เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย

พระศุกร์ vs. รายพระนามเทวดาอินเดีย

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน. ้านล่างนี้เป็นรายชื่อเทพเจ้าที่ปรากฏในประเทศอินเดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย

พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระศิวะพระอังคารพระเสาร์

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

พระศิวะและพระศุกร์ · พระศิวะและรายพระนามเทวดาอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

พระอังคาร

ระอังคาร (เทวนาครี: मंगल มํคล หรือ मङ्गल มงฺคล) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสา (กระบือ) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ ปางไสยาสน์ และภายหลังมี ปางลีลา เพิ่มอีกหนึ่งปาง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับแอรีสของเทพปกรณัมกรีก และมาร์สของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน.

พระศุกร์และพระอังคาร · พระอังคารและรายพระนามเทวดาอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเสาร์

ระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน.

พระศุกร์และพระเสาร์ · พระเสาร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย

พระศุกร์ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายพระนามเทวดาอินเดีย มี 43 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 5.08% = 3 / (16 + 43)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระศุกร์และรายพระนามเทวดาอินเดีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: