โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามเทวดาอินเดีย

ดัชนี รายพระนามเทวดาอินเดีย

้านล่างนี้เป็นรายชื่อเทพเจ้าที่ปรากฏในประเทศอินเดี.

43 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระพฤหัสบดีพระพายพระพิรุณพระพิฆเนศพระพุธพระกฤษณะพระยมพระยามีพระรามพระราหูพระลักษมีพระวิศวกรรมพระวิษณุพระศิวะพระศุกร์พระสุรัสวดีพระหริหระพระอัยนาร์พระอัศวินพระอัคนีพระอังคารพระอาทิตย์พระจันทร์พระขันทกุมารพระปารวตีพระนารายณ์พระแม่มนสาเทวีพระแม่สันโดษีพระแม่อันทาลพระแม่ทศ มหาวิทยาพระแม่คงคาพระเกตุพระเสาร์กามเทพกาลีกาตตวรายันมาตฤกาทุรคาตรีมูรติตรีเทวีประเทศอินเดียเทวดา

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพฤหัสบดี

ระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति พฤหสฺปดี) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวาคุรุ) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ในมหาภารตะ พระพฤหัสบดีเป็นบุตรของพระอินทร์ เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ เนื่องจากถูกพระจันทร์แยงชิงชายา คือ นางตาราไปครองเป็นชายาของตัวเอง แต่ท้ายสุดพระพฤหัสบดีก็ได้นางตารากลับไป ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ (เลขห้าไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ เมื่อเทียบกับความเชื่อของชาวกรีกและโรมันแล้ว พระพฤหัสบดี คือ ซุส หรือ จูปิเตอร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

พระพาย

ระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพเจ้าแห่งลมและพายุ รวมถึงท้องฟ้า ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน) พระพายเป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร และนางทิติ มีหน้าที่ให้ลมแก่สามโลก ในวรรณคดีมหาภารตะ พระพายเป็น บิดาของภีมะ และในวรรณคดีรามเกียรติ์พระพายเป็นบิดาของ หนุมานและยังเป็นปู่ของมัจฉานุกับอสูรผัด ตามคำภีร์วิษณุปุราณะว่า พระพายเป็นกษัตริย์แห่งคนธรรพ์ สำหรับรูปร่างลักษณะของพระพาย มีแตกต่าง หลากหลายออกไป ในคัมภีร์ไตรเทพระบุว่า พระพาย มีกายสีขาวลักษณะงดงามยิ่งนัก ทรงสัตว์พาหนะจำพวกแอนทิโลปหรือกวาง บางปกรณัมก็ว่าทรงเสือสีน้ำเงิน นอกจากนี้แล้ว พระพายยังถือเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) โดยคำว่า "พายัพ" เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า "วายวฺย" เมื่อถอดความแล้วจะหมายถึง "ทิศของวายุ".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพาย · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุธ

ระพุธ (เทวนาครี: बुध พุธ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ เนื่องจากในบางปกรณัมของฮินดูเล่าว่า พระพุธเป็นโอรสของพระจันทร์กับนางตารา ซึ่งเป็นชายาของพระพฤหัสบดี ที่พระจันทร์ชิงมาเป็นชายาของตน ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๔ (เลขสี่ไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร ๑๗ เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือ ปางอุ้มบาตร ทางโหราศาสตร์จัดเป็นเทวดาของผู้ที่เกิดในวันพุธกลางวัน ส่วนผู้ที่เกิดในวันพุธกลางคืนเทวดาจะเป็นพระราหู เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระพุธเทียบได้กับเฮอร์มีสของเทพปกรณัมกรีก และเมอร์คิวรี่ของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งเป็นเทพที่มีความว่องไว เป็นเทพแห่งการสื่อสาร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระพุธ · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระยม

ระยม พระยมราช หรือ มัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระยม · ดูเพิ่มเติม »

พระยามี

พระยามี (यामी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นเทพีแห่งแม่น้ำยมุนา เป็นพระบุตรีของพระอาทิตย์กับพระแม่ศรัณยาและเป็นพระฝาแฝดของพระยม เทวรูปของพระแม่ยมนาในฐานะ เทวีผู้รักษาแม่น้ำ เทวสถานอมเรศวร ประเทศอินเดีย หมวดหมู่:เทวีในศาสนาฮินดู หมวดหมู่:เทพแห่งความตาย.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระยามี · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระราหู

ระราหู (राहु ราหู) เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุท.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระราหู · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระลักษมี · ดูเพิ่มเติม »

พระวิศวกรรม

ระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม, พระวิสสุกรรม, พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระวิศวกรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระหริหระ

เทวรูปพระหริหระ สมัยอาณาจักรมัชปาหิต พระหริหระ (हरिहर, Harihara) เป็นอวตารของพระวิษณุ (หริ) และพระศิวะ (หระ) นิยมนับถือกันเป็นอย่างมากในสมัยโจฬะและพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระหริหระ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัยนาร์

ทวรูปหินสลักพระอัยนาร์และพระมเหสีทั้งสอง ในพิพิธภัณฑ์ กรุงเชนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย พระอัยนาร์ (ஐயனார்Aiyanar) เป็นเทวะท้องถิ่น ในศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองหมู่บ้านของชาวทมิฬ ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักและนิยมบูชา ใน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย อินเดียภาคใต้ทั่วไป และหมู่บ้าน ทมิฬ ใน ประเทศศรีลังกา มีลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับ พระอัยยานากี (Aiyanayake) เทพเจ้าของชาวสิงหล ในประเทศศรีลังกา เทวรูปหินสลักพระอัยนาร์และพระมเหสีทั้งสอง เทวสถานประจำหมู่บ้าน ในกรุงเชนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระอัยนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัศวิน

ระอัศวิน (Ashvins, สันสกฤต: अश्विन) เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส และ ดีมอส, ฮิปนอส และ ทานาทอส, แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ เป็นต้น พระอัศวินเป็นพระโอรสของพระอาทิตย์ กับนางสัญญา นางสัญญาต้องการจะหนีพระอาทิตย์ไปบวชอยู่ในป่า จึงแปลงร่างเป็นม้าเพศเมีย แต่พระอาทิตย์ก็ยังแปลงร่างเป็นม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยจนเกิดเป็นพระอัศวินขึ้นมา พระอัศวิน เป็นเทพที่ประทานนำทรัพย์ต่าง ๆ มาให้มนุษย์ และยังปกป้องมนุษย์จากภัยอันตรายต่าง ๆ จนถึงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะพระอัศวินยังมีหน้าที่เป็นแพทย์สวรรค์ด้วย พระอัศวิน ยังเป็นเทพแห่งแสงสว่าง ทั้งคู่จะขับรถม้านำหน้าราชรถของพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง พระอัศวินได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งในคัมภีร์นั้นมีการกล่าวถึงพระนามของพระอัศวินถึง 400 ครั้ง ในมหากาพย์รามายณะ ทวิวิท และ แมนทะ ทหารวานร ของพระรามเป็นบุตรของพระอัศวินทั้งคู่ ในมหากาพย์มหาภารตะ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีลูกกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

พระอัคนี

ระอัคนี หรือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

พระอังคาร

ระอังคาร (เทวนาครี: मंगल มํคล หรือ मङ्गल มงฺคล) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสา (กระบือ) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ ปางไสยาสน์ และภายหลังมี ปางลีลา เพิ่มอีกหนึ่งปาง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับแอรีสของเทพปกรณัมกรีก และมาร์สของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

พระอาทิตย์

ระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य สูรฺย) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๑ (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือ ปางถวายเนตร นอกจากราชสีห์แล้ว พระอาทิตย์ยังมีราชรถเทียมม้าขาว ๗ ตัวโดยมีสารถีชื่ออรุณ เป็นเทวพาหนะอีกอย่าง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอาทิตย์เทียบได้กับ ฟีบัส หรือ อพอลโล ตามเทพปกรณัมกรีกและเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์

ระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र จํทฺร หรือ चन्द्र จนฺทฺร หมายถึง "ส่องแสงสว่าง") เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งอันมีที่มาจากเทพปกรณัมฮินดูในอินเดีย ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา (นางฟ้า) ๑๕ องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง) พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๒ (เลขสองไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือ ปางห้ามสมุทร เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระจันทร์เทียบได้กับอาร์เทมีสในเทพปกรณัมกรีก และไดอานาในเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระขันทกุมาร

ระขันธกุมาร (เทวนาครี:मुरुगन; முருகன்; മുരുകന്‍; ಸುಬ್ರಹ್ಮಣ್ಯ; సుబ్రహ్మణ్యేశ్వర స్వామి) เป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพของสวรรค์ด้วย พระองค์นั้นเป็นพระโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) และพระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) ทรงมีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ ทรงนกยูงปารวาณีเป็นพาหนะ พระชายาของพระขันธกุมารคือ พระแม่เทวเสนา (เกามารี) และพระแม่วัลลี ที่อินเดียใต้นิยมนับถือมาก ด้วยเชื่อว่าพระขันธกุมารคือเทวดาผู้คุ้มครองปกป้องรักษาเทวาลัยของศาสนาฮินดู และเป็นเทพประจำทิศใต้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระขันทกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มนสาเทวี

ระแม่มนสาเทวี พระแม่มนสาเทวี เทวีแห่งอสรพิษ พระธิดาของพระศิวะกับพระแม่คงคา มีตาที่ 3 เหมือนพระศิวะ โดยพระองค์นั้นเป็นเทพแห่งงูและนาค ซึ่งพระแม่นั้นมีเทวลักษณะเป็นเทพธิดางดงามและมักจะมีงูพันตามตัว ที่คอ ที่แขนเป็นต้น พระแม่ทรงมีพาหนะเป็นห่านขาว บางตำนานกล่าวว่าพระแม่มนสาเทวี กับ พระยามีหรือยมุนา บุตรีแห่งพระศิวะกับพระแม่คงคาเป็นองค์เดียวกัน พระแม่มนสามีเรื่องเล่าการกำเนิดหลายตำนานเช่น บางตำนานว่าเป็นธิดาของพระศิวะโดยมิได้กล่าวว่ากับพระชายาองค์ใด อีกตำนานก็ว่าเป็นพระบุตรีแห่งฤษีกัศยปะเทพบิดรกับพระแม่กัทรุ (มารดาแห่งนาค) พระแม่จึงเท่ากับเป็นพระน้องนางแห่งอนันตนาคราชและนาคต่างๆ พระแม่มนสาเป็นพระชายาแห่งฤษีนามว่า"ชรัศการุ" และทรงมีพระโอรสนามว่า "อาศติกะ".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระแม่มนสาเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่สันโดษี

ทวรูปพระแม่สันโตษี พระแม่สันโตษี เป็นธิดาของพระพิฆเนศ เป็นผู้ปกปักษ์รักษาสายน้ำซันโตชี ลักษณะเป็นเทพธิดางดงาม มี 4 กร แต่ละกรจะทรงดาบ ทรงตรีศูท ทรงถาดข้าว และกรอีกกรประทานพร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระแม่สันโดษี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่อันทาล

ระแม่อาณฑาฬ (आण्डाळ्) หรือพระแม่อันทาล (अंदाल) ถือเป็นอีกรูปหนึ่งแห่งองค์พระแม่ภูเทวี ตามประวัติของนาง ส่วนมากจะกล่าวถึงความซื่อสัตย์และจงรักภักดีแก่องค์พระนารายณ์ และการได้มอบชีวิตและจิตวิญญาณถวายแก่พระนารายณ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระแม่อันทาล · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ทศ มหาวิทยา

ระแม่ทศมหาวิทยา (อังกฤษ: Mahavidyas) เป็นกลุ่มเทวีในศาสนาฮินดู มีทั้งหมดด้วยกันสิบองค์ ซึ่งพระแม่ทศมหาวิทยาทั้งหมดเป็นอวตารของพระแม่อธิศักติ พระเทวีผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล กลุ่มเทวีทศมหาวิทยาเป็นกลุ่มเทวีซึ่งอยู่ในศาสนาฮินดูแบบตันตระ ซึ่งเป็นศาสนาฮินดูแบบหนึ่งในอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณ ตามความเชื่อของฮินดูแบบตันตระเชื่อว่า พระแม่ทศมหาวิทยาแต่ละองค์จะทรงสถิตอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายและทรงควบคุมร่างกายส่วนที่ทรงสถิตอยู.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระแม่ทศ มหาวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

พระเกตุ

ระเกตุ (เทวนาครี: केतु เกตุ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระนารายณ์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙ (เลขเก้าไทย) มีอัตราการจรในแต่ละราศีประมาณสองเดือน โคจรย้อนจักราศีเช่นเดียวกับราหู แต่ไม่ได้เล็งกับราหูตลอดเวลาเช่นทางสากลและอินเดีย โดยในส่วนของเกตุมีความสัมพันธ์กับจันทร์ จึงเป็นปัจจัยที่มีความหมายที่คล้ายกับจันทร์ส่วนหนึ่งคือความหวั่นไหว อ่อนไหวได้ง่าย แต่ว่าเป็นขั้นสูงของจันทร์ที่ละเอียดกว่า จึงแทนด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจ และเมื่อเกตุไปกุมกับดาวเคราะห์ใดๆ จะทำให้ดาวนั้นเพิ่มการตอบสนองจากการถูกกระทบมากขึ้น เช่นการเกิดอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์อันเกิดจากดาวที่จรมากระทบได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีสิ่งที่เกิดดุจดังเลข ๙ ที่มีลักษณ์ที่ดุจดังน้ำหรือเปลวไฟที่มีอาการสั่นไหวนั่นเอง พระเกตุเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับโพไซดอนตามเทพปกรณัมกรีก และเนปจูนตามเทพปกรณัมโรมัน ส่วนเกตุทางสากลและอินเดียคือจุดตัดของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ตัดกับจันทร์โคจรรอบโลก คือช่วงที่เป็นจุดตัดที่มีทิศทางการโคจรจรของจันทร์จากที่อยู่ทิศใต้ของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กำลังเดินขึ้นไปทางทิศเหนือของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระเสาร์

ระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและพระเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กามเทพ

กามเทพ (สันสกฤต: काम देव กามะ เทวะ) เป็นเทพเจ้าในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก (กาม หมายถึง ความรัก ความปรารถนา) มีขอช้างเป็นอาวุธ ในวรรณคดีไทยเรียกว่า ขอกาม มีพรรณนาไว้ในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา กามเทพของอินเดีย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ อนังคะ (ไร้ตัวตน), กันทรรป, มันมถะ (ผู้กวนหัวใจ), มทนะ (มึนเมา), รติกานตะ (เจ้าแห่งฤดูกาล), ปุษปวาน หรือ กาม ก็มี กามเทพนั้น มักจะบรรยายภาพเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีปีก มีอาวุธเป็นคันธรและธนู คันศรนั้นทำมาจากลำอ้อย มีผึ้งตอม และลูกศรประดับด้วยดอกไม้หอม ๕ ชนิด มีสหายเป็นนกดุเหว่า นกแก้ว ผึ้ง ฤดูใบไม้ผลิ และสายลมเอื่อย ทั้งหมดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ตามศิวปุราณะ กล่าวว่า กามเทพเป็นโอรสของพระพรหม ตำนานอื่นๆ เช่น สกันธปุราณะ ถือว่ากามเทพเป็นพี่ชายของประสุติ ทั้งสองเป็นโอรสของศตรุป โอรสของพระพรหม แต่ตำนานทั้งหมดเล่าตรงกัน ว่ากามเทพนั้น สมรสกับนางรตี ธิดาของประสุติและทักษะ บางตำนานเชื่อว่ากามเทพยังเคยเป็นอวตารหนึ่งของปรัทยุมนะ โอรสของพระกฤษณะ และนางรุกมิณี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและกามเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กาลี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์ พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี(อารตีไฟ) ปูเทวรุปด้วยผ้าแดงหรือสีดำก้ได้ (สามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองคืได้ด้วย) ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นมและดอกไม้ ผลไม้ และเอกไม้ที่พระแม่โปรดปรานคือ ดอกชบาแดง ผู้บูชาต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์" โอม เจมาตากาลี โอม สตี เยมา ตา กาลี โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช เลือกบทที่ชอบ และคุ้นชิน หรือ ทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ ห เจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยคือที่วัดแขก สีลม ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมโดนรังแก สามารถไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตาได้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและกาลี · ดูเพิ่มเติม »

กาตตวรายัน

กาตตวรายัน (lord kathavarayan) เป็นเทพเจ้าที่สำคัญองค์หนึ่งในอินเดีย เป็นเทพพื้นเมืองท้องถิ่นของชาวทมิฬที่เป็นที่รู้จักและนิยมในภาคใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดียโดยนับถือกันทั่วไปว่าเทพผู้คุ้มครองเทวสถานและหมู่บ้านของชาวทมิฬ เดิมเป็นเด็กที่พระอิศวรให้เฝ้าสวนของพระอุมา ต่อมาได้กลั่นแกล้งเทพธิดาทั้ง 7 องค์ เทพธิดาไปฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงให้ไปเกิดเป็นจัณฑาล ให้ไปล่วงเกินหญิงตระกูลพราหมณ์และถูกประหารชีวิตด้วยการเสียบไม้ พระอุมาได้ขออภัยโทษให้เด็กเฝ้าสวน พระอิศวรไม่พอใจจึงให้พระอุมาไปเกิดในโลกด้วย เด็กเฝ้าสวนได้ไปเกิดเป็นบุตรของพระอุมาในโลกมนุษย์หลายชาติ ทุกชาติจะทำแต่ความชั่ว แม้ว่าแม่จะสั่งสอนให้ทำความดีก็ตาม จนชาติสุดท้ายเด็กเฝ้าสวนไปเกิดเป็นจัณฑาล ลักพานางพราหมณ์ที่เป็นธิดาบุญธรรมของกษัตริย์ไป จึงถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยการเสียบไม้ เด็กเฝ้าสวนได้แสดงอำนาจ สะกดทหารแล้วปีนขึ้นไปเสียบตัวเองอยู่บนไม้ ไม่ยอมลงมา สุดท้ายพระอิศวรต้องมาอ้อนวอน เด็กเฝ้าสวนจึงยอมลงมาและกลายเป็นเทวดารักษาบ้านเมืองในที่สุด ชาวอินเดียที่นับถือเทพองค์นี้จะจัดงานฉลองปีละครั้ง โดยจะเล่นดนตรีและแสดงละครเกี่ยวกับตำนานของเทพ คนทรงจะร่ายรำจนถึงเที่ยงคืนโดยมีทั้งเครื่องพันธนาการและพวงมาลัย ในปัจจุบันใช้เพียงพวงมาลัย คนทรงจะร่ายรำแล้วขึ้นไปนั่งบนไม้เสียบจนสว่างจึงลงมา ฉีกพวงมาลัยแจกชาวบ้านโดยถือว่าเป็นของศักดิ์สิท.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและกาตตวรายัน · ดูเพิ่มเติม »

มาตฤกา

วาดจากคัมภีร์โบราณของอินเดียของพระแม่สัปตริมาติกาและพระแม่กาลีขณะทรงรบกับอสูรรักชตะ มาตฤกา (मातृका; சப்தகன்னியர்) เป็นกลุ่มเทวีในศาสนาฮินดู มีทั้งหมดเจ็ดหรือแปดองค์ เป็นที่บูชาทั้งในประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา และกลุ่มชาวฮินดูทั่วไป ในประเทศไทย มีการประดิษฐานเทวรูปคณะเทวีทั้งเจ็ดองค์นี้ในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี และเรียกเป็นภาษาทมิฬว่า พระซับทระกรรณี ภาพสลักหินองค์ศิวนาฏราชและพระแม่สัปตมาตฤกาในผนังเอลโลล่า ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและมาตฤกา · ดูเพิ่มเติม »

ทุรคา

ระแม่ทุรคาทรงปราบอสูรในลักษณะ 18 กร พระแม่ทุรคา (ทุรฺคา) หรือ พระศรีมหาทุรคาเทวี หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นปางหนึ่งของ พระอุมาเทวี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า ในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่า เทศกาลนวราตรีดุเซร่า มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและทุรคา · ดูเพิ่มเติม »

ตรีมูรติ

ทวรูปตรีมูรติในศาลเคารพ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ตรีมูรติ เมื่อแยกออกเป็น 3 (จากซ้าย พระพรหม, พระวิษณุ, พระศิวะ) ตรีมูรติ (Trimurati, Trinity; त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและตรีมูรติ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเทวี

ตรีเทวีหรือตรีศักติ (Tridevi, त्रिदेवी) คือ การอวตารรวมของภาคของมหาเทวีสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระแม่ปารวตี (พระมเหสีของพระศิวะ) พระลักษมี (พระมเหสีของพระวิษณุ(พระนารายณ์)) และ พระสุรัสวดี (พระมเหสีของพระพรหม) ซึ่งมหาเทวีสามองค์นี้คือพระผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูนิกายศักติ(นิกายใหญ่ในศาสนาฮินดูที่นับถือพระแม่เป็นหลัก) หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:เทวีในศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและตรีเทวี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาอินเดียและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อเทพเจ้าของอินเดียเทวดาตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเทพเจ้าของอินเดีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »