โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์คางคก

ดัชนี วงศ์คางคก

วงศ์คางคก (Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/) ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น.

40 ความสัมพันธ์: ฟันพ.ศ. 2368พ.ศ. 2552พิษกระดูกสันหลังการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การทำอาหารการตั้งชื่อทวินามภาษาไทยถิ่นอีสานรังไข่ลูกอ๊อดสกุล (ชีววิทยา)สมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสีขาวสีดำสปีชีส์อัณฑะอันดับกบอาเจียนอนุกรมวิธานผิวหนังจงโคร่งทวีปออสเตรเลียทวีปแอนตาร์กติกาความตายความเชื่อคางคกบ้านคางคกห้วยคางคกแคระคางคกไฟตาบอดประเทศไทยนมแผนที่เพศชายเมือกเอ็มบริโอ

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2368

ทธศักราช 2368 ตรงกับคริสต์ศักราช 1825 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและพ.ศ. 2368 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและพิษ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การทำอาหาร

การทำอาหาร (Cooking) คือ การกระทำเพื่อเตรียมอาหารให้พร้อมสำหรับการบริโภค นับตั้งแต่มนุษย์ค้นพบไฟเป็นต้นมา การทำอาหารได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรม.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและการทำอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอ๊อด

ลักษณะโดยทั่วไปของลูกอ๊อด และลักษณะของปาก ลูกอ๊อดของกบในวงศ์ Bufonidae ลูกอ๊อด (Tadpole, Pollywog, Porwigle) หรือ ลูกฮวก หรือ อีฮวก ในภาษาอีสานหรือภาษาเหนือ เป็นชื่อเรียกของตัวอ่อนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) เมื่อโตเต็มวัย ลูกอ๊อดจะมีรูปร่างเช่นเดียวกบปกติทั่วไป แต่กระนั้นก็ยังมีกบบางชนิดที่ไม่มีช่วงวัยลูกอ๊อด ลูกอ๊อด มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลา มีหาง ไม่มีขา หายใจด้วยเหงือก ส่วนหัวมีขนาดโตมาก ซึ่งลูกอ๊อดของกบแต่ละวงศ์ก็มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป โดยแบ่งตามโครงสร้างของปาก, โครงสร้างของห้องเหงือก, และจำนวนและตำแหน่งของช่องเปิดเหงือกที่เป็นทางผ่านออกของน้ำซึ่ง สามารถจำแนกเป็น 4 แบบได้ คือ 1.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและลูกอ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์คางคกและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จงโคร่ง

และวงศ์หมาน้ำ จงโคร่ง หรือ หมาน้ำ หรือ กง หรือ กระทาหอง หรือ กระหอง (ปักษ์ใต้) (อังกฤษ: Giant jungle toad, Asian giant toad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phrynoidis aspera) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกคางคกขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยชนิดหนึ่ง จงโคร่งนับเป็นคางคกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย บริเวณหลังมีน้ำพิษเห็นเป็นปุ่มชักเจน ตาใหญ่ ตัวมีสีน้ำตาลดำ ตัวผู้มักปรากฏลายสีเข้มเป็นแถบทั้งขาหน้า และขาหลัง บริเวณใต้ท้องมีสีขาวหม่น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร ขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จงโคร่งเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบชื้น โดยจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารน้ำตกหรือลำห้วย โดยมักใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก มักหลบอยู่ตามขอนไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่ หากินในเวลากลางคืน อาหารหลักได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "หมาน้ำ" โดยมีพฤติกรรมร้องเป็นจังหวะ ๆ ละ 6-10 วินาที ลักษณะไข่เป็นฟองกลม ๆ อาจติดอยู่ตามขอบแหล่งน้ำที่อาศัย โดยฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคใต้ ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่งหรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล แต่ในบางท้องถิ่นมีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้งแล้วมวนผสมกับใบยาสูบสูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบหรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและจงโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซี.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและทวีปออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: วงศ์คางคกและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกบ้าน

งคกบ้าน (Asian common toad, Black-spined toad) หรือ ขี้คันคาก ในภาษาอีสานและภาษาลาว หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า คางคก เป็นสัตว์ในวงศ์คางคก (Bufonidae) ชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ มีผิวหนังที่แห้งและมีปุ่มปมทั้งตัว ที่เป็นปุ่มพิษ โดยเฉพาะหลังลูกตา มีรูปทรงกลมคล้ายเมล็ดถั่วขนาดยาวประมาณ 25 มิลลิเมตร กว้าง 10 มิลลิเมตร แผ่นหูมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน ขนาดเล็กกว่าลูกตาเล็กน้อย มีสีผิวหนังเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาตลอดทั้งลำตัว บริเวณรอบปุ่มพิษจะมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน ในขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนจะเป็นสีขาวซีดกว่า มีขนาดวัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 68-105 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในวงกว้างในทวีปเอเชีย ตั้งแต่แนวเทือกเขาหิมาลัย, อินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และพบได้ทั่วไปในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งในเมืองใหญ่และในป่าดิบ เป็นสัตว์ที่ไม่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ จะมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน (มีนาคม-กันยายน) เป็นสัตว์ที่กินแมลงและอาหารได้หลากหลายมาก พบชุกชุมในช่วงฤดูฝน คางคก มักเป็นสัตว์ที่มีผู้นิยมรับมารับประทานทั้ง ๆ ที่มีพิษ มักมีผู้เสียชีวิตบ่อย ๆ จากการรับประทานเข้าไป โดยเชื่อว่าเป็นยาบำรุงและรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยพิษของคางคกนั้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ด้วยความร้อน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและคางคกบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

คางคกห้วย

งคกห้วย เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Ansonia (/เอน-โซ-เนีย-อา/) ในวงศ์คางคก (Bufonidae) จัดเป็นคางคกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตก ลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเชี่ยว จึงมีแผ่นดูดอยู่โดยรอบของช่องปากเพื่อช่วยยึดติดลำตัวให้ติดอยู่กับก้อนหินในน้ำ พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียตั้งแต่ตอนใต้ของอินเดีย, ภาคเหนือของไทยจนถึงคาบสมุทรมลายู, เกาะตีโยมัน, เกาะบอร์เนียว ไปจนถึงเกาะมินดาเนาในฟิลิปปิน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและคางคกห้วย · ดูเพิ่มเติม »

คางคกแคระ

งคกแคระ หรือ คางคกหัวแบน เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Ingerophrynus ในวงศ์คางคก (Bufonidae) พบกระจายพันธุ์ในมณฑลยูนนาน และภูมิภาคอินโดจีน, ประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะสุลาเวสี, เกาะไนแอส และเกาะฟิลิปปิน โดยเป็นสกุลที่แยกออกมาจากสกุล Bufo ซึ่งเป็นสกุลดั้งเดิมของคางคกในวงศ์นี้ 10 ชนิด โดยในชนิด Ingerophrynus gollum ซึ่งเป็นชนิดใหม่ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามกอลลัม ตัวละครจากบทประพันธ์ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ลูกอ๊อดของคางคกสกุลนี้มีดวงตาขนาดใหญ่ ตัวสีน้ำตาลดำ มีจุดกระจายทั่วตัว มักพบตามแอ่งข้างลำธารที่มีเศษใบไม้ร่วงทับถมกัน ในประเทศไทยพบ 3 ชน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและคางคกแคระ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกไฟ

งคกไฟ (Lesser toad) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง ในวงศ์คางคก (Bufonidae) จัดเป็นคางคกขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีแดงสดอันเป็นที่มาของชื่อ พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบของภาคใต้ของเมียนมา, ภาคใต้และตะวันออกของไทย, กัมพูชา และพบไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะชวา, เกาะสุมาตรา โดยมีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีลำธารไหลผ่าน ผสมพันธุ์และวางไข่ในแอ่งน้ำหรือลำธารในป่า เป็นคางคกที่พบได้ทั่วไปในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นอินโดนีเซี.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและคางคกไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ตาบอด

ตาบอด เป็นความพิการในลักษณะหนึ่งของร่างกาย ผู้ที่ตาบอดจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้หรือมองเห็นได้เพียงบางส่วน ในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถือว่า ผู้ที่ ตาบอดทางกฎหมาย หมายถึงผู้ที่มีวิสัยการมองเห็นภาพได้ไม่เกิน 20 องศา (จากวิสัยของคนปกติประมาณ 180 องศา) หมวดหมู่:การมองเห็น หมวดหมู่:ตาบอด.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและตาบอด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและนม · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมือก

มูกหรือเมือก (mucus) ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสิ่งคัดหลั่งลื่นที่เยื่อเมือกสร้างขึ้นปกคลุม น้ำเมือกตรงแบบผลิตจากเซลล์ที่พบในต่อมมูก เซลล์มูกหลั่งผลิตภัณฑ์ที่มีไกลโคโปรตีนและน้ำสูง น้ำเมือกยังอาจเกิดจากต่อมผสม (mixed gland) ซึ่งมีทั้งเซลล์หลั่งน้ำใสและหลั่งเมือก เมือกเป็นคอลลอยด์หนืดซึ่งมีเอนไซม์ระงับเชื้อ (เช่น ไลโซไซม์) อิมมูโนโกลบูลิน เกลืออนินทรีย์ โปรตีนอย่างแลกโตเฟอร์ริน และไกลโคโปรตีนซึ่งรู้จักกันในชื่อ มิวซิน ซึ่งผลิตโดยเซลล์กลอเบล็ต (goblet cell) ในเยื่อเมือกและต่อมชั้นใต้เยื่อเมือก เมือกนี้ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (บุท่อ) ในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะและเพศ การเห็นและการได้ยินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และเหงือกในปลา การทำหน้าที่หลักของเมือกนี้ คือ ปกป้องต่อสิ่งก่อโรคอย่างเห็ดรา แบคทีเรียและไวรัส ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยผลิตเมือกราวหนึ่งลิตรต่อวัน.

ใหม่!!: วงศ์คางคกและเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: วงศ์คางคกและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bufonidaeคางคกแท้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »