โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

ดัชนี วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง เป็นวัดหลวงในสมัยอยุธยาราวปี พ.ศ. 1893 ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดบัญชีกฐินหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ 2 เดิมเรียกว่า วัดเขมา บางครั้งเรียกว่า วัดเข็นมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอวัดเขมาเป็นวัดสำหรับกฐินในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี จากนั้นได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขมาและมีการฉลองใน พ.ศ. 2371 ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อฉลองพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี แล้วพระราชทานนามเพิ่มว่า วัดเขมาภิรตาราม วัดเขมาภิรตาราม อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงที่เก่าแก่ยิ่งของเมืองนนทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “วัดเขมา” ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่จากพระราชวังจันทรเกษมที่ อยุธยามาประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดพระราชทานสร้อยนาม ว่าวัดเขมาภิรตาราม และที่วัดนี้เองที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยเรียนหนังสือในสมัยเด็ก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระเทพเมธากรกวี.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1893พ.ศ. 2371พระบรมสารีริกธาตุพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังจันทรเกษมพระอารามหลวงพระเจ้าอู่ทองลูกชายวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อาณาจักรอยุธยาอำเภอเมืองนนทบุรีอุโบสถจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดนนทบุรีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306ทิศตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาแปลก พิบูลสงคราม

พ.ศ. 1893

ทธศักราช 1893 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพ.ศ. 1893 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2371

ทธศักราช 2371 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพ.ศ. 2371 · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังจันทรเกษม

ระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังที่ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2120 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยามเสด็จจากเมืองพิษณุโลกเพื่อมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา พระราชวังแห่งนี้พระนเรศวรทรงใช้เป็นกองบัญชาการรับศึกหงสาวดีเมื่อปี พ.ศ. 2129 นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี..

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระราชวังจันทรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

พระอารามหลวง

ระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระอารามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอู่ทอง

ระเจ้าอู่ทอง เป็นคำที่ใช้เรียก ตำแหน่งพระมหากษัติย์หรือเจ้าผู้ครองเมืองอู่ทอง ของแคว้นลพบุรีสุพรรณภูมิ เช่นเดียวกับ คำว่าพระร่วงเจ้า ของอาณาจักรสุโขทัย และพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งอาณาจักรศรีธรรมโศกราช พระเจ้าอู่ทอง สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและพระเจ้าอู่ทอง · ดูเพิ่มเติม »

ลูกชาย

ลูกชาย หมายถึงผู้สืบทอดพันธุกรรมที่เป็นมนุษย์ผู้ชายหรือสัตว์เพศผู้ ถ้าเป็นคนจีนจะถือว่าโชคดีที่มีลูกชาย เพื่อจะได้เป็นผู้สืบทอดนามสกุล ปกติคนจีนจะรักลูกชายมากกว่าลูกสาว สำหรับรายที่มีธุรกิจของตนเอง ก็มักถ่ายทอดเคล็ดลับทางธุรกิจให้กับลูกชาย การสืบทอดนามสกุล แต่เดิมมาไทยเราจะถือว่า หากผู้หญิงแต่งงานกับผู้ชายคนใด ก็ให้ไปใช้นามสกุลของผู้ชายคนนั้น และลูกๆที่เกิดมาก็ใช้นามสกุลของผู้ชาย จนปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลออกมา ให้ผู้หญิงไม่ต้องใช้นามสกุลผู้.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและลูกชาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง เป็นวัดหลวงในสมัยอยุธยาราวปี พ.ศ. 1893 ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดบัญชีกฐินหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ 2 เดิมเรียกว่า วัดเขมา บางครั้งเรียกว่า วัดเข็นมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอวัดเขมาเป็นวัดสำหรับกฐินในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี จากนั้นได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขมาและมีการฉลองใน พ.ศ. 2371 ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อฉลองพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี แล้วพระราชทานนามเพิ่มว่า วัดเขมาภิรตาราม วัดเขมาภิรตาราม อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงที่เก่าแก่ยิ่งของเมืองนนทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “วัดเขมา” ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่จากพระราชวังจันทรเกษมที่ อยุธยามาประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดพระราชทานสร้อยนาม ว่าวัดเขมาภิรตาราม และที่วัดนี้เองที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยเรียนหนังสือในสมัยเด็ก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระเทพเมธากรกวี.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

มเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระนามเดิม จุ้ย (29 มีนาคม พ.ศ. 2316 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลั.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและอำเภอเมืองนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัดเขมาวัดเขมาภิรตาราม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »