โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วินทร์ เลียววาริณ

ดัชนี วินทร์ เลียววาริณ

วินทร์ เลียววาริณ (ชื่อเกิด สมชัย เลี้ยววาริณ) เกิดปี พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

34 ความสัมพันธ์: บทภาพยนตร์พ.ศ. 2499พ.ศ. 2534พ.ศ. 2540พ.ศ. 2542การตลาดฝนตกขึ้นฟ้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รางวัลซีไรต์สหรัฐสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนสถาปัตยกรรมศาสตร์สงครามเวียดนามอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยความน่าจะเป็น (เรื่องสั้น)ความน่าจะเป็นบนเส้นขนานประชาธิปไตยบนเส้นขนานประเทศสิงคโปร์ประเทศไทยปราบดา หยุ่นปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอลปืนใหญ่จอมสลัดนวนิยายนักเขียนนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นิคหิตโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)โรงเรียนแสงทองวิทยาเรื่องสั้นเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาวเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์17 มกราคม

บทภาพยนตร์

ทภาพยนตร์ คือ แบบร่างของการสร้างภาพยนตร์ บทภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพยนตร์นั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เมื่อได้โครงสร้างเรื่องที่ชัดเจนแล้วจึงนำเหตุการณ์มาแตกขยายเป็นฉากๆ ลงรายละเอียดย่อยๆ ใส่สถานการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ ตัวละคร บทสนทนา บางครั้งอาจกำหนดมุมกล้องหรือ ขนาดภาพ ให้ชัดเจนเลยก็ได้ บทภาพยนตร์จึงเขียนเพื่อเป็นการเตรียมงานผลิต(Pre-production) และฝึกซ้อมนักแสดงโดยเฉ.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและบทภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2499

ทธศักราช 2499 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1956 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและพ.ศ. 2499 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การตลาด

การตลาด คือกระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าในบางครั้ง แต่การขายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด การตลาดอาจถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การและกลุ่มกระบวนการเพื่อการผลิต การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่าไปยังลูกค้า และการจัดการความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ในทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ถือหุ้น การจัดการการตลาดเป็นศิลปะของการเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการได้มาและการรักษาลูกค้า ผ่านทางการจัดหาคุณค่าของลูกค้าที่เหนือกว่า มีมโนทัศน์ห้าอย่างหลัก ๆ ที่องค์การสามารถเลือกเพื่อนำไปดำเนินการธุรกิจได้แก่ มโนทัศน์เน้นการผลิต เน้นผลิตภัณฑ์ เน้นการขาย เน้นการตลาด และเน้นการตลาดองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบสี่อย่างของการตลาดองค์รวมคือ การตลาดความสัมพันธ์ การตลาดภายใน การตลาดครบวงจร และการตลาดรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มของภาระหน้าที่ที่สำคัญต่อการจัดการการตลาดที่ประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย การมองการตลาดเชิงลึก การติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้า การสร้างตราสินค้าที่มั่นคง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้า การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่า การสร้างความเจริญเติบโตในระยะยาว และการพัฒนากลยุทธ์และแผนการตลาด Kotler, Philip & Keller, L. Kevin (2012).

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและการตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ฝนตกขึ้นฟ้า

ฝนตกขึ้นฟ้า ภาพยนตร์ลำดับที่แปดโดย เป็นเอก รัตนเรือง กำหนดออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ดัดแปลงจากหนังสือชื่อเดียวกันของ วินทร์ เลียววาริณ เรื่องราวของมือปืนที่ถูกยิงที่หัวจนประสาทมองเห็นผิดปกติ มองเห็นภาพรอบตัวกลับหัว เขาพยายามกลับไปเป็นมือปืนอีกครั้ง พยายามค้นหาตัวตนของตนเอง พร้อมกับการมาของหญิงสาวที่ทำให้ชีวิตของเขายุ่งเหยิงขึ้นไปอีก.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและฝนตกขึ้นฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน

งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่สะท้อนสัญชาตญาณของความเป็นคนออกมาได้ดี ทั้งในแง่ของความต้องการทางกายภาพ ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์พื้นฐานของคน ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของคนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งที่หล่อหลอมสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ขึ้นมา เช่น องค์ประกอบของธาตุ มวลสสาร พันธุกรรมและดีเอ็นเอ และส่วนหนึ่งมาจากการขัดเกลาทางสังคม เช่น จารีตประเพณี ความเชื่อและศาสนา สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เป็นการผสมผสานบทความ 17 บทความ และเรื่องสั้น 17 เรื่อง ผู้เขียนใช้บทความอธิบายความคิด ประเด็นทางปรัชญา และเป็นตัวนำเรื่องสั้นแต่ละเรื่องให้ผู้อ่านไปถึงจุดหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ บทความและเรื่องสั้นจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นคู่ๆ ถือเป็นกลวิธีการสร้างสรรค์เรื่องสั้นที่น่าสนใ.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและสถาปัตยกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหาดใหญ่

อำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของนครหาดใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภาคใต้ หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะแถบประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน และอินเดี.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและอำเภอหาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ความน่าจะเป็น (เรื่องสั้น)

right ความน่าจะเป็น เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรต์ หนังสือรวม 10 เรื่องสั้นของปราบดา หยุ่น ที่เคยตีพิมพ์ลงใน นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ พร้อม 3 เรื่องสั้นใหม่ ในหนังสือประกอบด้วยเนื้อหาของแง่มุมของคนที่มองโลก ในมุมกลับ เขาคิด กรองตรอง แล้วกล้ายิงคำถาม ด้วยการตั้งคำถามไว้มากมาย ที่คนทั่วไปไม่เคยถาม ซึ่งแต่ละคำถาม เป็นคำถามที่ผู้คน ไม่เคยคิดจะตอบ และเขาเองก็ไม่ต้องการคำตอบ นับเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการ ที่แตกต่างไปจากคนอื่น แต่ทุกคำถามล้วนมี "ความน่าจะเป็น" ทั้งสิ้น หมวดหมู่:เรื่องสั้นไทย หมวดหมู่:วรรณกรรมรางวัลซีไรต์ หมวดหมู่:วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและความน่าจะเป็น (เรื่องสั้น) · ดูเพิ่มเติม »

ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน

วามน่าจะเป็นบนเส้นขนาน เป็นผลงานเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ และ ปราบดา หยุ่น ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 เล่ม โดยเล่มแรกตีพิมพ์เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยในตอนแรกความน่าจะเป็นบนเส้นขนานเป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร LIPS และต่อมาได้ย้ายมาตีพิมพ์ในนิตยสาร open และ GM จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคอลัมน์ดังกล่าวเป็นอีเมลโต้ตอบระหว่าง วินทร์ เลียววาริณ และ ปราบดา หยุ่น ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นนักเขียนที่เคยได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน โดยอีเมลดังกล่าวมักจะเป็นการแสดงความเห็นของทั้งสองคนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในช่วงเวลานั้นๆ นอกจากคอลัมน์ดังกล่าวจะตีพิมพ์ในนิตยสารและพิมพ์รวมเล่มแล้ว ยังตีพิมพ์ในเว็บไซต์อีกด้วย ชื่อความน่าจะเป็นบนเส้นขนานนั้น ได้มากจากชื่อผลงานที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของทั้งสองคนรวมกัน คือ ความน่าจะเป็น ของปราบดา และ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน

right หน้าปกนวนิยาย "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" ฉบับจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นหนังสือของ วินทร์ เลียววาริณ วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2537 และได้รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2540 ฉบับภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า (Democracy, Shaken & Stirred) วางจำหน่าย พ.ศ. 2546 เป็นนิยายเชิงการเมืองไทย โดยดำเนินเรื่องตามการปฏิวัติในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 ตัวละครหลักในเรื่องเป็นตัวละครสมมติ แต่มีการใช้บุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย วินทร์ได้ใช้ลักษณะการเขียนแบบเดียวกันนี้ในนิยายอีกเรื่องของเขา คือ ปีกแดง (พ.ศ. 2545) เพียงแต่เป็นเรื่องของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเท.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและประชาธิปไตยบนเส้นขนาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปราบดา หยุ่น

ปราบดา หยุ่น (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักเขียน ได้รับรางวัลซีไรต์ จากเรื่องความน่าจะเป็น เมื่อ พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและปราบดา หยุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เป็นหนังสือที่เขียนโดยวินทร์ เลียววาริณ ในปี พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

ปืนใหญ่จอมสลัด

ปืนใหญ่จอมสลัด ภาพยนตร์แนวแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ของ นนทรีย์ นิมิบุตร ทุนสร้าง 140 ล้านบาท เขียนบทภาพยนตร์โดย วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ และคงเดช จาตุรันต์รัศมี.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและปืนใหญ่จอมสลัด · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นิคหิต

นิคหิต (ป. นิคฺคหีต) หรือ นฤคหิต (ส. นิคฺฤหีต) หรือ หยาดน้ำค้าง (-ํ) มีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ ใช้ประสมสระ อึ และ อำ ในการเขียนภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรด้วยอักษรไทย ใช้นิคหิตเติมเหนือพยัญชนะแทนเสียง ง และ ม เช่น เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน, ชุนุ อ่านว่า ชุมนุม นอกจากนี้ในภาษาสันสกฤตจะใช้นิคหิตแทนเสียง อะ,อิ,อุ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อมตะ -> อมฺฤต, นิคหิต -> นฤคหิต, ปุจฺฉา -> ปฤจฺฉา ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า อนุสวาร (เทวนาครี अनुस्वार, อนุสวาร (อนุ + สฺวาร) หมายถึง เสียงข้างหลัง) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับเสียงนาสิก การออกเสียงขึ้นกับสระที่อยู่ข้างหน้า เช่น ผลํ ออกเสียง ผะลัม, ปุริ ออกเสียง ปุริม, มีมำสา ออกเสียง มีมามสา เป็นต้น ในภาษาอินเดียจำนวนหนึ่ง มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว โดยมากเป็นวงกลมขนาดเล็กวางไว้เหนือพยัญชนะ แต่อาจใช้รูปแบบอื่นๆ ได้ตามชนิดของอักษร และการออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ระบบเสียงในภาษานั้น.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและนิคหิต · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

รงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 39 ไร่ 3 งาน 86 ตารางว.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนแสงทองวิทยา

รงเรียนแสงทองวิทยา (Saengthong Vitthaya School) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งและเป็นโรงเรียนที่มีระบบการเรียนและกิจกรรมที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย อยู่ในเครือคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก ซึ่งก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและโรงเรียนแสงทองวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เรื่องสั้น

รื่องสั้น คือ บันเทิงเรียงความร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเป็นคู่ ฉากคู่ จำนวนตัวละครมีมากหรือน้อยก็ได้ และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก สามารถให้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับนวน.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและเรื่องสั้น · ดูเพิ่มเติม »

เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว

ปกหนังสือเก่า เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ เดิมทีเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องสั้น ที่ตัวเขาเขียนลงในนิตยสารอัปเดต ชื่อหนังสือ เดือนช่วงฯ เป็นโคลงบทหนึ่งใน นิราศสุพรรณบุรี ของ สุนทรภู่ เรื่องสั้นแต่ละเรื่อง จะใช้การดำเนินเรื่องแบบนิยายวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย เช่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในอวกาศ เรื่องของหุ่นยนต์ ฯลฯ และจบลงด้วยการหักมุม หรือเสนอแง่คิดที่เป็นปรัชญา "แด่โลกทั้งผอง" บิดาแห่งอาทิตย์เอ่ย "ข้าให้แสงสว่างและพลังรังสี ข้าให้ความอบอุ่นแด่มวลมนุษย์เมื่อพวกมันหนาวเหน็บ ข้าทำให้ทุ่งนาเขียวขจีและฝูงปศุสัตว์ทวีพันธ์ ทุกทิวาที่ผ่านผัน ข้าผ่านไปทั่วโลกเพื่อรับรู้ความต้องการและให้สิ่งที่ดีกว่าแก่พวกมัน จงทำตามสิ่งที่ข้ากระทำ" --จารึกของชาวอินคา ใน The Royal Commentaries โดย การ์ซิลาโซ เดอ ลา วีกา 1556 หมวดหมู่:งานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ ดเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว ดเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว หมวดหมู่:วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2538.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (The Most Admirable Order of the Direkgunabhorn) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน แบ่งออกเป็น 7 ชั้น พระราชทานแก่บุรุษและสตรีตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร.

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

17 มกราคม

วันที่ 17 มกราคม เป็นวันที่ 17 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 348 วันในปีนั้น (349 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: วินทร์ เลียววาริณและ17 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วินทร์ เลียววาริน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »