โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)

ดัชนี ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)

ทธการเคียฟครั้งที่หนึ่ง เป็นยุทธการที่เป็นการปิดล้อมทหารโซเวียตขนาดใหญ่โดยเยอรมันในแถบรอบเมืองเคียฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งการล้อมนี้ถือว่ายาวที่สุดในประวัติศาสตร์การรบ (จากจำนวนทหาร) ปฏิบัติการเริ่มต้นตั้งแต่ 7 สิงหาคม ถึง 26 กันยายน..

30 ความสัมพันธ์: บารีซอฟกองทัพแดงฝ่ายอักษะมอสโกยุทธการที่มอสโกรัฐบอลติกรถถังวัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์สหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียสงครามโลกครั้งที่สองอัลเฟรด โยเดิลอดอล์ฟ ฮิตเลอร์คอเคซัสคาบสมุทรไครเมียปฏิบัติการบาร์บารอสซาประเทศยูเครนนาซีเยอรมนีนีกีตา ครุชชอฟแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์แม่น้ำดอนแม่น้ำนีเปอร์แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)ไฮนซ์ กูเดเรียนเฟดอร์ ฟอน บอคเพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์เคียฟเซมิออน บูดิออนนืยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

บารีซอฟ

รีซอฟ (Бары́саў; Бори́сов, Borisov; Borysów; Borisovas) เป็นเมืองในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศ บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเบเรซีนา ในมินสก์โวบลาสต์ เป็นเมืองอุตสาหกรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงานในอุตสาหกรรม 31,019 คน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และบารีซอฟ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มอสโก

ทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และยุทธการที่มอสโก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบอลติก

รัฐบอลติก (Baltic states) เป็นชื่อรวมเรียกสามประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก คือลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ในระหว่างปี 1918-1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชปกครองตนเองแบบสาธารณรัฐระหว่าง..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และรัฐบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์

วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ (Walther von Brauchitsch) เป็นจอมพลเยอรมันและเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกเยอรมันในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเกิดในครอบครัวทหารและเริ่มเข้ารับราชการทหารในปี 1901 เขามีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยประจำแนวรบด้านตะวันตก หลังพรรคนาซีได้ครองอำนาจใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และวัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ชื่อย่อ: Ukrainian SSR) หรือ ยูเครน (Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ โซเวียตยูเครน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย (ข้อ 68 รัฐธรรมนูญแห่งยูเครนปี 1978) และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1919) และล่มสลายในปี 1991 แม้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจะเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในกิจการต่างประเทศ ซึ่งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทางการมอสโก ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยกา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1996.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โยเดิล

อัลเฟรด โยเซฟ เฟอร์ดินานด์ โยเดิล (Alfred Josef Ferdinand Jodl; 10 พฤษภาคม 1890 - 16 ตุลาคม 1946) เป็นนายพลเยอรมันซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของกองบัญชาการสูงสุดแห่งเวร์มัคท์ และเป็นอาชญากรสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้เซ็นสัญญาการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ ในปี 1945 หลังสงคราม โยเดิลมีความผิดในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการกระทำอาชญากรรมต่อสันติภาพ, การวางแผนการเริ่มต้นและขับเคี่ยวสงครามรุกราน, อาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก คำสั่งหลักของเขาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลายเซ็นของเขาที่มีต่อคำสั่งคอมมานโดและผู้บังคับการตำรวจ พบว่ามีความผิดจริง จึงถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1946 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2433 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2489 หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:อาชญากรสงครามชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หมวดหมู่:บุคคลในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และอัลเฟรด โยเดิล · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอเคซัส

คอเคซัส (อังกฤษ:Caucasus) เป็นเทือกเขาสูงขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยมียอดเขาเอลบรูสที่มีความสูง มียอดสูงสุดคือยอดเขาเอลบรุส สูง 9642 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้ชื่อว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปสูงกว่ายอดเขามองบลังค์แห่งเทือกเขาแอลป์ในประเทศฝรั่งเศส เทือกเขาคอเคซัสแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติแบ่งพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชียให้ปรากฎเด่นชัดในสังคมโลก จนทำให้เกิดปรากฏการณ์กลุ่มประเทศสองทวีปขึ้นมาบนโลกใบนี้ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาคอเคซัส ได้แก่ ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ยอดเขาเอลบรุส หมวดหมู่:ยุโรปตะวันออก หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และคอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไครเมีย

คาบสมุทรไครเมีย เป็นผืนดินขนาดใหญ่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำซึ่งแทบถูกน้ำล้อมรอบแทบทุกด้าน คาบสมุทรไครเมียตั้งอยู่ทางใต้ของแผ่นดินใหญ่ยูเครน และทางตะวันตกของเขตคูบันของรัสเซีย คาบสมุทรนี้ถูกสองทะเลล้อมรอบ คือ ทะเลดำและทะเลอะซอฟที่เล็กกว่าทางตะวันออก ติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ยูเครนโดยคอคอดเปเรกอฟ (Isthmus of Perekop) และแยกจากยูบันด้วยช่องแคบเคิร์ช (Strait of Kerch) สันดอนจะงอยอะราบัด (Arabat Spit) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแผ่นดินเล็ก ๆ ที่แยกระบบลากูนชื่อ ซิวัช (Sivash) จากทะเลอะซอฟ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ไครเมีย หมวดหมู่:คาบสมุทร.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และคาบสมุทรไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นีกีตา ครุชชอฟ

นีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ (Никита Сергеевич Хрущёв; Nikita Sergeyevich Khrushchev 17 เมษายน ค.ศ. 1894 - 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และนีกีตา ครุชชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์

ร์ล รูดอล์ฟ แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ (Karl Rudolf Gerd von Rundstedt; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 - 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight).

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดอน

แผนที่แสดงที่ตั้งของแม่น้ำดอน แม่น้ำดอน (Дон) เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในรัสเซีย มีต้นกำเนิดในเมืองโนโวมอสคอฟสค์ ห่างจากเมืองตูลาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 60 กิโลเมตร แม่น้ำดอนมีความยาวประมาณ 1,950 กิโลเมตร และไปสิ้นสุดที่ทะเลอะซอฟ ดอน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และแม่น้ำดอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำนีเปอร์

แม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper River ออกเสียง /ˈniːpər/) เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของยุโรปที่ยาวเป็นที่สี่ แม่น้ำนีเปอร์มีต้นสายจากธารน้ำแข็งที่เนินวัลไดในรัสเซีย ไหลผ่านประเทศรัสเซีย ประเทศเบลารุส และ ประเทศยูเครนไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนีเปอร์ในทะเลดำ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 2,290 กิโลเมตร -- 485 กิโลเมตรในรัสเซีย, 595 กิโลเมตรในเบลารุส และอีก 1,095 กิโลเมตรในยูเครน ครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมด 504000 ตารางกิโลเมตรที่ 289000 ตารางกิโลเมตรอยู่ในยูเครน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และแม่น้ำนีเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮนซ์ กูเดเรียน

นซ์ วิลเฮล์ม กูเดเรียน (Heinz Wilhelm Guderian) เป็นพลเอกแห่งกองทัพบกเยอรมันในสมัยนาซีเยอรมนี เขาโด่งดังจนได้รับการยกย่องจากคนทั้งโลกว่าเป็นบิดาแห่งยานเกราะ และมีสมญาว่า ไฮนซ์สายฟ้าแลบ (Schneller Heinz) จากการเป็นผู้คิดค้นยุทธวิธีสายฟ้าแลบ (บลิทซครีก) ที่ทำให้สามารถเข้ายึดโปแลนด์ได้สำเร็จและต่อมาก็ทำให้ฝรั่งเศสยอมจำนนต่อเยอรมันในการรุกที่แม่น้ำเมิซและเป็นผู้สร้างรถถังที่มีชื่อเสียง เช่น รถถังพันเทอร์, รถถังไทเกอร์ 2 เป็นต้น หน่วยของกูเดเรียนยอมจำนนต่อกองกำลังสหรัฐในวันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และไฮนซ์ กูเดเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เฟดอร์ ฟอน บอค

ฟดอร์ ฟอน บอค (Fedor von Bock) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาบัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือระหว่างการบุกครองโปแลนด์ในปี 1939 และบัญชาการกองทัพบกกลุ่มบีในยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี 1940 และต่อมาได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางในการโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 และได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มใต้ในปี 1942 ซึ่งเป็นตำแหน่งบัญชาการครั้งสุดท้าย บอคเกิดในเมืองคืชตริง (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ในครอบครัวทหารชาวปรัสเซีย บิดาเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ส่วนมารดาเป็นน้องสาวของเอริช ฟอน ฟัลเคินไฮย์ (Erich von Falkenhayn) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บอคเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารในกรุงเบอร์ลิน และต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความที่เกิดในครอบครัวทหารทำให้เขามีค่านิยมทหารมากกว่าคนอื่น ในสงครามครั้งนั้นเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นทหารที่องอาจถึงขนาดพร้อมตายเพื่อปิตุภูมิจนได้รับสมญาว่า พระเพลิงแห่งคืชตริง และได้รับเหรียญปัวร์เลอแมริทของจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1935 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แต่งตั้งบอคให้เป็นแม่ทัพใหญ่กองทัพบกกลุ่มที่สาม และเป็นหนึ่งในนายพลที่ไม่ถูกโยกย้ายเมื่อครั้งฮิตเลอร์ปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อสั่งสมแสนยานุภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ บอคเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์และมักจะไปเยี่ยมเยือนวังของอดีตไกเซอร์เสมอ บอคบัญชาการการบุกเวียนนาในปี 1938 และเมื่อเยอรมันผนวกออสเตรียแล้ว บอคก็บัญชาการการรุกรานเชโกสโลวาเกีย ฮิตเลอร์ไม่ค่อยชอบนิสัยการพูดจาตรงไปตรงมาขวานผ่าซากของบอค สิ่งที่ฮิตเลอร์ชอบในตัวบอคอย่างเดียวคือเขาเป็นผู้บัญชาการมือฉกาจที่ประสบความสำเร็จในการรบBattle of Russia, Battlefield: Battles that Won the Second World War—Series 2.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และเฟดอร์ ฟอน บอค · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์

ล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์ (Paul Ludwig Ewald von Kleist) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาบัญชาการกองพลพันเซอร์ที่ 1 ระหว่างปฏิบัติการบาร์บารอสซาในปี 1941 และบัญชาการเหล่าทัพ A (Army Group A) ในปฏิบัติการของเวร์มัคท์ปี 1942 ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และเพาล์ ลุดวิจ เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์ · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เซมิออน บูดิออนนืย

ซมิออน มิคาอิลโลวิช บูดิออนนืย (Семён Миха́йлович Будённый, Semyon Mikhailovich Budyonny, 25 เมษายน พ.ศ. 2426 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2516) เป็นทั้งแม่ทัพทหารม้ารัสเซียและจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง ในสงครามกลางเมืองรัสเซียกองทหารม้าขนาดใหญ่ของบูดิออนนืย เป็นส่วนช่วยให้พรรคบอลเชวิกได้รับชัยชนะ เขากลายเป็นเพื่อนของโจเซฟ สตาลินและได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และเซมิออน บูดิออนนืย · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่เคียฟ (1941)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »