เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)

ดัชนี รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)

ราณสถานที่มีรายชื่อในหน้านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงบนแผนที.

สารบัญ

  1. 70 ความสัมพันธ์: บ้านพระอาทิตย์บ้านมะลิวัลย์บ้านเจ้าพระยาพระบรมมหาราชวังพระราชวังบวรสถานมงคลพระราชวังสราญรมย์พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยกรมแผนที่ทหารกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครมิวเซียมสยามวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดบุรณศิริมาตยารามวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดมหรรณพารามวรวิหารวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชบุรณราชวรวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชนัดดารามวรวิหารวัดสามพระยาวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดตรีทศเทพวรวิหารวัดนรนาถสุนทริการามวัดเทพธิดารามวรวิหารวังบางขุนพรหมวังบ้านหม้อวังจักรพงษ์วังเทวะเวสม์วังเทเวศร์ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครศาลาเฉลิมกรุงศาลเจ้าพ่อเสือ พระนครสะพานช้างโรงสีสะพานพระพุทธยอดฟ้าสะพานภาณุพันธุ์สะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)สะพานมัฆวานรังสรรค์สะพานวิศุกรรมนฤมาณสะพานสมมตอมรมารคสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสะพานหกสะพานผ่านฟ้าลีลาศสะพานผ่านพิภพลีลาสะพานเหล็กสะพานเทเวศรนฤมิตรหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน... ขยายดัชนี (20 มากกว่า) »

บ้านพระอาทิตย์

ป้ายวังเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ หรือ บ้านพระอาทิตย์ บ้านพระอาทิตย์ บ้านพระอาทิตย์ หรือ วังพระอาทิตย์ เป็นวังเก่าในสมัยรัชกาลที่ 1 และเป็นอาคารอนุรักษ์ ปัจจุบันเป็นสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ บ้านพระอาทิตย์ตั้งอยู่เลขที่ 102/1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และบ้านพระอาทิตย์

บ้านมะลิวัลย์

้านมะลิวัลย์ วังมะลิวัลย์ หรือ บ้านมะลิวัลย์ ตั้งอยู่เลขที่ 39 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO).

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และบ้านมะลิวัลย์

บ้านเจ้าพระยา

อาคารอนุรักษ์ บ้านเจ้าพระยา บ้านเจ้าพระยา หรือ วังพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับสวนสันติชัยปราการ เป็นอาคารเก่าแก่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์จากกรมศิลปากร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และบ้านเจ้าพระยา

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และพระบรมมหาราชวัง

พระราชวังบวรสถานมงคล

ระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และพระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชวังสราญรมย์

ระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ พระราชวังสราญรมย์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และพระราชวังสราญรมย์

พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย

พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย พระที่นั่ง 1 ใน 4 ของท่าราชวรดิฐ ตั้งอยู่ที่ท่าราชวรดิฐ ถนนมหาราช พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4โดยสร้างทางทิศเหนือของพระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิตแต่พื้นต่ำกว่า ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์ต่างๆ ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปเป็นอันมากพระองค์จึงทรงให้รื้อลงเสียทั้งหมดเหลือไว้เพียงพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยองค์เดียวต่อมาพระที่นั่งองค์นี้จึงได้รับการบูรณะต่อมา พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยองค์ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งไม้แบบทรงจตุรมุขประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้เปิดให้เข้าชมเพียงบางส่วนเท่านั้น และพระที่นั่งองค์นี้ยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่ซึ่งประกอบพระราชพิธีรับมอบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 ราชกิจวินิจฉัย หมวดหมู่:เขตพระนคร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย

กรมแผนที่ทหาร

กรมแผนที่ทหาร เป็นหน่วยงานย่อยในกองบัญชาการกองทัพไทย มีหน้าที่สำรวจและทำแผนที่ของประเทศเพื่อรักษาอธิปไตยและเขตแดนประเทศให้ถูกต้อง เป็นที่รวบรวมเอกสารและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน ทั้งประเทศ รวมไปถึงการรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ทั้งหมดของประเทศไท.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และกรมแผนที่ทหาร

กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไท.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และกรุงเทพมหานคร

มิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam, Discovery Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และมิวเซียมสยาม

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบุรณศิริมาตยาราม

วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่บนถนนอัษฎางค์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างโดยเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ว่า กรมหมื่นเสนีเทพ (พระองค์เจ้าอสุนี) พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นผู้สร้างวัดขึ้นแต่ยังค้างอยู่ จนกระทั่งพระยามหาอำมาตย์ (ต่อมาคือ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี ต้นสกุล บุรณศิริ)) ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดศิริอำมาตยาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดบุรณศิริมาตยาราม เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดบุรณศิริมาตยาราม

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

วัดมหรรณพารามวรวิหาร

วัดมหรรณพารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษีที่มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าอรรณพ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากกรมหมื่นอุดมรัตนราษีได้สิ้นพระชนม์แล้ว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดมหรรณพาราม สถาปัตยกรรมภายในวัดมีทั้งแบบไทยและแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน หลังคาของพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้า ใบระกา มีพระประธานปั้นด้วยปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระวิหารมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ รวมทั้งมีศิลปะแบบเดียวกัน มีพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัยนามว่า พระร่วงทองคำ ประดิษฐานอยู่ ปัจจุบันมี พระเทพสุตเมธี (บุญธรรม สุตธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดมหรรณพารามวรวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" เชื่อกันว่าพ่อค้าชาวจีนนาม "เลี้ยบ" เป็นผู้สร้างถวาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหม.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดราชบุรณราชวรวิหาร

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ผนังกรุหินอ่อนในพระวิหาร (พระอุโบสถ) และปาสาณเจดีย์ (เบื้องหลัง) อันเป็นสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" พระประธานพระวิหารหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้จำลองมาจากพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร หรือ "วัดราชนัดดา" ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใกล้กับวัดเทพธิดาราม ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดสามพระยา

วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมเป็นวัดราษฎร์ สถานที่ตั้งอยู่ที่ แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้างก็เรียกชื่อวัดว่า วัดสัก หรือ วัดบางขุนพรหม สันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มาโดยลำดับ ครั้นต่อมา ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ประกอบด้วย พระยาราชภักดี (สิงห์ทอง) พระยาเทพอรชุน (ทองปาน) และพระยาราชวรานุกูล (ทองคำ) รวมสามคนพี่น้อง ตามประวัติ บิดาท่านชื่อ มะทอเปิ้น อพยพมาจากรามัญประเทศ แต่ มารดาท่านไม่ปรากฏนาม พี่น้องทั้งสาม ได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ แล้วเสร็จจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มอบพระราชทานนามวัดว่า “วัดสามพระยา”.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดสามพระยา

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดตรีทศเทพวรวิหาร

วัดตรีทศเทพ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดตรีทศเทพวรวิหาร

วัดนรนาถสุนทริการาม

วัดนรนาถสุนทริการาม วัดนรนาถสุนทริการาม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เชิงสะพานเทเวศร์นฤมิตร ตรงมุมคลองผดุงกรุงเกษม ตัดกับถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดนรนาถสุนทริการาม

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

วัดเทพธิดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ริมถนนมหาไชย ใกล้วัดราชนัดดา วัดเทพธิดารามวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง สันนิษฐานว่า เรียกตามบริเวณที่สร้าง ที่เป็นสวนไร่นา และคงเป็นที่ของพระยาไกร เจ้านายหรือขุนนาง วัดเทพธิดารามวรวิหารเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน รัชกาลที่ 3 สร้างเมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวัดเทพธิดารามวรวิหาร

วังบางขุนพรหม

วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมอยู่ในเนื้อที่ 33 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ โดยตำหนักใหญ่ ก่อสร้างขึ้นในปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวังบางขุนพรหม

วังบ้านหม้อ

วังบ้านหม้อ วังบ้านหม้อ ตั้งอยู่ริมถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม ฝั่งตรงข้ามกับ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เดิมเป็นวังประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาศิลา ซึ่งเป็นต้นราชสกุล กุญชร นับตั้งแต่ได้เข้ารับราชการที่กรมม้า และกรมคชบาล สมเด็จฯ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ได้ทรงพำนักอยู่ที่ วังบ้านหม้อมาจวนจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ วังบ้านหม้อมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3-5) ปัจจุบันวังบ้านหม้อตกอยู่ในความครอบครองของ หม่อมหลวงแฉล้ม กุญชร ธิดาคนที่ 27 ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ปัจจุบันเหลือเพียงท้องพระโรง ศาลาท้องพระโรง และเก๋งด้านหน้าท้องพระโรง อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่สร้างวัง.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวังบ้านหม้อ

วังจักรพงษ์

ประตูวังจักรพงษ์ วังจักรพงษ์ หรือ บ้านจักรพงษ์ ตั้งอยู่ที่ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงเรียนราชินี เคยเป็นตำหนักส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ต่อมาตกเป็นของทายาทคือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ ปัจจุบันวังจักรพงษ์เป็นที่ตั้งของสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค จักรพงษ์วิลล่า และมูลนิธิโลกสีเขียว.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวังจักรพงษ์

วังเทวะเวสม์

วังเทวะเวสม์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวังเทวะเวสม์

วังเทเวศร์

วังเทเวศร์ หรือ วังพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร และทายาทในราชสกุลกิติยากร ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางทิศใต้ติดกับวังเทวะเวสม์ ทางทิศตะวันออกติดกับวัดนรนาถสุนทริการามพระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พระตำหนักใหญ่) ภายในวังเทเวศร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินบริเวณป้อมหักกำลังดัสกรซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว สร้างพระตำหนักพระราชทาน รวมกับที่สวนอีก 2 แปลงที่ทรงซื้อไว้ และที่ดินฝ่ายเจ้าจอมมารดาเหม พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ซึ่งพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ น้อมเกล้าฯ ถวายรวมเป็นอาณาบริเวณตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงบริเวณถนนกรุงเกษม ตำหนักในวังเทเวศร์ ประกอบด้ว.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และวังเทเวศร์

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จุดสำคัญของศาลหลักเมืองคือ เสาหลักเมือง ซึ่งได้กระทำพิธียกเสาขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลาเฉลิมกรุง

ลาเฉลิมกรุง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ศาลาเฉลิมกรุงได้วางศิลาฤกษ์โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และศาลาเฉลิมกรุง

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร

ลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร:(ตัวเต็ม:打惱路玄天上帝廟, ตัวย่อ: 打恼路玄天上帝庙, พินอิน: Dǎ nǎo lù xuán tiān shàngdì miào ตานาวลู่เฉียงเทียนซ่างตี่เมี่ยว, ฮกเกี้ยน: ต้านาวหล่อเอี่ยนเถี้ยนซ่งเต้เบี้ยว) หรือ ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อเสือ, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสือ ว่ากันว่าตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร

สะพานช้างโรงสี

ประติมากรรมรูปหัวสุนัขของสะพานช้างโรงสี แยกสะพานช้างโรงสี ซึ่งเป็นต้นถนนบำรุงเมือง สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานช้างโรงสี

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานภาณุพันธุ์

นภาณุพันธุ์ ในกลางปี พ.ศ. 2557 สะพานภาณุพันธุ์ เป็นสะพานแห่งหนึ่ง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่ข้ามคลองรอบกรุง ช่วงคลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู ตั้งอยู่ปลายสุดของถนนเยาวราชตัดกับถนนพีระพงษ์, ถนนจักรเพชรและถนนมหาไชย สะพานภาณุพันธุ์ สร้างขึ้นเมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานภาณุพันธุ์

สะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)

นมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมถนนเจริญกรุงในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สะพานมอญเดิมเป็นสะพานช้าง (คือสะพานที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรงพอที่ช้างจะเดินข้ามได้) ซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานไม้ข้ามคลองคูเมืองเดิมหลังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยามาพร้อม ๆ กับชาวไทย ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณคลองคูเมืองเดิมใกล้ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ต่อมาพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นผู้นำรวบรวมแรงงานชาวมอญ ซึ่งก็เป็นบรรดาญาติ ๆ และข้าทาสบริวารทั้งหลายที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นสร้างสะพานข้ามคลองขึ้น จึงได้เรียกกันต่อมาว่า สะพานมอญ ในชั้นแรกสร้างด้วยไม้ธรรมดา ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้จึงได้มีการก่อสร้างใหม่ก่อด้วยอิฐถือปูนดังในยุคปัจจุบัน ภายหลังทางการได้นำชื่อสะพานมาตั้งเป็นชื่อทางแยกบริเวณที่ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอัษฎางค์ ระหว่างถนนสนามไชยกับถนนบ้านหม้อ ติดกับคลองคูเมืองเดิม และอยู่ใกล้กับสวนสราญรม.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)

สะพานมัฆวานรังสรรค์

นมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่ แบบที่เรียกว่า Avenue ของทวีปยุโรป อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ออกแบบคือนายการ์โล อัลเลกรี นายช่างชาวอิตาลี สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน ใช้เวลา 3 ปี ลักษณะเป็นสะพานโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณ ที่กลางสะพานมีเสาหินอ่อน มุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน สะพานแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สวยงามสะพานหนึ่งในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อ..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานมัฆวานรังสรรค์

สะพานวิศุกรรมนฤมาณ

นวิศุกรรมนฤมาณ สะพานวิศุกรรมนฤมาณ หรือ สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานเชื่อมระหว่างถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย สะพานวิศุกรรมนฤมาณเป็นหนึ่งในห้าสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และได้ชื่อที่คล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยพระราชเลขานุการซึ่งเชี่ยวชาญภาษามคธ มีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทพยดาทรงสร้าง" ซึ่งในส่วนของสะพานวิศุกรรมนฤมาณนั้นมีความหมายว่า "สะพานที่พระวิสสุกรรมทรงสร้าง" สะพานวิศุกรรมนฤมาณ เดิมเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ มีราวสะพานเป็นรูปกรงเหล็กหล่อ ต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้างกว่าเดิม ลักษณะราวสะพานเป็นรูปกรงคอนกรีตโปร่ง มีโค้งออกด้านข้าง ได้รับการบูรณะในปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานวิศุกรรมนฤมาณ

สะพานสมมตอมรมารค

นสมมตอมรมารค สะพานสมมตอมรมารค (/สมมดอะมอนมาก/) เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุงในส่วนของคลองบางลำพู ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร และแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นสะพานไม้ที่มีโครงเหล็กรองรับพื้นที่ชักเลื่อนออกจากกัน มีชื่อเรียกโดยผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้ว่า "สะพานเหล็กประตูผี" เนื่องจากตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของประตูพระบรมมหาราชวัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "ประตูผี" อันเป็นทางที่ใช้สำหรับขนถ่ายศพของผู้เสียชีวิตในพระบรมมหาราชวังออกมาปลงศพด้านนอก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานแห่งนี้มีความทรุดโทรมมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหม่ พร้อม ๆ กับการสร้างถนนและสะพานอีกหลายแห่งเพื่อรองรับความเจริญของบ้านเมือง โดยเป็นสะพานปูนปั้นเสริมโครงเหล็กเหมือนแบบเก่า และพระราชทานชื่อให้ว่า "สะพานสมมตอมรมารค" เมื่อแล้วเสร็จเมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานสมมตอมรมารค

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานหก

ทความนี้หมายถึงสะพานหกในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง และแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในความหมายอื่น ดูที่: สะพานยก สะพานหก สะพานหก เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม หรือคลองหลอดวัดราชนัดดา ตั้งอยู่ในแขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะซึ่งนำแบบมาจากสะพานในเมืองวิลันดา ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างครั้งรัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ 5 มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถยกหรือหกให้เรือผ่านได้ โดยมีสะพานลักษณะเช่นนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มากด้วยกันถึง 8 แห่ง ทั้งในฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานหก

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

สะพานผ่านพิภพลีลา

นผ่านพิภพลีลา เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง บริเวณใกล้สนามหลวง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านพิภพลีลาในอดีต สะพานผ่านพิภพลีลาเดิมเป็นสะพานโค้งมีโครงเหล็ก ใน..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานผ่านพิภพลีลา

สะพานเหล็ก

นดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง ของกรุงเทพมหานคร บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต" ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท ในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคังมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงกลางปีค่อนไปทางปลายปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานเหล็ก

สะพานเทเวศรนฤมิตร

นเทเวศรนฤมิตร เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งอยู่บนถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสงค์สร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมทั้งหมดห้าสะพานและทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้มีชื่อคล้องจองกันทั้งหมด โดยทรงปรึกษากับพระราชเลขานุการที่เชี่ยวชาญภาษามคธ ได้นามเป็นมงคลคล้องจองกัน โดยมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทวดานฤมิตร" คือ สะพานเทเศวรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยในส่วนของสะพานเทเวศรนฤมิตร นั้นมีความหมายถึง "สะพานที่เทวดาผู้เป็นใหญ่สร้าง" หรือ "สะพานที่พระอิศวรเป็นผู้สร้าง" เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และสะพานเทเวศรนฤมิตร

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

อาคารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็นหน่วยงานขึ้นในสังกัดกองทัพบก เดิมใช้ชื่อว่า กรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

อาคารสวนกุหลาบ

....

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และอาคารสวนกุหลาบ

อุทกทาน

อุทกทาน ประดิษฐานรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม อุทกทาน มีความหมายว่า ให้ทานด้วยน้ำ (หรือให้น้ำเป็นทาน) เป็นศาลตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินใน ใกล้โรงแรมรัตนโกสินทร์ และ สะพานผ่านพิภพลีลา สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปูนปั้นรูปพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม มีน้ำสะอาดไหลออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มกินได้ อุทกทาน สร้างจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะกำลังทรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าวชิราวุธฯ อยู่นั้น ได้พระราชทานคำแนะนำให้สร้างอุทกทาน เป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ปั้นขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกับ พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ) แล้วเสร็จทำพิธีเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และอุทกทาน

อนุสาวรีย์หมู

อนุสาวรีย์หมู สะพานปีกุน อนุสาวรีย์หมู หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อนุสาวรีย์สหชาติ เป็นอนุสาวรีย์รูปหมู ตั้งอยู่ริมคลองคูเมืองเดิม ในส่วนของคลองหลอด อยู่ที่เชิงสะพานปีกุน ฝั่งตรงข้ามวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ริมถนนถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สร้างขึ้นในปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และอนุสาวรีย์หมู

อนุสาวรีย์ทหารอาสา

อนุสาวรีย์ทหารอาสา อนุสาวรีย์ทหารอาสา เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ ถนนสามเหลี่ยมตรงมุมด้านทิศเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรป หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และอนุสาวรีย์ทหารอาสา

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

จุ้ยบ้วยเนี้ย

217x217px จุ้ยบ้วยเนี้ย (水 尾 聖 娘.; พินอิน: Shuǐ wěi shèng niáng) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีน จุ้ยบ้วยเนี้ย หรือแปลตรงตัวได้ว่า เจ้าแม่ท้ายน้ำ หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในนาม เจ้าแม่ทับทิม เป็นเทวนารี ที่รู้จักและนิยมบูชาเช่นเดียวกับม่าจ้อโป๋ หรือไฮตังม่า เป็นเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพในหมู่ของชาวฮกเกี้ยน และ ชาวไหหลำ และชาวจีนโพ้นทะเล ที่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงที่เดินเรือ โดยส่วนใหญ่ชาวไทยมักเข้าใจผิดว่าจุ้ยบ้วยเนี้ยกับม่าจ้อโป๋เป็นองค์เดียวกัน จึงนิยมเรียกรวมกันว่า "เจ้าแม่ทับทิม" ซึ่งแท้ที่จริงแล้วตามความเชื่อของจีนเป็นคนละองค์กัน โดยศาลเจ้าของจุ้ยบ้วยเนี้ย เฉพาะในประเทศไทยมีกันหลายแห่ง ที่โด่งดังมีชื่อเสียง ได้แก่ ศาลเจ้าจุ้ยโบเนี้ยว เชิงสะพานซังฮี้, เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยสร้างมาตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และจุ้ยบ้วยเนี้ย

ถนนสนามไชย

นนสนามไชย ถนนสนามไชย (Thanon Sanam Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงกลาโหม, กรมอัยการสูงสุด, พระบรมมหาราชวัง, พระราชวังสราญรมย์, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ถนนสนามไชย มีจุดเริ่มต้นที่ถนนหน้าพระลานตัดกับถนนราชดำเนินใน ที่บริเวณแยกป้อมเผด็จ สิ้นสุดลงที่ถนนราชินี บริเวณปากคลองตลาด มีความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนที่มีชื่อเรียกว่า "ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง" เป็นลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ มีความสำคัญตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับพระราชพิธีหรือกระบวนแห่ต่าง ๆ โดยชื่อ "สนามไชย" มาจากท้องสนามไชย ซึ่งเป็นลานอยู่ข้างท้องสนามหลวง เป็นสถานที่ ๆ ให้ข้าราชบริพารตลอดจนประชาชนใช้สำหรับเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาล ครั้นทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เนื่องในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ โดยชื่อถนนสนามไชย เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และถนนสนามไชย

ทำเนียบท่าช้าง

ทำเนียบท่าช้าง หรือ วังถนนพระอาทิตย์ ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) บุตรเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เชื้อสายมอญ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)เป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นมรดกตกทอดมาถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก 2 ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตำหนักใหม่ ในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และทำเนียบท่าช้าง

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และท้องสนามหลวง

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และคลองรอบกรุง

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และคลองผดุงกรุงเกษม

คลองคูเมืองเดิม

ลองคูเมืองเดิม คลองคูเมืองเดิม เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรีซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทิน ตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลองแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และคลองคูเมืองเดิม

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และป้อมพระสุเมรุ

ป้อมมหากาฬ

ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ติดกับถนนมหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่ ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และป้อมมหากาฬ

โรงเรียนราชินี

รงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และโรงเรียนราชินี

โรงเรียนตะละภัฏศึกษา

อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา อาคารที่ตั้งเดิมของโรงละครปรีดาลัย ปัจจุบันปิดทำการแล้ว โรงเรียนตะละภัฏศึกษา เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63 ถนนแพร่งนรา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก 2 ชั้น เดิมเคยใช้เป็นโรงละครปรีดาลัย โรงละครที่จัดแสดงละครร้องโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีบทละครที่ทรงประพันธ์เสร็จ ณ ที่นี่หลายเรื่อง รวมถึงเปิดแสดงด้วย เช่น สาวเครือฟ้า ที่ดัดแปลงมาจากบทอุปรากรเรื่อง Madame Butterfly ของคีตกวีชาวอิตาลี จาโกโม ปุชชีนี หรือ อีนากพระโขนง ที่ต่อเติมมาจากตำนานเมืองอันโด่งดังของแม่นากพระโขนง (สำหรับเรื่องนี้เมื่อทรงประพันธ์ ทรงใช้นามแฝงว่า "หมากพญา") ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อจัดแสดง ถึงกับมีการแสดงซ้ำต่อเนื่องกันถึง 24 คืน เป็นต้น โดยแต่เดิมโรงละครปรีดาลัย เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังวรวรรณ วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของวังวรวรรณ ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน และอาคารพาณิชย์ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งปัจจุบันนี้คือ ถนนแพร่งนรา คงเหลือแต่อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ประวัติของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา เริ่มต้นหลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ปลีกวิเวกไปใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อปี..

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และโรงเรียนตะละภัฏศึกษา

ไปรษณียาคาร

ปรษณียาคาร ที่สร้างขึ้นใหม่ (ภาพเมื่อปี พ.ศ. 2554) ไปรษณียาคาร เดิมสะกดว่า ไปรสะนียาคาร เป็นอาคารที่ตั้งเดิมของกรมไปรษณีย์ และที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่งพระนคร อยู่ทางทิศใต้ของสะพานพุทธ ตึกไปรสะนียาคาร สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และไปรษณียาคาร

เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และเสาชิงช้า

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ทวสถาน กรุงเทพมหานคร เทวสถาน สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ดู รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)และเขตพระนคร

อาคารสวนกุหลาบอุทกทานอนุสาวรีย์หมูอนุสาวรีย์ทหารอาสาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจุ้ยบ้วยเนี้ยถนนสนามไชยทำเนียบท่าช้างท้องสนามหลวงคลองรอบกรุงคลองผดุงกรุงเกษมคลองคูเมืองเดิมป้อมพระสุเมรุป้อมมหากาฬโรงเรียนราชินีโรงเรียนตะละภัฏศึกษาไปรษณียาคารเสาชิงช้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เขตพระนคร