สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: ภูมิทัศน์มุทราศาสตร์สีผิวตรา (มุทราศาสตร์)ตราอาร์มนิยามของตราโลหะเครื่องอิสริยาภรณ์
- มุทราศาสตร์
ภูมิทัศน์
ูมิทัศน์ โดยทั่วไปคำว่า "ภูมิทัศน์" หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์ รับรู้ทางสายตาในระยะห่าง อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์และสรรพสิ่งมนุษย์สร้างในสภาพอากาศหนึ่งและช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมืองนอกจากนี้ยังมีการใช้คำ “ภูมิทัศน์” กับพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเด่นชัด เช่น ภูมิทัศน์ทะเล ภูมิทัศน์ภูเขา ภูมิทัศน์ทะเลทราย หรือ ภูมิทัศน์พระจันทร์ ซึ่งหมายถึงภาพรวมของพื้นที่บนผิวดวงจันทร์ที่มนุษย์อวกาศไปเยือน ภูมิทัศน์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Landscape มีผู้บัญญัติคำนี้ใช้แทนการทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อ..
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และภูมิทัศน์
มุทราศาสตร์
รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และมุทราศาสตร์
สี
วงล้อสี สี คือการรับรู้ความถี่ (ความกว้างคลื่นหรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้.
ผิวตรา (มุทราศาสตร์)
ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และผิวตรา (มุทราศาสตร์)
ตราอาร์ม
ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราอาร์ม
นิยามของตรา
นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และนิยามของตรา
โลหะ
ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และโลหะ
เครื่องอิสริยาภรณ์
รื่องอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศของฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และจากนั้นได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีราชวงศ์ เครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ.
ดู พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และเครื่องอิสริยาภรณ์
ดูเพิ่มเติม
มุทราศาสตร์
- การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)
- ผิวตรา (มุทราศาสตร์)
- พื้นตรา (มุทราศาสตร์)
- พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)
- มุทราศาสตร์
- ลักษณะการวางท่า
- เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)
- เครื่องอิสริยาภรณ์
- เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)
- โล่ (มุทราศาสตร์)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Field (heraldry)พื้นตรา