โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเร็งท่อน้ำดี

ดัชนี มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี หรือ โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก มะเร็งอื่นๆ ในทางเดินน้ำดีมีเช่นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์เป็นต้น มะเร็งท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งชนิดต่อมอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างพบน้อยโดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 1-2 รายต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก และในช่วงหลายสิบปีมานี้อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อนำดีทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น อาการเด่นของมะเร็งท่อน้ำดีคือการมีผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันทั่วไป มีไข้ สีของอุจจาระและปัสสาวะเปลี่ยนไป โรคนี้วินิจฉัยโดยอาศัยผลตรวจเลือด ผลตรวจภาพรังสี ผลการส่องกล้อง และบางครั้งอาจต้องอาศัยการผ่าตัดเปิดสำรวจ มะเร็งท่อน้ำดีมักปรากฏอาการในระยะท้ายๆ ของโรคซึ่งทำให้เป็นการจำกัดทางเลือกในการรักษา ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ความผิดปกติแต่กำเนิดของตับ การติดเชื้อพยาธิในตับอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchis viverrini หรือ Clonorchis sinensis การสัมผัสสารทึบรังสีบางชนิดเช่น Thorotrast เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่ไม่ปรากฏปัจจัยเสี่ยงชัดเจน มะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษาหากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดหลังการผ่าตัดสำเร็จด้วย งานวิจัยทางการแพทย์บางสายพยายามใช้วิธีการใหม่ๆ ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี วิธีการเหล่านี้เช่น การรักษาด้วยยาแบบ targeted therapy (เช่น ยา erlotinib) หรือ photodynamic therapy รวมทั้งมีการวิจัยหาทางวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจวัดระดับของผลผลิตจากเซลล์สโตรมัลของมะเร็ง.

56 ความสัมพันธ์: บิลิรูบินพยากรณ์โรคพยาธิใบไม้ในตับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การบริบาลบรรเทาการชันสูตรพลิกศพการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์การรักษาแบบมุ่งเป้าการหมักดองการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการตรวจการทำงานของตับการตัดเนื้อออกตรวจการแพร่กระจายการเจริญเกินมหาวิทยาลัยขอนแก่นมะเร็งมะเร็งชนิดต่อมมะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งตับอ่อนมิญชวิทยาลำไส้เล็กวิทยาทางเดินอาหารศัลยศาสตร์หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับอัลคาไลน์ ฟอสฟาเตสอุบัติการณ์อุจจาระถุงน้ำของท่อร่วมน้ำดีท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิดีซ่านความชุกของโรคความไวและความจำเพาะคันคาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจนตับซิสพลาตินประเทศญี่ปุ่นประเทศมาเลเซียประเทศลาวประเทศไทยประเทศเวียดนามปลาร้าปลาส้มปวดท้องปัสสาวะน้ำหนักลดน้ำดีแกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรสโรคตับจากแอลกอฮอล์โรคตับแข็ง...ไวรัสตับอักเสบบีไวรัสตับอักเสบซีไข้เกาหลีเอชไอวีเคมีบำบัด ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

บิลิรูบิน

ลิรูบิน (bilirubin) หรือเดิมเคยถูกเรียกว่าฮีมาตอยดิน (hematoidin) เป็นสารสีเหลืองที่เป็นผลผลิตของการย่อยสลายฮีมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเฮโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง บิลิรูบินถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดีและปัสสาวะ การมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้นอาจบ่งบอกถึงโรคบางอย่าง สารนี้เป็นสารที่ทำให้แผลฟกช้ำ ปัสสาวะ และผิวหนังของผู้ที่มีภาวะดีซ่านเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ยังพบได้ในพืชด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและบิลิรูบิน · ดูเพิ่มเติม »

พยากรณ์โรค

พยากรณ์โรค (prognosis) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงการอธิบายผลที่น่าจะเกิดขึ้นของโรค มีความแม่นยำมากเมื่อใช้กับประชากรขนาดใหญ่ เช่นอาจกล่าวว่า "ผู้ป่วยช็อคเหตุติดเชื้อ 45% จะเสียชีวิตใน 28 วัน" ได้โดยมั่นใจ เพราะงานวิจัยได้ศึกษามาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนเท่านี้เสียชีวิตจริง อย่างไรก็ดีเป็นการยากกว่ามากที่จะนำพยากรณ์โรคเช่นนี้มาใช้กับผู้ป่วยคนหนึ่งๆ โดยยังต้องการข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เพื่อจะหาว่าผู้ป่วยรายนี้อยู่ในกลุ่ม 45% ที่จะเสียชีวิต หรือ 55% ที่จะรอดชีวิต พยากรณ์โรคที่สมบูรณ์นั้นควรประกอบไปด้วยเวลา ความสามารถในการประกอบกิจวัตร และรายละเอียดของการดำเนินโรค เช่น แย่ลงเรื่อยๆ มีอาการรุุนแรงเป็นครั้งๆ หรือมีอาการรุนแรงเฉียบพลันไม่สามารถพยากรณ์ได้ เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและพยากรณ์โรค · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิใบไม้ในตับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใบไม้ตับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian liver fluke ชื่อวิทยาศาสตร์:Opisthorchis viverrini) เป็นปรสิตพยาธิใบไม้จากสกุล Opisthorchiidae ที่มีผลต่อบริเวณท่อน้ำดี การติดเชื้อมักเกิดจากการทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุก.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ในตับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

การบริบาลบรรเทา

การรักษาบรรเทา, การบริบาลประทัง (palliative treatment, palliative care) หรือนิยมเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง คือการให้การดูแลรักษาแบบใดๆ ทางการแพทย์ ที่เน้นไปที่การลดความรุนแรงของอาการของโรค มากกว่าจะหยุด ชะลอ หรือย้อนกระบวนการของโรค หรือรักษาให้หายจากโรค เป้าหมายของการรักษาแบบนี้คือเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงหรือซับซ้อนมาก การรักษาบรรเทานี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยว่าดีหรือแย่เพียงใด และสามารถให้พร้อมกันกับการรักษาเพื่อให้หายและการรักษาอื่นๆ ทั้งหลายได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างการรักษาบรรเทากับการรักษาระยะสุดท้าย (hospice care) ซึ่งเป็นการให้การรักษาบรรเทากับผู้ป่วยระยะสุดท้าย การรักษาทั้งสองแบบในสหรัฐอเมริกามีหลักการบางอย่างร่วมกันแต่มีแหล่งเงินสนับสนุนคนละแหล่งกัน.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการบริบาลบรรเทา · ดูเพิ่มเติม »

การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า "ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า "เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย"มาตรา 148 การชันสูตรพลิกศพ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ร..ต.อ หญิง นัยนา เกิดวิชัย, สำนักพิมพ์นิตินัย, 2550 อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการชันสูตรพลิกศพ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวด์ (ultrasonography) หมายถึง คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounographyคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นม.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การรักษาแบบมุ่งเป้า

การรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นวิธีการรักษาด้วยยาอย่างหนึ่งโดยใช้ยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย (targeted molecule) ที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์มะเร็ง แทนที่จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วอย่างเคมีบำบัดทั่วไป ทางทฤษฎีแล้วการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า น่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าและเป็นอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่าการรักษาในปัจจุบัน แม้ในภาษาอังกฤษการใช้คำนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยบางครั้งมีการกล่าวว่าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้นั้นยังมีความจำเพาะไม่มากพอ คำ targeted therapy นี้หลายครั้งก็ยังถูกใส่เครื่องหมายคำพูดเอาไว้ (เช่น ใช้เป็น "targeted therapy" หรือ 'targeted therapy').

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการรักษาแบบมุ่งเป้า · ดูเพิ่มเติม »

การหมักดอง

การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิร.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการหมักดอง · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

รื่องตรวจ CT Scan แบบ 2 ชั้น ภาพจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ (X-ray computed tomography) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อสร้างภาพตัดขวาง (เหมือนกับว่า'ถูกหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ') เฉพาะจุดของวัตถุที่ทำการสแกน, ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภายในโดยไม่ต้องผ่าตั.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจการทำงานของตับ

การตรวจการทำงานของตับ (Liver function tests (LFTs หรือ LFs)) คือ กลุ่มของการตรวจทางเคมีคลินิกในเลือดภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะของตับของผู้ป่วย ค่าพารามิเตอร์ที่วัดรวมถึง PT / INR, aPTT, อัลบูมิน (albumin), บิลลิรูบิน (billirubin) และอื่น ๆ แต่บางการทดสอบ เช่น transaminases ของตับ (AST / ALT หรือ SGOT / SGPT) ไม่ถือว่าเป็นการทดสอบการทำงานของตับ แต่เป็น biomarkers สำหรับบ่งบอกการบาดเจ็บของตับในผู้ป่วยซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ โรคตับโดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่การตรวจพบโรคนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากนักเทคนิคการแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์จากพลาสมาหรือซีรัมของผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์โดยการเจาะเลือด บางการทดสอบจะเกี่ยวกับข้องกับการทำงานของตับ เช่น อัลบูมิน บางการทดสอบจะเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเซลล์ เช่น transaminase และบางการทดสอบจะเชื่อมโยงกับระบบทางเดินน้ำดี เช่น Gamma - Glutamyl transferase และ alkaline phosphatase การทดสอบทางชีวเคมีต่างๆ มีประโยชน์ในการประเมินผลและการจัดการกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ การทดสอบเหล่านี้สามารถนำไปใช้ (1) ตรวจสอบสถานะของโรคตับ, (2) แยกความแตกต่างระหว่างชนิดของความผิดปกติของตับ (3) วัดขอบเขตของความเสียหายของตับ และ (4) ติดตามการตอบสนองต่อการรักษ.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการตรวจการทำงานของตับ · ดูเพิ่มเติม »

การตัดเนื้อออกตรวจ

การตัดเนื้อสมองออกตรวจ การตัดเนื้อออกตรว.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการตัดเนื้อออกตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจาย (metastasis) คือการที่มะเร็งได้แพร่ออกมาจากอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเดิม ไปยังอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอื่น ที่ไม่ได้อยู่ติดกันกับส่วนเดิม หมวดหมู่:วิทยามะเร็ง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญเกิน

การเจริญเกิน (hyperplasia) เป็นคำทั่วไปหลายถึงการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่มากกว่าปกติ การเจริญเกินอาจทำให้เกิดการเพิ่มขนาดของอวัยวะได้และบางครั้งก็ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกันกับ benign neoplasia หรือ benign tumor (เนื้องอกชนิดไม่ร้าย) การเจริญเกินเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่อาจกลายเป็นเนื้องอกได้ที่พบบ่อย ในระดับย่อยๆ นั้นเซลล์แต่ละเซลล์จะมีลักษณะปกติเพียงแต่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น บางครั้งเซลล์อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ (hypertrofia) การเจริญเกินนั้นแตกต่างจากการโตเกิน (hypertrophy) ตรงที่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในการโตเกินนั้นจะทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่การเจริญเกินนั้นเซลล์จะมีจำนวนมากขึ้น.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและการเจริญเกิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข.) เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งชนิดต่อม

มะเร็งชนิดต่อม หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) เป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อต่อม (glandular tissue) ซึ่งเป็นเยื่อบุผิว (epitheliam) ชนิดหนึ่ง การที่เซลล์มะเร็งจะได้รับการจัดชนิดเป็นมะเร็งชนิดต่อมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนประกอบของต่อมใดๆ ตราบใดที่ยังแสดงถึงความสามารถในการหลั่งสารอยู่ มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดรวมถึงมนุษย์ มะเร็งชนิดต่อมที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดีอาจมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อต่อมที่เจริญมาได้ ในขณะที่ชนิดที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์แย่อาจไม่คล้ายเลยก็ได้ การย้อมสีชิ้นเนื้อจากการตัดชิ้นเนื้อตรวจจะทำให้นักพยาธิวิทยาหรือพยาธิแพทย์สามารถตรวจพบได้ว่าเนื้องอกนั้นๆ เป็นมะเร็งชนิดต่อมหรือชนิดอื่น มะเร็งชนิดต่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ ที่ในร่างกายจากการที่มีเนื้อเยื่อต่อมอยู่หลายที่ในร่างกาย เนื้องอกของต่อมไร้ท่อหลายๆ ชนิด เช่น VIPoma insulinoma pheochromocytoma และอื่นๆ มักไม่ถูกเรียกว่าเป็นมะเร็งชนิดต่อมแต่จะถูกเรียกว่า neuroendocrine tumor แทน หากเนื้อเยื่อที่เจริญจากต่อมนั้นมีความผิดปกติแต่ไม่เป็นเนื้อร้ายจะเรียกว่าเนื้องอกต่อม (adenoma) โดยเนื้องอกต่อมซึ่งไม่เป็นเนือ้ร้ายนี้จะไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงและน้อยมากที่จะมีการแพร่กระจาย ในขณะที่มะเร็งชนิดต่อมสามารถลุกลามและแพร่กระจายได้.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งชนิดต่อม · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้ มะเร็งตับอ่อนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่สี่ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก เป็นมะเร็งที่เมื่อนับรวมทุกระยะรวมกันแล้วถือว่ามีพยากรณ์โรคไม่ดี มีอัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี 25% และที่ 5 ปี 6% สำหรับผู้ป่วยระยะไม่ลุกลาม อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ 20% ในขณะที่ค่ามัธยฐานการรอดชีวิตของผู้ป่วยระยะลุกลามอวัยวะข้างเคียงและระยะแพร่กระจาย (ซึ่งเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดเป็น 80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน) อยู่ที่ 10 และ 6 เดือน ตามลำดั.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

มิญชวิทยา

A stained histologic specimen, sandwiched between a glass microscope slide and coverslip, mounted on the stage of a light microscope. ภาพเนื้อเยื่อปอดย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และอีโอซิน (Eosin) ผู้ป่วยรายนี้มีอาการของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มิญชวิท.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและมิญชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาทางเดินอาหาร

วิทยาทางเดินอาหาร (Gastroenterology) เป็นสาขาของแพทยศาสตร์ซึ่งศึกษาระบบย่อยอาหารและความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร สาขาของการแพทย์เฉพาะทางนี้เน้นถึงโรคของระบบย่อยอาหารรวมพยาธิสภาพตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคระบบทางเดินอาหาร วิทยาตับ (Hepatology) เน้นถึงการศึกษาตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี เป็นสาขาย่อยของวิทยาทางเดินอาหาร หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและวิทยาทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ (Hepatic portal vein) เป็นระบบหลอดเลือดในช่องท้องซึ่งนำเลือดจากทางเดินอาหารและม้ามไปยังตับ ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากหลอดเลือดดำซูพีเรียมีเซนเทอริก (superior mesenteric vein) และหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) นอกจากนี้ยังรับเลือดจากหลอดเลือดดำอินฟีเรียมีเซนเทอริก (inferior mesenteric vein) หลอดเลือดดำกระเพาะอาหาร (gastric vein) และหลอดเลือดดำถุงน้ำดีด้วย (cystic vein) หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนพอร์ทัลตับ และเป็นระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัลหนึ่งในสองระบบในร่างกาย ซึ่งอีกระบบหนึ่งอยู่ที่ระบบไหลเวียนพอร์ทัลไฮโปไฟเซียลที่ต่อมใต้สมอง พอร์ทัลตับ.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ · ดูเพิ่มเติม »

อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส

อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (alkaline phosphatase, ALP) เป็นเอนไซม์ไฮโดรเลสที่ทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟอสเฟตจากโมเลกุลหลายชนิด เช่นนิวคลีโอไทด์ โปรตีน และอัลคาลอยด์ กระบวนการดึงหมู่ฟอสเฟตออกเรียกว่า ดีฟอสโฟริเลชัน (dephosphorylation) ซึ่งจากชื่อก็แสดงให้เห็นว่าอัลคาไลน์ฟอสฟาเตสทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นเป็นเบส (alkaline) ค่า pH ที่เหมาะสมที่สุดของการทำงานของเอนไซม์นี้ใน E. coli อยู่ที่ 8.0 ในขณะที่เอนไซม์นี้ในวัวทำงานได้ดีที่ pH สูงกว่าคือ 8.5.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและอัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติการณ์

อุบัติการณ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและอุบัติการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุจจาระ

ี้ม้า อุจจาระ (คำอื่นๆ เช่น มูล, อึ, ขี้) คือ ของที่เหลือจากการย่อยจากระบบทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิตโดยถ่ายออกทางทวารหนัก ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากแบคทีเรียในลำไส้ของสัตว์นั้น.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและอุจจาระ · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำของท่อร่วมน้ำดี

งน้ำของท่อร่วมน้ำดี (choledochal cyst) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดี ทำให้ท่อน้ำดีขยายออกกลายเป็นถุงน้ำ (cyst) พบน้อยในประเทศตะวันตก แต่พบบ่อยกว่าในประเทศทางตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและจีน.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและถุงน้ำของท่อร่วมน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ

ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ (primary sclerosing cholangitis, PSC) เป็นโรคตับเรื้อรังอย่างหนึ่งทำให้มีการอักเสบของท่อน้ำดีมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นแผลเป็น การอักเสบนี้จะไปอุดตันการไหลของน้ำดีที่จะไหลลงสู่ทางเดินอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับขึ้นได้ สาเหตุของโรคเชื่อว่าเกิดจากภาวะแพ้ภูมิตัวเอง วิธีการรักษาให้หายขาดคือการปลูกถ่ายตั.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ดีซ่าน

ีซ่าน (jaundice) เป็นภาวะซึ่งผิวหนัง เยื่อบุตาขาว และเยื่อบุต่างๆ มีสีเหลืองผิดปกติ จากภาวะมีบิลิรูบินเกินในเลือด ซึ่งทำให้มีเกิดภาวะมีบิลิรูบินในสารน้ำนอกเซลล์เกินด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วต้องมีระดับของบิลิรูบินในน้ำเลือดเกินว่า 1.5 mg/dLGuyton, Arthur, and John Hall, John. Textbook of Medical Physiology, Saunders, September 2005, ISBN 978-0-7216-0240-0 (26 µmol/L) หรือมากกว่าสามเท่าของค่าปกติคือ 0.5 mg/dL จึงจะสามารถเห็นความเหลืองของสีผิวได้ด้วยตาเปล่า ดีซ่านมักพบได้ในโรคตับต่างๆ เช่นตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับ นอกจากนั้นยังอาจบ่งชี้ว่ามีการอุดกั้นทางเดินน้ำดี เช่น จากนิ่วทางเดินน้ำดี หรือมะเร็งตับอ่อน หรืออาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ไม่บ่อ.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและดีซ่าน · ดูเพิ่มเติม »

ความชุกของโรค

ในทางระบาดวิทยา ความชุกของโรค (Prevalence) หมายถึงจำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ หรือกล่าวคือจำนวนผู้ป่วยในประชากรหนึ่งๆ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ค่านี้ใช้ประมาณว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในประชากรที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทราบความน่าจะเป็นในการวินิจฉัยโรคและข้อมูลนี้ยังใช้ในงานของนักระบาดวิทยา ผู้ให้บริการสาธารณสุข ภาครัฐ และบริษัทประกันภัย สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณความชุกของโรคคือ ให้ a.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและความชุกของโรค · ดูเพิ่มเติม »

ความไวและความจำเพาะ

วามไวและความจำเพาะ เป็นค่าวัดทางสถิติที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทดสอบที่ให้ผลเป็นสองส่วน (เช่นเป็นบวกและลบ).

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและความไวและความจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

คัน

ัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและคัน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน

ร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน (carcinoembryonic antigen, CEA) เป็นกลัยโคโปรตีนที่มีส่วนในการยึดเกาะของเซลล์ ปกติจะถูกสร้างขึ้นในระยะตัวอ่อนและจะหยุดสร้างก่อนเกิด ดังนั้นมักจะไม่พบในเลือดของร่างกายคนปกติ แม้อาจเพิ่มขึ้นได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จั.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและคาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ซิสพลาติน

ซิสพลาติน (Cisplatin) หรือชื่อในอดีตคือ เกลือเปรอน (Peyrone's salt) เป็นยาเคมีบำบัด ออกฤทธิโดยไปยับยั้งการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ ใช้ในการรักษาโรงมะเร็งต่างๆ คือ มะเร็งอัณฑะ, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งศีรษะและคอ, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งปอด, มีโซธีลิโอมา, มะเร็งหลอดอาหาร, เนื้องอกที่สมอง และ นิวโรบลาสโตมา สามารถรับยานี้ได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อาการข้างเคียงจากการใช้ยาซิสพลาตินได้แก่ เกิดการกดไขกระดูก, ได้ยินไม่ชัด, ปัญหาเกี่ยวกับไต และ อาเจียน อาหารข้างเคียงระดับรุนแรงได้แก่ อาการชา, เดินลำบาก, ภูมิแพ้ และเป็นโรคระบบหัวใจหลอดเลือด สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ซิสพลาตินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและซิสพลาติน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาร้า

องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาส้ม

ปลาตะเพียนส้ม ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องปรุงหลักประกอบด้วย ปลา เกลือ กระเทียม ข้าวสุก ผสมกัน หมักจนมีรสเปรี้ยว มีทั้งแบบที่ใช้ปลาทั้งตัว และแบบที่ใช้เฉพาะเนื้อปลา ซึ่งแบบที่ใช้เนื้อปลาอย่างเดียวอาจเรียกปลาส้มฟักหรือแหนมปลา สัดส่วนต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ชาวไทญ้อมีสูตรปลาส้มเป็นของตนเอง โดยเครื่องปรุง ใช้พริก เกลือ กระเทียม น้ำซาวข้าว ข้าวเหนี่ยวใหม่นึ่ง วิน จะต้องคั่วเกลือให้แห้งและตำให้ละเอียดก่อนนำมาคลุกกับส่วนผสมอื่น ปลาส้มของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ต่างไป โดยจะนำปลา เช่น ปลากระดี่ ปลาตะเพียน มาผ่าท้องเอาไส้ออก หมักเกลือไว้ 2-3 วัน แล้วจึงล้างจากนั้น นำไปชุบในน้ำตาลโตนด ที่เคี่ยวกับข้าวคั่วจนข้น เรียงใส่ไห ปิดปากไหให้แน่น ทิ้งไว้ 7-10 วัน ถ้าใช้กุ้งแทนเรียกกุ้งส้ม อย่างไรก็ตามการบริโภคปลาส้มควรปรุงให้สุกก่อน ไม่ควรบริโภดดิบๆ เพราะอาจมีพยาธิใบไม้ในตับอยู่ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและปลาส้ม · ดูเพิ่มเติม »

ปวดท้อง

อาการปวดท้องเป็นอาการพบบ่อยอย่างหนึ่ง สัมพันธ์ทั้งกับโรคชั่วคราวไม่รุนแรงและภาวะที่รุนแรงมาก สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องมีกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบและกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยหนึ่งในสาม สาเหตุแน่ชัดไม่ชัดเจน ประมาณร้อยละ 10 มีภาวะพื้นเดิมที่รุนแรงมาก เช่น ไส้ติ่งอักเสบ การรั่วหรือแตกของท่อเลือดแดงส่วนท้องโป่งพอง ถุงยื่นอักเสบหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก การหาสาเหตุของอาการปวดท้องอาจยากได้ เพราะมีหลายโรคทำให้เกิดอาการนี้.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและปวดท้อง · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนักลด

น้ำหนักลด ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพหรือสมรรถภาพทางกาย คือการลดลงของมวลกายรวม อันเนื่องมาจากการลดลงของของไหล ไขมันร่างกายหรือเนื้อเยื่อไขมัน และ/หรือ มวลกล้ามเนื้อไขมัน (lean mass) โดยเฉลี่ย ซึ่งกล้ามเนื้อไขมันนั้นคือ แหล่งแร่ธาตุกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น น้ำหนักลดสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนาเนื่องจากโรคเบื้องหลังหรือสามารถเกิดขึ้นจากความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อปรังปรุงน้ำหนักเกินแท้จริงหรือน้ำหนักเกินรับมา หรือโรคอ้วน.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและน้ำหนักลด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำดี

น้ำดี (bile or gall) เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม หลั่งออกมาจากเซลล์ตับ (hepatocyte) ที่อยู่ในตับของสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด ในสัตว์หลายชนิด น้ำดีจะถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีในระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อมีการรับประทานอาหารน้ำดีจะถูกปล่อยออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ที่ซึ่งน้ำดีจะไปทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกล.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส

แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส (gamma-glutamyltransferase) หรือ แกมมา-กลูตามิล ทรานสเปปทิเดส (gamme-glumatyl transpeptidase) γ-glutamyltransferase, GGT, GGTP, gamma-GT เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟังก์ชันแกมมา-กลูตามิล พบในเนื้อเยื่อหลายส่วนในร่างกาย ส่วนใหญ่พบในตับ มีความสำคัญเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยทางการแพท.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและแกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับจากแอลกอฮอล์

รคตับจากแอลกอฮอล์ (alcoholic liver disease) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตับในประเทศตะวันตก (ในเอเชียสาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นตับอักเสบจากไวรัส) มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก ทั่วโลกมีผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหลายล้านคนแต่มีเพียงผู้ที่ดื่มหนักจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เกิดมีความเสียหายของตับ การเสียหายของตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีแต่ค่อยๆ เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10-15 ปี กลไกการทำลายตับของแอลกอฮอล์นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด เป็นที่ทราบกันว่าแอลกอฮอล์ทำให้มีสารพิษเช่น acetaldehyde ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าทำไมจึงมีโรคตับจากแอลกอฮอล์เกิดขึ้นในคนบางคนเท่านั้น เมื่อแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับแล้วจะทำให้การทำงานของตับค่อยๆ แย่ลงอย่างช้าๆ เนื่องจากตับมีความสามารถในการเจริญขึ้นใหม่ได้อย่างมาก แม้จะถูกทำลายไปถึง 75 % ก็ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์มีอาการปรากฏให้เห็นแล้วจึงมักเป็นระยะที่มีความเสียหายของตับเกิดขึ้นมากจนส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติได้ และมักมีการอักเสบเรื้อรังเกิดเป็นแผลเป็นเรียกว่าตับแข็งหรือโรคตับระยะสุดท้.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและโรคตับจากแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เป็นสปีชีส์ของไวรัสดีเอ็นเอสายคู่ชนิดหนึ่ง อยู่ในจีนัส Orthohepadnavirus แฟมิลี Hepadnaviridae ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ บี หมวดหมู่:ไวรัส.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและไวรัสตับอักเสบบี · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า มะเร็งตับนั้นส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดก็คือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและหนึ่งในนั้นก็คือ ไวรัสตับอักเสบซี ใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 1.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและไวรัสตับอักเสบซี · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งท่อน้ำดีและเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ca bile ductCholangiocarcinomaโคแลงจิโอคาร์ซิโนมา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »