โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิมล แจ่มจรัส

ดัชนี พิมล แจ่มจรัส

มล แจ่มจรัส (เกิด พ.ศ. 2477 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก กรรมการผู้ตัดสินรางวัลซีไรต์ เป็นนักเขียน นักแปล ผลงานด้านประวัติศาสตร์ และเรื่องราวในราชสำนักไทย เจ้าของนามปากกา "พิมาน แจ่มจรัส" และ "แคน สังคีต" พิมล แจ่มจรัส เกิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://matichon.co.th/news-photo/khaosod/2007/06/03col18180650.txt เคยใช้ชีวิตเป็นครูสอนภาษาไทย เป็นอาจารย์สอนวิชาการเขียน และแต่งตำราเกี่ยวกับการเขียนชื่อ "เขียน" และยังมีผลงานแปลเรื่อง รุไบยาต ของโอมาร์ คัยยาม และแปลผลงานของนากิ๊บ มาห์ฟูซ์ (Naguib Mahfuz) นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี..

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2477พ.ศ. 2552มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกริกรางวัลซีไรต์รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมรุไบยาตของโอมาร์ คัยยามจังหวัดสุราษฎร์ธานีประเทศอียิปต์โอมาร์ คัยยาม10 กรกฎาคม

พ.ศ. 2477

ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและพ.ศ. 2477 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกริก

มหาวิทยาลัยเกริก เดิมชื่อสถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ที่ หลักสี่ ถนนรามอินทรา กม.1 กรุงเทพ เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2495 จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อปี..

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและมหาวิทยาลัยเกริก · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (Nobelpriset i litteratur, Nobel Prize in Literature) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต..

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม

หน้าปกของ 'รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม' ฉบับภาษาอังกฤษ รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม (Rubaiyat of Omar Khayyam) เป็นบทกวีภาษาเปอร์เซีย ที่เรียกว่า รุไบยาต แต่งโดย โอมาร์ คัยยาม (Omar Khayyam, ค.ศ. 1048 – ค.ศ. 1131) กวีและนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นบทกวีที่มีลีลาอันไพเราะ เปรียบเปรยศาสนาของผู้นับถือในยุคสมัยนั้น และเชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายให้รีบหาความสนุกสบายต่าง ๆ ในโลก ด้วยการเสพสุขจากรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส นอกจากจะเป็นบทกวีที่มีความไพเราะแล้ว ยังแสดงคุณค่าทางปรัชญาชีวิตอันลึกซึ้ง.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและรุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและจังหวัดสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

โอมาร์ คัยยาม

อมาร์ คัยยาม หลุมศพของโอมาร์ คัยยาม ในเมืองเนชาปูร ประเทศอิหร่าน โอมาร์ คัยยาม (18 พฤษภาคม ค.ศ. 1048 - 4 ธันวาคม ค.ศ. 1131; เปอร์เซีย عمر خیام) เกิดในเมืองเนชาปูร เมืองหลวงของเขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่าน) โอมาร์ คัยยาม เป็นกวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และแพทย์ชาวเปอร์เซียที่ได้รับอิทธิพลจากอะบู เรฮัน อัลบิรูนีและอวิเซนนา เขาเป็นผู้ประพันธ์รุไบยาตอันลือชื่อ โดยผลงานของเขาเป็นต้นแบบของผลงานของอัตตาร์แห่งเนชาปูร คัยยามมีชื่อในภาษาอาหรับว่า "ฆิยาษุดดีน อะบุลฟาติฮฺ อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลคอยยาม" (غياث الدين ابو الفتح عمر بن ابراهيم خيام نيشابوري) คำว่า "คัยยาม" (خیام) เป็นคำยืมจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า "ผู้สร้างกระโจมพัก" มะลิกชาห์ ญะลาลุดดีน กษัตริย์ราชวงศ์สัลจูกได้มีรับสั่งให้คัยยามมาที่หอดูดาวแห่งใหม่ในเมืองเรย์ (Ray) ในราวปี 1074 เพื่อปฏิรูปแก้ไขปฏิทินสุริยคติที่ใช้ในอิหร่านเป็นเวลานาน คัยยามได้นำเสนอปฏิทินที่มีความถูกต้องแม่นยำและตั้งชื่อว่า อัตตารีค อัลญะลาลีย์ (เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ญะลาลุดดีน) ซึ่งมีความผิดพลาดเพียงวันเดียวในรอบ 3770 ปี และมีความถูกต้องเหนือกว่าปฏิทินเกรกอเรียนที่มีความผิดพลาด 1 วันใน 3330 ปี.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและโอมาร์ คัยยาม · ดูเพิ่มเติม »

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พิมล แจ่มจรัสและ10 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พิมาน แจ่มจรัสแคน สังคีต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »