โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

ดัชนี ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

นนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (Thanon Krung Thep - Nonthaburi) เป็นถนนเชื่อมระหว่างพื้นที่เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร กับอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีระยะทางเริ่มต้นจากถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ทางแยกเตาปูน) ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดผ่านทางรถไฟสายใต้ เข้าพื้นที่แขวงวงศ์สว่าง จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนวงศ์สว่าง (ทางแยกวงศ์สว่าง) ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่เขตตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี ข้ามคลองบางตะนาวศรีเข้าเขตตำบลตลาดขวัญ และไปสิ้นสุดที่จุดตัดระหว่างถนนสายนี้กับถนนติวานนท์และถนนนครอินทร์ (ทางแยกติวานนท์) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร (เกาะกลางเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) ระยะทางรวม 5.358 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 25 เมตร ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพพระมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2474 โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจากถนนพระรามที่ 5 (แต่เมื่อก่อสร้างจริงนั้นเริ่มที่ถนนประชาราษฎร์ สาย 2) ไปถึงบริเวณเหนือวัดลานวัว ทั้งนี้เพื่อให้การจราจรทางบกระหว่างสองจังหวัดรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากเมื่อปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีจากปากคลองบางซื่อลงมาตั้งที่ตำบลบางขวาง รวมทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนจำมหันตโทษกลางขึ้นที่นั่นด้วย ในปีต่อมา (พ.ศ. 2475) พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนสายนี้รวมกับถนนที่มาจากตัวจังหวัดนนทบุรีถึงวัดลานวัวว่า ถนนประชาราษฎร์ จนกระทั่งภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนช่วงทางแยกเตาปูนถึงทางแยกติวานนท์เป็น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ปัจจุบันถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีในเขตบางซื่ออยู่ในการดูแลของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 3.617 กิโลเมตร ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรีนั้นถือเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301 สายคลองบางเขน - ติวานนท์ และเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี (หน่วยงานของกรมทางหลวง) ระยะทาง 1.741 กิโลเมตร อนึ่ง การใช้ชื่อซอยย่อยของถนนระหว่างสองพื้นที่ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย กล่าวคือ กรุงเทพมหานครใช้ชื่อซอยว่า "กรุงเทพ-นนทบุรี" ฝั่งขาออก (ฝั่งซอยเลขคี่) มี 24 ซอย และฝั่งขาเข้า (ฝั่งซอยเลขคู่) มี 31 ซอย ส่วนเทศบาลนครนนทบุรีจะเริ่มนับตัวเลขใหม่เมื่อเข้าเขตจังหวัดนนทบุรี โดยใช้ชื่อซอยว่า "กรุงเทพนนท์" ฝั่งขาออกมี 8 ซอย และฝั่งขาเข้ามี 7 ซอ.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2471พ.ศ. 2474พ.ศ. 2475พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกรมทางหลวงกรุงเทพมหานครรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมอำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรีถนนพระรามที่ 5ถนนรัชดาภิเษกถนนประชาราษฎร์ถนนนครอินทร์ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306ตลาดขวัญแยกวงศ์สว่างแยกติวานนท์เทศบาลนครนนทบุรีเขตบางซื่อ

พ.ศ. 2471

ทธศักราช 2471 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1928 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและพ.ศ. 2471 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2474

ทธศักราช 2474 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1931 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและพ.ศ. 2474 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและกรมทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (Metropolitan Rapid Transit Chalong Ratchadham Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (MRT Purple Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและอำเภอเมืองนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรัชดาภิเษก

นนรัชดาภิเษก (Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพร.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและถนนรัชดาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนประชาราษฎร์

นนประชาราษฎร์ (Thanon Pracha Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีระยะทางเริ่มต้นจากแยกติวานนท์ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์และถนนนครอินทร์กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีในพื้นที่ตำบลตลาดขวัญ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โค้งและตรงไปทางทิศตะวันตก จนกระทั่งตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี (แยกประชาราษฎร์-เลี่ยงเมือง) และเข้าเขตตำบลสวนใหญ่ จากนั้นเบี่ยงลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย ก่อนตัดกับถนนพิบูลสงคราม (แยกศรีพรสวรรค์) และไปสิ้นสุดที่วงเวียนหอนาฬิกาท่าน้ำนนทบุรี ถนนประชาราษฎร์เป็นถนนสายแรก ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางขวางขึ้นไปถึงวัดลานวัว จังหวัดนนทบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2474 โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางขวาง (ปัจจุบันคือตำบลสวนใหญ่) ไปทางทิศตะวันออกจนถึงบริเวณเหนือวัดลานวัว (ปัจจุบันคือวัดลานนาบุญ) ทั้งนี้เพื่อให้การจราจรทางบกในจังหวัดนนทบุรีมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากที่เมื่อปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีจากปากคลองบางซื่อลงมาตั้งที่ตำบลบางขวาง รวมทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนจำมหันตโทษกลางขึ้นที่นั่นด้วย ในปีต่อมา (พ.ศ. 2475) พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนสายนี้รวมกับถนนที่ตัดมาจากตำบลบางซื่อ กรุงเทพพระมหานคร (ซึ่งตัดขึ้นในช่วงเดียวกัน) ว่า ถนนประชาราษฎร์ จนกระทั่งภายหลังได้มีการแบ่งถนนประชาราษฎร์ช่วงตั้งแต่แยกเตาปูนถึงแยกติวานนท์ออกไปเป็นถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาราษฎร์จึงมีระยะทางอยู่ในจังหวัดนนทบุรีเท่านั้น ปัจจุบันช่วงตั้งแต่แยกติวานนท์ถึงแยกศรีพรสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 และอยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี (หน่วยงานของกรมทางหลวง).

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและถนนประชาราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครอินทร์

นนนครอินทร์ (Thanon Nakhon In) หรือ ทางหลวงชนบท น.1020 สายนครอินทร์ เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นถนนขนาด 10 ช่องทางจราจร มีเส้นทางเริ่มต้นที่แยกติวานนท์ ในอำเภอเมืองนนทบุรี ไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียงในอำเภอบางกรว.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและถนนนครอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดขวัญ

ตลาดขวัญ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและตลาดขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

แยกวงศ์สว่าง

แยกวงศ์สว่าง (Wong Sawang Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนวงศ์สว่าง และถนนรัชดาภิเษก ในท้องที่แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและแยกวงศ์สว่าง · ดูเพิ่มเติม »

แยกติวานนท์

แยกติวานนท์ (Tiwanon Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์ ถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี และถนนนครอินทร์ ในเขตตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและแยกติวานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครนนทบุรี

นนทบุรี เป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเมืองหลักของจังหวัดนนทบุรี ภายในเขตเทศบาลมีประชากรกว่า 250,000 คน ทำให้เป็นเทศบาลนครที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากตั้งอยู่ในชานเมืองซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและเทศบาลนครนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางซื่อ

ตบางซื่อ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีและเขตบางซื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนกรุงเทพ-นนทบุรีถนนกรุงเทพ-นนท์ถนนกรุงเทพนนท์ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »