โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

ดัชนี สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

29 ความสัมพันธ์: บิแซนเทียมพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1พระเจ้าไซรัสมหาราชกบฏไอโอเนียกรีซโบราณการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซียยุทธการที่เทอร์มอพิลียุทธนาวีที่ซาลามิสราชอาณาจักรมาเกโดนีอาสงครามสันนิบาตดีเลียนสปาร์ตาอานาโตเลียอียิปต์โบราณฮอปไลต์จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดธีบส์ (กรีซ)ทรราชทะเลอีเจียนดาไรอัสมหาราชซิคละดีสประเทศอิหร่านประเทศไซปรัสไอโอเนียเพริคลีสเกาะนักซอสเธมิสโตคลีสเธรซ

บิแซนเทียม

ที่ตั้งของบิแซนเทียม บิแซนเทียม (Byzantium; Βυζάντιον) เป็นนครกรีกโบราณตั้งอยู่ ณ ที่ซึ่งภายหลังเป็นคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูลสมัยใหม่) ผู้อยู่ในนิคมกรีกจากเมการาก่อตั้งนครแห่งนี้เมื่อ 657 ปีก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและบิแซนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1

พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 (Leonidas I; Doric Λεωνίδᾱς, Leōnídās; Ionic และ Attic: Λεωνίδης, เล-ออ-นี-แดส), สวรรคต 480 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญแห่งนครรัฐกรีกสปาร์ตา พระองค์ทรงนำกำลังทัพสปาร์ต้าระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและทรงเป็นที่จดจำสำหรับการสวรรคตที่ยุทธการที่เทอร์มอพิลี หมวดหมู่:ชาวกรีก.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและพระเจ้าไซรัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กบฏไอโอเนีย

กบฏไอโอเนีย (Ionian Revolt) เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–493 ก่อนคริสตกาล เป็นการกบฏในภูมิภาคไอโอเนียของเอเชียน้อยต่อการปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) จุดเริ่มต้นมาจากการแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครองชาวกรีกของชาวเปอร์เซียและการปลุกปั่นจากอริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัส หลังอริสตาโกรัสนำทัพร่วมกับเปอร์เซียบุกเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสซึ่งกลัวว่าตนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ปกครองจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในไอโอเนียก่อกบฏต่อจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย ในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล กองทัพกบฏที่ได้กำลังสนับสนุนจากเอเธนส์และอีรีเทรียยึดและเผาเมืองซาร์ดิส ระหว่างยกทัพกลับ ฝ่ายกบฏได้ปะทะกับทัพเปอร์เซียที่ตามมาที่เอฟิซัส โดยฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียทำสงครามเพื่อยึดดินแดนคืน แต่การกบฏแผ่ไปในแคเรีย ดอริเซส แม่ทัพชาวเปอร์เซียจึงยกทัพไปที่นั่น ถึงแม้ปฏิบัติการช่วงแรกจะประสบความสำเร็จ แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่เพดาซัสและการสูญเสียแม่ทัพดอริเซสของฝ่ายเปอร์เซีย ทำให้สถานการณ์ของทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ทัพบกและทัพเรือเปอร์เซียตัดสินใจบุกไมลีตัส เมืองใจกลางของกลุ่มกบฏและได้รับชัยชนะในยุทธการที่ลาเด การแปรพักตร์ของซามอสทำให้ไมลีตัสถูกยึด ชัยชนะทั้งสองครั้งของเปอร์เซียทำให้การกบฏสิ้นสุดลง เมืองแคเรียยอมแพ้ต่อฝ่ายเปอร์เซีย ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียยกทัพไปจัดการเมืองต่าง ๆ ที่ยังแข็งข้อและทำสนธิสัญญาสันติภาพกับไอโอเนีย การกบฏไอโอเนียถือเป็นความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างกรีซและเปอร์เซียและเป็นช่วงแรกของสงครามกรีก-เปอร์เซีย ถึงแม้จะได้เอเชียน้อยกลับมาอยู่ใต้อำนาจ แต่จักรพรรดิดาไรอัสต้องการลงโทษเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนกลุ่มกบฏ นอกจากนี้พระองค์ยังมองว่านครรัฐกรีกต่าง ๆ ยังคงเป็นภัยต่อจักรวรรดิ ดังนั้นในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งบุกกรีซอีกครั้งเพื่อหวังจะยึดนครรัฐกรีกทั้งหม.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและกบฏไอโอเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480–479 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชต้องการพิชิตกรีซทั้งหมด หลังความพยายามครั้งแรกของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช พระราชบิดา ในการบุกกรีซล้มเหลว เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเซอร์ซีสใช้เวลาหลายปีในการวางแผนและรวบรวมกำลังพล ส่วนฝ่ายกรีกนำทัพโดยเอเธนส์และสปาร์ตา ร่วมด้วยนครรัฐอื่น ๆ กว่า 70 แห่ง อย่างไรก็ตาม นครรัฐกรีกส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางหรือสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายเปอร์เซีย การบุกครองเริ่มในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทัพเปอร์เซียข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) ผ่านเธรซ มาซิดอนและเธสซาลี ก่อนจะพบกับกองทัพกรีก นำโดยพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 ที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี ในขณะที่ทัพเรือเปอร์เซียถูกทัพเรือกรีกปิดกั้นไว้ที่ช่องแคบอาร์เตมิเซียม ทัพของพระเจ้าลีออนิดัสต้านทานทัพเปอร์เซียได้นาน 7 วันก่อนจะพ่ายแพ้ ส่วนทัพเรือกรีกต้านทานทัพเรือเปอร์เซียได้นาน 2 วัน ก่อนจะล่าถอยไปที่เกาะซาลามิส เมื่อทราบข่าวความพ่ายแพ้ที่เทอร์มอพิลี ชัยชนะที่เทอร์มอพิลีทำให้บีโอเชียและแอตติกาตกเป็นของเปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียยกไปถึงเอเธนส์และเผาเมือง ในขณะที่ทัพกรีกวางกำลังที่คอคอดคอรินท์เพื่อปกป้องคาบสมุทรเพโลพอนนีส เธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบแซลามิสก่อนจะให้ทัพเรือกรีกโจมตี ชัยชนะของฝ่ายกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิสทำให้การบุกครองของเปอร์เซียชะงัก จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับเอเชีย โดยปล่อยให้แม่ทัพมาร์โดเนียสและทหารฝีมือดีทำสงครามต่อ ในปีที่ 479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกรวบรวมทัพฮอปไลต์จำนวนมากที่สุดแล้วยกทัพขึ้นเหนือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่เมืองพลาเทีย โดยทัพกรีกเป็นฝ่ายชนะ สังหารแม่ทัพมาร์โดเนียสและปลดปล่อยบีโอเชียและแอตติกา ในวันเดียวกัน ทัพเรือกรีกทำลายกองเรือเปอร์เซียในยุทธนาวีที่มิเคลี ชัยชนะสองครั้งในวันเดียวทำให้การบุกครองสิ้นสุด ส่งผลให้อำนาจของเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลดน้อยลง ต่อมาทัพกรีกได้โต้กลับและขับไล่เปอร์เซียออกจากหมู่เกาะอีเจียนและไอโอเนีย ระหว่างปีที่ 479–478 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 492–490 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชต้องการลงโทษนครรัฐเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนการก่อกบฏของเมืองไอโอเนีย รวมถึงต้องการขยายจักรวรรดิไปในทวีปยุโรป การบุกแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพมาร์โดเนียส ทัพเปอร์เซียสามารถยึดเธรซคืนกลับมาและบังคับให้มาซิดอนอยู่ใต้อำนาจหลังเป็นประเทศราชมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การบุกได้หยุดชะงักลงเมื่อทัพเรือเปอร์เซียถูกพายุซัดนอกชายฝั่งเขาแอทอส ปีต่อมา จักรพรรดิดาไรอัสส่งคณะทูตไปทั่วกรีซเพื่อสั่งให้ยอมสวามิภักดิ์ นครรัฐกรีกส่วนใหญ่ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นเอเธนส์และสปาร์ตาที่สั่งประหารคณะทูต จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งให้ยกทัพไปอีกครั้ง การบุกครั้งที่สองเริ่มในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพดาติสและอาร์ตาเฟอร์เนส ทัพเปอร์เซียยกไปที่เกาะนักซอสก่อนจะยึดและเผาเมือง ต่อมายึดหมู่เกาะซิคละดีสและทำลายเมืองอีรีเทรีย ระหว่างยกทัพต่อไปยังเอเธนส์ในแอตติกา ทัพเปอร์เซียได้ปะทะกับทัพกรีกที่มีจำนวนน้อยกว่าที่ที่ราบมาราธอน ทัพเปอร์เซียพ่ายแพ้และยกกลับเอเชีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเปอร์เซียประสบความสำเร็จในการโจมตีนักซอส อีรีเทรียและแผ่อำนาจไปในภูมิภาคอีเจียน จักรพรรดิดาไรอัสได้รวบรวมกำลังพลเพื่อเตรียมบุกกรีซอีกครั้ง แต่ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิทำให้แผนการดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป จักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล ทิ้งแผนการให้เซอร์ซีส พระราชโอรสดำเนินการต่อ ซึ่งจักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งบุกกรีซอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี

ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่ซาลามิส

การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและยุทธนาวีที่ซาลามิส · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสันนิบาตดีเลียน

งครามสันนิบาตดีเลียน เป็นชุดการทัพระหว่างสันนิบาตดีเลียนของเอเธนส์กับจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 477–449 ก่อนคริสตกาล หลังพันธมิตรชาวกรีกนำโดยสปาร์ตาและเอเธนส์ชนะทัพเปอร์เซียที่บุกมาอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาลและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเธรซ สปาร์ตาตัดสินใจที่จะยุติการทำสงคราม ในขณะที่เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ รวมตัวกันในชื่อ "สันนิบาตดีเลียน" 30 ปีต่อมา เอเธนส์ขึ้นเป็นผู้นำและเปลี่ยนสันนิบาตให้กลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ ช่วงทศวรรษที่ 470 ปีก่อนคริสตกาล สันนิบาตดีเลียนทำสงครามในเธรซและภูมิภาคเอเจียนเพื่อขจัดอิทธิพลของเปอร์เซีย แม่ทัพไซมอนนำทัพในเอเชียน้อยและได้รับชนะในยุทธการที่ยูรีมีดอน ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ฝ่ายเปอร์เซียตกเป็นรอง ปลายทศวรรษที่ 460 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์สนับสนุนการกบฏในอียิปต์ ปฏิบัติการในช่วงแรกประสบความสำเร็จ แต่การล้อมเมืองเมมฟิสนานกว่า 3 ปี ทำให้เปอร์เซียมีโอกาสโจมตีกลับ ทัพเอเธนส์ต้านทานได้นาน 18 เดือนก่อนจะพ่ายแพ้ ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้กับสงครามที่ดำเนินอยู่ในกรีซทำให้เอเธนส์ต้องพักการรบกับเปอร์เซีย ในปีที่ 451 ก่อนคริสตกาล มีการสงบศึกในกรีซ แม่ทัพไซมอนยกทัพจึงไปที่ไซปรัสแต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทัพเอเธนส์ตัดสินใจถอนทัพกลับ ยุทธการที่แซลามิสอินไซปรัสเป็นยุทธการครั้งสุดท้ายระหว่างกรีซและเปอร์เซีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งกล่าวว่าสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัสในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาลเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามสันนิบาตดีเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอปไลต์

อปไลต์ (hoplite) เป็นพลเมือง-ทหารของนครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งติดอาวุธด้วยหอกและโล่เป็นหลัก ยุทธวิธีหลัก คือ รูปขบวนแฟแลงซ์ ทหารเหล่านี้เป็นพลเมืองอิสระเป็นหลัก มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรและช่างศิลป์ซึ่งสามารถหาซื้อชุดเกราะและอาวุธสำริดได้ ซึ่งประเมินว่ามีหนึ่งในสามถึงกึ่งหนึ่งของประชากรชายผู้ใหญ่ฉกรรจ์ โดยทั่วไปฮอปไลต์ได้รับการฝึกทหารพื้นฐาน ใน 690 ปีก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและฮอปไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

ธีบส์ (กรีซ)

ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ) · ดูเพิ่มเติม »

ทรราช

ทรราช () ความหมายดั้งเดิมในสมัยกรีกโบราณ หมายถึง บุคคลที่ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกต้องโดยชอบธรรมของรัฐ แล้วสถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชนชั้นชาวนาและพ่อค้า สำหรับเพลโต และ อาริสโตเติลนั้นได้ให้ความหมาย ทรราชย์ ไว้ว่า "การปกครองของคนๆ เดียวในรูปแบบของราชาธิปไตยที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือฉ้อฉลในอำนาจ มีเป้าหมายมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ละเลยการให้ความใส่ใจต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อน และประโยชน์สุขของสังคมโดยรวมของผู้ใต้การปกครอง".

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและทรราช · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและทะเลอีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ดาไรอัสมหาราช

ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและดาไรอัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ซิคละดีส

แผนที่ของหมู่เกาะซิคละดีสในทะเลอีเจียน ซิคละดีส หรือ คีคลาเดส (Κυκλάδες; Cyclades) เป็นหมู่เกาะในประเทศกรีซ อยู่ทางตอนใต้ของทะเลอีเจียน ทิศใต้-ตะวันออกของแผ่นดินใหญ่ของประเทศกรีซ ระหว่างคาบสมุทรเพโลพอนนีสกับหมู่เกาะโดเดคะนีส ประกอบด้วยเกาะประมาณ 220 เกาะ มีเนื้อที่ 2,572 กม² เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกรีซ เมืองหลวงชื่อ เออร์มูโปลิส เกาะที่สำคัญได้แก่ อันดรอส ทีนอส นักซอส อามอร์กอส เมลอส และพารอส หมวดหมู่:เกาะในประเทศกรีซ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2376 หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศกรีซ.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและซิคละดีส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไซปรัส

ซปรัส (Cyprus; Κύπρος คีโปรส; Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus; Κυπριακή Δημοκρατία; Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและประเทศไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเนีย

อโอเนีย (ภาษากรีกโบราณ: Ἰωνία หรือ Ἰωνίη, Ionia) หรือเยาวนะ เป็นภูมิภาคโบราณที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งทะเลอานาโตเลียในประเทศตุรกีปัจจุบัน ไอโอเนียเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ติดกับอิซเมียร์ที่เดิมคือสเมอร์น.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและไอโอเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เพริคลีส

ริคลีส (Pericles; Περικλῆς "เป-ริ-แคลส"; ราว 495 – 429 ก่อนคริสตกาล)เป็นรัฐบุรุษ นักปราศัย และนายพล ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลอย่างสูง แห่งนครรัฐเอเธนส์ ในช่วงยุครุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กรีกทำสงครามสู้รบกับเปอร์เซีย (ดู สงครามกรีก-เปอร์เซีย) และ ในช่วงมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน เพริคลีสสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่มาจากตระกูลแอลคมีโอนิดีที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจ โดยเป็นหลานตาของ ไคลสธีนีส รัฐบุรุษผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้กับชาวเอเธนส์ เพริคลีสเป็นนักการเมืองที่อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อนครเอเธนส์ ท่านมีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์และความเจริญให้กับเอธนส์ใช่วงยุครุ่งเรือง ทิวซิดิดีสนักประวัติที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับท่าน ขนานนามเพริคลีสว่าเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่งของเอเธนส์"Thucydides, 2.65 เพริคลีสเปลี่ยนสันนิบาตดีเลียน (League of Delian) ให้กลายเป็นจักรวรรดิทางทะเลที่มีศูนย์กลางที่เอเธนส์ และเป็นผู้นำของชาวเอเธนส์จนถึงช่วงสองปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ในช่วงระหว่างปี 461 ถึง 429 ก่อนคริสตกาล เพริคลีสนำนครเอเธนส์รุ่งเรืองจนสู่ขีดสูงสุด ท่านส่งเสริมการพัฒนางานศิลปะ วรรณกรรม และวิทยาการความรู้สาขาต่างๆ จนผลักดันให้เอเธนส์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาของโลกกรีซโบราณ เพริคลีสริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายจนเปลี่ยนเอเธนส์ให้กลายเป็นนครที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมหินอ่อนที่อลังการ รวมไปถึงวิหารพาร์เธนอน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นบนอะโครโพลิสของเอเธนส์มาจนปัจจุบัน โปรเจกต์ก่อสร้างเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ และช่วยปกป้องตัวเมืองจากศัตรู แต่ยังสร้างงานให้กับประชากรเอเธนส์ ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคสมัยของเพริคลีส" เพริคลีสเป็นนักพูดที่มีทักษะและไหวพริบมาก นอกจากนี้ยังเป็นรัฐบุรุษที่มีสเน่ห์และมีบารมีน่ายำเกรง เพราะมาจากตระกูลชนชั้นสูง เพริคลีสมักใช้ทักษะการพูด กล่าวตักเตือนให้ประชาชนของเอเธนส์มีความภาคภูมิใจในชาติ และมีความสามัคคีกัน ซึ่งจะเห็นได้จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles' Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน กล่าวกันว่านครเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยอยู่ได้อย่างมั่นคงก็เพราะมีนักการเมืองอย่างเพริคลีสเป็นผู้ชี้นำ เพริคลีสจึงไม่ได้เป็นเพียงนักการเมืองประชานิยมที่เก่งกาจ แต่ยังเป็นผู้นำทางจิตใจและทางศีลธรรมของชาวเอเธนส์ด้ว.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและเพริคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนักซอส

มืองนักซอส เกาะนักซอส (Νάξος; Naxos) เป็นเกาะในประเทศกรีซ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเกาะซิคละดีส (429 ตร.กม.) ตั้งอยู่ในทะเลอีเจียน มีเมืองนักซอสตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เป็นแหล่งผลิตเหล้าองุ่น เมื่อ 490 ปีก่อนคริสต์ศักราชถูกเปอร์เซียยึดและกวาดทรัพย์สินไป ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเติร์กระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและเกาะนักซอส · ดูเพิ่มเติม »

เธมิสโตคลีส

มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC. โดยการล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบซาลามิส ชัยชนะของทัพเรือกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิส เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามและในไปสู่ความพ่ายแพ้ของทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาตีอา (Battle of Plataea) หลังสงครามสงบ เธมิสโตคลีสกลายเป็นรัฐบุรุษที่ดดเด่นในสังคมเอเธนส์ ชัยชนะทางยุทธนาวีของฝ่ายพันธมิตรกรีก นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตดีเลียน ในปีที่ 478 BC และทำให้เอเธนส์ผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล (thalassocratic empire) แต่นโยบายที่หยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เช่นการสั่งให้สร้างป้อมปราการรอบเอเธนส์ เป็นการยั่วยุให้สปาร์ตาขุ่นเคือง ชาวเมืองเอเธนส์เองก็เบื่อหน่ายในความหยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เขาโดนสปาร์ต้าวางแผนใส่ร้ายข้อหากบฏ ในปี 478 และถูกประชาชนลงเสียงขับไล่ (ostracise) ออกจากเมืองในปีที่ 471 และไปเสียชีวิตที่แม็กนีเซีย ในปีที่ 459 ก่อนคริสตศักราช เธมิสโตคลีสยังคงเป็นที่จดจำในฐานะบุรุษผู้กู้อารยธรรมกรีกจากอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย นโยบายการสั่งสมกำลังทางทะเลของเขาเป็นจุกเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของนครรัฐเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 เพราะอำนาจทางทะเลเป็นหลักศิลาของจักรวรรดิเอเธนส์ ทิวซิดิดีสกล่าวว่าเธมิสโตคลีสเป็น "ผู้ที่เปล่งประกายของอัจฉริยภาพโดยอย่างไม่ต้องสงสัย".

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและเธมิสโตคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เธรซ

ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.

ใหม่!!: สงครามกรีก-เปอร์เซียและเธรซ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »