โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น

ภาวะเสียการระลึกรู้ vs. เปลือกสมองส่วนการเห็น

รูปแสดงทางสัญญาณด้านหลัง (สีเขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (สีม่วง) ทางสัญญาณทั้งสองนั้นเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันในคอร์เทกซ์สายตา ภาวะเสียการระลึกรู้เกิดจากความเสียหายของทางสัญญาณด้านล่าง ภาวะเสียการระลึกรู้ หรือ ภาวะไม่รู้ (Agnosia มาจากภาษากรีกโบราณว่า ἀγνωσία ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ หรือ ความปราศจากความรู้, คำว่า gnosis ที่ไม่มี a ข้างหน้า แปลว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่องลี้ลับเช่นจิตวิญญาณเป็นต้น) เป็นการสูญเสียความสามารถในการรู้จำวัตถุ บุคคล เสียง รูปร่าง หรือกลิ่น ในขณะที่การรับรู้ทางประสาทเฉพาะอย่างๆ ไม่มีความเสียหาย และไม่มีการสูญเสียความทรงจำเป็นสำคัญ เป็นภาวะที่ปกติมีความเกี่ยวข้องกับความบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้น หรือโรคทางประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเกิดความเสียหายใน เขตบร็อดแมนน์ 37 คือช่วงต่อระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับ (occipitotemporal area) ซึ่งเป็นส่วนของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น ภาวะไม่รู้จะมีผลกับการรับรู้ทางประสาทอย่างเดียวเท่านั้น เช่นการเห็นหรือการได้ยิน. ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น

ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลีบท้ายทอยกลีบขมับกลีบข้างภาวะละเลยกึ่งปริภูมิรอยนูนแองกูลาร์รอยโรคระบบการเห็นสมมุติฐานทางสัญญาณสองทางเปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็น

กลีบท้ายทอย

มองกลีบท้ายทอย หรือ กลีบท้ายทอย (occipital lobe, lobus occipitalis) เป็นกลีบสมองที่เป็นศูนย์ประมวลผลของการเห็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโดยมากประกอบด้วยเขตต่างๆ ทางกายวิภาคของคอร์เทกซ์สายตา คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม เป็นส่วนเดียวกับ เขตบร็อดแมนน์ 17 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า V1 ซึ่งในมนุษย์ อยู่ที่สมองกลีบท้ายทอยใกล้กลาง (medial) ภายในร่องแคลคารีน (calcarine sulcus) เขต V1 นั้น บ่อยครั้งดำเนินต่อไปทางด้านหลังของสมองกลีบท้ายทอย และบ่อยครั้งเรียกว่า คอร์เทกซ์ลาย (striate cortex) เพราะเป็นเขตที่ระบุได้โดยริ้วลายขนาดใหญ่ของปลอกไมอีลิน ที่เรียกว่า ลายเจ็นนารี (Stria of Gennari) ส่วนเขตมากมายอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลทางสายตาที่อยู่นอก V1 เรียกว่า เขตคอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ซึ่งแต่ละเขตมีกิจเฉพาะของตนในการประมวลข้อมูลทางสายตา รวมทั้งการประมวลผลด้านปริภูมิ ด้านการแยกแยะสี และการรับรู้การเคลื่อนไหว ชื่อของสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) เป็นชื่อสืบมาจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า ob ซึ่งแปลว่า "ท้าย" และ caput ซึ่งแปลว่า "ศีรษะ".

กลีบท้ายทอยและภาวะเสียการระลึกรู้ · กลีบท้ายทอยและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

กลีบขมับและภาวะเสียการระลึกรู้ · กลีบขมับและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

กลีบข้างและภาวะเสียการระลึกรู้ · กลีบข้างและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

วะละเลยกึ่งปริภูมิ หรือ ภาวะละเลยข้างเดียว (Hemispatial neglect หรือ hemiagnosia หรือ hemineglect หรือ unilateral neglect หรือ spatial neglect หรือ unilateral visual inattentionUnsworth, C. A. (2007). Cognitive and Perceptual Dysfunction. In T. J. Schmitz & S. B. O’Sullivan (Eds.), Physical Rehabilitation (pp. 1149-1185). Philadelphia, F.A: Davis Company. หรือ hemi-inattention หรือ neglect syndrome) เป็นภาวะทางประสาทจิตวิทยาที่เมื่อมีความเสียหายต่อซีกสมองด้านหนึ่ง ความบกพร่องในการใส่ใจ (attention) และการรู้สึกตัว (awareness) ในปริภูมิด้านหนึ่งของกายก็เกิดขึ้น ภาวะนี้กำหนดโดยความไม่สามารถที่จะประมวลผลและรับรู้ตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของกายหรือสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความบกพร่องทางความรู้สึก ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน.

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและภาวะเสียการระลึกรู้ · ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนแองกูลาร์

รอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus) เป็นเขตสมองในสมองกลีบข้าง ซึ่งอยู่ใกล้ด้านบนของสมองกลีบขมับ และอยู่ข้างหลังต่อจาก Supramarginal gyrus เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา การประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mindการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mind) คือความสามารถในการเข้าใจสภาวะของจิตใจเป็นต้นว่า ความเชื่อ ความตั้งใจ ความปรารถนา การเสแสร้ง ความรู้ โดยเป็นของตนหรือเป็นของคนอื่น และในการเข้าใจว่า ผู้อื่นมีความเชื่อ ความปรารถนา และความตั้งใจเป็นต้น ที่ไม่เหมือนกับของตน) เขตนี้เป็นเขตเดียวกันกับเขตบร็อดแมนน์ 39 ในสมองมนุษ.

ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยนูนแองกูลาร์ · รอยนูนแองกูลาร์และเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ภาวะเสียการระลึกรู้และรอยโรค · รอยโรคและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ภาวะเสียการระลึกรู้และระบบการเห็น · ระบบการเห็นและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

มมุติฐานทางสัญญาณสองทาง (Two-streams hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญในการศึกษาวิจัยการประมวลผลของนิวรอนในระบบสายตา เดวิด มิลเนอร์ และเมลวิน กูดเดล ได้จำแนกลักษณะต่างๆ ของทางสัญญาณสองทางที่มีความนิยมที่สุดในงานวิจัยปี..

ภาวะเสียการระลึกรู้และสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง · สมมุติฐานทางสัญญาณสองทางและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมอง · เปลือกสมองและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น · เปลือกสมองส่วนการเห็นและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น

ภาวะเสียการระลึกรู้ มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ เปลือกสมองส่วนการเห็น มี 70 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 9.90% = 10 / (31 + 70)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะเสียการระลึกรู้และเปลือกสมองส่วนการเห็น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »