โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะหัวเล็กเกิน

ดัชนี ภาวะหัวเล็กเกิน

วะหัวเล็กเกิน (microcephaly) เป็นความผิดปกติของการเจริญทางประสาท (neurodevelopmental disorder) เป็นอาการแสดงทางประสาทวิทยาที่สำคัญ แต่ไม่มีนิยามเป็นเอกภาพ โดยปกตินิยามว่าเส้นรอบวงศีรษะต่ำเกินสองส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับอายุและเพศ ภาวะหัวเล็กเกินอาจเป็นแต่กำเนิดหรืออาจเป็นในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต ความผิดปกตินี้อาจกำเนิดจากหลายภาวะซึ่งทำให้กาารเจริญของสมองผิดปกติ หรือจากกลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซม โดยทั่วไป อายุคาดหมายของปัจเจกบุคคลที่มีภาวะหัวเล็กเกินลดลงและพยากรณ์โรคสำหรับการทำหน้าที่ของสมองปกตินั้นเลว พยากรณ์โรคแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการมีความผิดปกติร่วมด้ว.

7 ความสัมพันธ์: กลุ่มอาการสมองความผิดปกติแต่กำเนิดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)โครโมโซมเวชพันธุศาสตร์

กลุ่มอาการ

กลุ่มอาการ (syndrome) คือชุดความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดงหลายๆ อย่าง ซึ่งพบร่วมกัน และสามารถอธิบายกลไกซึ่งเป็นสาเหตุได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะใบหน้าเฉพาะ มีความบกพร่องของพัฒนาการ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีหัวใจผิดปกติ และมีกลไกซึ่งเป็นสาเหตุคือการมีแฝดสามของโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น กลุ่มอาการหลายอย่างตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ หรืออาจตั้งชื่อตามที่มาอื่นๆ เช่น สถานที่ ประวัติศาสตร์ ตำนาน หรือไม่ใช้ชื่อเฉพาะแต่ตั้งตามลักษณะเฉพาะของกลุ่มอาการนั้นๆ ก็ได้.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและกลุ่มอาการ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติแต่กำเนิด

วามผิดปกติแต่กำเนิดเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดจากความบกพร่องระหว่างการเจริญของทารกในครรภ์ อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สภาวะไม่เหมาะสมในมดลูก ความผิดปกติของการสร้างอวัยวะ หรือความผิดปกติของโครโมโซม ผลที่เกิดจากความผิดปกติดังกล่าวขึ้นกับความรุนแรงหรือความซับซ้อนของความผิดปกติก่อนเกิดและสภาพแวดล้อมหลังเก.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและความผิดปกติแต่กำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: SD) ในทางสถิติศาสตร์และความน่าจะเป็น เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่มข้อมูล สามารถนำไปใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม ประชากร หรือมัลติเซต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วยอักษรกรีกซิกมาตัวเล็ก (σ) นิยามขึ้นจากส่วนเบี่ยงเบนแบบ root mean square (RMS) กับค่าเฉลี่ย หรือนิยามขึ้นจากรากที่สองของความแปรปรวน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคิดค้นโดย ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 เป็นการวัดการกระจายทางสถิติที่เป็นปกติทั่วไป ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่าค่าต่างๆ ในเซตข้อมูลกระจายตัวออกไปมากน้อยเท่าใด หากข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่าน้อย ในทางกลับกัน ถ้าข้อมูลแต่ละจุดอยู่ห่างไกลจากค่าเฉลี่ยเป็นส่วนมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่ามาก และเมื่อข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากันหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือไม่มีการกระจายตัว คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้หน่วยอันเดียวกันกับข้อมูล แต่กับความแปรปรวนนั้นไม่ใช่ เมื่อตัวอย่างของข้อมูลกลุ่มหนึ่งถูกเลือกมาจากประชากรทั้งหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรสามารถประมาณค่าได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่างนั้น.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม)

ฉลี่ย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและค่าเฉลี่ย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

เวชพันธุศาสตร์

เวชพันธุศาสตร์ (medical genetics) เป็นการแพทย์เฉพาะทางอย่างหนึ่ง มุ่งวินิจฉัยและให้การดูแลโรคพันธุกรรม ต่างจาก มนุษยพันธุศาสตร์ (human genetics) ตรงที่ human genetics จะศึกษาพันธุศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมดโดยอาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับโรคก็ได้ หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: ภาวะหัวเล็กเกินและเวชพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Microcephalyศีรษะเล็กศีรษะเล็กผิดปกติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »