โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ้าชายมุขนายก

ดัชนี เจ้าชายมุขนายก

ันน์ ออทโท ฟอน เกมมิงเงิน เจ้าชายบิชอปแห่งเอาก์สบูร์กในบาวาเรีย เจ้าชายมุขนายก (Prince-Bishop) เป็นมุขนายกที่มีศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักรโดยมีราชรัฐในปกครองอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ทำให้เขตปกครองของพระองค์ทั้งราชรัฐและมุขมณฑลมีลักษณะทับซ้อนกันในพื้นที่เดียว กรณีที่เป็นอัครมุขนายกปกครองราชรัฐก็เรียกว่า เจ้าชายอัครมุขนายก ถ้าเป็นนักพรตปกครองราชรัฐเรียกว่าเจ้าชายอธิการอาราม (prince-abbot) ในยุโรปตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิโรมันเริ่มสูญเสียพระราชอำนาจเพราะถูกคุกคามจากพวกอนารยชน ดังนั้นมุขนายกซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายคริสตจักรจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอาณาจักรแทน บางครั้งก็ถึงกับต้องนำทัพเองด้วยถ้าจำเป็น ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ จักรพรรดิก็นิยมแต่งตั้งหรือพระราชทานสิทธิและหน้าที่พิเศษให้มุขนายกบางองค์ปกครองรัฐในมุขมณฑลของตนได้ ซึ่งถือเป็นแนวพัฒนาการของลัทธิจักรพรรดิสันตะปาปานิยมที่จะให้คริสตจักรตะวันออกมาทำงานให้กับจักรวรรดิด้วย เช่น มีอัครบิดรสากลที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาให้กับองค์จักรพรรดิ จักรวรรดิรัสเซียมีการดำเนินการยิ่งกว่านี้อีก กล่าวคือยุบตำแหน่งอัครบิดรแล้วให้คริสตจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของฝ่ายอาณาจักร คำว่า ฮอคชติฟท์ ในภาษาเยอรมันก็หมายถึงอำนาจหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรที่มุขนายกสามารถว่าการปกครองราชรัฐของตนได้ ถ้าเป็นของอัครมุขนายก เรียกว่า แอร์ซชติฟท.

13 ความสัมพันธ์: มุขมณฑลมุขนายกราชรัฐศาสนาคริสต์ตะวันออกอัครบิดรอัครมุขนายกอาณาจักรอนารยชนจักรพรรดิสันตะปาปานิยมจักรพรรดิโรมันคริสตจักรคริสต์ศตวรรษที่ 4นักพรต

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดร

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและอัครบิดร · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อนารยชน

นักรบเจอร์มานิค” โดย ฟิลิปป์ คลือเวอร์ (Philipp Clüver) ใน “Germania Antiqua” (ค.ศ.1616) อนารยชน (barbarian) เป็นคำที่มีความหมายในทางเหยียดหยามสำหรับผู้ที่ถือกันว่าไม่มีวัฒนธรรมที่อาจจะเป็นการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงกลุ่มชนในชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงกลุ่มชนที่มีลักษณะเป็นเผ่าพันธ์ (tribal society) จากมุมมองของวัฒนธรรมเมืองที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าหรือชื่นชมว่าเป็นคนเถื่อนใจธรรม (noble savage) เมื่อใช้เป็นสำนวน “อนารยชน” ก็อาจจะหมายถึงผู้ที่เป็นคนทารุณ, โหดร้าย, นิยมสงคราม และไร้ความรู้สึกต่อผู้อื่น การใช้คำว่า “อนารยชน” มาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมันแต่คำทำนองเดียวกันก็พบในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้ว.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและอนารยชน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิสันตะปาปานิยม

ักรพรรดิสันตะปาปานิยม (Caesaropapism) คือแนวคิดที่ต้องการรวมอำนาจฝ่ายอาณาจักรให้เข้ากับ (หรือเหนือกว่า) อำนาจฝ่ายศาสนจักร โดยเฉพาะในแบบของการเชื่อมคริสตจักรกับฝ่ายรัฐบาล “จักรพรรดิสันตะปาปานิยม” เป็นระบบการปกครองที่ตรงกันข้ามกับ “เทวาธิปไตย” ที่หมายถึงระบบการปกครองทางโลกและทางศาสนาที่มีนักบวชถืออำนาจเป็นประมุข ประเทศที่ใช้ระบบจักรพรรดิสันตะปาปานิยมในปัจจุบันก็ได้แก่สหราชอาณาจักรที่พระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นทั้งประมุขทางการปกครองบ้านเมืองและเป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและจักรพรรดิสันตะปาปานิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 4

ริสต์ศตวรรษที่ 4 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 301 ถึง ค.ศ. 400.

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและคริสต์ศตวรรษที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: เจ้าชายมุขนายกและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Prince bishopPrince bishopricPrince-BishopPrince-Bishopricมุขนายกผู้ครองนครราชรัฐมุขนายกสมเด็จพระสังฆราช (คริสต์ศาสนา)อาณาจักรสมเด็จสังฆราชอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราชเจ้าบิชอปเขตมุขนายกผู้ครองนคร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »