เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรี

ดัชนี รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรี

นี่คือ รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรี.

สารบัญ

  1. 44 ความสัมพันธ์: สะพานพระราม 4สะพานพระราม 6อักษรละตินอักษรไทยอำเภอบางบัวทองอำเภอบางกรวยอำเภอบางใหญ่อำเภอปากเกร็ดอำเภอไทรน้อยอำเภอเมืองนนทบุรีถนนชัยพฤกษ์ถนนบางกรวย-ไทรน้อยถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อยถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีถนนกาญจนาภิเษกถนนราชพฤกษ์ถนนศรีสมานถนนสามัคคีถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนงามวงศ์วานถนนประชาชื่นถนนประชาราษฎร์ถนนนครอินทร์ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ)ถนนแจ้งวัฒนะถนนเรวดีถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีทางรถไฟสายใต้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ท่าเรือปากเกร็ดแยกศรีพรสวรรค์แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์แยกสามัคคีแยกสนามบินน้ำแยกติวานนท์แยกแครายแยกไทรม้า

สะพานพระราม 4

นพระราม 4 (Rama IV Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตำบลบางตะไนย์กับตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ทางตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี โดยสร้างเป็นส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะย่านกลางเมืองปากเกร็ด ข้ามแม่น้ำตรงด้านเหนือของเกาะเกร็ด แล้วเชื่อมต่อกับถนนชัยพฤกษ์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ก่อนที่จะไปบรรจบถนนราชพฤกษ์) สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและสะพานพระราม 4

สะพานพระราม 6

นขนานสะพานพระราม 6 สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและสะพานพระราม 6

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอักษรละติน

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอักษรไทย

อำเภอบางบัวทอง

งบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว) มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอบางบัวทอง

อำเภอบางกรวย

งกรวย เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของจังหวัดนนทบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงวิถีชีวิตแบบเรือกสวนไร่นาเอาไว้อย่างชัดเจน.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอบางกรวย

อำเภอบางใหญ่

งใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี มีประชากรค่อนข้างมาก แต่เดิมตั้งอยู่บริเวณที่คลองสามสายมาบรรจบกันได้แก่ ปลายคลองอ้อมนนท์ สุดคลองบางกอกน้อย และต้นคลองบางใหญ่ แต่ปัจจุบันตัวอำเภอได้ย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้ ซึ่งได้รับความเจริญอย่างรวดเร็วจากการก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษกและถนนรัตนาธิเบศร์ มีบริการที่ทันสมัย เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลาดกลางของจังหวัด หน่วยงานราชการ หมู่บ้านจัดสรรที่เกิดใหม่ ดังนั้น พื้นที่การเกษตรอาจไม่พบเห็นในเขตเมืองแล้ว โดยส่วนหนึ่งของเขตเมืองบางใหญ่อยู่ในพื้นที่ของอำเภอบางบัวทอง.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอบางใหญ่

อำเภอปากเกร็ด

ปากเกร็ด เป็นเป็นอำเภอที่มีตำบลมากที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ที่ตั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านตัวอำเภอ สภาพพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ไร่นา ท้องทุ่ง ปศุสัตว์ ดังเช่นในชนบท ส่วนทางฝั่งตะวันออกมีที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางของประเทศ ในอดีตอำเภอปากเกร็ดเคยขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ช่วงหนึ่ง และบางตำบลเคยอยู่ในอำเภอบางบัวทอง.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด

อำเภอไทรน้อย

ทรน้อย เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นล่าสุด รวมทั้งมีพื้นที่มากที่สุดและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดนนทบุรี สภาพพื้นที่ทั่วไปยังคงสภาพชนบทไว้ เช่น ท้องนา ท้องไร่ บ้านเรือนแบบเรียบง่าย แต่มีระบบสาธารณูปโภคชั้นสูง เช่น โรงไฟฟ้า บ่อขยะ คลองชลประทาน และยังพบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนนทบุรีอีกด้วย อำเภอไทรน้อยเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างจังหวัดนนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอไทรน้อย

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและอำเภอเมืองนนทบุรี

ถนนชัยพฤกษ์

นนชัยพฤกษ์ (Thanon Chaiyaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3030 สายชัยพฤกษ์ เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่อำเภอปากเกร็ดและอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 6 ช่องทางจราจร เขตทางกว้าง 60 เมตรกรมทางหลวงชนบท.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนชัยพฤกษ์

ถนนบางกรวย-ไทรน้อย

นนบางกรวย-ไทรน้อย (Thanon Bang Kruai - Sai Noi) ประกอบด้วยเส้นทางที่มีชื่อซ้ำกันสองสาย สายแรกคือถนนบางกรวย-ไทรน้อยสายหลัก ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนได้รับการกำหนดให้เป็น "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3215" เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่งบนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากตัดผ่านเกือบทุกอำเภอของจังหวัด ได้แก่ อำเภอบางกรวย อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอไทรน้อยตามลำดับ ส่วนอีกสายคือถนนบางกรวย-ไทรน้อยสายแยกเข้าตัวอำเภอบางใหญ่เก่า เป็นเส้นทางสั้น ๆ ในเขตอำเภอบางใหญ่ ระยะทางบางส่วนของถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็น "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3584".

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนบางกรวย-ไทรน้อย

ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย

นนบ้านกล้วย-ไทรน้อย (Thanon Ban Kluai - Sai Noi) หรือ ทางหลวงชนบท น.1013 สายแยกทางหลวงหมายเลข 9 (กม.ที่ 43+490) - อำเภอไทรน้อย เป็นถนนขนาด 2 ช่องการจราจรในจังหวัดนนทบุรี เริ่มจากถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันตก) ในพิ้นที่ตำบลพิมลราช (ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง) อำเภอบางบัวทอง ไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ตำบลพิมลราช (ในเขตเทศบาลเมืองพิมลราช) จากนั้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยขนานไปกับแนวคลองพระพิมลราชา ข้ามคลองตาชมเข้าเขตตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย ไปทางทิศเดิม และไปสิ้นสุดบริเวณเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเทศบาล 6.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย

ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

นนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (Thanon Krung Thep - Nonthaburi) เป็นถนนเชื่อมระหว่างพื้นที่เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร กับอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีระยะทางเริ่มต้นจากถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ทางแยกเตาปูน) ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดผ่านทางรถไฟสายใต้ เข้าพื้นที่แขวงวงศ์สว่าง จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนวงศ์สว่าง (ทางแยกวงศ์สว่าง) ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่เขตตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี ข้ามคลองบางตะนาวศรีเข้าเขตตำบลตลาดขวัญ และไปสิ้นสุดที่จุดตัดระหว่างถนนสายนี้กับถนนติวานนท์และถนนนครอินทร์ (ทางแยกติวานนท์) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร (เกาะกลางเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) ระยะทางรวม 5.358 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 25 เมตร ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพพระมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนกาญจนาภิเษก

ถนนราชพฤกษ์

นนราชพฤกษ์ (Thanon Ratchaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนราชพฤกษ์

ถนนศรีสมาน

แนวถนนศรีสมาน (เส้นสีน้ำเงิน) ถนนศรีสมาน (Thanon Si Saman) เป็นถนนคอนกรีตสี่ช่องทางมีเกาะกลางในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครปากเกร็ด เริ่มตั้งแต่ทางแยกสวนสมเด็จฯ ที่ถนนติวานนท์ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับทางพิเศษอุดรรัถยา และไปสิ้นสุดที่ทางแยกถนนสรงประภาตัดกับถนนประชาชื่น-ปากเกร็ด รวมระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนศรีสมาน

ถนนสามัคคี

นนสามัคคี (Thanon Samakkhi) เป็นถนนที่อยู่ในเขตตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีแนวสายทางเริ่มจากถนนติวานนท์ที่ทางแยกสามัคคี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถนนประชานิเวศน์ 3 ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช จากนั้นยังคงไปทางทิศตะวันออก จนบรรจบกับถนนประชาชื่น เป็นถนนขนาด 2 เลนสวนทางกัน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนสามัคคี

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนจรัญสนิทวงศ์

ถนนงามวงศ์วาน

นนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน (Thanon Ngam Wong Wan) เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มจากทางแยกแครายซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนติวานนท์และถนนรัตนาธิเบศร์ ในท้องที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เข้าเขตตำบลบางเขน ตัดกับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ตรงไปทางทิศเดิม ข้ามคลองประปาและตัดกับถนนประชาชื่นเข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นแนวเส้นทางเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่ท้องที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ข้ามคลองเปรมประชากร ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 ทางรถไฟสายเหนือ และถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกบางเขน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเกษตรซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วานเป็นถนนที่กรมทางหลวงตัดขึ้นและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายดำรง งามวงศ์วาน อดีตนายช่างกำกับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ ตามนโยบายของจอมพล ป.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนงามวงศ์วาน

ถนนประชาชื่น

นนประชาชื่น (Thanon Pracha Chuen) เป็นถนนที่สร้างเลียบฝั่งตะวันตกของคลองประปาในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร, อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยส่วนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนที่ต่อจากเขตกรุงเทพมหานครจนถึงแยกคลองประปา ดูแลโดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนประชาชื่น

ถนนประชาราษฎร์

นนประชาราษฎร์ (Thanon Pracha Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีระยะทางเริ่มต้นจากแยกติวานนท์ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์และถนนนครอินทร์กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีในพื้นที่ตำบลตลาดขวัญ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โค้งและตรงไปทางทิศตะวันตก จนกระทั่งตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี (แยกประชาราษฎร์-เลี่ยงเมือง) และเข้าเขตตำบลสวนใหญ่ จากนั้นเบี่ยงลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย ก่อนตัดกับถนนพิบูลสงคราม (แยกศรีพรสวรรค์) และไปสิ้นสุดที่วงเวียนหอนาฬิกาท่าน้ำนนทบุรี ถนนประชาราษฎร์เป็นถนนสายแรก ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางขวางขึ้นไปถึงวัดลานวัว จังหวัดนนทบุรีเมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนประชาราษฎร์

ถนนนครอินทร์

นนนครอินทร์ (Thanon Nakhon In) หรือ ทางหลวงชนบท น.1020 สายนครอินทร์ เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นถนนขนาด 10 ช่องทางจราจร มีเส้นทางเริ่มต้นที่แยกติวานนท์ ในอำเภอเมืองนนทบุรี ไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียงในอำเภอบางกรว.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนนครอินทร์

ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ)

นนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ) เป็นทางหลวงท้องถิ่นสายสำคัญในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีตลอดทั้งสาย ประกอบด้วยถนนสองสายเรียงต่อกันคือถนนนนทบุรี 1 และถนนสนามบินน้ำ ถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ) แยกจากถนนประชาราษฎร์หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าในท้องที่ตำบลสวนใหญ่ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านหน้าเรือนจำกลางบางขวาง ตรงไปทางทิศเหนือและข้ามคลองบางแพรก จากนั้นแนวเส้นทางจะขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี ไปทางทิศตะวันตก โค้งไปทางทิศเหนือก่อนข้ามคลองมะขามโพรง ผ่านปากซอยเลี่ยงเมืองนนทบุรี 13 (เรวดี) ข้ามคลองบางซื่อเข้าเขตตำบลบางกระสอ ตรงไปทางทิศเดิม ตัดกับถนนรัตนาธิเบศร์ที่ทางแยกสะพานพระนั่งเกล้า จากนั้นข้ามคลองบางกระสอ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางสร้อยทอง ข้ามคลองบางธรณีเข้าเขตตำบลท่าทราย ก่อนวกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ ตัดกับซอยนนทบุรี 39 (จารุกลัส) และซอยนนทบุรี 42 (รณสิทธิพิชัย) ที่แยกกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ตัดกับซอยนนทบุรี 41 (หมู่บ้านกรนพเกล้า 3) และซอยนนทบุรี 46 (ไทยานนท์) ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสุดระยะถนนที่ทางแยกสนามบินน้ำ (จุดตัดกับถนนติวานนท์).

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนนนทบุรี 1 (สนามบินน้ำ)

ถนนแจ้งวัฒนะ

นนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ (Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนแจ้งวัฒนะ

ถนนเรวดี

ถนนเรวดี (Thanon Rewadi) เป็นถนนของเทศบาลนครนนทบุรีที่แยกจากถนนติวานนท์ในเขตตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ไปทางทิศตะวันตก ไปสิ้นสุดที่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี จากถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรียังมีแนวถนนเรวดียาวต่อเนื่องไปบรรจบถนนนนทบุรี 1 แต่ในเวลาต่อมาแนวถนนช่วงดังกล่าวได้รับการกำหนดชื่อใหม่เป็น ซอยเลี่ยงเมืองนนทบุรี 13 และ ซอยนนทบุรี 6 จากถนนเรวดีสามารถทะลุออกไปยังถนนรัตนาธิเบศร์ได้หลายเส้นทาง ปัจจุบันมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและมีการจราจรติดขัดเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน มีกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าและตัดเย็บเสื้อโหลจำนวนมาก เรวดี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนเรวดี

ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

นนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด หรือ ทางหลวงชนบท น.3019 เป็นถนนที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีแนวสายทางเริ่มจากถนนสามัคคีบริเวณใกล้กับจุดตัดถนนติวานนท์ ไปทางทิศเหนือ ตัดข้ามถนนแจ้งวัฒนะ จากนั้นจึงโค้งไปทางทิศตะวันตก บรรจบกับถนนติวานนท์ ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดสร้างขึ้นเพื่อให้รถที่ต้องการไป-กลับระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี สามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องผ่านห้าแยกปากเกร็ด ซึ่งถนนติวานนท์ช่วงห้าแยกปากเกร็ด จะมีรถสัญจรเยอะมากและไม่มีไหล่ทาง ทำให้การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดนนทบุรี หมวดหมู่:ถนนวงแหวนและถนนเลี่ยงเมือง นบ.3019.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี

นนเลี่ยงเมืองนนทบุรี หรือ ทางหลวงชนบท น.4018 เป็นถนนที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีแนวสายทางเริ่มจากถนนพิบูลสงครามบริเวณวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ ไปทางทิศตะวันออกแล้วโค้งขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดข้ามถนนประชาราษฎร์ จากนั้นจึงโค้งไปทางทิศตะวันตก ถึงทางแยกเลี่ยงเมืองนนทบุรี แยกเป็น 2 ตอน ตอนแรกจะไปบรรจบถนนนนทบุรี 1 ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่ อีกตอนหนึ่งจะไปทางทิศเหนือ ข้ามถนนรัตนาธิเบศร์หน้าห้างเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ และต่อไปจนบรรจบถนนนนทบุรี 1 ในท้องที่ตำบลท่าทราย ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีสร้างขึ้นเพื่อให้รถที่ต้องการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครกับอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนนทบุรี สามารถไป-กลับได้โดยไม่ต้องผ่านท่าน้ำนนทบุรี เนื่องจากถนนประชาราษฎร์ช่วงท่าน้ำนนทบุรีจะค่อนข้างแคบ เป็นถนนขนาด 3 ช่องทางจราจรและไม่มีไหล่ทาง ทำให้การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน รวมทั้งรถโดยสารประจำทางหลายสายต้องหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่บริเวณนี้ หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดนนทบุรี หมวดหมู่:ถนนวงแหวนและถนนเลี่ยงเมือง นบ.4018.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางรถไฟสายใต้

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 สายแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–ต่างระดับบางใหญ่ เป็นทางหลวงแผ่นดินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ครอบคลุมถนนสองสายต่อเนื่องกัน ได้แก่ ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนงามวงศ์วาน ทางหลวงสายนี้ช่วงที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจะอยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานครและแขวงทางหลวงกรุงเทพ ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีจะอยู่ในเขตควบคุมของแขวงทางหลวงนนทบุรี โดยสองหน่วยงานหลังเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานทางหลวงที่ 13 กรุงเท.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 สายแยกสวนสมเด็จ–แยกปทุมวิไล บางครั้งเรียกว่า ถนนนนทบุรี–ปทุมธานี, ถนนกรุงเทพฯ–ปทุมธานี และ ถนนปทุมธานีสายนอก เป็นทางหลวงแผ่นดินในความควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี และหมวดทางหลวงลาดหลุมแก้ว แขวงทางหลวงปทุมธานี (หน่วยงานสังกัดกรมทางหลวง) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 เป็นเส้นทางที่ต่อมาจากถนนศรีสมานที่แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (จุดตัดกับถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกบางคูวัด มุ่งสู่ตัวจังหวัดปทุมธานี ไปบรรจบถนนปทุมสัมพันธ์และถนนปทุมลาดหลุมแก้วที่แยกปทุมวิไล รวมระยะทางประมาณ 10.8 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 สายบางบัวทอง–ชัยนาท หรือเรียกกันทั่วไปว่า ถนนบางบัวทอง–สุพรรณบุรี และ ถนนสุพรรณบุรี–ชัยนาท เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท ระยะทาง 164.21 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สามารถไปภาคเหนือได้โดยไม่ต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 เดิมชื่อ ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ก่อสร้างเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 สายบางบัวทอง–บางพูน เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีเชื่อมต่อกับจังหวัดปทุมธานี ต้นทางอยู่ที่ทางแยกต่างระดับบางบัวทอง (จุดตัดกับถนนกาญจนาภิเษกและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจุดตัดกับถนนราชพฤกษ์ที่ทางแยกต่างระดับขุนมหาดไทย ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 (นนทบุรี-ปทุมธานี) ที่แยกบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดกับถนนติวานนท์ที่แยกปู่โพธิ์ เลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศเดิม จากนั้นโค้งไปทางทิศเหนือไปบรรจบถนนรังสิต-ปทุมธานีที่แยกบางพูน.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 สายต่างระดับรังสิต–พนมทวน เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี ต้นทางอยู่ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และปลายทางอยู่ที่แยกพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ถนนสายนี้เริ่มจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต มาทางทิศตะวันตก เข้าสู่เขตอำเภอเมืองปทุมธานี และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 (ติวานนท์-รังสิต) ที่แยกบางพูน แล้วผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ติวานนท์) ที่แยกบ้านกลาง แล้วโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ที่แยกเทคโนปทุมธานี ข้ามสะพานปทุมธานี ตัดผ่านตัวจังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ปทุมสามโคก) ที่แยกสันติสุข แล้วโค้งไปทางใต้ ตัดกับถนนปทุมลาดหลุมแก้วที่แยก อ.ปทุมธานี ออกไปทางถนนกาญจนาภิเษกและตัดกันที่ทางแยกต่างระดับลาดหลุมแก้ว เข้าสู่อำเภอลาดหลุมแก้ว ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (บางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ทีแยกนพวงศ์ จากนั้นข้ามคลองลากค้อน เข้าเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับทางหลวงชนบท น.3004 และทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านไทรน้อย-บ้านคลองนาหมอนที่แยกไทรน้อย เข้าสู่อำเภอบางเลน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เข้าสู่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี สิ้นสุดเส้นทาง.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346

ทางแยกต่างระดับบางใหญ่

ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ (Bang Yai Interchange) หรือ สามแยกบางใหญ่ เป็นทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดถนนรัตนาธิเบศร์ กับถนนกาญจนาภิเษก ในเขตตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและทางแยกต่างระดับบางใหญ่

ท่าเรือปากเกร็ด

ท่าเรือปากเกร็ด ในปี พ.ศ. 2551 ท่าเรือปากเกร็ด หรือ ท่าน้ำแจ้งวัฒนะ หรือ ท่าน้ำสะพานพระราม 4 เป็นท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลายท่าใกล้เคียงกัน บริเวณด้านล่างสะพานพระราม 4 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและท่าเรือปากเกร็ด

แยกศรีพรสวรรค์

แยกศรีพรสวรรค์ (Si Phon Sawan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนประชาราษฎร์ ถนนพิบูลสงคราม และซอยประชาราษฎร์ 26 (ศรีพรสวรรค์) ในเขตตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกศรีพรสวรรค์

แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (Suan Somdet Phra Srinagarindra Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์ ถนนนนทบุรี-ปทุมธานี และถนนศรีสมาน ในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

แยกสามัคคี

แยกสามัคคี (Samakkhi Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์กับถนนสามัคคี ในเขตตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกสามัคคี

แยกสนามบินน้ำ

แยกสนามบินน้ำ (Sanam Bin Nam Junction) เป็นสามแยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์กับถนนสนามบินน้ำ ในเขตตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกสนามบินน้ำ

แยกติวานนท์

แยกติวานนท์ (Tiwanon Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์ ถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี และถนนนครอินทร์ ในเขตตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกติวานนท์

แยกแคราย

แยกแคราย (Khae Rai Intersection) เป็นทางแยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนงามวงศ์วาน ในท้องที่หมู่ที่ 9 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี การจราจรบริเวณทางแยกนี้จะติดขัดมากเป็นพิเศษในช่วงเวลาเร่งด่วน.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกแคราย

แยกไทรม้า

แยกไทรม้า (Sai Ma Intersection) หรือ แยกท่าอิฐ เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนบ้านไทรม้า และถนนไทรม้า-บางรักน้อย-ท่าอิฐ (นบ.7002) ในเขตตำบลไทรม้าและตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ดู รายชื่อถนนในจังหวัดนนทบุรีและแยกไทรม้า

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ถนนสำเร็จพัฒนาถนนอัจฉริยะพัฒนาถนนอัจฉริยะประสิทธิ์ถนนประชาอุทิศ (จังหวัดนนทบุรี)