โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเน

ดัชนี รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเน

ซิเรเน หรือ ซิเรไนกา เป็นอาณานิคมของกรีกบนชายฝั่งแอฟริกาเหนือในตอนเหนือของลิเบียซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโดเรียนจากเมืองธีรา (ปัจจุบันคือ เมืองซานโตรินี) เมื่อศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์แห่งซิเรเนได้รับการเทิดทูนและบูชาเช่นเดียวกับของกษัตริย์โดเรียนของสปาร์ต.

25 ความสัมพันธ์: บัตทุสที่ 1บัตทุสที่ 2บัตทุสที่ 3บัตทุสที่ 4กรีซโบราณมากัสแห่งซิเรเนมาร์กุส อันโตนิอุสราชอาณาจักรมาเกโดนีอาลีอาร์คัสสาธารณรัฐโรมันสปาร์ตาอาร์เซซิลาอุสที่ 1อาร์เซซิลาอุสที่ 2อาร์เซซิลาอุสที่ 3อาร์เซซิลาอุสที่ 4อเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิเอากุสตุสทอเลมีที่ 8คลีโอพัตราคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2ซันโดรีนีประเทศลิเบียประเทศอิหร่านแอฟริกาเหนือเดเมตริอุส ผู้ยุติธรรม

บัตทุสที่ 1

ัตทุสที่ 1 แห่งซิเรเน (Βάττος; Battus I of Cyrene) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม บัตทุส อริสโตเติล (Βάττος Ἀριστοτέλης; Battus Aristottle) หรือ อาริสตาเออุส (Aristaeus; Ἀρισταίος) เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอาณานิคมกรีกโบราณของซิเนไทกาและเมืองหลวงของซิเรเน พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกซิเรเน ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีกแห่งแรกในแอฟริกาเหนือและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์บัตเทียด นอกจากนี้พระนามของพระองค์ได้นำมาตั้งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่งคือ บัตทุส ฟิเลนอร.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและบัตทุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

บัตทุสที่ 2

ัตทุสที่ 2 แห่งซิเรเน (Battus II of Cyrene บางครั้งเรียกว่า ยูไดมอน (พรหรืออวยพร) (Eudaimon) หรือละตินที่เทียบเท่าเฟลิกซ์ (Βάττος ὁ Εὐδαίμων; ปกครองตั้งแต่ 583 ถึง 560 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกพระองค์ที่สามแห่งซิเรเนและเป็นหนึ่งในเชื้อพระวงศ์จากราชวงศ์บัตเที.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและบัตทุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

บัตทุสที่ 3

ัตทุสที่ 3 แห่งซิเรเน ใช้นามแฝงคือ ง่อย (Βάττος ο Χωλός, ปกครองระหว่างคริสตศตวรรษที่ 6 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกและเป็นผู้ปกครองแห่งซิเรเนพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์บัตเทียด พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของกษัตริย์อาร์เซซิลาอุสที่ 2 กับพระนางเอริโซ โดยพระอัยกาคือกษัตริย์บัตทุสที่ 2 กับพระอัยยิกาไม่ทราบพระนาม พระราชมารดาของพระอัยยิกาของพระองค์คือพระนางคริโตลา ในขณะที่พระอัยกาฝ่ายมารดาเป็นขุนนางไม่ทราบชื่อและถูกฆาตกรรมโดยลีอาร์คัสในปี 550 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์บัตทุสที่ 2 กับพระนางคริโตลา ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสและธิดาของกษัตริย์อาร์เซซิลาอุสที่ 1 ซึ่งพระอัยกาของทั้งสองพระองค์คือกษัตริย์บัตทุสที่ 1 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์บัตเทียดและอาณาจักรซิเรเน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและบัตทุสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

บัตทุสที่ 4

ัตทุสที่ 4 แห่งซิเรเน (กรีก: ΒάττοςοΚαλός, ปกครองในช่วงคริิสตศตวรรษที่ 6 และ 5 ก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกพระองค์ที่เจ็ดแห่งซิเรเนในราชวงศ์บัตเทียด พระองค์เป็นกษัตริย์ซิเรเนพระองค์แรกที่ถูกจักรวรรดิเปอร์เซียยึดอำนาจเอาไว้ แต่ยังคงให้พระองค์ทรงปกครองเมืองซิเรเน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและบัตทุสที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

มากัสแห่งซิเรเน

มากัสแห่งซิเรเน (กรีก: Μάγας ὁ Κυρηναῖος; ประสูติ 317 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 250 ปีก่อนคริสตกาล, ปกครองระหว่าง 276 - 250 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นขุนนางชาวกรีกจากอาณาจักรมาซิโดเนียและกษัตริย์แห่งซิเรเน เกิดจากการการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระนางเบเรนิซที่ 1 กับปโตเลมีที่ 1 ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ปโตเลมี พระองค์พยายามกู้อิสรภาพเมืองซิเรเน (ในปัจจุบันคือบริเวณประเทศลิเบีย) จากราชวงศ์ปโตเลมีของอียิปต์โบราณและกลายเป็นกษัตริย์ปกครองแห่งซิเรเนระหว่าง 276 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 250 ปีก่อนคริสตศักร.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและมากัสแห่งซิเรเน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและมาร์กุส อันโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

ลีอาร์คัส

ลีอาร์คัส (Λέαρχος; Learchus) เป็นที่ปรึกษาในรัฐบาลแห่งอาณาจักรซิเรเนในช่วงระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอาร์เซซิลาอุสที่ 2 ลีอาร์คัสเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับการวางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาร์เซซิลาอุส เพื่อแย่งพระราชบังลังก์ แต่ครองราชย์ได้เพียงไม่กี่เดือน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและลีอาร์คัส · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เซซิลาอุสที่ 1

อาร์เซซิลาอุสที่ 1 แห่งซิเรเน (Ἀρκεσίλαος;Arcesilaus I of Cyrene; เจริญรุ่งเรืองเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช) เป็นกษัตริย์กรีกพระองค์ที่สองแห่งซิเรเนและกษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์บัตเที.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและอาร์เซซิลาอุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เซซิลาอุสที่ 2

อาร์เซซิลาอุสที่ 2 แห่งซิเรเน (Ἀρκεσίλαος ὁ Χαλεπός, Arcesilaus II of Cyrene; ปกครองภายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกพระองค์ที่สี่แห่งซิเรเนและเป็นหนึ่งของผู้ปกครองจากราชวงศ์บัตเทียด ในสมัยของพระองค์ได้เริ่มเกิดการเสื่อมอำนาจของราชวงศ์บัตเทียดลง.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและอาร์เซซิลาอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เซซิลาอุสที่ 3

อาร์เซซิลาอุสที่ 3 แห่งซิเรเน (กรีก: Ἀρκεσίλαος ปกครองในช่วงคริสตศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกและเป็นผู้ปกครองแห่งซิเรเนในราชวงศ์บัตเทียด พระองค์เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์บัตทุสที่ 3 กับพระนางเฟเรติมา และต่อมาหลังพระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งในฐานะกษัตริย์แห่งซิเรเนเมื่อ 530 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นผู้ปกครองซิเรเน จนกระทั่งพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อประมาณ 515 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและอาร์เซซิลาอุสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เซซิลาอุสที่ 4

อาร์เซซิลาอุสที่ 4 แห่งซิเรเน (กรีก: Ἀρκεσίλαος, ปกครองในช่วงคริสตศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์แห่งซิเรเนและกษัตริย์พระองค์ที่แปดและพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์บัตเทียด พระองค์ทำหน้าที่เป็นกษัตริย์หุ่นซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซี.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและอาร์เซซิลาอุสที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและจักรพรรดิเอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 8

ทอเลมีที่ 8 หรือ ทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน (Ptolemy VIII Physcon,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςΕὐεργέτης, Ptolemaios Euergetes) (ปกครองอียิปต์ระหว่างปี 182 - 26 มิถุนายน 116 ปีก่อนคริสตกาล) ชื่อเล่นนามว่า ฟิสคอน (Φύσκων) เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ทอเลมีปห่งอียิปต.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและทอเลมีที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตรา

ลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ; หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา) (มกราคม ปีที่ 69 ก่อนคริสตกาล – 30 พฤศจิกายน ปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้ ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา, สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและคลีโอพัตรา · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

ลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 (กรีก: Κλεοπάτρα Σελήνη; ประสูติ 40 ปีก่อนคริสตกาล - 6 ปีก่อนคริสตกาล) และยังเป็นที่รู้จักกันในนาม คลีโอพัตราที่ 8 แห่งอียิปต์หรือคลีโอพัตราที่ 8 เป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ปโตเลมีและเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวของพระนางคลีโอพัตรา กับแม่ทัพมาร์ค แอนโทนี พระองค์มีพระเชษฐาฝาแฝดนามว่า เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ชื่อที่สองของพระองค์เป็นภาษากรีกโบราณและสมัยใหม่หมายถึง ดวงจันทร์และยังหมายถึงเทพธิดาไททันนามว่า เซลีนี ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์นามว่า เฮลิออส ซึ่งหมายถึงดวงอาทิตย์ และเทพไททันแห่งดวงอาทิตย์นามว่า เฮลิออส พระองค์มีเชื้อสายชาวกรีก-โรมัน พระองค์ทรงประสูติ ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาในเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ พระองค์เป็นผู้ปกครองแห่งซิเรเนและลิเบี.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ซันโดรีนี

ซันโดรีนี (Σαντορίνη, Santorini, ออกเสียง) หรือ ซีรา (Θήρα, Thira, ออกเสียง) เป็นเมืองบนเกาะตอนใต้ของทะเลอีเจียน ประเทศกรีซ มีความสวยงามจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยว ว่าเป็นเกาะอันดับ 2 ของโลกที่พวกเขาอยากมา ซึ่งมีสถานทีสำคัญเช่น ยอดเขาโปรฟีติสอีเลียส (Profitis Ilias) เป็นจุดชมความงดงามของเกาะซันโดรีนี เกาะมีความกว้างประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 567 เมตร ประวัติศาสตร์ของเกาะนี้ ชาวฟินีเชียนอพยพเข้ามาที่เกาะนี้ราว 3,600 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นชาวลาโคเนียนก็เข้ามาปกครองเกาะนี้ กระทั่งถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ไมนอส ผู้ปกครองแห่งเกาะครีตได้แผ่ขยายอิทธิพลด้านศิลปะและวัฒนธรรมจากอารยธรรมมิโนอันมายังธีรา แต่เกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้นในเกาะในช่วงฤดูร้อนช่วง 1,650 ปีก่อนคริสตกาล (นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงเรื่องเวลาที่แน่นอนอยู่) ส่งผลให้เกาะธีราแตกออกเป็น 3 เกาะ กระแสลมยังพัดพาเถ้าภูเขาไฟไปไกลจนถึงเกาะต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียงและเกาะครีตที่อยู่ห่างไป 70 กิโลเมตร ไม่เพียงได้รับแรงระเบิดจากภูเขาไฟ ยังเกิดสึนามิที่มีความสูง 100-150 เมตร ถาโถมเข้าด้านเหนือของเกาะครีต ทำลายต้นไม้บ้านเรือน ทำให้เกาะทั้งเกาะจมทะเลในชั่วข้ามคืน ส่งผลให้อารยธรรมมิโนอันเป็นอันล่มสลาย และเชื่อกันว่าความหายนะของเกาะครีตและหมู่เกาะไซคลาดิสเป็นแรงบันดาลใจให้เพลโต เขียนตำนานเรื่องแอตแลนติส และนำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลาม ทั้งนี้นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เริ่มตามรอยอารยธรรมอันสาบสูญ โดยในปี..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและซันโดรีนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิเบีย

ลิเบีย (ليبيا) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและประเทศลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เดเมตริอุส ผู้ยุติธรรม

มตริอุส ผู้ยุติธรรม หรือผู้ที่มีรูปงาม (กรีกโบราณ: Δημήτριος ὁ Καλός, ปกครองระหว่าง 285 ปีก่อนคริสตกาล - 249 หรือ 250 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันดีในแหล่งประวัติศาสตร์ทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่เช่น เดเมตริอุสแห่งซิเรเน เป็นพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนในยุคสมัยเฮลเลนิสติก.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งซิเรเนและเดเมตริอุส ผู้ยุติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »