โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานีรถไฟรันเตาปันจัง

ดัชนี สถานีรถไฟรันเตาปันจัง

นีรถไฟรันเตาปันจัง (Stesen keretapi Rantau Panjang) เป็นสถานีรถไฟในเมืองรันเตาปันจัง ประเทศมาเลเซีย เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1921 เมื่อก่อนเคยเป็นสถานีรถไฟเชื่อมต่อชายแดนไทย-มาเลเซีย แต่ในปัจจุบันการเชื่อมต่อไปถูกยกเลิก และใช้ชายแดนที่ปาดังเบซาร์แทน.

9 ความสัมพันธ์: ชานชาลาด้านข้างพ.ศ. 2464รัฐกลันตันรันเตาปันจังสะพานมิตรภาพ (ไทย–มาเลเซีย)สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกประเทศมาเลเซียปาดังเบซาร์เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู

ชานชาลาด้านข้าง

แผนผังชานชลาด้านข้างและสะพานลอย ชานชาลาด้านข้าง เป็นรูปแบบชานชลาสถานีรถไฟซึ่งมี 2 ชานชลา ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีรางรถไฟเป็นตัวแบ่ง ส่วนใหญ่มักใช้แบ่งเป็นชานชลารถเที่ยวขึ้น-ล่อง การก่อสร้างชานชลาลักษณะนี้ไม่ยุ่งยาก แต่มีประสิทธิภาพน้อย เพราะไม่สะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและชานชาลาด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและพ.ศ. 2464 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

รันเตาปันจัง

นนสายหนึ่งในรันตูปันจัง รันตูปันจัง (Rantau Panjang) เป็นเมืองแห่งหนึ่งในรัฐกลันตัน ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ตรงข้ามกับอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีธนาคารที่สำคัญได้แก่ Maybank (ธนาคารมาลายัน), Bank Simpanan Nasional (ธนาคารออมสินมาเลเซีย) และ Agro Bank Malaysia (ธนาคารเกษตรกรรมมาเลเซีย).

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและรันเตาปันจัง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพ (ไทย–มาเลเซีย)

นบ้านบูเก๊ะตา (Jambatan Bukit Tal) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างบ้านบูเก๊ะตา ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบูงา รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร ดำเนินการสร้างโดยกรมทางหลวงของไทย และกรมโยธาธิการ มาเลเซีย ใช้เวลาสร้าง 1 ปี งบประมาณ 90 ล้านบาท โดยออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่ง เปิดให้บริการ 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว โดยเป็นหนึ่งในแผนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย และยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ร่วมลงนามโครงการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สะพานแห่งนี้ยังสร้างในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและมาเลเซีย หลังจากที่สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งแรก เชื่อมสุไหงโก-ลกกับเขตรันเตาปันยัง ได้สร้างมาแล้วถึง 34 ปี พิธีเปิดมีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และภริยา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.ร.อ. ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ร.อ. บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและสะพานมิตรภาพ (ไทย–มาเลเซีย) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก

นีรถไฟสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชีย 18 เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้และสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายใต้ โดยสุดเขตแดนเมืองรันตูปันยัง ประเทศมาเลเซีย และมีระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพมากที่สุด ถึง 1,142 กิโลเมตร.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปาดังเบซาร์

ปาดังเบซาร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและปาดังเบซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู

รถไฟระหว่างเมืองขบวนหนึ่งของเคทีเอ็ม เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) (Keretapi Tanah Melayu, كريتاڤي تانه ملايو برحد) หรือ การรถไฟมลายา เป็นผู้ดำเนินการรถไฟในมาเลเซียตะวันตก เริ่มสร้างในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ชื่อเดิมคือ การรถไฟสหพันธรัฐมลายู (FMSR) และองค์การบริหารรถไฟมลายา (MRA) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู" ในปี..

ใหม่!!: สถานีรถไฟรันเตาปันจังและเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สถานีรถไฟรันเตาปันจาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »