกไปบ้าง การผสานความเชื่อป็นคำที่นิยมใช้ในความคิดที่เกี่ยวกับศาสนาเมื่อกล่าวถึงการผสานความเชื่อของปรัชญาศาสนาต่าง ๆ ขึ้นเป็นปรัชญาใหม่ หรือ ผสานเข้าเป็นธรรมเนียมศาสนาของความเชื่อจากธรรมเนียมที่เดิมแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด การประสานนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ และสิ่งหลังอาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีประเพณีของศาสนาหลายศาสนาอยู่ด้วยกันและต่างก็มีบทบาทสำคัญในสังคม หรือในกรณีที่วัฒนธรรมถูกพิชิตและผู้พิชิตนำความเชื่อของศาสนาที่ต่างออกไปเข้ามาในสังคม แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดความเชื่อหรือประเพณีการปฏิบัติดั้งเดิมของบริเวณที่พิชิตได้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและการผสานความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ก๊กมินตั๋ง

รรคชาตินิยมจีน (Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินตั่ง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและก๊กมินตั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ฝูซี

ฝูซี ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ฮอกฮี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่ออื่นว่า เผาซี เป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรมตามตำนานจีนและเทพปกรณัมจีน เป็นที่นับถือพร้อมกับนฺหวี่วาว่า เป็นผู้ก่อกำเนิดมนุษยชาติ สร้างสรรค์การล่าสัตว์ การประมง และการประกอบอาหาร รวมถึงคิดค้นระบบการเขียนแบบชางเจี๋ย เมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังนับเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกของจีนในกลุ่มสามกษัตริย์ และนับถือว่า เป็นเทวดาผู้ชี้แนะให้ชาวจีนโบราณรู้จักการเลี้ยงสัตว์ หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 28 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:บุคคลในความเชื่อจีน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและฝูซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและมณฑลชานตง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามกัปสุดท้าย

วิธีประสานมือเป็นลัญจกรรูปรากบัวประจำยุคขาวยุคสามกัปสุดท้าย (三期末劫) เป็นความเชื่อทางอันตวิทยาของลัทธิบัวขาว และได้สืบทอดมาจนกลายเป็นคำสอนหลักของลัทธิอนุตตรธรรมในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ระบุว่าในช่วงปลายกัป พระแม่องค์ธรรมได้แบ่งธรรมกาล (陽) ออกเป็น 3 ยุค คือ คือยุคเขียวของพระทีปังกรพุทธเจ้า ยุคแดงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งสิ้นสุดไปแล้ว และปัจจุบันคือยุคขาวของพระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและยุคสามกัปสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและรัตนตรัย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิหลัว

ลัทธิหลัว (羅教) เป็นศาสนาในประเทศจีน หลัว ชิงเป็นศาสดาผู้ก่อตั้งลัทธินี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิหลัว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเซียนเทียนเต้า

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา ลัทธิเซียนเทียนเต้า (先天道 Xiāntiān Dào) เป็นลัทธิศาสนาหนึ่งที่หวง เต๋อฮุย ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสืบความเชื่อมาจากลัทธิบัวขาวในสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังรับคำสอนมาจากลัทธิหลัวด้วย ลัทธิเซียนเทียนเต้าเป็นต้นกำเนิดของอีก 5 ลัทธิที่แยกตัวออกมาภายหลัง ได้แก่ ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลัทธิเซียนเทียนเต้า · ดูเพิ่มเติม »

ลังกาวตารสูตร

ลังกาวตารสูตร (लंकावतारसूत्र Laṅkāvatāra Sūtra) เป็นพระสูตรเก่าแก่เล่มหนึ่งในนิกายมหายาน พระสูตรนี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีของเถรวาท แต่งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ได้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกราว..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลังกาวตารสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ลู่ จงอี

ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่าพระศรีอริยเมตไตรยแบ่งภาคมาเกิดเป็น ลู่ จงอี (路中一) เพื่อสืบต่อพงศาธรรมเป็นจู่ซือรุ่นที่ 17 ในประเทศจีนและเป็นจู่ซือองค์แรกในธรรมกาลยุคขาว.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและลู่ จงอี · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดา

ือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศจีน

นาพุทธได้เข้ามาในประเทศจีน ดังที่ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนาพุทธในประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตวโลก

ในศาสนาพุทธ สัตวโลก หมายถึง หมู่สัตว์ (สตฺต) คือสิ่งมีชีวิต มีพิชาน มีขันธ์Getz, Daniel A. (2004).

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและสัตวโลก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สติปัฏฐาน 4

ติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต และธรรม คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​มหาสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและสติปัฏฐาน 4 · ดูเพิ่มเติม »

หวัง เจฺว๋อี

หวัง เจฺว๋อี (王覺一) เป็นศาสดาผู้ก่อตั้งลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและหวัง เจฺว๋อี · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อาณัติแห่งสวรรค์

อาณัติแห่งสวรรค์ (mandate of heaven) คือความชอบธรรมที่สวรรค์มอบให้แก่มนุษย์คนหนึ่ง ให้มีอำนาจในการปกครองประชาชน มีลักษณะใกล้เคียงกับแนวคิดเทวสิทธิราชย์ในปรัชญาการเมืองตะวันตก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและอาณัติแห่งสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮุ่ยเหนิง

รีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระฮุ่ยเหนิง พระฮุ่ยเหนิง (慧能 หรือ 惠能) หรือ ท่านพุทธทาสภิกษุ ออกเสียงว่า "เว่ยหลาง" เป็นภิกษุที่มีชีวิตสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซนนับจากพระโพธิธรรม หลังจากสืบทอดบาตรจีวรและธรรมจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน คือ หวางยั่น (ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายกแห่งนิกายเซนองค์ที่ 5 เจ้าอาวาสวัดตุงซั่น เว่ยหล่างมักถูกนำไปอ้างถึงในลัทธิอนุตตรธรรมว่าเป็นบรรพจารย์แห่งอนุตตรธรรมด้วย ลัทธินี้กล่าวว่ามีคำสอนเร้นลับเผยแพร่ได้เฉพาะผู้ได้รับอาณัติสวรรค์ โดยสืบต่อกันจากจิตถึงจิต เป็นการเฉพาะตัว รับช่วงต่อได้ทีละหนึ่งคนจากวิสุทธิอาจารย์ และจะเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปไม่ได้ จนกระทั่งปัจจุบันจึงถึงยุคที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษา ซึ่งขัดกับหลักคำสอนของเว่ยหล่าง ในหมวดคำสอนครั้งสุดท้ายของท่าน ใจความว่า "สำหรับคำสอนของฉันทั้งหมด นับแต่ได้กล่าวเทศนาในวัดไทฟันตราบจนบัดนี้ จงคัดลอกเป็นเล่มแล้วแจกจ่ายกันไปก็ได้ แต่ให้ชื่อว่า สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์แห่งธรรมรถ จงทะนุถนอม ไว้ให้ดี แล้วมอบต่อกันไปตามอนุชนแต่ละรุ่น เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่สั่งสอนตามคำสอนนี้ เป็นผู้ที่สั่งสอนตามธรรมแท้ พอแล้วสำหรับธรรม ส่วนการรับช่วงจีวรนั้น ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัน เพราะเหตุใดหรือ? เพราะว่าท่านทั้งหลายต่างก็ศรัทธาต่อคำสอนของฉันโดยพร้อมมูล ทั้งท่านก็ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ แล้ว ท่านย่อมสามารถสืบต่อจุดประสงค์อันสูงยิ่งของสำนักเราให้ลุล่วงไปได้ นอกจากนั้นตามความหมายในโศลกของท่านโพธิธรรม พระสังฆปริณายกองค์แรกผู้ถ่ายทอดพระธรรมและบาตรจีวรท่านก็ไม่ประสงค์จะให้มอบแก่ใครต่อไปอีก โศลกนั้นคือ:- จุดประสงค์ในการมาดินแดนนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดพระธรรม สำหรับปลดปล่อยสัตว์ที่ถูกครอบงำไว้ ด้วยความหลงผิด เมื่อมีกลีบครบห้ากลีบ ดอกไม้นั้นก็สมบูรณ์ หลังจากนั้นไป ผลจะปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติ" และเมื่อมีคำถามในเรื่องการถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับที่ว่าไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามที่อนุตรธรรมกล่าวอ้าง ก็ได้กล่าวถึงในที่ประชุมก่อนเว่ยหล่างมรณภาพเช่นกัน ใจความว่า ที่ประชุมถามว่า "ใครครับ พระคุณท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดขุมกำเนิดแห่งดวงตาของธรรมแท้?" พระสังฆปริณายกตอบว่า "มนุษย์ในหลักธรรมย่อมได้รับ และบรรดาผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากความคิดเห็นอันเฉียบขาด ย่อมเข้าใจ" ซึ่งจะเห็นได้ว่าธรรมนั้นมิใช่สิ่งเร้นรับอันใดเลย ปัจจุบันประเทศไทยเอง ก็มีการจัดสร้างรูปเหมือนของของพระฮุ่ยเหนิง ที่สร้างตามรูปแบบสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของท่าน ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเททองหล่อรูปเหมือนของพระฮุ่ยเหนิง เพื่อประดิษฐานบนหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2558 ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่อาจาริยคุณ ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ต่อมาพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานสำนักพุทธศาสนามณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวางเซี้ยว เมืองกวางโจว ได้เมตตามอบรูปหล่อพระสังฆนายก "หุ่ยเหนิง" เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว ที่จัดสร้างเพียง 3 องค์ (วัดกวงเซี้ยว แห่งนี้เป็นวัดที่ท่านหุ้ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม(ตั๊กม้อ) ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนด้วย) โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน เพื่ออัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย และประดิษฐานเป็นการถาวร เปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย พุทธมณฑลสาย 6 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน(เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไท.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและฮุ่ยเหนิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเหลียงอู่

ักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ พระเจ้าเหลียงอู่ (梁武帝) หรือ เซียวเหยี่ยน (萧衍) แห่งราชวงศ์เหลียง ทรงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 502–549 นับเป็นช่วงเวลาที่มีเสถียรภาพที่สุดในยุคราชวงศ์หนานเป่ย หรือราชวงศ์เหนือใต้ พระองค์สนับสนุนการศึกษาของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ แต่ก็ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและจักรพรรดิเหลียงอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จาง เทียนหรัน

ง เทียนหรัน (張天然) เป็นจู่ซือรุ่นที่ 18 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของลัทธิอนุตตรธรรม ผู้ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรและจารีตพิธีกรรมของลัทธิ ซึ่งยังใช้อยู่จวบจนปัจจุบัน จึงถือไว้ว่าเขาเป็นศาสดาของลัทธิอนุตตรธรรมสมัยใหม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและจาง เทียนหรัน · ดูเพิ่มเติม »

จู่ซือ

ู่ซือ (祖師) บางตำราแปลว่า "ปรมาจารย์" หมายถึง ผู้ก่อตั้งหรือเจ้าสำนักองค์การศาสนาในประเทศจีน ใช้ในศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและจู่ซือ · ดูเพิ่มเติม »

จีนโพ้นทะเล

วจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese; จีน: 華僑 huáqiáo หัวเฉียว, 華胞 huábāo หัวเปา, 僑胞 qiáobāo เฉียวเปา, 華裔 huáyì หัวอี้) คือ กลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึง จีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งดินแดนภายใต้การปกครองของรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่า ไต้หวัน เป็นเพียงมณฑลหนึ่งของตน และปัจจุบัน สหประชาชาติ มิได้รับรองฐานะไต้หวันให้เป็นสาธารณรัฐจีนแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและจีนโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

จี้กง

รูปปั้นของพระจี้กง เต้าจี้ฉานซือ (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ ("จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘).

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและจี้กง · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

คุยหลัทธิ

หลัทธิ (Esotericism/Esoterism) หมายถึง แนวคิดหรือความรู้แบบหนึ่งที่ถูกสงวนไว้ให้รับรู้หรือเปิดเผยได้กับคนเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้สนใจเป็นพิเศษ ขบวนการทางศาสนาที่มีแนวคิดแบบคุยหลัทธิ เช่น ลัทธิการเล่นแร่แปรธาตุ โหราศาสตร์ ไญยนิยม วัชรยาน ไสยศาสตร์ ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เจตนิยม เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและคุยหลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

คนพื้นเมือง

นพื้นเมืองบราซิล คนพื้นเมืองนอร์เวย์ คนพื้นเมืองนิวซีแลนด์ คนพื้นเมืองCameroon คนพื้นเมืองในแคนาดา หนึ่งในนิยามของ คนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ ชาวพื้นเมือง (indigenous peoples หรือ aboriginal peoples) ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ มีกำเนิดในท้องถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นของตนเอง มีเอกตลักษณ์การแต่งกายที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำนี้มักใช้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับแผ่นดินก่อนการล่าอาณานิคมหรือการก่อตั้งรัฐชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองจากวัฒนธรรมและการเมืองกระแสหลักในรัฐชาติที่กลุ่มชาติพันธ์นั้นดำรงอยู่Coates 2004:12 ความหมายทางการเมืองของคำนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบและกดขี่โดยรัฐชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดสิทธิพิเศษทางการเมืองให้กับชนพื้นเมืองโดยองค์การนานาชาติ อาทิเช่น สหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และธนาคารโลก สหประชาชาติได้ประกาศ Declaration on the Rights of Indigenous Peoples เพื่อปกป้องสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติ ของชนพื้นเมือง ด้วยนิยามที่ต่างกันไป มีประมาณการณ์ว่าชนพื้นเมืองในโลกนี้มีอยู่ราว 220 ล้านคนใน..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและคนพื้นเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ซุน ฮุ่ยหมิง

ซุน ฮุ่ยหมิง (孫慧明) เป็นจู่ซือคนสุดท้ายของลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและซุน ฮุ่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

นรกภูมิ

ลของมัจจุราชในนรก ภาพจากสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (निरय, นิรย; नरक, นรก; 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; 地獄, จิโกะกุ; ငရဲ, งาเย; neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพญายมราช ตามไตรภูมิกถาแล้ว นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ" นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและนรกภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่'''อนุปาทิเสสนิพพาน'''สภาวะ นิพพาน (निब्बान nibbāna นิพฺพาน; निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุก.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและนิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

เม่งจื๊อ

ม่งจื๊อ เม่งจื๊อ หรือในทางตะวันตกรู้จักในชื่อ เมนเชียส (Mencius) ปีเกิดที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือประมาณ 372 - 289 ก่อนคริสตกาล หรืออาจราว 385 - 303/302 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญาชาวจีน เป็นคนเมืองจูทางตอนใต้ของมณฑลชานตง เม่งจื๊อได้รับถ่ายทอดแนวความคิดของขงจื๊อมาจากหลานชายของขงจื๊อเอง จึงถือว่าเป็นลูกศิษย์ของขงจื๊อคนหนึ่ง เม่งจื๊อชอบเดินทางออกสั่งสอนหลักความคิดของเขาและก่อนที่เขาจะลาออกจากราชการ เขาแต่งหนังสือขึ้นรวม 7 เล่ม เป็นบันทึกคำสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเขา มีการรวมรวบเข้าเป็น 4 เล่มใหญ่ และได้กลายเป็นรากฐานการศึกษาหลักปรัชญาของเม่งจื๊อในเวลาต่อมา แนวคิดของเม่งจื๊อ กล่าวว่า "โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานเป็นคนดีมาแต่กำเนิด แต่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่าง ๆ ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงไป" เม่งจื๊อเชื่อว่า ความดีทั้งหมดสามารถต่อเติมให้กับมนุษย์ได้ด้วยการศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ การศึกษาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำ แต่เกิดจากบรรดาผู้ปกครองที่ไม่มีการศึกษา ฉะนั้นผู้ปกครองควรเป็นนักปรัชญาหรือไม่ก็ควรให้นักปรัชญามาเป็นปกครอง ในกรณีที่นักปกครองไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น ในข้อนี้เขาเน้นว่าชนชั้นบริหารรัฐบาลควรเป็นผู้ที่มีการศึกษา ผู้มีการศึกษาจะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าQuale, G.Robina: Eastern Civilization (Prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1975) P. 383 แนวคิดในส่วนนี้ของเม่งจื๊อตรงกันข้ามกับศิษย์ของขงจื๊ออีกคน คือ ซุนจื๊อ โดยสิ้นเชิง ซุนจื๊อเห็นว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะขจัดความชั่วร้ายนั้น ต้องมีการควบคุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับชนชั้นในสังคม เม่งจื๊อสนับสนุนให้มีชนชั้น คือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เม่งจื๊อกล่าวว่า "ทั้ง 2 ชนชั้น มีหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าขาดผู้หนึ่งผู้ใดไป สังคมก็จะไม่สมบูรณ์".

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเม่งจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจื๊อ

ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเล่าจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เสินหนง

วาดเสินหนงทดสอบคุณสมบัติของสมุนไพร เสินหนง (Shennong;; สำเนียงแต้จิ๋ว: ซิ่งล้ง, สำเนียงฮกเกี้ยน: สินเหน่ง) กษัตริย์ในตำนานของจีน ในยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า เสินหนงสื่อ (จีนตัวเต็ม: 神農氏, จีนตัวย่อ: 神农氏, พินอิน: Shén nóng shì) โดยมีความหมายว่า "เทพเจ้าแห่งชาวนา" เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่าหัว (ฮั้ว) แซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน ได้ร่วมทำไร่ไถนากับชาวบ้านสามัญชน และเป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนา ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก ด้วยคุณงามความดีทางด้านการเพาะปลูก ผู้คนทั้งหลายจึงให้ความเคารพนับถือมาก สมัยเสินหนงเป็นระยะแรกเป็นไปเป็นแบบลูกชายสืบทอดเชื้อสายจากสายของพ่อ ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างปรองดองไม่มีการกดขี่ขูดรีด ตามบันทึกของจีนบันทึกไว้ว่า ในช่วงที่เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านั้น แบ่งหน้าที่ตามสถานะทางเพศชัดเจน ผู้ชายออกจากบ้านไปทำไร่ไถนา ผู้หญิงทอผ้าในบ้าน การปกครองประเทศไม่ต้องมีเรือนจำและการลงโทษ และก็ไม่ต้องมีการทหารและตำรวจ แต่คุณูปการที่สำคัญยิ่งของเสินหนงได้แก่ การเสาะหาสมุนไพรตาม ป่าเขา เพื่อใช้รักษาโรคของผู้คนทั้งหลายและในการทดสอบสรรพคุณ ของสมุนไพรว่า จะรักษาโรคเช่นไรได้ เสินหนงได้ใช้ตนเองเป็นเครื่องทดลอง ด้วยการลองกินสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ดูว่า จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร จึงถูกพิษเล่นงานบ่อยครั้งจนกระทั่งบางวันเป็นพิษถึง 70 กว่าครั้งภายในวันเดียว กล่าวกันว่าเสินหนงยังได้แต่งหนังสือชื่อ "เสินหนงไป๋ฉ่าว" แปลว่า "ยาสมุนไพรเสินหนง" โดยได้จดบันทึกใบสั่งยาสมุนไพรที่รักษาโรคแต่ละอย่างไว้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตำราทางการแพทย์เล่มแรกของโลกก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้ว เสินหนงเป็นคนแรกที่รู้จักการดื่มน้ำชา เล่ากันว่า เสินหนงดื่มเฉพาะน้ำต้มสุก วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่ ปรากฏว่า ลมได้พัดโบกใบชาร่วง หล่นลงในน้ำที่ใกล้เดือดพอดีเมื่อลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก จึงเป็นที่ของวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนจนปัจจุบัน ในทางด้านวิทยาการ เสินหนง ยังเป็นนักปฏิทินดาราศาสตร์ ได้ปรับปรุงและขยาย "แผนภูมิปากั้ว" หรือ "แผนภูมิ 8" ที่ "ฝูซี" (伏羲) เป็นผู้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงปรากฏการณ์ของธรรมชาติและปรากฏการณ์ของมนุษย์ต่าง ๆ มาเป็น "ลิ่วสือซื่อกั้ว" หรือ "แผนภูมิ 64" ตั้งชื่อว่า "กุยฉาง" ซึ่งนอกจากใช้บันทึกเหตุการณ์ แล้ว ยังนำมาใช้ในการเสี่ยงทายได้ด้วย (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอี้จิง หรือ โจวอี้) นอกจากนั้น เมื่อเสินหนงเห็นคนบางคนต้องการสิ่งของที่ตนเองผลิตไม่เป็น แต่บางคนกลับมีเกินความจำเป็น ทำให้การดำรงชีวิตไม่สะดวกสมดุล จึงเสนอให้ประชาชนนำสิ่งของของตนไปแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และให้มีการค้าขายกัน จึงถือได้ว่าระบบเศรษฐกิจของจีนถือกำเนิดมาในยุคนี้เอง เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลังหวงตี้ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมืองฉางชาของมณฑลหูหนานในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า สุสานเหยียนตี้.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเสินหนง · ดูเพิ่มเติม »

เจียง จื่อหยา

วาดเจียง จื่อหยา จาก''สมุดภาพไตรภูมิ'' ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง เจียงจื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ผู้นำในการก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการ หลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียวเหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียวเหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกา ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียวเหลียงศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเจียง จื่อหยา · ดูเพิ่มเติม »

เง็กเซียนฮ่องเต้

ง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเง็กเซียนฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

เตี่ยนฉวนซือ

ตี่ยนฉวนซือ (點傳師) บางตำราแปลว่าอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม เป็นตำแหน่งอาจารย์อาวุโสในลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเตี่ยนฉวนซือ · ดูเพิ่มเติม »

เต้าซิ่น

ต้าซิ่น หรือ พระภิกษุตูชุน เป็นพระสังฆปรินายกนิกายเซน รูปที่ 4 เกิด ณ ตำบลกวงจี่ เมืองคีจิว แซ่ซีเบ้ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี มรณภาพเมื่ออายุ 72 ปี พร้อมกับมอบเครื่องหมายแห่งธรรมทายาทนิกายเซนให้แก่พระภิกษุฮวางยาน (ฮ่งยิ้มไต้ซือ).

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเต้าซิ่น · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิอนุตตรธรรมและเซน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »