เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มะเร็งตับ

ดัชนี มะเร็งตับ

มะเร็งตับ คือมะเร็งที่อยู่ในตับ อาจหมายถึง.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: การแพร่กระจายมะเร็งมะเร็งรังไข่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งท่อน้ำดีมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งปอดมะเร็งเต้านมมะเร็งเซลล์ตับตับ

  2. วิทยาตับ
  3. โรคตับ

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจาย (metastasis) คือการที่มะเร็งได้แพร่ออกมาจากอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเดิม ไปยังอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอื่น ที่ไม่ได้อยู่ติดกันกับส่วนเดิม หมวดหมู่:วิทยามะเร็ง.

ดู มะเร็งตับและการแพร่กระจาย

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ดู มะเร็งตับและมะเร็ง

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่ แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งรังไข่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี หรือ โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก มะเร็งอื่นๆ ในทางเดินน้ำดีมีเช่นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์เป็นต้น มะเร็งท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งชนิดต่อมอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างพบน้อยโดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 1-2 รายต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก และในช่วงหลายสิบปีมานี้อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อนำดีทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น อาการเด่นของมะเร็งท่อน้ำดีคือการมีผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันทั่วไป มีไข้ สีของอุจจาระและปัสสาวะเปลี่ยนไป โรคนี้วินิจฉัยโดยอาศัยผลตรวจเลือด ผลตรวจภาพรังสี ผลการส่องกล้อง และบางครั้งอาจต้องอาศัยการผ่าตัดเปิดสำรวจ มะเร็งท่อน้ำดีมักปรากฏอาการในระยะท้ายๆ ของโรคซึ่งทำให้เป็นการจำกัดทางเลือกในการรักษา ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ความผิดปกติแต่กำเนิดของตับ การติดเชื้อพยาธิในตับอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchis viverrini หรือ Clonorchis sinensis การสัมผัสสารทึบรังสีบางชนิดเช่น Thorotrast เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่ไม่ปรากฏปัจจัยเสี่ยงชัดเจน มะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษาหากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดหลังการผ่าตัดสำเร็จด้วย งานวิจัยทางการแพทย์บางสายพยายามใช้วิธีการใหม่ๆ ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี วิธีการเหล่านี้เช่น การรักษาด้วยยาแบบ targeted therapy (เช่น ยา erlotinib) หรือ photodynamic therapy รวมทั้งมีการวิจัยหาทางวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจวัดระดับของผลผลิตจากเซลล์สโตรมัลของมะเร็ง.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่โตช้า แต่ในบางรายก็มีความรุนแรงได้มาก เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ในช่วงแรกเริ่มอาจไม่มีอาการ แต่ในช่วงหลังๆ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:จุลพยาธิวิทยา.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ดู มะเร็งตับและมะเร็งปอด

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งเต้านม

มะเร็งเซลล์ตับ

มะเร็งเซลล์ตับ หรือ เฮปาโตเซลลูลาร์ คาร์ซิโนมา (hepatocellular carcinoma - HCC) เป็นมะเร็งที่กำเนิดขึ้นในตับ มะเร็งเซลล์ตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 จากการเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยอยู่กว่า 500,000 คน อุบัติการณ์ของมะเร็งเซลล์ตับพบมากในเอเชียและแอฟริกาซึ่งมีการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบีและซีอยู่มาก โรคตับอักเสบจากไวรัสนี้มีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดโรคตับเรื้อรังและนำไปสู่มะเร็งเซลล์ตับในที่สุด อาการที่นำผู้ป่วยมะเร็งเซลล์ตับมาพบแพทย์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรคด้วยอาการปวดท้องด้านบนขวา น้ำหนักลด และมีอาการแสดงของโรคตับที่เป็นมากเกินกว่าร่างกายจะชดเชยได้ ปัจจุบันมะเร็งเซลล์ตับได้รับการตรวจพบในระยะแรกๆ มากขึ้นเนื่องจากการตรวจคัดกรองที่ทำเป็นประจำในผู้ป่วยตับแข็งโดยใช้ภาพถ่ายรังสีส่วนตัดและการตรวจด้วยระดับอัลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลดีจากการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกแม้จะชั่วคราว ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้เนื่องจากเมื่อตรวจพบโรคก็ลุกลามไปมากแล้ว หรือจากความรุนแรงของโรคตับเองซึ่งควรจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ โดยรวมทั่วโลกมีผู้ป่วยเพียงจำนวนน้อยที่สามารถเข้าถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ แม้แต่ในประเทศพัฒนาแล้วก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องความขาดแคลนอวัยวะ ในผู้ป่วยเหล่านี้การรักษาแบบทำลายชิ้นเนื้อเฉพาะที่เช่นการรักษาด้วยการทำลายชิ้นเนื้อด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency ablation) การอุดหลอดเลือดด้วยยา (chemoembolization) และยาเคมีบำบัดชนิดใหม่ๆ อาจช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยในลักษณะของการรักษาประทังได้.

ดู มะเร็งตับและมะเร็งเซลล์ตับ

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ดู มะเร็งตับและตับ

ดูเพิ่มเติม

วิทยาตับ

โรคตับ