โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ดัชนี พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

19 ความสัมพันธ์: มุทราศาสตร์สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสัญลักษณ์หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)อัศวินผิวตรา (มุทราศาสตร์)ตราอาร์มตราแผ่นดินของบาห์เรนตราแผ่นดินของรัสเซียตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรตราแผ่นดินของแคนาดานิยามของตราแพรประดับ (มุทราศาสตร์)โล่ (มุทราศาสตร์)เมเปิลเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์เออร์มินเครื่องยอด (มุทราศาสตร์)เครื่องอิสริยาภรณ์

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

มเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล ในปัจจุบันนี้พระองค์เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เท็นโน เฮกะ หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะเรียกว่า ยุคเฮเซ หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว อาจมีการขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

หมวกเกราะ หรือ มาลา (Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริงFox-Davies (1909), p. 303.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และหมวกเกราะ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อัศวิน

รูปปั้นอัศวิน อัศวิน เป็นบุคคลที่พระมหากษัตริย์พระราชทานหรือผู้นำทางการเมืองอื่นมอบบรรดาศักดิ์กิตติมศักดิ์ให้สำหรับราชการต่อพระมหากษัตริย์หรือประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ทางประวัติศาสตร์ ในทวีปยุโรป บรรดาศักดิ์อัศวินมอบให้แก่นักรบขี่ม้า ระหว่างสมัยกลางตอนกลาง อัศวินถูกมองว่าเป็นชนชั้นขุนนางล่าง เมื่อถึงสมัยกลางตอนปลาย ยศอัศวินได้มาสัมพันธ์กับอุดมคติอัศวิน (chivalry) อันเป็นจรรยาบรรณสำหรับนักรบคริสตชนราชสำนักที่ไร้ที่ติ บ่อยครั้ง อัศวินเคยเป็นข้า (vassal) ซึ่งรับใช้เป็นนักสู้ให้กับเจ้า (lord) โดยจ่ายในรูปการถือครองที่ดิน เจ้าเชื่อใจอัศวิน ซึ่งมีทักษะการยุทธ์บนหลังม้า นับแต่สมัยใหม่ตอนต้น บรรดาศักดิ์อัศวินเป็นเพื่อแสดงเกียรติยศทั้งหมด โดยพระมหากษัตริย์มักเป็นผู้พระราชทาน ดังเช่นในระบบบรรดาศักดิ์อังกฤษ (British honours system) มักให้สำหรับราชการที่มิใช่ทางทหารแก่ประเท.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และผิวตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของบาห์เรน

ตราแผ่นดินของบาห์เรน เริ่มใช้เมื่อ..2475 มีส่วนประกอบคือ.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของบาห์เรน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของรัสเซีย

ตราแผ่นดินของรัสเซีย ประกอบด้วยรูปนกอินทรีสองเศียรซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของรัสเซีย อินทรีสองหัวมีความหมายแสดงถึงความกว้างใหญ่ของประเทศรัสเซีย โดยแต่ละหัวหันไปทางซ้ายและขวา หมายถึงการดูแลดินแดนของรัสเซียทั้งทางฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก และส่วนไม้คทาหมายถึงอำนาจ ส่วนลูกโลกประดับกางเขนหมายถึงนิติบัญญัติ ตราแผ่นดินนี้มีต้นแบบสืบเนื่องมาจากตราแผ่นดินในช่วงต้นของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการฟื้นฟูตราแผ่นดินนี้ขึ้นมาอีกครั้ง จากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้มีการบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซี.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร (Royal coat of arms of the United Kingdom) เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office) โล่ในตราแบ่งสี่ ในช่องที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และช่องที่สี่หรือล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในช่องที่สองหรือบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในช่องที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์พเกลลิค (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือ (การบรรยายเป็นไปตามหลักการให้คำนิยามของตรา) เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ตามตำนานยูนิคอร์นที่เป็นอิสระเป็นสัตว์ที่อันตราย ฉะนั้นยูนิคอร์นที่ใช้ในอิสริยาภรณ์จึงเป็นยูนิคอร์นที่ล่ามโซ่ เช่นเดียวกับยูนิคอร์นสองตัวที่ประคองข้างตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ ตรามีคำขวัญของทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (Dieu et Mon Droit) “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และ คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย” (Honi soit qui mal y pense) บนแถบอยู่รอบโล่หลังตร.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของแคนาดา

ตราแผ่นดินของแคนาดา (มีชื่อเรียกอย่าไม่เป็นทางการว่า ตราอาร์มแห่งแคนาดา หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ตราแผ่นดินของแคนาดา ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร) และ ใช้เป็นตราประจำพระประมุขสูงสุดแห่งแคนาดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบตราจากตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร พร้อมกับมีการปรับแก้ไขลักษณะบางอย่างของตราให้เหมาะสม.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

แพรประดับ (มุทราศาสตร์)

แพรประดับ (Torse) ในมุทราศาสตร์ “แพรประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นที่มีลักษณะเหมือนมาลาที่ทำด้วยผ้าบิดเป็นเกลียวบนหมวกเกราะและเครื่องยอด ที่ใช้รัดพู่ประดับ (mantling) ให้อยู่กับที่ “แพรประดับ” ก็เช่นเดียวกับพู่ประดับหมวกเกราะจะเป็นสองสีที่เป็นคู่สีเดียวกัน ที่ทำจากสายริบบิ้นสองสายบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันที่เป็นสี (Tincture) เดียวกับสีหลักของโล่ซึ่งเป็นสีประจำเหล่า “แพรประดับ” มักจะเรียกว่า “มาลาประดับ” (Wreath) “แพรประดับ” บางครั้งก็จะใช้ถือโดยนักรบครูเสดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้รับจากสตรีที่เป็นที่รักเมื่อจากไปสงคราม คล้ายกับผ้าเช็ดหน้าไว้ผูกรอบหมวกเกราะ หรือผูกตรงรอยต่อระหว่างหมวกกับเครื่องยอดเช่น “On a wreath of the colours x and y…” (“บนมาลาประดับเป็นสี ก และ ข”) แพรประดับของตราแผ่นดินของแคนาดานิยามว่า “On a wreath of the colours Argent and Gules, a lion passant guardant Or” (“บนมาลาประดับเป็นสีขาวและสีแดง, สิงโตยืนยกเท้าหน้าสีทอง”) “แพรประดับ” นอกจากนั้นแพรประดับก็ยังใช้ในการตกแต่งสัตว์ในมุทราศาสตร์ที่อาจจะแต่งเป็นมงกุฎหรือเป็นมาลัยคล้องคอ ไฟล์:Lev vyskakujici.svg|สิงโตครึ่งตัวบนแพรประดับ ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|ตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:30FARegtCOA.jpg|ตราอาร์มของ 30th Field Artillery Regiment Coat Of Arms ของสหรัฐอเมริกา ไฟล์:Chadderton Urban District Council - coat of arms.png|ตราของอดีตเทศบาลเมืองแชดเดอร์ทันในอังกฤษ ไฟล์:Coat of arms of Northwest Territories.svg|ตราของ Northwest Territories ในแคน.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เมเปิล

มเปิล หรือ ก่วมลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ ดร.ก่องการดา ชยามฤต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (Acer มาจากภาษาละตินแปลว่า: แหลม,คม หมายถึงปลายแหลมของใบ) คือสกุลของต้นไม้หรือพุ่มไม้ ซึ่งแบ่งได้หลายประเภทในวงศ์เดียวกัน มีประมาณ 125 สปีชีส์ ส่วนมากเป็นพืชในแถบเอเชีย แต่ก็มีบ้างในแถบยุโรป,ตอนเหนือของทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาเหนือ มันถูกจัดเข้าสู่สกุลครั้งแรกโดย โจเชฟ ปีตตอง เดอ ตัวเนฟอร์ต (Joseph Pitton de Tournefort) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และเมเปิล · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์

รื่องอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศของฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และจากนั้นได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีราชวงศ์ เครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ.

ใหม่!!: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และเครื่องอิสริยาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mantlingพู่หมวกเกราะพู่ประดับ (อิสริยาภรณ์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »