โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดเอ็นเรียะกุ

ดัชนี วัดเอ็นเรียะกุ

วัดเอ็นเรียะกุ เป็นวัดพุทธนิกายเท็นได ตั้งอยู่บนเขาเฮเอในเมืองโอสึ ไม่ไกลจากนครเกียวโต ก่อตั้งในต้นยุคเฮอังโดยภิกษุไซโช ซึ่งนำศาสนาพุทธมหายานนิกายเทียนไถจากจีนมาเผยแพร่ในญี่ปุ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิคัมมุ และกลายเป็นวัดต้นสังกัดของวัดนิกายเท็นไดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในวัดสำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยุคมุโระมะชิถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของนิกายเท็นได โดยวัดเอ็นเรียะกุมีวัดสาขาอยู่มากกว่า 3,000 แห่งทั่วญี่ปุ่นและมีกองทัพภิกษุ (僧兵 โซเฮ) ที่ทรงอิทธิพลเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ขุนพล โอะดะ โนะบุนะงะ ผู้ต้องการพิชิตศัตรูและผนวกญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่น ได้โจมตีและทำลายวัดเอ็นเรียะกุอย่างสิ้นซากและสังหารภิกษุจำนวนมากในปี..

13 ความสัมพันธ์: พระไภษัชยคุรุมรดกโลกมหายานยุคมุโระมะชิยุคอาซูจิ–โมโมยามะยุคเฮอังองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณจักรพรรดิคัมมุโอดะ โนบูนางะโอตสึเกียวโต (นคร)เทียนไถ

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ

อาซูจิ–โมโมยามะ เป็นยุคที่เริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและยุคอาซูจิ–โมโมยามะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ (古都京都の文化財; Historic Monuments of Ancient Kyoto) เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในนครเกียวโต, เมืองอุจิ ของจังหวัดเกียวโต และเมืองโอสึ ของจังหวัดชิงะ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ. 2537.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคัมมุ

ักรพรรดิคัมมุ (Emperor Kammu) จักรพรรดิองค์ที่ 50 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิคัมมุครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 781 - ค.ศ. 806.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและจักรพรรดิคัมมุ · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โอตสึ

อตสึ เป็นเมืองหลักของจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและโอตสึ · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโต (นคร)

แผนที่ ไดไดริ (แบบจำลอง) ของนครเฮอังเกียว เกียวโต, 1891 นักท่องเที่ยวที่วัดคิโยะมิซุ นครเกียวโต (ออกเสียง: เคียวโตะ) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกียวโต และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเกียวโตยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเกียวโต ยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี..

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและเกียวโต (นคร) · ดูเพิ่มเติม »

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ใหม่!!: วัดเอ็นเรียะกุและเทียนไถ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »