โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเสียการระลึกรู้

ดัชนี ภาวะเสียการระลึกรู้

รูปแสดงทางสัญญาณด้านหลัง (สีเขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (สีม่วง) ทางสัญญาณทั้งสองนั้นเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันในคอร์เทกซ์สายตา ภาวะเสียการระลึกรู้เกิดจากความเสียหายของทางสัญญาณด้านล่าง ภาวะเสียการระลึกรู้ หรือ ภาวะไม่รู้ (Agnosia มาจากภาษากรีกโบราณว่า ἀγνωσία ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ หรือ ความปราศจากความรู้, คำว่า gnosis ที่ไม่มี a ข้างหน้า แปลว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่องลี้ลับเช่นจิตวิญญาณเป็นต้น) เป็นการสูญเสียความสามารถในการรู้จำวัตถุ บุคคล เสียง รูปร่าง หรือกลิ่น ในขณะที่การรับรู้ทางประสาทเฉพาะอย่างๆ ไม่มีความเสียหาย และไม่มีการสูญเสียความทรงจำเป็นสำคัญ เป็นภาวะที่ปกติมีความเกี่ยวข้องกับความบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้น หรือโรคทางประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเกิดความเสียหายใน เขตบร็อดแมนน์ 37 คือช่วงต่อระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับ (occipitotemporal area) ซึ่งเป็นส่วนของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น ภาวะไม่รู้จะมีผลกับการรับรู้ทางประสาทอย่างเดียวเท่านั้น เช่นการเห็นหรือการได้ยิน.

31 ความสัมพันธ์: กลีบท้ายทอยกลีบขมับกลีบข้างการพูดการสร้างภาพประสาทกิจกรรมบำบัดภาวะละเลยกึ่งปริภูมิภาวะสมองเสื่อมภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหวภาวะไม่รู้ใบหน้าภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำภาวะเสียสำนึกความพิการรอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนรอยนูนหลังร่องกลางรอยนูนซูปรามาร์จินัลรอยนูนแองกูลาร์รอยโรคระบบการเห็นสมมุติฐานทางสัญญาณสองทางอัมพาตคอร์ปัส คาโลซัมคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายตัวกระตุ้นซิกมุนด์ ฟรอยด์ประสาทวิทยาโรคพาร์คินสันโรคหลอดเลือดสมองเขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวยเปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็น

กลีบท้ายทอย

มองกลีบท้ายทอย หรือ กลีบท้ายทอย (occipital lobe, lobus occipitalis) เป็นกลีบสมองที่เป็นศูนย์ประมวลผลของการเห็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโดยมากประกอบด้วยเขตต่างๆ ทางกายวิภาคของคอร์เทกซ์สายตา คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม เป็นส่วนเดียวกับ เขตบร็อดแมนน์ 17 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า V1 ซึ่งในมนุษย์ อยู่ที่สมองกลีบท้ายทอยใกล้กลาง (medial) ภายในร่องแคลคารีน (calcarine sulcus) เขต V1 นั้น บ่อยครั้งดำเนินต่อไปทางด้านหลังของสมองกลีบท้ายทอย และบ่อยครั้งเรียกว่า คอร์เทกซ์ลาย (striate cortex) เพราะเป็นเขตที่ระบุได้โดยริ้วลายขนาดใหญ่ของปลอกไมอีลิน ที่เรียกว่า ลายเจ็นนารี (Stria of Gennari) ส่วนเขตมากมายอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลทางสายตาที่อยู่นอก V1 เรียกว่า เขตคอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ซึ่งแต่ละเขตมีกิจเฉพาะของตนในการประมวลข้อมูลทางสายตา รวมทั้งการประมวลผลด้านปริภูมิ ด้านการแยกแยะสี และการรับรู้การเคลื่อนไหว ชื่อของสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) เป็นชื่อสืบมาจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า ob ซึ่งแปลว่า "ท้าย" และ caput ซึ่งแปลว่า "ศีรษะ".

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และกลีบท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

การพูด

การพูด เป็น การสื่อสารของมนุษย์โดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปล่งเสียงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยอาศัย ภาษา เป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็น คนใบ้ การพูดมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดระหว่างบุคคล การพูดในกลุ่ม การพูดในที่ชุมชน บุคคลที่มีทักษะในการพูด สร้างแรงจูงใจให้บุคคลอื่นได้ ก็สามารถจัด ทอล์กโชว์ (talk Show) สร้างเป็นอาชีพนักวิชาการ ด้านการพูดได้.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และการพูด · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพประสาท

MRI ของศีรษะ แสดงภาพตั้งแต่ยอดจนถึงฐานของกะโหลก ภาพตามระนาบแบ่งซ้ายขวาของศีรษะคนไข้ที่มีหัวโตเกิน (macrocephaly) แบบไม่ร้ายที่สืบต่อในครอบครัว การสร้างภาพประสาท หรือ การสร้างภาพสมอง (Neuroimaging, brain imaging) เป็นการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมของโครงสร้าง หน้าที่ หรือการทำงานทางเภสัชวิทยา ของระบบประสาท เป็นศาสตร์ใหม่ที่ใช้ในการแพทย์ ประสาทวิทยา และจิตวิทยา แพทย์ที่ชำนาญเฉพาะในการสร้างและตีความภาพสมองในสถานพยาบาลเรียกตามภาษาอังกฤษว่า neuroradiologist (ประสาทรังสีแพทย์) การสร้างภาพวิธีต่าง ๆ ตกอยู่ในหมวดกว้าง ๆ 2 หมวดคือ.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และการสร้างภาพประสาท · ดูเพิ่มเติม »

กิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยอาศัยกิจกรรมเป็นสื่อ เป้าหมายเบื้องต้นของกิจกรรมบำบัด คือ การส่งเสริมให้บุคคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้พิการทางกาย เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือการเรียนรู้ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้สูงอายุ ฯลฯ สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องอาศัยความรู้หลายๆด้าน เพื่อช่วยลดข้อจำกัดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งยังอาจต้องช่วยปรับ/ให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขากิจกรรมบำบัดก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และกิจกรรมบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

วะละเลยกึ่งปริภูมิ หรือ ภาวะละเลยข้างเดียว (Hemispatial neglect หรือ hemiagnosia หรือ hemineglect หรือ unilateral neglect หรือ spatial neglect หรือ unilateral visual inattentionUnsworth, C. A. (2007). Cognitive and Perceptual Dysfunction. In T. J. Schmitz & S. B. O’Sullivan (Eds.), Physical Rehabilitation (pp. 1149-1185). Philadelphia, F.A: Davis Company. หรือ hemi-inattention หรือ neglect syndrome) เป็นภาวะทางประสาทจิตวิทยาที่เมื่อมีความเสียหายต่อซีกสมองด้านหนึ่ง ความบกพร่องในการใส่ใจ (attention) และการรู้สึกตัว (awareness) ในปริภูมิด้านหนึ่งของกายก็เกิดขึ้น ภาวะนี้กำหนดโดยความไม่สามารถที่จะประมวลผลและรับรู้ตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของกายหรือสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความบกพร่องทางความรู้สึก ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองเสื่อม

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะสมองเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว

วะไม่รู้ความเคลื่อนไหว หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ความเคลื่อนไหว หรือ ภาวะบอดความเคลื่อนไหว (akinetopsia หรือ cerebral akinetopsia หรือ motion blindness) เป็นโรคทางประสาทจิตวิทยาที่มีน้อยมากอย่างหนึ่ง ที่คนไข้ไม่สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวในลานสายตา ถึงแม้ว่าจะสามารถเห็นวัตถุที่อยู่นิ่งๆ ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร คือ โลกปรากฏโดยปราศจากความเคลื่อนไหว ความรู้ที่มีเกี่ยวกับภาวะนี้ ได้มาจากกรณีศึกษาในคนไข้ผู้หนึ่งเรียกว่า "แอลเอ็ม" ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลสำหรับผู้มีภาวะนี้.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะไม่รู้ใบหน้า

ตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย ซึ่งเป็นเขตในสมองที่เสียหายให้ในภาวะบอดใบหน้า ภาวะไม่รู้ใบหน้า หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ใบหน้า (prosopagnosia, ภาษากรีก prosopon.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะไม่รู้ใบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

วะเสียการระลึกรู้ทางตา หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางการเห็น (visual agnosia) เป็นความบกพร่องในการรู้จำวัตถุที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เป็นความบกพร่องในการเห็น (ไม่ใช่ความบกพร่องเป็นต้นว่า ความชัดเจน ลานสายตา หรือการมองกวาด) ในภาษา ในระบบความทรงจำ หรือเพราะมีเชาวน์ปัญญาต่ำ ภาวะนี้มีสองอย่าง คือแบบวิสัญชาน (apperceptive) และแบบสัมพันธ์ (associative) การรู้จำวัตถุที่เห็นเกิดขึ้นที่ในระดับหลักๆ 2 ระดับในสมอง ในขั้นวิสัญชาน มีการนำลักษณะต่างๆ ของข้อมูลทางตาจากเรตินา มารวมกันเพื่อสร้างแบบแทนของวัตถุเพื่อการรับรู้ และเมื่อถึงขั้นสัมพันธ์ จึงมีการรวม ความหมายของวัตถุเข้าไปกับแบบแทนของวัตถุ แล้วจึงจะสามารถ บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไรได้ ถ้าบุคคลหนึ่งไม่สามารถรู้จำวัตถุได้เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุ แม้ว่า ความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นจะไม่มีปัญหาอย่างไร นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน (เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุนั้นอย่างถูกต้อง) ถ้าบุคคลสามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุได้ และมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นด้วย แต่ว่า ไม่สามารถบ่งชี้วัตถุว่าคืออะไรได้ นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์ (เพราะสามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุอย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นกับวัตถุ จึงไม่สามารถบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร) ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตามักจะเกิดขึ้นเพราะความเสียหายในซีกสมองทั้งสองข้างของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง และ/หรือ สมองกลีบขมั.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ

วะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stereognosis ว่า "การรับรู้สัณฐานโดยคลำ" (Astereognosis หรือเรียกว่า tactile agnosia ถ้าเป็นเพียงแค่มือเดียว) เป็นความไม่สามารถที่จะระบุวัตถุโดยการลูบคลำด้วยมืออย่างเดียว โดยไม่ใช้ความรู้สึกทางอื่น ๆ เช่นทางตาช่วย บุคคลมีภาวะนี้ ไม่สามารถระบุวัตถุต่าง ๆ โดยเพียงแค่จับต้องได้ แม้ว่า ความรู้สึกที่มือจะเป็นปกติ คือ ถ้าปิดตา คนไข้ไม่สามารถระบุสิ่งที่อยู่ในมือได้ นี้ตรงข้ามกับ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia) ซึ่งคนไข้ไม่สามารถระบุวัตถุโดยใช้สายตาเพียงอย่างเดียวได้ ส่วนคนไข้ภาวะ tactile agnosia (แปลว่าไม่รู้สัมผัส) อาจจะสามารถระบุชื่อ ประโยชน์ และความเป็นมาของวัตถุที่อยู่ในมือข้างซ้าย แต่บอกไม่ได้ด้วยมือข้างขวา หรือว่าในนัยตรงข้าม หรือว่าไม่สามารถบอกได้ด้วยทั้งสองมือ ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ (astereognosis) มุ่งหมายเอาคนไข้เหล่านั้นที่ไม่สามารถระบุวัตถุด้วยมือทั้งสอง แม้ว่า คนไข้อาจจะสามารถระบุรูปร่างทั่วไปเช่น เป็นรูปพีระมิด เป็นรูปร่างกลม ๆ แม้ว่าอาจจะมีความยากลำบากบ้าง แต่ก็จะไม่สามารถระบุวัตถุสามัญว่าคืออะไรโดยสัมผัส แม้ว่าวัตถุนั้นอาจมีลักษณะที่รู้ได้ง่ายและไม่เหมือนวัตถุอื่นเช่นซี่ของส้อม แต่คนไข้อาจจะแจ้งความรู้สึกถึงวัตถุโลหะยาวมีซี่หลายซี่แยกออกมาจากฐานเดียวกันในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่สามารถระบุวัตถุว่าคือส้อม อาการต่าง ๆ เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า มีส่วนในสมองโดยเฉพาะที่ทำความสัมพันธ์ระหว่างตัวกระตุ้นทางสัมผัสต่าง ๆ กับหน้าที่หรือความเกี่ยวข้องต่อกันและกันของตัวกระตุ้นเหล่านั้น เพราะมีความเป็นไปที่เฉพาะเจาะจงอย่างนี้ และเพราะความที่สภาวะนี้มีผลเสียหายค่อนข้างน้อยต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ จึงเป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีรายงานและงานวิจัยเกี่ยวกับคนไข้ที่มีภาวะนี้ ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำมีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้าง (parietal lobe), หรือ dorsal column, หรือส่วนสมองที่อยู่ติดกันของสมองกลีบข้าง สมองกลีบขมับ (temporal lobe) และสมองกลีบท้ายท้อย (occipital lobe) ที่เป็นจุดเชื่อมที่เรียกว่า เขตสัมพันธ์ด้านหลัง (posterior association areas) ในซีกสมองซีกใดซีกหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียสำนึกความพิการ

วะเสียสำนึกความพิการ (Anosognosia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีความพิการหรือบกพร่องแต่ไม่รับรู้หรือปฏิเสธความบกพร่องของตนเอง ภาวะนี้พบได้แม้กระทั่งในผู้พิการสายตาหรืออัมพาต ผู้ที่ตั้งชื่อโรคนี้เป็นคนแรกคือนักประสาทวิทยาชื่อ โจเซฟ บาบินสกี (Joseph Babinski) ในปี..

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และภาวะเสียสำนึกความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน (superior temporal gyrus, gyrus temporalis superior, ตัวย่อ STG) เป็นหนึ่งในสามรอยนูน (แต่บางครั้งปรากฏแค่สอง) ในสมองกลีบขมับของมนุษย์ อยู่ด้านข้างของศีรษะเหนือหูเล็กน้อย รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนล้อมรอบด้ว.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนหลังร่องกลาง

หวของรอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus, gyrus postcentralis) ด้านข้างของสมอง เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในสมองกลีบข้างของมนุษย์ และเป็นจุดสังเกตที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และเหมือนกับเขตรับความรู้สึกอื่น ๆ เขตนี้มีแผนที่ปริภูมิของความรู้สึกซึ่งเรียกว่า "cortical homunculus"Cortical homunculus เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายในคอร์เทกซ์สั่งการหลักและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ คือส่วนในสมองของมนุษย์ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบสั่งการและระบบรับรู้ความรู้สึก คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในยุคต้น ๆ มีขอบเขตที่กำหนดโดยงานวิจัยกระตุ้นผิวสมองของไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และงานวิจัยศักย์ผิวสมองของบาร์ด วูลซีย์ กับมาร์แชลล์ ที่เป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าในเบื้องต้นจะกำหนดอย่างคร่าว ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 งานวิจัยในภายหลังของจอน คาสส์ เสนอว่า เพื่อความเหมือนกันกับเขตรับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ ควรที่จะกล่าวเขตบร็อดแมนน์ 3 ว่าเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เนื่องจากว่าเขตนั้นได้รับสัญญาณมากที่สุดจาก thalamocortical radiations (วิถีประสาททาลามัส-คอร์เทกซ์) ซึ่งมาจากลานสัญญาณที่รับรู้การสัมผั.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยนูนหลังร่องกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนซูปรามาร์จินัล

รอยนูนซูปรามาร์จินัล (Supramarginal gyrus, Gyrus supramarginalis) เป็นส่วนหนึ่งของสมองกลีบข้าง ที่น่าจะมีบทบาทในการรับรู้และการประมวลผลทางภาษา รอยโรคในสมองเขตนี้อาจทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความเหตุศูนย์รับความรู้สึก (Receptive aphasia) หรือ transcortical sensory aphasia.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยนูนซูปรามาร์จินัล · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนแองกูลาร์

รอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus) เป็นเขตสมองในสมองกลีบข้าง ซึ่งอยู่ใกล้ด้านบนของสมองกลีบขมับ และอยู่ข้างหลังต่อจาก Supramarginal gyrus เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา การประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mindการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mind) คือความสามารถในการเข้าใจสภาวะของจิตใจเป็นต้นว่า ความเชื่อ ความตั้งใจ ความปรารถนา การเสแสร้ง ความรู้ โดยเป็นของตนหรือเป็นของคนอื่น และในการเข้าใจว่า ผู้อื่นมีความเชื่อ ความปรารถนา และความตั้งใจเป็นต้น ที่ไม่เหมือนกับของตน) เขตนี้เป็นเขตเดียวกันกับเขตบร็อดแมนน์ 39 ในสมองมนุษ.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยนูนแองกูลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และระบบการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

มมุติฐานทางสัญญาณสองทาง (Two-streams hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญในการศึกษาวิจัยการประมวลผลของนิวรอนในระบบสายตา เดวิด มิลเนอร์ และเมลวิน กูดเดล ได้จำแนกลักษณะต่างๆ ของทางสัญญาณสองทางที่มีความนิยมที่สุดในงานวิจัยปี..

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ปัส คาโลซัม

ำภาษาละตินว่า Corpus callosum (แปลว่า ส่วนแข็ง) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และคอร์ปัส คาโลซัม · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย

อร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย หรือ คอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex, area extrastriata) เป็นคอร์เทกซ์ในสมองกลีบท้ายทอย ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต่อจากคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอร์เทกซ์ลาย เพราะว่าปรากฏเป็นลายริ้วในกล้องจุลทรรศน์ คอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายประกอบด้วยเขตที่ทำกิจต่างๆ หลายเขตรวมทั้งเขตสายตา V3, เขตสายตา V4, เขตสายตา V5 ซึ่งมีความไวต่อการเคลื่อนไหวGuy A. Orban.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยา

Jean-Martin Charcot ประสาทวิทยา (Neurology) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และประสาทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โรคพาร์คินสัน

รคพาร์คินสันเป็นความผิดปรกติการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง อาการของโรคพากินสันเกิดจากเซลล์ที่ผลิตโดปามีนในซับสแตนเชียไนกรา อันเป็นบริเวณหนึ่งในสมองส่วนกลาง ตาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการตายของเซลล์นี้ ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ ๆ อาการเด่นชัดที่สุดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าและเดินและท่าเดินลำบาก ต่อมา อาจเกิดปัญหาการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด อาการอื่นมีปัญหารับความรู้สึก การหลับและอารมณ์ โรคพาร์คินสันพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนมากเกิดอาการหลังอายุ 50 ปี อาการสั่งการหลักเรียกรวมว่า พาร์คินสันนิซึม (parkinsonism) หรือ กลุ่มอาการพาร์คินสัน (parkinsonian syndrome) โรคพาร์คินสันมักนิยามเป็นกลุ่มอาการพาร์คินสันที่เกิดเอง (ไม่มีสาเหตุที่ทราบ) แม้ผู้ป่วยนอกแบบบางคนมีสาเหตุจากพันธุกรรม มีการสืบสวนปัจจัยเสี่ยงและป้องกันหลายอย่าง หลักฐานชัดเจนที่สุด คือ ผู้ที่สัมผัสยาฆ่าแมลงบางชนิดจะมีความเสี่ยงต่อโรคพาร์คินสันมากขึ้น แต่ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงลดลง พยาธิสภาพของโรคเป็นลักษณะของการสะสมโปรตีนชื่อ แอลฟา-ไซนิวคลีอิน (alpha-synuclein) ในอินคลูชันบอดี (inclusion body) เรียก เลวีบอดี (Lewy body) ในเซลล์ประสาท และจากการสร้างและกัมมันตภาพของโดปามีนที่ผลิตในเซลล์ประสาทบางชนิดในหลายส่วนของสมองส่วนกลางไม่เพียงพอ เลวีบอดีเป็นเครื่องหมายพยาธิวิทยาของโรคนี้ และการกระจายของเลวีบอดีตลอดสมองของผู้ป่วยแตกต่างกันไปตามบุคคล การกระจายทางกายวิภาคศาสตร์ของเลวีบอดีมักสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกและระดับอาการทางคลินิกของแต่ละบุคคล การวินิจฉัยผู้ป่วยตรงแบบอาศัยอาการเป็นหลัก โดยใช้การทดสอบอย่างการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อยืนยัน.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และโรคพาร์คินสัน · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย

ตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform face area, ตัวย่อ FFA) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการมองเห็นในมนุษย์ ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เฉพาะในการรู้จำใบหน้า (face recogition) แต่ยังมีหลักฐานอื่นที่แสดงว่า FFA ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่คุ้นเคย โดยตำแหน่ง FFA อยู่ในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) ซึ่งโดยกายวิภาคเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 37.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และเขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Agnosiaภาวะไม่รู้เสียการระลึกรู้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »