โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระศุกร์

ดัชนี พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

16 ความสัมพันธ์: พระศิวะพระอังคารพระเสาร์มหาภารตะราชวงศ์ปาณฑพราชวงศ์เการพฤๅษีนารทมุนีวัววีนัส (เทพปกรณัม)สีน้ำเงินอักษรเทวนาครีดาวศุกร์คุรุปางรำพึงแอโฟรไดทีเทวดานพเคราะห์

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระศุกร์และพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอังคาร

ระอังคาร (เทวนาครี: मंगल มํคล หรือ मङ्गल มงฺคล) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสา (กระบือ) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ ปางไสยาสน์ และภายหลังมี ปางลีลา เพิ่มอีกหนึ่งปาง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับแอรีสของเทพปกรณัมกรีก และมาร์สของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: พระศุกร์และพระอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

พระเสาร์

ระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: พระศุกร์และพระเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: พระศุกร์และมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

ใหม่!!: พระศุกร์และราชวงศ์ปาณฑพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เการพ

ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.

ใหม่!!: พระศุกร์และราชวงศ์เการพ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีนารทมุนี

ฤๅษีนารทมุนี (नारद หรือ नारद मुनी) เป็นบุตรของพระพรหม เป็นสาวกคนแรกของพระนารายณ์ และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวบนโลกมนุษย์มารายงานแด่พระศิวะ ฤๅษีนารทมุนีเป็นทูตเอกของสวรรค์ และมีบทบาทในมหาภารตะและรามเกียรติ์เป็นอย่างมาก ในเรื่องรามเกียรติ์ ฤษีเป็นผู้แนะนำให้หนุมานใช้น้ำในบ่อน้อยของตนเอง ก็คือ น้ำลายในปากของหนุมานดับไฟ เมื่อตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา ในมหาภารตะ ฤๅษีนารทมุนีมีหน้าที่คอยส่งสำคัญให้แก่พระกฤษณะ พระพลราม ยุธิษฐิระ และอรชุน คือ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ฤๅษีนารทมุนีได้ส่งข่าวบอกแก่พระพลรามว่า "ภีมะกำลังดวลตะบองกับทุรโยธน์" และเมื่อตอนที่พระอนิรุทธิ์หายตัวไป ฤๅษีนารทมุนีก็แจ้งแก่พระกฤษณะว่า "พระอนิรุทธิ์ถูกท้าวกรุงภาณจับตัวไปขังในคุก" และเมื่อตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตในป่า ฤๅษีนารทมุนีก็เป็นผู้แจ้งข่าวให้กับยุธิษฐิระว่า "ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตแล้ว และฤๅษีนารทมุนีเป็นผู้บอกถึงจุดอ่อนของทุรโยธน์ให่แก่อรชุน" นอกจากนี้ฤๅษีนารทมุนีก็ยังเป็นผู้เล่าเรื่องของพระรามให้แก่ฤๅษีวาลมีกิจนเกิดเป็นคัมภีร์รามายณะ ในภาพยนตร์ของบอลลีวู้ด โดยเฉพาะหนังเกี่ยวกับเทพเจ้า บทพูดของฤๅษีนารทมุนีที่ทุกคนจำได้ คือ คำว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์" หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:ศาสดา.

ใหม่!!: พระศุกร์และฤๅษีนารทมุนี · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: พระศุกร์และวัว · ดูเพิ่มเติม »

วีนัส (เทพปกรณัม)

วีนัสบนหอยทะเล วีนัส (Venus) เป็นเทพเจ้าโรมันซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมความรัก ความงาม เพศ ภาวะเจริญพันธุ์และความรุ่งเรือง ในเทพปกรณัมโรมัน พระนางทรงเป็นมารดาแห่งชาวโรมันผ่านพระโอรส ไอนีอัส (Aeneas) ผู้รอดจากสงครามกรุงทรอยแล้วหนีมายังอิตาลี จูเลียส ซีซาร์อ้างว่าพระนางเป็นบรรพบุรุษของตน วีนัสเป็นหัวใจของเทศกาลศาสนาหลายเทศกาล และได้รับการเคารพบูชาในศาสนาโรมันภายใต้ชื่อลัทธิต่าง ๆ ชาวโรมันรับเรื่องปรัมปราและความเป็นสัญรูปของภาคกรีกของพระนาง แอโฟรไดที สำหรับศิลปะโรมันและวรรณคดีละติน ในประเพณีคลาสสิกยุคหลังของตะวันตก วีนัสเป็นพระเจ้าพระองค์หนึ่งในเทพปกรณัมกรีก-โรมันซึ่งมีการอ้างอิงมากที่สุดเป็นการรวมความรักและเพศสภาพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน หมวดหมู่:วีนัส.

ใหม่!!: พระศุกร์และวีนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: พระศุกร์และสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: พระศุกร์และอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: พระศุกร์และดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

คุรุ

คุรุ (गुरु) หรือ กูรู (guru) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์ ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน (เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่น คุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน อนึ่ง คำว่า คุรุ นี้มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า คุรุ นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน คุรุ ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู" ในประเทศตะวันตก คุรุ ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ หมวดหมู่:การศึกษา หมวดหมู่:คำยืม หมวดหมู่:ภาษาไทย.

ใหม่!!: พระศุกร์และคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

ปางรำพึง

ปางรำพึง พระประจำวันศุกร์ ปางรำพึง เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้.

ใหม่!!: พระศุกร์และปางรำพึง · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: พระศุกร์และแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

เทวดานพเคราะห์

ราะห์ (ภาษาสันสกฤต: ग्रह, gráha คระ-หะ ซึ่งหมายความว่า ฉกฉวย, จับ, คว้า, ยึด) คือสิ่งที่มีอำนาจในจักรวาลของพระภูมิเทวี (โลก) นพเคราะห์ (ภาษาสันสกฤต: नवग्रह, gráha นะ-พะ-คระ-หะ) หมายความว่า ๙ ภูมิ, ๙ ขอบเขต, ๙ โลก, ๙ ดาวเคราะห.

ใหม่!!: พระศุกร์และเทวดานพเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »