โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ดัชนี ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

59 ความสัมพันธ์: บริติชไอลส์ชาวพิคท์ชาวกอทชาววิซิกอทชาวออสโตรกอทชาวฮันชาวจูตชาวแฟรงก์ชาวแองโกล-แซกซันชาวแองเกิลชาวแซกซันชาวเคลต์ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ชนร่อนเร่พ.ศ. 1443พ.ศ. 843พระวรสารพระวรสารลินดิสฟาร์นพระวรสารเคลล์สกลุ่มชนเจอร์แมนิกกอลการฝังศพในเรือกางเขนกางเขนยืนยุคเหล็กยุโรปเหนือราชวงศ์ฮั่นราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียลัทธินอกศาสนาลายสอดประสานวัฒนธรรมลาแตนวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3ศาสนาคริสต์ศิลปะสมัยกลางศิลปะแองโกล-แซกซันศิลปะโรมาเนสก์ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันศิลปะเคลต์สมัยการย้ายถิ่นสารานุกรมบริตานิกาสแกนดิเนเวียสเตปป์หน้าลายพรมอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันอินทรีจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันตะวันตกทะเลดำซัตตันฮูประวัติศาสตร์ของศิลปะ...ประเทศสเปนประเทศอิตาลีประเทศโรมาเนียเชเซนาเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเข็มกลัดทาราเข็มกลัดตรึงเข็มกลัดประดับเคนต์ ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

บริติชไอลส์

ริติชไอลส์ (British Isles) หรือ หมู่เกาะอังกฤษ เป็นกลุ่มเกาะในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย เกาะเกรตบริเตน เกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่อยู่ใกล้เคียง เกาะเล็ก ๆ มากกว่า 6 พันเกาะ"British Isles," Encyclopædia Britannica แบ่งออกเป็นเขตการปกครองของประเทศไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและบริติชไอลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพิคท์

หินงูอเบอร์เลมโนสลักโดยชาวพิคท์ ชาวพิคท์ หรือ ชาวพิคทาเวีย (Picts หรือ Pictavia) เป็นสหพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ต่อมาเป็นทางด้านตะวันออกและทางเตอนเหนือของสกอตแลนด์ ที่รุ่งเรืองระหว่างการพิชิตบริเตนโดยโรมันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชาวพิคท์มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฟอร์ธและแม่น้ำไคลด์ และพูดภาษาพิคท์ที่พูดโดยชาวบริทัน (Britons) ทางตอนใต้ด้วย เชื่อกันว่าชาวพิคท์สืบเชื้อสายมาจากชาวคาเลโดเนียและชนกลุ่มอื่นที่ได้ชื่อมาจากนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน หรือที่พบในแผนที่โลกของทอเลมี ต่อมาชาวพิคท์ก็ถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเกล Dál Riata เพื่อก่อตั้ง ราชอาณาจักรอัลบา (Kingdom of Alba) อัลบาขยายตัวไปกลืนดินแดนบริเตนและเบอร์นิเซีย เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวพิคท์ก็กลืนไปเป็นกลุ่มชนผสมของทางเหนือของบริเตนที่มาเรียกกันว่า "ชาวสกอต".

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวพิคท์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวออสโตรกอท

ออสโตรกอท (Ostrogoths, Ostrogothi, Austrogothi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธ์กอทซึ่งเป็นสาขาของชนเจอร์มานิคตะวันออกที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในตอนปลายจักรวรรดิโรมัน อีกสาขาหนึ่งคือชาววิซิกอท ชนออสโตรกอทก่อตั้งรัฐในกรุงโรมในอิตาลีและคาบสมุทรบอลข่านอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และในช่วงนั้นก็รวมส่วนใหญ่ของฮิสเปเนีย และตอนใต้ของกอล ออสโตรกอทรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษ ออสโตรกอทก็ถูกพิชิตโดยโรมในสงครามกอทิก (ค.ศ. 535–554) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่อิตาลี.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวออสโตรกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจูต

มุทรจัตแลนด์ จูต (Jutes หรือ Iuti หรือ Iutae) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่นักบุญบีดกล่าวว่าเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น เชื่อกันว่าชาวจูตมาจากคาบสมุทรจัตแลนด์ (Iutum) ในเดนมาร์กปัจจุบัน, ชเลสวิกตอนใต้ (ตอนใต้ของจัตแลนด์) และบางส่วนของฝั่งทะเลอีสต์ฟริเซีย นักบุญบีดกล่าวว่าบ้านเกิดของชาวจูตอยู่ตรงกันข้ามกับชาวแองเกิลและไม่ไกลจากชาวแซกซันซึ่งก็หมายถึงทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ แทซิทัสกล่าวถึงชนที่เรียกว่า "ยูโดซีส" (Eudoses) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งอาจจะเป็นชนกลุ่มเดียวกัน นอกจากนั้นก็ยังมีที่กล่าวว่าชาวจูตคือ "โอเทนาส" (Eotenas) ที่มาจากการขัดแย้งระหว่างฟริเซียนและชนเดนส์ที่บรรยายในโคลง เบวูล์ฟ (บรรทัดที่ 1068-1159) ผู้อื่นกล่าวว่าตีความหมายว่า "ēotenas" เป็น "jotuns" ที่แปลว่า "ยักษ์" หรือ "ศัตรู".

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวจูต · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองเกิล

ักรวรรดิโรมันภายไต้จักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงที่ตั้งของ "Anglii" ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณคอแหลมจัตแลนด์ (เดนมาร์ก) แองเกิล (Angles) เป็นคำภาษาอังกฤษใหม่สำหรับเรียกกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกที่ได้ชื่อมาจากบริเวณการตั้งถิ่นฐานอังเงิลน์ (Angeln) ที่อยู่ในบริเวณรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ (Schleswig-Holstein) ในเยอรมนีปัจจุบัน แองเกิลเป็นกลุ่มชนหลักที่มาตั้งถิ่นฐานในบริเตนในช่วงเวลาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (Fall of the Roman Empire) และก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในสมัยแองโกล-แซกซันของอังกฤษและ "Angles" เป็นรากของคำว่า "England" (อังกฤษ).

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวแองเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนร่อนเร่

นร่อนเร่ในท้องทุ่งตั้งแค้มพ์ใกล้นัมโซ (Namtso) ในปี ค.ศ.2005 ราว 40% ของชาวทิเบตเป็นชนร่อนเร่หรือชนกึ่งเร่ร่อนhttp://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/picture_gallery/06/asia_pac_tibetan_nomads/html/1.stm In pictures: Tibetan nomads BBC News ชนร่อนเร่ (νομάδες, Nomad หรือ Nomadic people) คำว่า “Nomad” มาจาก “nomádes” ที่แปลว่า “ผู้นำฝูงสัตว์เลี้ยงในทุ่ง” คือชุมชนที่ย้ายที่อยู่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแทนที่จะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอย่างถาวรในที่ใดที่หนึ่ง ชนร่อนเร่มีด้วยกันราว 30-40 ล้านคนทั่วโลก อารธรรมหลายวัฒนธรรมเดิมมาจากการเป็นชนร่อนเร่ แต่การเป็นชนร่อนเร่เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปได้ยากขึ้นในประเทศอุตสาหกรรม ชนร่อนเร่แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม: ผู้ล่าสัตว์และหาอาหาร (hunter-gatherer) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณที่ล่าสัตว์ต่างๆ, ผู้หากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastoralism) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ต่างๆ และ “ผู้ร่อนเร่ตามแหล่งหากิน” (peripatetic nomads) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างแหล่งงานหรือแหล่งการค้า ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการล่าสัตว์เป็นกลุ่มชนที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ดำรงชีวิตโดยการหากินจากสิ่งที่หาได้จากป่าที่พำนักอาศัยตามฤดูกาล ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการเลี้ยงสัตว์ย้ายถิ่นฐานไปตามทุ่งที่มีอาหารดีสำหรับสัตว์เลี้ยงและทิ้งทุ่งเก่าไว้ให้ฟื้นตัวก่อนที่จะกลับมาใหม่ “ชนร่อนเร่หากิน” เป็นกลุ่มที่พบในประเทศอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นฐานตามแต่ที่ใดจะมีทางทำมาหากิน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและชนร่อนเร่ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1443

ทธศักราช 1443 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและพ.ศ. 1443 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 843

ทธศักราช 843 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและพ.ศ. 843 · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและพระวรสารลินดิสฟาร์น · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารเคลล์ส

ระวรสารเคลล์ส หรือ พระวรสารโคลัมบา (Leabhar Cheanannais Book of Kells หรือ Book of Columba) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละตินที่ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่พร้อมด้วยเนื้อหาอื่นๆ และตาราง “พระวรสารเคลล์ส” ที่เป็นงานที่เขียนขึ้นโดยนักบวชเคลต์เมื่อราวปี ราว ค.ศ. 800 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น เป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนอักษรวิจิตรของยุโรปและเป็นงานที่แสดงถึงจุดสุดยอดของงานเขียนหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ และเป็นสมบัติของชาติชิ้นสำคัญของไอร์แลนด์ เนื้อหาของพระวรสารส่วนใหญ่นำมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติน แต่ก็มีหลายส่วนที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับก่อนหน้านั้นที่เรียกกันว่า “คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินเดิม” (Vetus Latina) ภาพวาดและงานตกแต่ง “พระวรสารเคลล์ส” เป็นฝีมือที่งดงามกว่าพระวรสารฉบับอื่นใดของหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ ทั้งในด้านความหรูหราและความซับซ้อน การตกแต่งรวมธรรมเนียมนิยมของการเขียนรูปสัญลักษณ์ของศิลปะคริสต์ศาสนา เข้ากับลวดลายสอดผสานอันเป็นแบบฉบับของศิลปะเกาะอันหรูหรา รูปลักษณ์ของมนุษย์, สัตว์ และ สัตว์ในตำนาน พร้อมด้วยเงื่อนเคลติค และ ลายสอดประสานอันเต็มไปด้วยสีสันอันสดใสทำให้งานหนังสือวิจิตรเป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังและมีชีวิตจิตใจ องค์ประกอบของสิ่งตกแต่งข้างเคียงเหล่านี้ผสานไปด้วยสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการช่วยเน้นเนื้อหาของภาพหลักที่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมไปด้วย “พระวรสารเคลล์ส” ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 340 สี่หน้ายกและตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและพระวรสารเคลล์ส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและกอล · ดูเพิ่มเติม »

การฝังศพในเรือ

็นริค เซียมราดสกี (ค.ศ. 1843-ค.ศ. 1902) การฝังศพในเรือ (Ship burial หรือ boat grave) เป็นการฝังศพโดยการใช้เรือที่อาจจะเป็นทั้งที่บรรจุศพและที่ฝังสมบัติของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของสมบัติของผู้ตายเท่านั้น ถ้าเป็นเรือลำเล็กก็จะเรียกว่า “boat grave” ลักษณะของการฝังทำกันในสมัยเวนเดล (ค.ศ. 550-ค.ศ. 793) และโดยแองโกล-แซ็กซอน, เมโรแว็งเชียง, ไวกิง, ชาวรุส, ชาวบอลติก (โดยเฉพาะ ชาวคิวโรเนียน) และบางครั้งก็พบในอียิปต์โบราณ ตามประเพณีของกลุ่มชนเจอร์มานิคแล้วการฝังโดยวิธีนี้เป็นการใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางไปยังท้องพระโรงวาลฮาลลา และการฝังโดยวิธีนี้เป็นเกียรติยศอันสูงส่งต่อผู้เสียชีวิต.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและการฝังศพในเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนยืน

กางเขนยืน (standing cross) หรือกางเขนสูง (high cross) คือกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ตั้งอยู่โดด ๆ กลางแจ้ง กางเขนยืนทำด้วยหินและมักจะตกแต่งเป็นลวดลายกระหวัดอย่างวิจิตร กางเขนยืนส่วนใหญ่พบในไอร์แลนด์ และ บริเตนใหญ่ระหว่างต้นสมัยกลางหรือบางครั้งก็หลังจากนั้น กางเขนยืนมักจะมีวงแหวนรอบบริเวณจุดตัดที่เป็นลักษณะที่เรียกว่ากางเขนเคลติก.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและกางเขนยืน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปเหนือ

ยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปเหนือ ประกอบไปด้วย ดินแดนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์ อยู่ประมาณละติจูดที่ 55 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ ประกอบไปด้วยประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ซึ่งได้แก่ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศไอซ์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์ดิก ในปีพ.ศ. 2541 มีประชากรทั้งหมด 35,086,982 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,502,7863 ตารางกิโลเมตร สำหรับภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาติวโตนิก ได้แก่ภาษาของพวกสแกนดิเนเวีย (ยุโรปเหนืออาจหมายถึงหมู่เกาะอังกฤษ และบางประเทศที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้)เ่รรร หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและยุโรปเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลายสอดประสาน

ลายสอดประสาน (Interlace) ในด้านทัศนศิลป์ “ลายสอดประสาน" คือองค์ประกอบของงานตกแต่งที่พบในศิลปะสมัยกลาง ในงานสอดประสานจะเป็นแถบหรือลวดลายที่กระหวัด สาน หรือผูกเป็นเงื่อน เป็นลักษณะโครงสร้างของเรขาคณิตที่มักจะเขียนเติมให้เต็มเนื้อที่ที่ว่างอยู่ ลายสอดประสานของอิสลามและเงื่อนเคลต์มีลักษณะรูปแบบและโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีต้นตอมาจากรากเหง้าเดียวกัน ศิลปะลายสอดประสานนิยมสร้างกันในงานของศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานของยุโรปเหนือโดยเฉพาะศิลปะเกาะของเกาะบริติชและศิลปะนอร์สของยุคกลางตอนต้น.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและลายสอดประสาน · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ. 1857 วัฒนธรรมลาแตนเคลตสเครุ่งเรืองระหว่างปลายยุคเหล็ก (ตั้งแต่ปี 450 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงการพิชิตของโรมันใน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ในบริเวณตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี ทางตอนเหนือไปจรดกับวัฒนธรรมยาสตอร์ฟของเยอรมนีตอนเหนือ วัฒนธรรมลาแตนเจริญขึ้นมาจากวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ของยุคเหล็กตอนต้น โดยไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด และเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลพอประมาณจากเมดิเตอร์เรเนียนจากกรีกในภูมิภาคกอลก่อนสมัยโรมันและต่อมาอารยธรรมอีทรัสคัน การโยกย้ายศูนย์กลางของที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมลาแตนพบในบริเวณอันกว้างไกลที่รวมไปถึงบางส่วนของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ (หมู่บ้านริมทะเลสาบกลาสตันบรีในอังกฤษเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาแตน), ทางตอนเหนือของสเปน ภูมิภาคเบอร์กันดี และ ออสเตรีย สถานที่ฝังศพอันหรูหราก็เป็นเครื่องแสดงเครือข่ายของการค้าอันกว้างไกล เช่นเนินบรรจุศพวีซ์ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่ฝังศพของสตรีสูงศักดิ์จากศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชที่ถูกฝังพร้อมด้วยไหคอลดรอนสำริดที่ทำในกรีซ สินค้าออกของจากบริเวณวัฒนธรรมลาแตนไปยังบริเวณวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเกลือ ดีบุก ทองแดง อำพัน ขนแกะ หนัง ขนสัตว์ และทองคำ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและวัฒนธรรมลาแตน · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ักรวรรดิที่ถูกแบ่งแยกในปี ค.ศ. 271: จักรวรรดิกอลสีเขียว, จักรวรรดิพาลมิรีนสีเหลือง และจักรวรรดิโรมันสีแดง วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 (Discrimen Tertii Saeculi, Crisis of the Third Century) หรืออนาธิปไตยทางทหาร (Military Anarchy หรือวิกฤติการณ์จักรวรรดิ (Imperial Crisis; ค.ศ. 235–284) เป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันประสบวิกฤติการณ์ที่แทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของศัตรู, สงครามกลางเมือง, โรคระบาด, และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ วิกฤติการณ์เริ่มด้วยการลอบสังหารของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส โดยทหารของพระองค์เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของห้าสิบปีของความปั่นป่วนที่ในระหว่างนั้นก็มีผู้อ้างตนเป็นจักรพรรดิถึง 20 ถึง 25 คน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนายพลผู้มีชื่อเสียงของกองทัพโรมันที่เข้ายึดอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนของจักรวรรดิ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 258 ถึงปี ค.ศ. 260 จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสามส่วน: จักรวรรดิกอล ที่รวมทั้งจังหวัดโรมันแห่งกอล, บริเตน และฮิสปาเนีย (Hispania); และจักรวรรดิพาลไมรีน ที่รวมทั้งจังหวัดทางตะวันออกของซีเรีย, ปาเลสไตน์ และเอกิบตัส (Aegyptus) สองจักรวรรดิแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในอิตาลี วิกฤติการณ์ยุติลงด้วยการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยกลาง

ประติมากรรมโรมาเนสก์ ศิลปะยุคกลาง (Medieval art) “ศิลปะยุคกลาง” ในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะของยุโรป, ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเหนือ บริบทของศิลปะยุคกลางรวมขบวนการทางศิลปะและสมัยศิลปะที่สำคัญๆ ทั้งระดับชาติ, ระดับท้องถิ่น, ประเภทงาน, การฟื้นฟู, งานศิลปะ และ ศิลปินเอง นักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามที่จะให้ความหมายและนิยามศิลปะยุคกลางออกเป็นสมัยและ ลักษณะแต่ก็ประสบกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วก็จะรวมคริสเตียนยุคแรก, ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน, ศิลปะไบแซนไทน์, ศิลปะเกาะ, ยุคก่อนโรมาเนสก์ and ศิลปะโรมาเนสก์ และศิลปะกอธิค และยังรวมไปถึงสมัยอื่นๆ อีกหลายสมัยภายในกลุ่มลักษณะนี้ นอกจากการแบ่งแยกลักษณะไปตามภูมิภาคแล้วลักษณะของสังคมโดยทั่วไปในช่วงนี้เป็นสังคมที่อยู่ในระหว่างการสร้างตนเองให้เป็นชาติเป็นวัฒนธรรม และจะมีลักษณะศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่นศิลปะแองโกล-แซ็กซอน หรือ ศิลปะนอร์ส งานศิลปะยุคกลางมีหลายรูปแบบแต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นก็ได้แก่งานประติมากรรม, หนังสือวิจิตร, งานกระจกสี, งานโลหะ และ งานโมเสกซึ่งเป็นงานที่มีความเป็นถาวรภาพมากกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งานไม้ หรือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, รวมทั้งพรมแขวนผนัง ศิลปะยุคกลางในยุโรปวิวัฒนาการมาจากต้นรากของธรรมเนียมนิยมทางศิลปะของจักรวรรดิโรมันรูปสัญลักษณ์คริสเตียนของสมัยคริสเตียนตอนต้น ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทางศิลปะของ “อนารยชน” จากทางตอนเหนือของยุโรปออกมาเป็นศิลปะอันมีคุณค่าที่เป็นงานศิลปะที่วางรากฐานของศิลปะของยุโรปต่อมา และอันที่จริงแล้วศิลปะยุคกลางก็คือประวัติศาสตร์ของปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก, คริสเตียนตอนต้น และอนารยชน นอกไปจากลักษณะที่ออกจะเป็นทางการของศิลปะคลาสสิกแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างงานที่แสดงสัจนิยมของสิ่งที่สร้างที่จะเห็นได้จากงานศิลปะไบแซนไทน์ตลอดยุคนี้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น ขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันตกดูจะผสานหรือบางครั้งก็จะเป็นการแข่งขันกับการแสดงออกที่เกิดขึ้นในศิลปะตะวันตก และ องค์ประกอบของการตกแต่งอันมีชีวิตจิตใจของทางตอนเหนือของยุโรป ศิลปะยุคกลางมาสิ้นสุดลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เป็นสมัยของการหวนกลับมาฟื้นฟูความเชี่ยวชาญและคุณค่าของศิลปะคลาสสิก จากนั้นศิลปะยุคกลางก็หมดความสำคัญลงและได้รับการดูแคลนต่อมาอีกหลายร้อยปี เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะยุคกลางก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเห็นกันว่าเป็นสมัยศิลปะที่มีความรุ่งเรืองเป็นอันมากและเป็นพื้นฐานของการวิวัฒนาการของศิลปะตะวันตกต่อม.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศิลปะสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะแองโกล-แซกซัน

หนังสือประทานพรเซนต์เอเธลโวลด์''” ที่ประกอบด้วยภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม หนังสือแคดมอน” เป็นภาพเทวดารักษาประตูสวรรค์ หลังจากที่อาดัมและอีฟถูกขับจากสวรรค์ หินเฮดดาซึ่งเป็นตัวอย่างของงานสลักหินของสมัยแองโกล-แซกซัน พระแม่มารีทองแห่งเอสเซิน ศิลปะแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon art) คือศิลปะที่สร้างขึ้นในสมัยแองโกล-แซกซันในประวัติศาสตร์อังกฤษโดยเฉพาะตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (ค.ศ. 871-ค.ศ. 899) เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมของอังกฤษขึ้น หลังจากการรุกรานของไวกิงยุติลง และมาสิ้นสุดเอาเมื่อนอร์มันพิชิตอังกฤษได้ในปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศิลปะแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน หรือ ศิลปะเกาะ (Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซกซัน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า "the Insular period in art" ซึ่งมาจากคำว่า "insula" ของภาษาละตินที่แปลว่า "เกาะ" ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตนและไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปและศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ของศาสนาคริสต์แบบเคลต์ หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะเคลต์

อร์แลนด์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ศิลปะเคลต์ (Celtic art) เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนที่เรียกว่าเคลต์ ผู้พูดภาษากลุ่มเคลต์ในทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคกลางและต่อมา รวมทั้งงานของชนโบราณที่เราไม่ทราบภาษาพูดแต่มีวัฒนธรรมและลักษณะคล้ายคลึงที่ทำให้สรุปได้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับชาวเคลต์ และยังรวมถึงยุคฟื้นฟูศิลปะเคลต์จนถึงปัจจุบันซึ่งชาวเคลต์สมัยใหม่พยายามอนุรักษ์เพื่อความรักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ศิลปะเคลต์เป็นศิลปะตกแต่ง หลีกเลี่ยงการใช้เส้นตรง และไม่ค่อยใช้ความสมมาตร และมิได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติหรือจินตนิยมของธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะคลาสสิก เท่าที่เข้าใจกันจะเป็นศิลปะที่ซับซ้อนไปด้วยสัญลักษณ์ มีลักษณะหลายแบบและมักจะผสมลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นคือการใช้ลายสอดประสานซ้อนบนและล่าง (over-and-under interlacing) ซึ่งนำมาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หลังจากที่ลักษณะนี้เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วโดยชาวเจอร์มานิค ศิลปะเคลต์แบ่งเป็นสามสมัย สมัยแรกเป็นศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปในสมัยยุคเหล็กซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของวัฒนธรรมลาแตน ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะท้องถิ่น ศิลปะคลาสสิก และอาจจะมาจากศิลปะตะวันออกที่มาทางเมดิเตอร์เรเนียน สมัยที่สองเป็นสมัยยุคเหล็กในอังกฤษและไอร์แลนด์ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปผสมกับศิลปะท้องถิ่นต่าง ๆ สมัยที่สามเป็นสมัยเคลต์ "เรอแนซ็องส์" เมื่อต้นยุคกลางที่ไอร์แลนด์ และบางส่วนของอังกฤษหรือที่เรียกว่า "ศิลปะเกาะ" ซึ่งมาจากคำว่า "เกาะ" ในภาษาละติน สมัยที่สามเป็นรากฐานของ "ศิลปะเคลต์ฟื้นฟู" ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและศิลปะเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยการย้ายถิ่น

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและสมัยการย้ายถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและสเตปป์ · ดูเพิ่มเติม »

หน้าลายพรม

หน้าลายพรม (Carpet page) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะ ซึ่งเป็นหน้าหนังสือที่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายตกแต่งที่เป็นลายเรขาคณิต ที่อาจจะรวมทั้งรูปสัตว์ที่วาดซ้ำกันเป็นลาย งานลักษณะนี้มักจะใช้เป็นหน้าเริ่มต้นของพระวรสารแต่ละตอนของพระวรสารสี่ฉบับ คำว่า “หน้าลายพรม” หมายถึงหน้าหนังสือวิจิตรของศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลามที่ไม่ข้อคความ และจะมีก็แต่ลวดลายตกแต่งเท่านั้น หน้าลายพรมแตกต่างจากหน้าที่อุทิศให้กับหน้าที่มีอักษรตัวต้นประดิษฐ์ แม้ว่าการตกแต่งโดยทั่วไปแล้วจะคล้ายคลึงกันก็ตาม หน้าลายพรมเป็นหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการตกแต่งด้วยสีสันอันสดใส, เส้นที่มีพลัง และลายสอดประสานอันซับซ้อน ลักษณะของการตกแต่งมักจะมีความสมมาตร หรือเกือบจะมีความสมมาตร ทั้งตามแนวนอนและตามแนวตั้ง นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปะที่มีต้นรากมาจากการตกแต่งหน้าหนังสือของชาวค็อพท์ และที่แน่ที่สุดคือเป็นงานที่ยืมมาจากงานโลหะร่วมสมัย และพรมโอเรียนทัลหรือผ้าแบบอื่นๆ เองก็อาจจะมีอิทธิพลต่อหน้าลายพรมดังกล่าวด้วย ตราและหนังสือพระวรสารสโตนีเฮิร์สท์ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเขียนหน้าลายพรมอย่างง่ายๆ และงานหน้าปกโลหะอีกสองสามชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากสมัยเดียวกันเช่น “พระวรสารลินเดา” ก็เป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่มาอีกแห่งหนึ่งคือลวดลายของพื้นโมเสกของโรมันที่พบในบริเตนในสมัยหลังโรมัน “พระวรสารไคเรนซิส” ภาษาฮิบรูจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็มีหน้าหนังสือที่คล้ายกันกับหน้าลายพรม งานชิ้นแรกที่สุดที่มีหน้าลายพรมมาจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 “หนังสือบอบบิโอ โอโรซิอัส” และมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตกแต่งของปลายยุคโบราณมากกว่า งานหน้าลายพรมที่สำคัญๆก็ได้แก่ “พระวรสารเคลล์ส”, “พระวรสารลินดิสฟาร์น”, “พระวรสารเดอร์โรว์” และหนังสือวิจิตรฉบับอื่น.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและหน้าลายพรม · ดูเพิ่มเติม »

อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

แองโกล-นอร์มัน (Anglo-Norman) คือผู้สืบเชื้อสายจากชาวนอร์มันผู้ปกครองอังกฤษหลังจากที่ได้รับชัยชนะในการรุกรานอังกฤษโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1066 แม้ว่าจะมีนอร์มันมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างก่อนหน้านั้นแล้ว หลังจากยุทธการเฮสติงส์ผู้รุกรานชาวนอร์มันและลูกหลานก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในฐานะกลุ่มชนที่แตกต่างจากกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในอังกฤษ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ต่อมาก็กลืนไปกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อยู่แต่เดิมและมาใช้ภาษาพูดที่เรียกว่าภาษาแองโกล-นอร์มัน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ซัตตันฮู

ซัตตันฮู (Sutton Hoo) ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวูดบริดจ์ (ซัฟโฟล์ก) ในอังกฤษเป็นที่ตั้งของสุสานโบราณจากราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ของแองโกล-แซกซัน สุสานหนึ่งเป็นการฝังศพในเรือที่ไม่ได้รับการแตะต้องมาจนกระทั่งไปพบเข้า และรวมทั้งสิ่งของและงานอันมีค่าทั้งทางศิลปะและทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากมาย ซัตตันฮูมีความสำคัญต่อนักประวัติศาสตร์ยุคกลางตอนต้นในการให้ความรู้เกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ของอังกฤษที่อยู่ในช่วงที่ก้ำกึ่งระหว่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำนาน และเรื่องปรัมปรา ซัตตันฮูมามีความสำคัญขึ้นในยุคที่ประมุข (เรดวอลด์แห่งอีสต์แองเกลีย) แห่งอีสต์แองเกลียมีอำนาจเหนือบรรดาชนอังกฤษ และมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของการปกครองโดยผู้นำที่ถือคริสต์ศาสนาในอังกฤษ ซัตตันฮูเป็นหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียของแองโกล-แซกซัน และช่วงสมัยในบริบทที่กว้างกว่า การฝังศพในเรืออาจจะเริ่มทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และมาทำการขุดในปี..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและซัตตันฮู · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของศิลปะ

บทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์โดยทั่วไปของทัศนศิลป์ทั่วโลก สำหรับสาขาวิชาการที่ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของศิลปะ ดู ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา ประวัติศาสตร์ของศิลปะ หมายถึงประวัติศาสตร์ของกิจกรรมหรือผลผลิตใดๆ ที่สร้างโดยมนุษย์ในรูปแบบสำหรับการมองเพื่อความสุนทรีย์หรือเพื่อประโยชน์ทางการสื่อสาร การแสดงออกถึงแนวคิด อารมณ์ หรือโลกทัศน์ ในช่วงเวลาที่ผ่านไป ทัศนศิลป์ได้ถูกจัดประเภทในแบบต่างๆ ที่หลากหลาย จากการแบ่งในยุคกลางที่แบ่งระหว่างศิลปศาสตร์ (liberal arts) กับศาสตร์เชิงกลไก (mechanical arts) มาสู่การแบ่งแบบสมัยใหม่ระหว่างวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศิลปะ.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและประวัติศาสตร์ของศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เชเซนา

เชเซน่า (Cesena) เป็นเมืองในจังหวัดฟอร์ลิ-เชเซน่า และในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองราเวนน่า และทางตะวันตกของเมืองริมินี ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาแอเพนไนน์ และห่างจากทะเลเอเดรียติก 15 กิโลเมตร นอกจากนี้เมืองเชเซน่ายังเป็นที่ตั้งของสโมสรฟุตบอลเชเซน่าอีกด้วย หมวดหมู่:เมืองในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเชเซนา · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดทารา

็มกลัดทารา (Tara Brooch) เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของศิลปะสมัยคริสเตียนยุคแรกศิลปะเกาะของไอร์แลนด์ เข็มกลัดทาราที่สร้างขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 700 เป็นเข็มกลัดประดับที่มีขนาดยาว 7 นิ้ว ทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยลวดลายลายสอดประสาน หรือ ปมเคลติคอย่างละเอียด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ประคำมีรูปลักษณ์ของหัวสุนัขป่าและมังกรกว่ายี่สิบหัว การออกแบบและกรรมวิธีของการสร้างงานชิ้นนี้ที่รวมทั้งการทำลายทองถักและการฝังประดับด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, อำพัน และ แก้วเป็นงานฝีมือชั้นดี และแสดงถึงความก้าวหน้าของงานช่างทองในไอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โครงสร้างเป็นเชิงวงแหวนที่หมายความว่าเป็นแบบที่มิได้ออกเพื่อใช้เป็นเครื่องตรึงรัดเสื้อผ้า แต่เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะ เข็มกลัดทาราก็เช่นเดียวกับเข็มกลัดอื่นๆ ในยุคเดียวกันที่ไม่มีรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาของทั้งคริสเตียนหรือเพกัน และสร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดีและเกือบจะเป็นที่แน่นอนคือเป็นชาย เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะ เข็มกลัดตั้งชื่อตามชื่อเนินทาราซึ่งเป็นที่สถิตย์ของประมุขแห่งกษัตริย์ไอร์แลนด์ (High Kings of Ireland) ในตำนาน แต่ตัวเข็มกลัดเองไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเนินและประมุขแห่งกษัตริย์ เข็มกลัดพบเมื่อเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเข็มกลัดทารา · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดตรึง

็มกลัดตรึง หรือ เข็มกลัดฟิบิวลา (Fibula แปลว่า “กลัดติด” Yarwood (1986:180).) เป็นเข็มกลัดประดับโบราณ (brooch) ภาษาละติน “fibulae” มีความหมายเฉพาะว่าเป็นเข็มกลัดแบบโรมัน แต่ต่อมาความหมายของคำนี้ก็กว้างขึ้นจนครอบคลุมเข็มกลัดจากยุคโบราณทั้งหมด และ จากยุคกลางตอนต้น เข็มกลัดตรึงไม่เหมือนกับเข็มกลัดสมัยใหม่ที่ไม่แต่จะเป็นเครื่องตกแต่งเท่านั้นแต่ยังมีประโยชน์ใช้สอยที่รวมทั้งตรึงเสื้อผ้าให้ติดตัว ที่รวมทั้งเสื้อคลุมปล่อยชาย (cloak) เข็มกลัดฟิบิวลามาแทนที่เข็มกลัดตรงที่คล้ายไม้กลัดที่ใช้ในการเหน็บเสื้อผ้าในยุคหิน และ ยุคสำริด ต่อมาในยุคกลางเข็มกลัดฟิบิวลาก็มาแทนที่ด้วยกระดุม แต่เข็มกลัด (safety-pin) ที่แปลงมาจากเข็มกลัดฟิบิวลาก็ยังใช้สอยกันจนกระทั่งทุกวันนี้.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเข็มกลัดตรึง · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดประดับ

็มกลัดประดับ (Brooch หรือ broach) หรือในสมัยโบราณเรียกว่า “เข็มกลัดตรึง” หรือ “เข็มกลัดฟิบิวลา” เป็นเครื่องประดับที่ทำด้วยอัญมณีที่ออกแบบเพื่อใช้ติดประดับเสื้อผ้า เข็มกลัดประดับมักจะทำด้วยโลหะที่มักจะเป็นเงิน หรือ ทอง แต่บางครั้งก็ทำด้วยสำริดหรือวัสดุอื่น เข็มกลัดประดับมักจะแตกแต่งด้วยเครื่องเคลือบหรืออัญมณี บางครั้งก็จะใช้สอยในการตกแต่งเท่านั้น หรือบางครั้งก็จะมีประโยชน์ใช้สอยด้วยเช่นใช้ในการตรึงเสื้อผ้าให้ติดตัว หรือ หรือสำหรับเสื้อคลุมปล่อยชาย (cloak) เข็มกลัดประดับแรกที่สุดมาจากยุคสำริด แต่เพราะลักษณะของเข็มกลัดประดับมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามแฟชันทำให้กลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้ระบุยุคสมัยในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเข็มกลัดประดับ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Migration Period artศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »