สารบัญ
18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2477พ.ศ. 2543การผังเมืองภูมิสถาปัตยกรรมมัณฑนศิลป์รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริการายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทยวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ศิลปะสภาสถาปนิกไทยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมภายในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโกสถาปนิกฮวงจุ้ย
พ.ศ. 2477
ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และพ.ศ. 2477
พ.ศ. 2543
ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และพ.ศ. 2543
การผังเมือง
การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาต.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
ภูมิสถาปัตยกรรม
วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ ตัวอย่างงานภูมิสถาปัตยกรรมประเภทสวนสาธารณะส่วนที่เป็นสวนแบบ "รูปนัย" ภูมิสถาปัตยกรรม (landscape architecture) อ่านออกเสียงว่า "พู-มิ-สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กัม" เป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบวางแผน การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร รวมทั้งพื้นที่บางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคารเพื่อความผาสุก สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และภูมิสถาปัตยกรรม
มัณฑนศิลป์
มัณฑนศิลป์ หรือ การออกแบบภายใน (interior design) เป็นการออกแบบการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคาร โดยใช้ความสำคัญของ จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ เข้าด้วยกัน สถาบันแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนก็คือ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า ศิลปะตกแต่ง เปิดตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2499 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเกี่ยวกับด้านนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษมบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ ม.รังสิต ม.อัสสัมชัญ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เทคโนโลยีพระจอบเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคล.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และมัณฑนศิลป์
รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดอันดับโดยนิตยสาร ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ ข้อมูลปี ค.ศ.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา
รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาในกลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และการผังเมือง.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย
วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และวัฒนธรรม
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ศิลปะ
ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.
สภาสถาปนิกไทย
ตราสัญลักษณ์สภาสถาปนิก ในประเทศไทย, สภาสถาปนิก (Architect Council of Thailand หรือชื่อเดิม Council Of Architects) คือองค์กรควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาปนิก..
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสภาสถาปนิกไทย
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาปัตยกรรม
ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
ปัตยกรรมภายในเป็นงานสถาปัตยกรรมสาขาหนึ่งที่แยกออกมาจาก สถาปัตยกรรมหลัก (อาคาร) ความหมายของคำว่า สถาปัตยกรรมภายใน จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ออกแบบตกแต่งภายในและมัณฑนศิลป์" ซึ่งมีความหมายค่อนข้างตรงตัวอยู่แล้ว สถาปัตยกรรมภายใน น่าจะหมายรวมถึง "การก่อเกิดความงามที่ยังประโยชน์ แฝงความหมายแห่งศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม เพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ ที่เป็นผู้ใช้สอยพื้นที่ว่างภายในอาคาร (space) มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (human and environment) โดยเกี่ยวโยงถึงการพิจารณาถึงระยะและขนาดเนื้อที่ต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับ สัดส่วนของมนุษย์ (human scale in architecture) ความต้องการระยะและเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคาร (human scale) อันจะเกี่ยวพันกับการ ยืน เดิน นั่ง นอน และการที่มนุษย์จะทำกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ว่างของอาคาร การที่จะออกแบบให้อาคารมีรูปแบบและพื้นที่เพื่อตอบสองการใช้งานของมนุษย์ โดยการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ตามคุณสมบัติมาใช้งานให้ก่อเกิดเป็นรูปร่าง ทั้ง พื้น ผนัง เพดาน ทั้งสามมิติ และห่อหุ้มพื้นที่ว่างเอาไว้ให้มนุษย์ได้ใช้งาน ทั้งจากร่างกาย และสายตา รวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านรูปแบบ สีสัน ผิวสัมผัส (Texture)ของวัสดุต่างๆ อาจหมายรวมให้กว้างไปถึงงานระบบต่างๆที่เข้ามามีส่วนร่วมกับการใช้อาคาร เช่น แสง สี เสียง และระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลายที่กล่าวมาพอจะประกอบรวมกัน เป็นคำว่า สถาปัตยกรรมภายใน ในยุคสมัยปัจจุบันได้ หรืออาจกล่าวสั้นๆได้คือ "การออกแบบพื้นที่ว่างภายในอาคาร (space) และการเลือกใช้วัสดุมาก่อสร้างเพื่อห่อหุ้มพื้นที่ว่างภายในอาคารเพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์(human scale) รวมถึงการประดับตกแต่ง ศิลปะแขนงต่างๆ (arts)" "ถ้ากล่าวถึงการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน" ในประเทศไทยก็ให้ยึดถือเอาตามสภาสถาปนิก ถ้ากล่าวถึงความหมายแต่อย่างเดียวมิใช้การประกอบวิชาชีพควบคุม "ให้ยึดถือข้างต้นเป็นหลัก" ในประเทศไทยสถาปัตยกรรมภายใน เป็นสาขาวิชาชีพควบคุม อยู่ภายใต้ สภาสถาปนิก คำจำกัดความของสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ถูกระบุใน พรบ.สถาปนิก 2543 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม..
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมภายใน
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นทฤษฎีที่อยู่ฉากหลังของการออกแบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปหมายถึง การออกแ.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
สถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโก
ชิคาโกสคูล (Chicago School) หรือ สถาปัตยกรรมแบบชิคาโก เป็นกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าในเมืองชิคาโก ที่มีอุดมการณ์ และปรัชญาสถาปัตยกรรมในแนวเดียวกัน อยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผลงานของกลุ่มสถาปนิกเหล่านี้ ได้นำความก้าวหน้ามาสู่วงการสถาปัตยกรรมในยุคต่อๆ มาเป็นอย่างมาก ด้วยความเจริญเติบโตของเมืองในยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู อาคารที่เกิดขึ้นในเมืองชิคาโกส่วนมากเป็นอาคารระฟ้า (Skyscrapers) เพื่อความต้องการของเมือง อาคารระฟ้าของกลุ่มชิคาโกสคูลจึงเกิดขึ้นมากมาย รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมสามารถตอบสนองการใช้งานของอาคารได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบโครงสร้าง แบบถ่ายน้ำหนัก (Post and Lintel) สถาปนิกกลุ่มนี้ยังได้ร่วมมือกับวิศวกร ซึ่งเป็นการร่วมมือกันครั้งแรก ระหว่างสถาปนิก และวิศวกรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นำเอาเทคนิควิทยาการการก่อสร้างที่ก้าวหน้าต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับอาคารใหม่ๆ ในเมืองชิคาโก ลักษณะดังกล่าวทำให้ชิคาโกมีความแตกต่างจากเมืองอื่นๆ อย่างมาก หมวดหมู่:สถาปัตยกรรม.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโก
สถาปนิก
ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปนิก
ฮวงจุ้ย
วงจุ้ย มาจากภาษาจีน 风水 (สำเนียงกลางว่า เฟิงสุ่ย) และอาจหมายถึง.
ดู สถาปัตยกรรมศาสตร์และฮวงจุ้ย
หรือที่รู้จักกันในชื่อ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์