โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ

ดัชนี ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ

วะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stereognosis ว่า "การรับรู้สัณฐานโดยคลำ" (Astereognosis หรือเรียกว่า tactile agnosia ถ้าเป็นเพียงแค่มือเดียว) เป็นความไม่สามารถที่จะระบุวัตถุโดยการลูบคลำด้วยมืออย่างเดียว โดยไม่ใช้ความรู้สึกทางอื่น ๆ เช่นทางตาช่วย บุคคลมีภาวะนี้ ไม่สามารถระบุวัตถุต่าง ๆ โดยเพียงแค่จับต้องได้ แม้ว่า ความรู้สึกที่มือจะเป็นปกติ คือ ถ้าปิดตา คนไข้ไม่สามารถระบุสิ่งที่อยู่ในมือได้ นี้ตรงข้ามกับ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia) ซึ่งคนไข้ไม่สามารถระบุวัตถุโดยใช้สายตาเพียงอย่างเดียวได้ ส่วนคนไข้ภาวะ tactile agnosia (แปลว่าไม่รู้สัมผัส) อาจจะสามารถระบุชื่อ ประโยชน์ และความเป็นมาของวัตถุที่อยู่ในมือข้างซ้าย แต่บอกไม่ได้ด้วยมือข้างขวา หรือว่าในนัยตรงข้าม หรือว่าไม่สามารถบอกได้ด้วยทั้งสองมือ ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ (astereognosis) มุ่งหมายเอาคนไข้เหล่านั้นที่ไม่สามารถระบุวัตถุด้วยมือทั้งสอง แม้ว่า คนไข้อาจจะสามารถระบุรูปร่างทั่วไปเช่น เป็นรูปพีระมิด เป็นรูปร่างกลม ๆ แม้ว่าอาจจะมีความยากลำบากบ้าง แต่ก็จะไม่สามารถระบุวัตถุสามัญว่าคืออะไรโดยสัมผัส แม้ว่าวัตถุนั้นอาจมีลักษณะที่รู้ได้ง่ายและไม่เหมือนวัตถุอื่นเช่นซี่ของส้อม แต่คนไข้อาจจะแจ้งความรู้สึกถึงวัตถุโลหะยาวมีซี่หลายซี่แยกออกมาจากฐานเดียวกันในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่สามารถระบุวัตถุว่าคือส้อม อาการต่าง ๆ เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า มีส่วนในสมองโดยเฉพาะที่ทำความสัมพันธ์ระหว่างตัวกระตุ้นทางสัมผัสต่าง ๆ กับหน้าที่หรือความเกี่ยวข้องต่อกันและกันของตัวกระตุ้นเหล่านั้น เพราะมีความเป็นไปที่เฉพาะเจาะจงอย่างนี้ และเพราะความที่สภาวะนี้มีผลเสียหายค่อนข้างน้อยต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ จึงเป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีรายงานและงานวิจัยเกี่ยวกับคนไข้ที่มีภาวะนี้ ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำมีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้าง (parietal lobe), หรือ dorsal column, หรือส่วนสมองที่อยู่ติดกันของสมองกลีบข้าง สมองกลีบขมับ (temporal lobe) และสมองกลีบท้ายท้อย (occipital lobe) ที่เป็นจุดเชื่อมที่เรียกว่า เขตสัมพันธ์ด้านหลัง (posterior association areas) ในซีกสมองซีกใดซีกหนึ่ง.

9 ความสัมพันธ์: พีระมิดกลีบขมับกลีบข้างภาวะเสียการระลึกรู้ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตารอยโรคส้อมตัวกระตุ้นซีกสมอง

พีระมิด

ีระมิดคาเฟร พีระมิด (pyramid) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีจุดยอดรวมอยู่ที่เดียวกัน โดยแต่ละด้านจะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมประกอ.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและพีระมิด · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการระลึกรู้

รูปแสดงทางสัญญาณด้านหลัง (สีเขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (สีม่วง) ทางสัญญาณทั้งสองนั้นเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันในคอร์เทกซ์สายตา ภาวะเสียการระลึกรู้เกิดจากความเสียหายของทางสัญญาณด้านล่าง ภาวะเสียการระลึกรู้ หรือ ภาวะไม่รู้ (Agnosia มาจากภาษากรีกโบราณว่า ἀγνωσία ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ หรือ ความปราศจากความรู้, คำว่า gnosis ที่ไม่มี a ข้างหน้า แปลว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่องลี้ลับเช่นจิตวิญญาณเป็นต้น) เป็นการสูญเสียความสามารถในการรู้จำวัตถุ บุคคล เสียง รูปร่าง หรือกลิ่น ในขณะที่การรับรู้ทางประสาทเฉพาะอย่างๆ ไม่มีความเสียหาย และไม่มีการสูญเสียความทรงจำเป็นสำคัญ เป็นภาวะที่ปกติมีความเกี่ยวข้องกับความบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้น หรือโรคทางประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเกิดความเสียหายใน เขตบร็อดแมนน์ 37 คือช่วงต่อระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับ (occipitotemporal area) ซึ่งเป็นส่วนของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น ภาวะไม่รู้จะมีผลกับการรับรู้ทางประสาทอย่างเดียวเท่านั้น เช่นการเห็นหรือการได้ยิน.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและภาวะเสียการระลึกรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

วะเสียการระลึกรู้ทางตา หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางการเห็น (visual agnosia) เป็นความบกพร่องในการรู้จำวัตถุที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เป็นความบกพร่องในการเห็น (ไม่ใช่ความบกพร่องเป็นต้นว่า ความชัดเจน ลานสายตา หรือการมองกวาด) ในภาษา ในระบบความทรงจำ หรือเพราะมีเชาวน์ปัญญาต่ำ ภาวะนี้มีสองอย่าง คือแบบวิสัญชาน (apperceptive) และแบบสัมพันธ์ (associative) การรู้จำวัตถุที่เห็นเกิดขึ้นที่ในระดับหลักๆ 2 ระดับในสมอง ในขั้นวิสัญชาน มีการนำลักษณะต่างๆ ของข้อมูลทางตาจากเรตินา มารวมกันเพื่อสร้างแบบแทนของวัตถุเพื่อการรับรู้ และเมื่อถึงขั้นสัมพันธ์ จึงมีการรวม ความหมายของวัตถุเข้าไปกับแบบแทนของวัตถุ แล้วจึงจะสามารถ บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไรได้ ถ้าบุคคลหนึ่งไม่สามารถรู้จำวัตถุได้เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุ แม้ว่า ความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นจะไม่มีปัญหาอย่างไร นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน (เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุนั้นอย่างถูกต้อง) ถ้าบุคคลสามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุได้ และมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นด้วย แต่ว่า ไม่สามารถบ่งชี้วัตถุว่าคืออะไรได้ นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์ (เพราะสามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุอย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นกับวัตถุ จึงไม่สามารถบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร) ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตามักจะเกิดขึ้นเพราะความเสียหายในซีกสมองทั้งสองข้างของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง และ/หรือ สมองกลีบขมั.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ส้อม

้อมประเภทต่างๆ จากซ้ายไปขวา: ส้อมของหวาน, ส้อมเล็ก, ส้อมสลัด, ส้อมทานข้าว, ส้อมจิ้มเนื้อ, ส้อมตักเนื้อ, ส้อมแล่เนื้อ. ส้อม เป็นเครื่องครัว ที่ประกอบไปด้วยด้ามจับและปลายแหลมหรือเงี่ยงหลายซี่ที่อีกด้าน โดนปกติมีประมาณ 2-4 ซี.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและส้อม · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: ภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AstereognosisTactile agnosiaภาวะเสียการระลึกรู้สัณฐานโดยคลำภาวะเสียการระลึกรู้ทางสัมผัสสภาวะเสียการระลึกรู้สัณฐานโดยคลำสภาวะเสียการระลึกรู้ทางสัมผัสสภาวะเสียการรับรู้สัณฐานโดยคลำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »