โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ดัชนี พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

22 ความสัมพันธ์: การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)กางเขนสีทอง (มุทราศาสตร์)สีดำ (มุทราศาสตร์)สีแดง (มุทราศาสตร์)ผิวตรา (มุทราศาสตร์)ตราแผ่นดินของบัลแกเรียตราแผ่นดินของสวีเดนตราแผ่นดินของสเปนตราแผ่นดินของนอร์เวย์ตราแผ่นดินของนครรัฐวาติกันตราแผ่นดินของแอลเบเนียตราแผ่นดินของไอร์แลนด์ตราแผ่นดินของไอซ์แลนด์ตราแผ่นดินของเบลเยียมตราแผ่นดินของเช็กเกียตราแผ่นดินของเยอรมนีตราแผ่นดินของเลบานอนตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์นิยามของตราเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)

การแบ่งโล่ หรือ แบ่งโล่ (Division of the field) เป็นศัพท์ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรงการแบ่งโล่บนตราอาร์มออกเป็นส่วนหรือช่องต่างๆ พื้นตราของโล่อาจจะแบ่งออกเป็นบริเวณที่มากกว่าสองบริเวณที่แต่ละบริเวณอาจจะมีผิวตราที่ต่างกัน ที่มักจะดำเนินตามลักษณะของเรขลักษณ์ การแบ่งแต่ละวิธีก็จะมี นิยามต่างกันไปที่ใช้ศัพท์คล้ายคลึงกับศัพท์ที่ใช้ในเรขลักษณ์ เช่นโล่ที่แบ่งตามเรขลักษณ์ทรงจั่วบ้านก็จะได้รับนิยามว่า “per chevron” หรือ “แบ่งจั่ว” ตามลักษณะแถบจั่วที่ใช้ในเรขลักษณ์ จุดประสงค์ของการแบ่งตราก็มีหลายประการๆ หนึ่งอาจจะเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตราที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อ “การรวมตรา” (marshalling) ที่หมายถึงการรวมตราอาร์มมากกว่าสองตราขึ้นไปเป็นตราเดียว หรือ เพียงเพื่อเป็นสร้างความสวยงามให้กับตรา “เส้นแบ่ง” (Line) ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรง และเส้นที่ใช้แต่ละแบบก็จะมีนิยามที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้โครงสร้างของศัพท์เช่นเดียวกับเรขลักษณ์ นอกจากนั้นการแบ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะเป็นลายหยักต่างๆ คล้ายกับที่ใช้ในเรขลักษณ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และการแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และสีทอง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ (มุทราศาสตร์)

“Sable (heraldry)” สีดำทางซ้าย หรือ ตารางทางขวา สีดำ (Sable) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีดำ ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “ดำ” ก็จะเป็นตาราง หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “sa.” ของคำว่า “Sable” ชื่อสีตรามาจากขนสีดำของตัวเซเบิล ผิวตราสีดำเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และสีดำ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง (มุทราศาสตร์)

กูลสสีแดงทางซ้าย หรือ แถวเส้นดิ่งทางขวา สีแดง หรือ กูลส (Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสี นักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้น รงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และผิวตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของบัลแกเรีย

ตราแผ่นดินของบัลแกเรีย (Герб на България, Gerb na Bălgariya, Coat of arms of Bulgaria) เป็นตราอาร์มของประเทศบัลแกเรีย ที่ประกอบด้วยสิงโตยืนบนโล่ที่มีพื้นสีแดง เครื่องยอดของตราเป็นมงกุฎของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ประคองสองข้างด้วยสิงโตยืนสวมมงกุฎทอง ฐานรองเป็นกิ่งโอ้คและแถบขาวที่มีคำขวัญจารึกว่า “ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นบ่อเกิดของอำนาจ”.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสวีเดน

ตราแผ่นดินของสวีเดน หรือ ตรามหาลัญจกรประจำชาติ และ ตราจุลลัญจกรประจำชาติ (สวีเดน: stora riksvapnet หรือ lilla riksvapnet, Coat of arms of Sweden) เป็นตราอาร์มของประเทศสวีเดน.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสเปน

ตราแผ่นดินของสเปน (Coat of arms of Spain) เป็นตราอาร์มของประเทศสเปนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ตามกฎหมายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1981 แทนที่ตราชั่วคราว เป็นตราที่นำมาใช้แทนตราของรัฐสเปน (ภายใต้การปกครองของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก) ตราแผ่นดินปรากฏบนธงชาติสเปน.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของนอร์เวย์

ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ (Coat of arms of Norway) เป็นตราอาร์มของประเทศนอร์เวย์ที่ใช้มาตั้งแต่ค.ศ. 1280 ที่เป็นภาพสิงโตยืนผงาดสีทองสวมมงกุฎถือขวานที่มีใบขวานสีเงินบนพื้นตราสีแดง ที่เป็นตราที่มีต้นตอมาจากตราอาร์มของราชวงศ์นอร์เวย์ในยุคกลางซึ่งทำให้เป็นตราที่เก่าที่สุดตราหนึ่งของยุโรป.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของนครรัฐวาติกัน

ตราแผ่นดินของนครรัฐวาติกัน (Coat of arms of the State of Vatican City) เป็นตราอาร์มของนครรัฐวาติกัน นิยามของตราอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของแอลเบเนีย

ตราแผ่นดินของแอลเบเนีย (Coat of arms of Albania) เป็นตราอาร์มของประเทศแอลเบเนียที่แปลงมาจากธงชาติแอลเบเนียและมาจากตราของสแกนเดอร์เบิร์ก เครื่องหมายเหนืออินทรีสองหัวคือหมวกเกราะสแกนเดอร์เบิร์กที่ประดับด้วยเขาแ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของไอร์แลนด์

ตราแผ่นดินของไอร์แลนด์ (Coat of arms of Ireland) เป็นตราอาร์มของประเทศไอร์แลนด์ที่เป็นภาพฮาร์พเกลลิค (Cláirseach) สีทองบนพื้นสีน้ำเงินนักบุญแพททริค ฮาร์พเกลลิคเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในตราต่างๆ ของไอร์แลนด์มาแต่โบราณ ตราอาร์มปัจจุบันลงทะเบียนเป็นตราแผ่นดินของสาธารณรัฐไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 นิยามของตราอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของไอซ์แลนด์

ตราแผ่นดินของไอซ์แลนด์ (Skjaldarmerki Íslands, Coat of arms of Iceland) เป็นตราอาร์มของประเทศไอซ์แลนด์เป็นตรากางเขนเงินบนพื้นตราสีน้ำเงินโดยมีกาเขนสีแดงเพลิงกลางกางเขนเงิน (เช่นเดียวกับที่ปรากฏบนธงชาติไอซ์แลนด์) รอบโล่เป็นเครื่องหมายผู้พิทักษ์สี่อย่างประคองตรา ยืนอยู่บนแผ่นหินลาวา (Pāhoehoe) ที่รวมทั้งวัว (Griðungur) ผู้พิทักษ์ไอซ์แลนด์ตะวันตกเฉียงใต้, เหยี่ยว หรือ กริฟฟิน (Gammur) ผู้พิทักษ์ไอซ์แลนด์ตะวันตกเฉียงเหนือ, มังกร (Dreki) ผู้พิทักษ์ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ยักษ์ (Bergrisi) ผู้พิทักษ์ตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตไอซ์แลนด์ให้ความสำคัญกับผู้พิทักษ์ทั้งสี่จนถึงกับออกฎหมายระหว่างสมัยไวกิงห้ามมิให้เรือยาวไวกิง (Longship) ที่มีสัญลักษณ์หน้าตาดุร้าย (ส่วนใหญ่เป็นหัวมังกรบนหัวเรือ) เข้าใกล้ท่าเรือในไอซ์แลนด์ เพราะอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้พิทักษ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเบลเยียม

ตราแผ่นดินของเบลเยียม (Coat of arms of Belgium) เป็นตราอาร์มของประเทศเบลเยียมที่เริ่มใช้เป็นตราประจำชาติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ตราแผ่นดินประกอบด้วยสิงโตเบลเยียม (Leo Belgicus) ตามมาตรา 193 (เดิมมาตรา 125) ของรัฐธรรมนูฐเบลเยียมที่ระบุว่า ชาติเบลเยียมใชสีแดง, เหลือง และ ดำเป็นสีประจำชาติ และตราอาร์มมีสิงโตเบลเยียมพร้อมด้วยคำขวัญ 'ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง' (UNITY MAKES STRENGTH) พระราชประกาศที่ออกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ระบุรูปทรงของตราอาร์มโดยบรรยายทั้งตรามหาจลัญจกรณ์ และตราประทับของราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเช็กเกีย

ตราแผ่นดินของเช็กเกีย (Státní znak České republiky) เป็นตราอาร์มของประเทศเช็กเกียที่ประกอบด้วยตราของภูมิภาคในประวัติศาสตร์สามบริเวณที่ประกอบขึ้นเป็นสาธารณรัฐ ตราอาร์มของโบฮีเมียเป็นสิงโตสีเงินสองหางบนพื้นตราสีแดง1 ที่ปรากฏอีกครั้งในช่องตราด้านล่างซ้าย (ขวาของผู้ดูตรา ซ้ายของผู้ถือโล่) โมราเวียเป็นอินทรีลายหมารุกขาวสลับแดงบนพื้นตราสีน้ำเงิน ตราของไซลีเซียมีพื้นสีทอง อินทรีสีดำแต่งด้วยจิกสามดอก หรือ "clover stalk" บนหน้าอก ตรานี้ใช้สำหรับเป็นตราสำหรับฟุตบอลทีมชาติและฮอกกี้ทีมชาติของเช็กเกียด้วย นิยามของตราอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเยอรมนี

ตราแผ่นดินของเยอรมนี (Bundesadler) เป็นตราอาร์มของประเทศเยอรมนีที่ประกอบด้วยเหยี่ยว สีของตราคลายกับสีของธงชาติเยอรมนี (ดำ แดง และ ทอง) และเป็นตราประจำชาติที่เก่าที่สุดตราหนึ่งของยุโรป และของโลก.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเลบานอน

ตราแผ่นดินของเลบานอน (شعار لبنان) มีลักษณะเป็นรูปโล่อาร์มลายธงชาติเลบานอนพาดตามแนวทแยงจากขวาลงมาซ้าย (bend sinister) กลางแถบสีขาวมีรูปต้นซีดาร์สีเขียวอย่างที่ปรากฏในธงชาติ นิยามของตราอย่างเป็นทางการตามหลักวิชามุทราศาสตร์ (Heraldry) มีดังนี้.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์

ตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์ (Groot Rijkswapen, Coat of arms of the Netherlands) เป็นตราอาร์มส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ใช้ตราย่อที่ไม่มีเสื้อคลุมและบางทีก็จะใช้แต่โล่และมงกุฎ องค์ประกอบของตราได้รับการอนุมัติโดยสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาตามพระราชประกาศเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 และได้รับการยืนยันอีกครั้งสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1980 (สำหรับตราที่ใช้อย่างเป็นทางการดูข้อมูลได้ที่).

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

รื่องหมาย (Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า “แถบ”) หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่นๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า “pièces” และเครื่องหมายอื่นๆ เรียกว่า “mobile” ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า “meuble” ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น “แถบ” หรือ “แถบย่อย” และกลุ่มอื่นๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา คำว่า “charge” (“เครื่องหมาย”) อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว “เครื่องหมาย” เองก็อาจจะเป็น “เครื่องหมาย” ได้ เช่นเป็นปีกเหยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง “แถบ” (ordinaries) กับ “ช่องตรา” (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน) สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Field (heraldry)พื้นตราพื้นตรา (อิสริยาภรณ์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »