โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สาธารณรัฐโรมัน

ดัชนี สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

31 ความสัมพันธ์: บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนกฎหมายสิบสองโต๊ะกษัตริย์แห่งโรมการแยกใช้อำนาจภาษาละตินมาร์กุส อันโตนิอุสยุทธนาวีที่อักติอูงรัฐชาติลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสลูเครเชียวุฒิสภาโรมันสมัยคลาสสิกสาธารณรัฐอารยธรรมอีทรัสคันองค์การระหว่างประเทศฮันนิบาลผู้เผด็จการผู้เผด็จการโรมันจักรพรรดิจักรพรรดิเอากุสตุสจูเลียส ซีซาร์ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคาบสมุทรอิตาลีคาบสมุทรไอบีเรียคาร์เธจต้นยุคอ้างอิงประเทศอิตาลีแอฟริกาเหนือแคว้นปกครองตนเองซิซิลีโรมเทือกเขาแอลป์

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน

ริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้ แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายสิบสองโต๊ะ

กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Leges Duodecim Tabularum หรือ Duodecim Tabulae, Law of the Twelve Tables) เป็นกฎหมายโบราณอันเป็นรากฐานของกฎหมายโรมัน กฎหมายสิบสองโต๊ะเป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐโรมันและแกนพราว (mos maiorum) กฎหมายสิบสองโต๊ะเป็นผลของการต่อสู้ทางสังคมอันยาวนานระหว่างแพทริเซียนกับพลีเบียน หลังการขับทาร์ควิเนียส ซูเบอร์บัส (Tarquinius Suberbus) พระมหากษัตริย์โรมพระองค์สุดท้าย สาธารณรัฐมีฝ่ายปกครอง (magistrate) เป็นผู้ปกครองตามลำดับชั้น เดิมแพทริเซียนเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นฝ่ายปกครอง จึงเป็นเหตุที่พลีเบียนไม่พอใจ ในบริบทของสถานภาพอันไม่เท่าเทียมนี้ พลีเบียนต่อสู้เพื่อให้พวกตนได้รับการยินยอม โดยการขู่ว่าจะแยกตัวออก พวกเขาขู่จะออกจากนคร ซึ่งผลที่ตามมาคือ กิจกรรมของเมืองจะหยุดชะงัก เพราะพลีเบียนเป็นกำลังแรงงานของโรม หนึ่งในการยินยอมสำคัญที่สุดซึ่งพลีเบียนชนะในการต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ คือ การสถาปนากฎหมายสิบสองโต๊ะ โดยสร้างสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมพื้นฐานแก่พลเมืองโรมันทุกคน หมวดหมู่:โรมโบราณ หมวดหมู่:กฎหมายโรมัน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์กฎหมาย.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและกฎหมายสิบสองโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์แห่งโรม

แม่หมาป่าคาปิโตลีนา สัญลักษณ์อำนาจของกษัตริย์แห่งโรม กษัตริย์แห่งโรม (Rex Romae) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของราชอาณาจักรโรมัน มีอำนาจในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตามตำนานแล้ว กษัตริย์คนแรกคือโรมุลุส ซึ่งได้สร้างกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเขาแพละไทน์ กรุงโรมมีกษัตริย์ทั้งหมด 7 คนซึ่งปกครองกรุงโรมจนถึง 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คนที่เจ็ดถูกโค่นจากอำนาจจากเหตุข่มขืนลูเครเชีย แม้จะมีชื่อตำแหน่งว่าเป็นกษัตริย์แต่ก็เป็นเพียงชื่อตำแหน่งในทางปกครองเท่านั้น กษัตริย์แต่ละคนมาจากการเลือกตั้งแบบปลอดการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับกษัตริย์คนก่อน ระบอบการปกครองเช่นนี้จึงไม่มีชนชั้นราชวงศ์ ตำแหน่งกษัตริย์เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือผู้คน แม้กรุงโรมจะมีวุฒิสภาแต่ก็เป็นเพียงสภาที่มีอำนาจน้อยนิดในทางปกครองเท่านั้น หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือการสนองความปรารถนาของกษัตริย์ นอกจากโรมุลุสผู้เป็นกษัตริย์คนแรกแล้ว กษัตริย์คนต่อมามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกรุงโรม วุฒิสภาจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะอินแตร์เรกส์ (Interrex) ซึ่งจะเป็นคณะที่สรรหาและเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกหนึ่งคนเป็นกษัตริย์ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้การเลือกตั้ง คณะอินแตร์เรกส์ก็จะสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกคนใหม่ ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจจะเป็นใครก็ได้โดยไม่เกี่ยงที่มา อาทิ ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์คนที่ 5 มีต้นกำเนิดเป็นเพียงสามัญชนผู้อพยพมาจากอีทรัสคัน นครรัฐเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในตอนปลายยุคได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันขึ้น ทำให้กษัตริย์องค์ที่ 6 และ 7 ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่มาจากการลงมติแต่งตั้งของวุฒิสภาเท่านั้น.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและกษัตริย์แห่งโรม · ดูเพิ่มเติม »

การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและการแยกใช้อำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและมาร์กุส อันโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่อักติอูง

ภาพวาดยุทธนาวีที่อักติอูงในยุคบาโรค ยุทธนาวีที่อักติอูง (Battle of Actium) การเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายก่อนเกิด สงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน ระหว่างกองทัพของ ออคเตเวียน และกองทัพผสมของ มาร์ก แอนโทนี และ คลีโอพัตรา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 31 ปีก่อนคริสตกาล ที่ ทะเลไอโอเนียน ใกล้เมือง อักติอูง หมวดหมู่:สาธารณรัฐโรมัน หมวดหมู่:โรมันโบราณ หมวดหมู่:31 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พ.ศ. 531.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและยุทธนาวีที่อักติอูง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาติ

การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ" รัฐชาติ (nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐ.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและรัฐชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส (LVCIVS TARQUINIVS SVPERBVS) เป็นกษัตริย์แห่งโรมคนที่ 7 และเป็นคนสุดท้าย เขามีฉายาว่า ตาร์กวินิอุสผู้หยิ่งทะนง เขาเป็นลูกชายหรือหลานชายของลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์แห่งโรมคนที่ห้า ซุแปร์บุสได้ขึ้นครองรายช์ภายหลังการลอบสังหารแซร์วิอุส ตุลลิอุส กษัตริย์คนที่หก ซึ่งเป็นการลอบสังหารที่จัดฉากโดยเขากับภริยา โรมันภายใต้การปกครองของซุแปร์บุสไม่ได้ประสบกับความสำเร็จทางการทหารมากนัก เขามักหัวอ่อนคล้อยตามแม่ทัพนายกองที่มักจะบอกว่าโรมันสามารถจะชนะในศึกนั้นศึกนี้ได้ ความนิยมของซุแปร์บุสจึงไม่ค่อยจะดีนัก และเมื่อน้องชายเขาก่อเหตุข่มขืนลูเครเชีย ก็ทำให้ประชาชนในกรุงโรมก่อการลุกฮือโค่นล้มเขาลงจากอำนาจในปี 509 ก่อนคริสต์กาล ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างและวุฒิสภาโรมันได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโรมัน หลังถูกโค่นล้มจากอำนาจ เขาก็ลี้ภัยออกจากกรุงโรมไปพึ่งกษัตริย์ปอร์เซนาแห่งชาวอีทรัสคัน ด้วยเห็นว่าซุแปร์บุสมีเชื้อสายอีทรัสคัน กษัตริย์ปอร์เซนาจึงต้องการช่วยซุแปร์บุสคืนสู่ตำแหน่ง กษัตริย์ปอร์เซนายกทัพสู่กรุงโรม แต่สู้รบกันไม่ไม่นานก็เกิดเป็นสัญญาสงบศึกโดยไม่มีฝ่ายใดชนะ ซุแปร์บุสได้พยายามวางแผนทวงคืนบัลลังก์อีกครั้งในปี 498 หรือ 496 ก่อน..แต่ก็ไม่สำเร็จ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:กษัตริย์แห่งโรม.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส · ดูเพิ่มเติม »

ลูเครเชีย

“ลูเครเชีย” โดยอันเดรีย คาซาลิ “ทาร์ควิเนียสและลูเครเชีย” โดยทิเชียน ลูเครเชีย (ภาษาอังกฤษ: Lucretia) เป็นบุคคลในตำนานในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐโรมัน สามีของลูเครเชียคือลูเชียส ทาร์ควิเนียส โคลลาทินัส (Lucius Tarquinius Collatinus) พ่อคือสเปอเรียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Spurius Lucretius Tricipitinus) และพี่ชายพูเบียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Publius Lucretius Tricipitinus) ตามตำนานของโรมการข่มขืนของลูเครเชียและการฆ่าตัวตายที่ตามมาเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล้มราชบัลลังก์ของโรมและการก่อตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ ตามคำกล่าวของ ลิวี (Livy) นักประวัติศาสตร์โรมันแล้ว กษัตริย์แห่งโรมมีโอรสชื่อเซ็กซทัส ทาร์ควิเนียส (Sextus Tarquinius) ผู้มีนิสัยดุร้าย ผู้เป็นผู้ข่มขืนสตรีในครอบครัวขุนนางชื่อนางลูเครเชียในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช เซ็กซทัสขู่ลูเครเชียว่าจะฆ่าถ้าไม่ยอมให้ข่มขืน และจะนำร่างที่เปลือยเปล่าของลูเครเชียไปวางเคียงข้างกับทาส เพราะการเป็นนัยว่ามีความสัมพันธ์กับชนชั้นที่ต่ำกว่าถือว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอายเป็นอันมาก ลูเครเชียจึงต้องจำยอม หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูเครเชียก็เรียกพี่น้องมารวมกัน และเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นลูเครเชียก็ฆ่าตัวตาย ครอบครัวของลูเครเชียมาพบร่างของลูเครเชียปักด้วยมีดที่หน้าอก.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและลูเครเชีย · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาโรมัน

“Senatus Populusque Romanus”(วุฒิสภาและประชาชนโรมัน) วุฒิสภาโรมัน (Senatvs Romanvs) เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี..

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและวุฒิสภาโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยคลาสสิก

มัยคลาสสิก (Classical antiquity หรือ classical era หรือ classical period) เป็นคำที่ใช้กว้างๆ สำหรับสมัยประวัติศาตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณเมดิเตอเรเนียนที่ประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างกรีกโบราณและโรมันโบราณที่เรียกว่าโลกกรีก-โรมัน สมัยคลาสสิกเป็นสมัยที่วรรณคดีกรีกและลาตินมีความรุ่งเรือง สมัยคลาสสิกถือกันว่าเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกวรรณกรรมกรีกเป็นครั้งแรกที่เริ่มด้วยมหากาพย์ของโฮเมอร์ราวศตวรรษที่ 8 ถึง 7 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และดำเนินต่อมาจนกระทั่งถึงสมัยการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนา และ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนมาสิ้นสุดลงในปลายสมัยโบราณตอนปลาย ราว..

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและสมัยคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ (international organisation) หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาต.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและองค์การระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนิบาล

ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่สอง ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่สอง เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเล.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและฮันนิบาล · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผด็จการ

ผู้เผด็จการ (dictator) เป็นผู้ปกครอง (คือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์หรืออัตตาธิปไตย) ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จแต่เพียงผู้เดียว (ซึ่งอาจรวมถึงการควบคุมทางทหารหรือสินบน แต่ไม่จำเป็นเสมอไป) แต่ไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในวงศาคณาญาติ อย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อรัฐอื่นเรียกประมุขแห่งรัฐใดรัฐหนึ่งว่า ผู้เผด็จการ รัฐนั้นจะถูกเรียกว่า เผด็จการ คำนี้กำเนิดขึ้นเป็นตำแหน่งของฝ่ายปกครองในโรมโบราณที่ถูกแต่งตั้งโดยวุฒิสภา เพื่อปกครองสาธารณรัฐในยามฉุกเฉิน (ดูเพิ่มที่ ผู้เผด็จการโรมัน) โดยทั่วไป การใช้คำว่า "ผู้เผด็จการ" สมัยใหม่มักใช้อธิบายผู้นำที่ถือ และ/หรือ ละเมิดอำนาจจากบุคคลเกินธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจที่จะออกกฎหมายโดยไม่มีการจำกัดจากสภานิติบัญญัติ เผด็จการมักเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ การเลื่อนการเลือกตั้งและยกเลิกเสรีภาพพลเมือง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การปกครองโดยกฤษฎีกา การปราบปรามคู่แข่งทางการเมืองโดยไม่อาศัยกระบวนการนิติธรรม รวมทั้งรัฐพรรคการเมืองเดียวและลัทธิบูชาบุคคล ผู้นำทั้งหลายที่เถลิงอำนาจในหลากหลายระบอบ เช่น เผด็จการทหาร รัฐพรรคการเมืองเดียว และรัฐบาลพลเรือนที่อยู่ภายใต้การปกครองส่วนตัว ถูกเรียกว่าเป็น ผู้เผด็จการ ทั้งนี้ พวกเขาอาจมีมุมมองทางการเมืองเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา หรืออาจเป็นกลางทางการเมืองก็ได้.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและผู้เผด็จการ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผด็จการโรมัน

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius) ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้ มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa) โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและผู้เผด็จการโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและจักรพรรดิเอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอิตาลี

ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและคาบสมุทรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เธจ

ร์เธจ (Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซี.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและคาร์เธจ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นยุคอ้างอิง

ในสาขาวิทยาการลำดับเวลาและการแบ่งยุค ต้นยุคอ้างอิง (epoch) หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกเลือกให้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยหนึ่ง "ต้นยุคอ้างอิง" จึงเป็นเสมือนจุดอ้างอิงจากเวลาที่วัด หน่วยการวัดเวลาจะถูกนับจากต้นยุคอ้างอิง เพื่อที่ว่าวันที่และเวลาของเหตุการณ์จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนต้นยุคอ้างอิงนั้นสามารถกำหนดวันที่ได้โดยการนับย้อนหลังต้นยุคอ้างอิงไป แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้ว จะมีต้นยุคอ้างอิงนิยามไว้ในอดีต และต้นยุคอ้างอิงถูกใช้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยต่อไป จึงเป็นเสมือนจุดสิ้นสุดของยุคสมัยก่อนหน้าด้วย วัตถุประสงค์และเกณฑ์การนิยามดังนี้เพื่อสร้างความชัดเจนและประสานวิชาเกี่ยวกับช่วงเวลา ซึ่งในบางครั้งสามารถใช้ได้แก่ศาสตร์หลายแขนง ต้นยุคอ้างอิงโดยทั่วไปแล้วจะถูกเลือกให้สะดวกหรือสำคัญโดยมติของผู้ใช้เดิมของมาตรกาล (time scale) หรือโดยคำสั่งของผู้ปกครอง ต้นยุคอ้างอิงมักถูกนิยามโดยเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง เงื่อนไขหรือเกณฑ์ ซึ่งช่วงเวลาหรือยุคสมัยนั้นมักถูกอธิบายหรือแสดงลักษณะ ตัวอย่าง.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและต้นยุคอ้างอิง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและโรม · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: สาธารณรัฐโรมันและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Roman Republic

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »