โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุคคะมะกุระ

ดัชนี ยุคคะมะกุระ

มะกุระ หรือ อ่านแบบไทย คะมะกุระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคะมะกุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี..

38 ความสัมพันธ์: ชิกเก็งพ.ศ. 1728พ.ศ. 1876พระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอการฟื้นฟูเค็มมุกุบไล ข่านมินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะมินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะยุคเฮอังรัฐบาลโชกุนคะมะกุระราชวงศ์หยวนราชวงศ์ซ่งราชวงศ์โครยอสงครามเก็มเปอะชิกะงะ ทะกะอุจิจักรพรรดิโกะ-ซะงะจักรพรรดิโกะ-โทะบะจักรวรรดิมองโกลคามากูระคุซุโนะกิ มะซะชิเงะคุโจ โยะริสึงุคุโจ โยะริสึเนะตระกูลโฮโจตระกูลไทระนิตตะ โยะชิซะดะโฮโจ มะซะโกะโฮโจ โยชิโตกิโฮโจ โทกิมาซะโฮโจ โทะกิมุเนะโทโฮกุไทระ โนะ คิโยะโมะริเกาะคีวชูเจ้าชายมุเนะตะกะเคียวโตะเซ็สโซและคัมปะกุเซ็ปปุกุ

ชิกเก็ง

กเก็ง (執権 shikken) เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ซึ่งมีขึ้นตั้งแต..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและชิกเก็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1728

ทธศักราช 1728 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและพ.ศ. 1728 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1876

ทธศักราช 1876 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและพ.ศ. 1876 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอ

ระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอ (ค.ศ. 1236 - ค.ศ. 1308) เป็น ประมุของค์ที่25แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1274 - ค.ศ. 1298 และ ค.ศ. 1298 - ค.ศ. 1308) พระเจ้าชุงยอลประสูคิเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและพระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอ · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเค็มมุ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจปีเค็มมุ หรือ การฟื้นฟูเค็มมุ การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในช่วง..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและการฟื้นฟูเค็มมุ · ดูเพิ่มเติม »

กุบไล ข่าน

มเด็จพระจักรพรรดิกุบไล ข่าน หรือ จักรพรรดิซื่อจูหวางตี้ หรือ จักรพรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้ (23 กันยายน พ.ศ. 1758-1837 (ค.ศ. 1215-1294)) เป็นข่านหรือจักรพรรดิของมองโกล และยังเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หยวนแห่งประเทศจีน กุบไลข่านเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเจงกีส ข่าน พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมองโกลเมื่อ พ.ศ. 1803 (ค.ศ. 1260) และสถาปนาราชวงศ์หยวนเมื่อ พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1279) จักรวรรดิมองโกลที่เจงกีสข่านสร้างไว้ขึ้นถึงจุดสูงสุดในสมัยของกุบไล ข่าน เมื่อกุบไล ข่านสามารถเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน และยึดครองกรุงปักกิ่ง ปกครองประเทศจีน กุบไลข่านยังตีได้ดินแดนต้าหลี่ (Dali - ในมณฑลยูนนานในปัจจุบัน) และเกาหลี นอกจากนี้ยังได้พยายามยึดครองดินแดนนิฮง (ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน) และดินแดนหนานหยาง (ดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ) ประกอบด้วย พม่า, เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคสมัยของกุบไล ข่าน มีนักเดินทางชาวตะวันตกมากมายเดินทางมาถึงดินแดนจีนของกุบไล ข่าน นักเดินทางที่มีชื่อเสียงคือ มาร์โคโปโล.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและกุบไล ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ

มินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ (17 กันยายน 1192 - 13 กุมภาพันธ์ 1219) เป็นโชกุนลำดับที่ 3 และลำดับสุดท้ายของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ จากตระกูล มินะโมะโตะ เพราะหลังจากที่ซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหาร ตระกูลมินะโมะโตะ ก็ขาดผู้สืบสกุลจนขุนนางในรัฐบาลต้องไปเชิญเจ้าชายจากราชสำนักมาเป็นโชกุนอีก 6 คน.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและมินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ

"โยะชิสึเนะและเบ็งเกใต้ต้นซากุระ" โดย โยะชิโตะชิ สึคิโอะกะ ค.ศ. 1885 มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ (みなもとの よしつね Minamoto no Yoshitsune หรือ 源義経 Minamoto Yoshitsune ค.ศ. 1159 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1189) หรือ โยะชิสึเนะแห่งมินะโมะโตะ ผู้พันของกลุ่มนักรบมินะโมะโตะในญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างปลายยุคเฮอังถึงต้นยุคคะมะกุระ เขาเป็นหนึ่งในตำนานของผู้กล้าของญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีการกล่าวถึงในทางวรรณกรรม และทางภาพยนตร.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ

มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ หรือ โยะริอิเอะแห่งมินะโมะโตะ เป็นโชกุนคนที่สอง แห่งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ดำรงตำแหน่งโชกุนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและมินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ

มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ (みなもと の よりとも Minamoto no Yoritomo หรือ 源 頼朝 Minamoto Yoritomo) หรือ โยะริโตะโมะแห่งมินะโมะโตะ เป็นผู้ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และดำรงตำแหน่งโชกุนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ (鎌倉幕府 Kamakura bakufu) เป็นระบอบการปกครองโดยทหารในญี่ปุ่น อันมีประมุขของรัฐบาลคือโชกุน ตั้งแต..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โครยอ

ราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918 - ค.ศ. 1392) ก่อตั้งใน ค.ศ. 918 และรวบรวมสามแคว้นหลังได้ใน ค.ศ. 936 จนคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยชิลลา จนถูกโค่นล้มโดยลีซองเกใน ค.ศ. 1392 สมัยโครยอเป็นสมัยที่ลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครองบ้านเมือง และการยึดครองของมองโกลก็ทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี สมัยโครยอเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลี มีการพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ ไตรปิฏก โคเรียนะ เก็บไว้ที่วัดแฮอินซา Map of Goryeo คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ (โดยเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "โกเร" ที่หมายถึงอาณาจักรแห่งนี้ในความหมายของชาวอาหรับ) และ "เกาหลี" ในภาษาจีนกลางและภาษาไท.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเก็มเป

งครามเก็มเป เป็นสงครามอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ปลายยุคเฮอัง ของญี่ปุ่น จากสงครามครั้งนี้ทำให้ตระกูลไทระพ่ายแพ้และต้องสูญสิ้นอำนาจ ในขณะที่ตระกูลมินะโมะโตะก็เข้าครองอำนาจ และสถาปนารัฐบาลโชกุนคะมะกุระ อาจกล่าวได้ว่า สงครามครั้งนี้เป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคเฮอังและยุคคะมะกุร.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและสงครามเก็มเป · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (Ashikaga Takauji,足利尊氏) เป็น โชกุน คนแรกแห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะง.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและอะชิกะงะ ทะกะอุจิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-ซะงะ

ักรพรรดิโกะ-ซะงะ (Emperor Go-Saga; 後嵯峨天皇) (1 เมษายน ค.ศ. 1220 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1272) จักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 88 อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี รัชสมัยของพระองค์อยู่ใน..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและจักรพรรดิโกะ-ซะงะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-โทะบะ

มเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โทะบะ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 82 ของญี่ปุ่น ทรงครองราชย์เมื่อพระชนมายุยังน้อยและยังอยู่ในยุคที่บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นว.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและจักรพรรดิโกะ-โทะบะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

คามากูระ

"คามากูระ" อาจหมายถึง ยุคคะมะกุระ หรือ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ คามากูระ เป็นเมืองในจังหวัดคะนะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร จากโตเกียว มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 39.60 ตารางกิโลเมตร และในปี..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและคามากูระ · ดูเพิ่มเติม »

คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ

ซุโนะกิ มะซะชิเงะ (ค.ศ. 1294 ถึง ค.ศ. 1336) เป็นซะมุไรในช่วงต้นยุคมุโระมะชิ เป็นซะมุไรคนสำคัญซึ่งสู้รบอยู่ในฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ในสวนของพระราชวังอิมพีเรียลนครโตเกียว ชีวิตในวัยเยาว์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และความเป็นมาของตระกูลคุซุโนะกิ ไม่ได้รับการบันทึกไว้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เป็นซะมุไรระดับล่าง อาศัยอยู่ในแคว้นคะวะชิ (จังหวัดโอซะกะในปัจจุบัน) เมื่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ ในปีค.ศ. 1331 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ประกาศตนเข้ากับฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และสร้างกองกำลังอยู่ที่ป้อมอะกะซะกะ ในแคว้นคะวะชิ ซึ่งเจ้าชายโมะริโยะชิ พระโอรสของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จมายังป้อมอะกะซะกะเพื่อทรงร่วมนำทัพในการต่อต้านรัฐบาลโชกุน แต่ทว่าตระกูลโฮโจแห่งรัฐบาลโชกุนฯส่งกองทัพมาเข้าล้อมป้อมอะกะซะกะและสามารถยึดป้อมได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ นำเจ้าชายโมะริโยะชิเสด็จหนีออกจากป้อมอะกะซะกะ จากนั้นมะซะชิเงะรวบรวมกำลังได้อีกครั้งที่ป้อมชิฮะยะ ทัพของตระกูลโฮโจเข้าล้อมป้อมชิฮะยะแต่ไม่สำเร็จ เมื่อไม่สามารถปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะได้ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระจึงส่งอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ แต่ทว่าอะชิกะงะ ทะกะอุจิ แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และเข้ายึดนครหลวงเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพเข้ายึดเมืองคะมะกุระ ทำให้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระสิ้นสุดลง พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงฟื้นฟูการปกครองซึ่งมีราชสำนักเมืองเกียวโตเป็นศูนย์กลางขึ้นมาใหม่ เรียกว่า การฟื้นฟูเป็นเค็มมุ (Kemmu Restoration) และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และนิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตในค.ศ. 1335 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ สามารถขับไล่ทัพของอะชิกะงะออกไปได้ แต่ทว่าในปีต่อมาค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถรวบรวมกำลังพลขนาดใหญ่ทั้งทางน้ำและทางบกเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ถวายคำแนะนำแด่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ว่าควรจะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่เกินรับมือ แต่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและนิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต แม้จะทราบดีว่าการสู้รบในครั้งนี้มีโอกาสชนะน้อย แต่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังคงปฏิบัติตามพระราชโองการของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ยกทัพออกไปตั้งรับต่อกรกับอะชิกะงะ ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป เหลือเพียงคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เผชิญหน้ากับทัพขนาดใหญ่ของอะชิกะงะ ทะดะโยะชิ ( ) ซึ่งเป็นน้องชายของอะชิกะงะ ทะกะอุจิ เพื่อประสบกับความพ่ายแพ้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ จึงทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต หลังจากที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสียชีวิตไปแล้ว อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ บุตรชายของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะซึระ รับช่วงต่อหน้าที่การนำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ คุซุโนะกิ มะซะซึระ เสียชีวิตระหว่างสงครามในค.ศ. 1348 จากนั้นบุตรชายอีกคนของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะโนะริ ขึ้นเป็นผู้นำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ต่อมา นักวิชาการในยุคเมจิยกย่องเชิดชู คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ให้เป็นตัวอย่างของความจงรักภักดีต่อสถาบันพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ในยุคเมจิมีการสร้างอนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ขึ้นในพระราชวังอิมพีเรียลเมืองโตเกียว และคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังเป็นแบบอย่างให้แก่กองกำลังคะมิกะเซะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้ว.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

คุโจ โยะริสึงุ

ริสึงุ (Kujo Yoritsugu, 1782 - 1799, 1787 - 1795) โชกุนคนที่ 5 แห่ง รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 1787 - พ.ศ. 1795 คุโจ โยะริสึงุเกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 1782 ที่ คะมะกุระ เป็นบุตรชายของ คุโจ โยะริสึเนะ โชกุนคนที่ 4.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและคุโจ โยะริสึงุ · ดูเพิ่มเติม »

คุโจ โยะริสึเนะ

ริสึเนะ (Kujo Yoritsune) (12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1218 - 1 กันยายน ค.ศ. 1256) หรือ ฟุจิวะระ โยะริสึเนะ โชกุนคนที่ 4 ของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1226 - 1244 โชกุนโยะริสึเนะผู้นี้ถือว่าเป็นโชกุนคนแรกที่ไม่ได้มาจาก ตระกูลมินะโมะโต.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและคุโจ โยะริสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโฮโจ

ตระกูลโฮโจ (Hōjō Clan) เป็นตระกูล ซะมุไร ที่ทรงอิทธิพลในยุค คะมะกุระ เพราะผู้นำตระกูลคนแรกคือ โฮโจ โทะคิมะซะ เป็นพ่อตาของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ โชกุนคนแรกของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และเป็น ชิกเก็ง หรือ ผู้สำเร็จราชการ ในสมัยของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ โชกุนคนที่ 2 ผู้เป็นหลานชายคนโต ตระกูลโฮโจเริ่มมีบทบาทสำคัญเมื่อ โฮโจ โทะกิมะซะ ได้ช่วยชีวิต มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ จากการถูก ไล่ฆ่าพร้อมกับสนับสนุนโยะริโตะโมะให้ลุกขึ้นสู้กับ ตระกูลไทระ และยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย หลังจาก สงครามเก็มเป ปรากฏว่าตระกูลมินะโมะ โตะได้ชัยชนะและทรงอำนาจในแผ่นดินเหนือราชสำนัก จึงทำให้ตระกูลโฮโจมีอำนาจและอิทธิพลตามไปด้วย หลังจาก จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ เสด็จสวรรคตลง ในปี ค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะจึงได้รับพระราชทาน ตำแหน่ง เซไตโชกุน เป็นคนแรกจาก จักรพรรดิโกะ-โทะบะ ยิ่งทำให้ตระกูลโฮโจทรงอำนาจและอิทธิพล มากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1202 โยะริโตะโมะถึงแก่อสัญกรรม โยะริอิเอะ บุตรชายคนโตจึงขึ้นเป็นโชกุนสืบต่อมา แต่ในสมัยของโยะริอิเอะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่โทะคิมะซะ ผู้เป็นตาพร้อมกันนั้นยังบีบบังคับโชกุนโยะริอิเอะให้ตั้ง ตัวเองเป็น ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการทำให้โชกุน โยะริอิเอะไม่พอใจสละตำแหน่งให้ ซะเนะโตะโมะ ผู้ เป็นน้องชายหลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปีซึ่งหลังจาก สมัยของโชกุนโยะริอิเอะเป็นต้นไปอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ ชิกเก็งที่มาจากตระกูลโฮโจทั้งสิ้น ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงในปี ค.ศ. 1333 หลังจาก ตระกูลอะชิกะงะ ที่นำโดย อะชิกะงะ ทะกะอุจิ กระทำรัฐประหาร บุกเข้ายึด คะมะกุระ ทำให้ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงพร้อมกับตระกูลมินะโมะโต.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและตระกูลโฮโจ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลไทระ

ตราประจำตระกูลไทระ ตระกูลไทระ เป็นตระกูล ซะมุไร ที่ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจอิทธิพลมากที่สุดตระกูลหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ตระกูลไทระสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง พระนามว่า จักรพรรดิคันมู ในปี พ.ศ. 1368 ซึ่งตระกูลไทระนี้มีผู้ปกครองมาอีกหลายชั่วคนจนถึงยุคของ ไทระ โนะ คิโยะโมะริ ซึ่งปกครองตระกูลช่วงปี 1153-1183 ในยุคของคิโยะโมะริ สามารถผลักดันชน ชั้นซะมุไรให้ขึ้นปกครองญี่ปุ่นและมีอำนาจเหนือราชสำนักและพระจักรพรรดิได้สำเร็จ แต่หลังจากที่คิโยะโมะริถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 1726 เขาก็ได้ทิ้งภาระการปกครองให้กับ ไทระ โนะ มุเนะโมะริ บุตรชายผู้ไร้ความสามารถให้ผจญกับกองทัพของ ตระกูลมินะโมะโตะ ซึ่งนำโดย มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ บุตรชายของโยะชิโตะโมะผู้เป็นทั้งศัตรูและเพื่อนรักของคิโยะโมะริ ใน ยุทธการเกนเปย์ ปรากฏว่าตระกูลไทระเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และล่มสลายลงในปี พ.ศ. 1728 เพียง 2 ปีหลังการอสัญกรรมของคิโยะ โมะริ หลังจากยุทธการเกนเปย์แล้ว โยะริโตะโมะก็ได้เป็น โชกุนคนแรกของญี่ปุ่น หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ตระกูลไทระ หมวดหมู่:ตระกูลญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและตระกูลไทระ · ดูเพิ่มเติม »

นิตตะ โยะชิซะดะ

นิตตะ โยะชิซะดะ ( ค.ศ. 1300 ถึง ค.ศ. 1338) ซะมุไรซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคคะมะกุระและต้นยุคมุโระมะชิ เป็นผู้ล้มล้างรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นโกะเกะนิง ( ) หรือซะมุไรผู้ปกครองผืนดินอยู่ที่เมืองนิตตะ (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองโอตะ จังหวัดกุมมะ) ในแคว้นโคซุเกะ ตระกูลนิตตะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเซวะเง็งจิ ( ) เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอะชิกะงะ ในค.ศ. 1333 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนเมืองคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ เรียกว่า สงครามปีเก็งโก ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ( ) ยึดเมืองเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะนั้น นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพจากแคว้นโคซุเกะทางไปทางใต้เพื่อเข้ายึดเมืองคะมะกุระ หลังจากที่มีชัยชนะเหนือทัพของรัฐบาลโชกุนในยุทธการที่บุบะอิงะวะระ (เขตฟุชู เมืองโตเกียวในปัจจุบัน) นิตตะ โยะชิซะดะจึงยกทัพเข้าประชิดเมืองคะมะกุระ แต่ทว่าชัยภูมิของเมืองคะมะกุระมีภูเขาล้อมรอบสามด้าน การโจมตีเมืองคะมะกุระนั้นต้องผ่านทางทะเลผ่านแหลมอินะมุระงะซะกิ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงทำพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งทะเล โดยการโยนดาบลงไปในทะเล หลังจากเสร็จสิ้นพิธีคลื่นทะเลกลับเปลี่ยนทิศไปในทางที่ส่งเสริมทัพของโยะชิซะดะ โยะชิซะดะจึงสามารถยึดเมืองคะมะกุระได้ ผู้สำเร็จราชการคนสุดท้ายคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับขุนนางซะมุไรทั้งหลายในรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ ทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าแห่งทะเล ที่แหลมอินะมุระงะซะกิ หลังจากการล่มสลายของรัฐบาลคะมะกุระ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะทรงก่อตั้งการปกครองขึ้นมาใหม่โดยมีอำนาจและศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักเมืองเกียวโต ดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร เรียกว่า การฟื้นฟูปีเค็มมุ (Kemmu Restoration) สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่นิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ โดยที่นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นคู่แข่งคนสำคัญของอะชิกะงะทะกะอุจิ นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพไปปราบอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ที่เมืองคะมะกุระแต่พ่ายแพ้ ทำให้อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ป้องกันเมืองเกียวโตได้สำเร็จทำให้ทะกะอุจิต้องถอยร่นไป ในค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาอีกครั้งเป็นทัพขนาดใหญ่ทั้งทางบกและทางทะเลเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสนอว่าควรจะให้จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่ แต่นิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป ส่งผลให้ทัพของฝ่ายพระจักรพรรดิพ่ายแพ้ต่อทัพของอะชิกะงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดนครเกียวโตได้ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงนำองค์จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จหลบหนีไปยังวัดเขาฮิเอ ชานเมืองเกียวโต และเสด็จหนีต่อไปยังเมืองโยะชิโนะ (จังหวัดนะระในปัจจุบัน) เพื่อก่อตั้งราชสำนักขึ้นมาใหม่ที่นั่น กลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ก็ตั้งองค์จักรพรรดิขึ้นใหม่อีกองค์ที่เมืองเกียวโต ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคราชวงศ์เหนือใต้ ในค.ศ. 1337 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะมีพระราชโองการให้นิตตะ โยะชิซะดะ นำพระโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายทะกะนะกะ และเจ้าชายซึเนะนะกะ เสด็จไปยังแคว้นเอะชิเซ็ง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ทางตะวันออกอันห่างไกลเพื่อสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ แต่ทว่าทัพของรัฐบาลโชกุนใหม่ยกทัพติดตามมา ทำให้นิตตะ โยะชิซะดะ และเจ้าชายทั้งสองถูกทัพของรัฐบาลโชกุนฯห้อมล้อมอยู่ที่ป้อมคะเนะงะซะกิ ต่อมาป้อมคะเนะงะซะกิแตกทัพของรัฐบาลโชกุนฯสามารถเข้ายึดป้อมได้ นิตตะ โยะชิอะกิ บุตรชายคนโตของโยะชิซะดะ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต เจ้าชายทั้งสองพระองค์ถูกปลงพระชนม์ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะนั้น หลบหนีออกไปได้ ในค.ศ. 1338 โยะชิซะดะรวบรวมกำลังเข้าโจมตีป้อมคุโระมะรุ ซึ่งเป็นป้อมของรัฐบาลโชกุนฯ ในขณะการสู้รบที่ป้อมคุโระมะรุ ม้าของโยะชิซะดะต้องธนูและล้มทับร่างของโยะชิซะดะทำให้ไม่สามารถขยับได้ เมื่อเห็นว่าตนเองกำลังพ่ายแพ้ ตามวรรณกรรมเรื่อง "ไทเฮกิ" นิตตะ โยะชิซะดะ ได้ใช้ดาบตัดศีรษะของตนเอง จนถึงแก่ความตายในที่สุด หลังจากที่นิตตะ โยะชิซะดะ เสียชีวิตไปแล้ว บุตรหลานที่ยังคงมีชีวิตรอดของโยะชิซะดะ เปลี่ยนชื่อสกุลจากนิตตะเป็น อิวะมะซึ และกลับไปครองเมืองนิตตะที่แคว้นโคซุเกะตามเดิมไปตลอดจนถึงยุคเอ.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและนิตตะ โยะชิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ มะซะโกะ

ภาพวาดของมะซะโกะในขณะบวชเป็นแม่ชี โฮโจ มะซะโกะ (1699 – 16 สิงหาคม 1768) มิได คนแรกอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเป็นภริยาของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ปฐมโชกุนแห่ง รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และเป็นมารดาของโชกุนคนที่ 2 และคนที่ 3 คือ มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ และ มินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:บุคคลในยุคคะมะกุระ หมวดหมู่:ตระกูลโฮโจ หมวดหมู่:ตระกูลมินะโมะโตะ.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและโฮโจ มะซะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ โยชิโตกิ

ตกิ (ค.ศ. 1163 – 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1224) ผู้นำตระกูล โฮโจ คนที่ 2 และ ชิกเก็ง (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) คนที่ 2 แห่ง รัฐบาลโชกุนคามากูระ ดำรงตำแหน่งเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและโฮโจ โยชิโตกิ · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ โทกิมาซะ

ทกิมาซะ (Hojo Tokimasa 1138 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1215) เป็น ซามูไร คนสำคัญใน รัฐบาลโชกุนคามากูระ เพราะเขาคือ ชิกเก็ง หรือ ผู้สำเร็จราชการ คนแรก.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและโฮโจ โทกิมาซะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ โทะกิมุเนะ

ทะกิมุเนะ ประมุขของตระกูลโฮโจ และเป็นชิกเก็ง คนที่ 8 ของรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ซึ่งโดยพฤตินัยเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของญี่ปุ่น โทะกิมุเนะปกครองญี่ปุ่นในช่วงที่ญี่ปุ่นถูกรุกรานจากมองโกล.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและโฮโจ โทะกิมุเนะ · ดูเพิ่มเติม »

โทโฮกุ

ทโฮกุ แปลตรงตัวว่า "ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็นอนุภูมิภาคของญี่ปุ่น ดินแดนที่ครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสี่ทางเหนือของเกาะฮนชู มีชื่อเดิมว่า "มิชิโนะกุ" แปลว่าถนนภายในหรือถนนสายแคบ เนื่องจากในอดีตนั้นยากต่อการเข้าถึง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาขรุขระ และฤดูหนาวอันโหดร้าย โทโฮกุเป็นดินแดนที่ยังคงธรรมชาติอันสวยงาม และเป็นแหล่งของน้ำพุร้อนจำนวนนับไม่ถ้วน นอกจากนั้น โทโฮกุยังเป็นดินแดนแห่งตำนานเรื่องเล่าขานมากมาย และเป็นแห่งสุดท้ายที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตขนบประเพณีญี่ปุ่นโบราณอยู่ รวมถึงหัตถกรรมพื้นเมืองที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ภายใต้ความเจริญและอารยธรรมสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามา อนุภูมิอากาศในโทโฮกุ ถูกแบ่งโดยเทือกเขาที่เป็นแนวยาวจากเหนือลงมาเป็นสองด้าน คือทางด้านฝั่งทะเลญี่ปุ่น จะมีอากาศหนาวเย็น หิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีอากาศอบอุ่นกว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบโทโฮกุ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน ลดลงจากปี..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและโทโฮกุ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ คิโยะโมะริ

ทระ โนะ คิโยะโมะริ (ญี่ปุ่น: たいら の きよもり Taira no Kiyomori หรือ 平清盛 Taira Kiyomori ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1181) หรือ คิโยะโมะริแห่งไทระ ซะมุไรซึ่งเรืองอำนาจขึ้นปกครองญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเฮอังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถือเป็นชนชั้นซะมุไรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นปกครองประเท.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและไทระ โนะ คิโยะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะคีวชู

ีวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35,640 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 14,779,000 คน (ปี 2003) ชื่อคีวชูหมายถึง เก้าแคว้น.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและเกาะคีวชู · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมุเนะตะกะ

้าชายมุเนะตะกะ (Imperial Prince Munetaka) โชกุนลำดับที่ 6 แห่งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและเจ้าชายมุเนะตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

เคียวโตะ

ียวโตะ หรือ เกียวโต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและเคียวโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็ปปุกุ

ีกรรมฮาราคีรี เซ็ปปุกุ หรือ ฮาราคีรี เป็นการฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้อง ในยุคซามูไร ของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้มีดสั้นแทงที่หน้าท้องใต้เอวขวา แล้วกรีดมาทางซ้ายแล้ว ดึงมีดขึ้นข้างบน ซึ่งเป็นการเปิดเยื่อบุช่องท้องแล้วตัดลำไส้ให้ขาด หลังจากนั้นซามูไรอีกคนหนึ่งจะใช้ดาบซามูไรตัดศีรษะจนขาด การตายด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ทำเซ็ปปุกุทำตามหลักศาสนาชินโตที่จารึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิ เพราะแสดงความกล้าหาญและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบังคับจิตใจของตนเอง การคว้านท้องถูกนำมาใช้โดยสมัครใจที่จะตายกับซามูไรที่มีเกียรติแทนที่จะตกอยู่ในมือของศัตรูของพวกเขา (และน่าจะถูกทรมาน) เป็นรูปแบบของโทษประหารชีวิตสำหรับซามูไรที่มีการกระทำผิดร้ายแรงหรือดำเนินการ เหตุผลอื่น ๆ ที่ได้นำความอัปยศแก่พวกเขา การฆ่าตัวตายโดยการจำยอมจึงถือเป็นพิธีซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมซับซ้อนมากขึ้นและการดำเนินการในฐานะที่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจในการต้องการในการรักษาเกียรติของพวกเขาจึงควรมีผู้คนมาชมขณะทำเซ็ปปุกุด้วย ในญี่ปุ่น คำว่า "ฮาราคีรี" ถือเป็นคำหยาบและไม่เคารพต่อผู้กระทำเซ็ปปุกุ และการเขียนตัวอักษรคันจิของสองคำนี้เขียนเหมือนกันโดยสลับตัวอักษรหน้าหลัง.

ใหม่!!: ยุคคะมะกุระและเซ็ปปุกุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุคคามากุระยุคคามาคุระสมัยคะมะกุระ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »