โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พายุโซนร้อนวาชิ

ดัชนี พายุโซนร้อนวาชิ

ซนร้อนวาชิ เป็นพายุหมุนเขตร้อนมีพลังอยู่ใกล้กับประเทศฟิลิปปินส์ วาชิ ซึ่งหมายถึงกลุ่มดาวนกอินทรีในภาษาญี่ปุ่น ขึ้นฝั่งที่เกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม หลังพัดผ่านมินดาเนา พายุโซนร้อนวาชิได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและขึ้นฝั่งที่ประเทศมาเลเซีย จึงทำให้ภาคใต้ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาขอบเขตความเสียหายทั้งหมดอันเกิดขึ้นจากวาชิ พายุวาชิเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1,257 คน นับเป็นพายุหมุนที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในรอบปี..

13 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวนกอินทรีกวมกาชาดภาษาญี่ปุ่นมินดาเนาฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554อ่าวไทยทะเลซูลูประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมาเลเซียประเทศปาเลาประเทศไมโครนีเซียประเทศไทย

กลุ่มดาวนกอินทรี

กลุ่มดาวนกอินทรี เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้วางตัวอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้คือดาวตานกอินทรี (Altair) ซึ่งเป็นจุดยอดจุดหนึ่งของ "สามเหลี่ยมฤดูร้อน".

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและกลุ่มดาวนกอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กวม

กวม (Guam; ชามอร์โร: Guåhån) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนกวมของสหรัฐอเมริกา (U.S. Territory of Guam) เป็นเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชามอร์โรซึ่งอพยพมาอยู่ที่เกาะเป็นครั้งแรกเมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว กวมเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางใต้สุดของหมู่เกาะมาเรียนา มีเมืองหลวงคือ ฮากัตญา (Hagåtña) เดิมเรียกว่า "อากาญา" (Agana) รายได้หลักของเกาะมาจากการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น) และจากการเป็นฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติจัดให้กวมอยู่ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและมีประชากรทั้งเกาะประมาณ 173,000คน.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและกวม · ดูเพิ่มเติม »

กาชาด

100px 100px 100px ขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ หรือ กาชาด (International Red Cross and Red Crescent Movement หรือ Red Cross) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลกราว 97 ล้านคน ที่มีจุดประสงค์ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง ตราสัญลักษณ์ที่ใช้โดยหน่วยงานนี้มีด้วยกันสามตรา ซึ่งเป็นรูป “ตรากากบาทแดง” (Red Cross), “ตราเสี้ยววงเดือนแดง” (Red Crescent) และ “ตราเพชรแดง” (Red Crystal) หน่วยงานในประเทศไทย เรียก สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดง เป็นตราสัญลักษณ.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและกาชาด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

มินดาเนา

มินดาเนา (Mindanao) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศฟิลิปปินส์ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ชายฝั่งเว้าแหว่ง มีอ่าวขนาดใหญ่และเล็กจำนวนมาก มีเทือกเขาซึ่งมียอดเขาหลายแห่งที่มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดสูงสุดชื่อ อาโป สูง 2,954 เมตร มีระบบแม่น้ำหลัก 2 ระบบ คือ ระบบแม่น้ำอากูซันทางตะวันออก และระบบแม่น้ำมินดาเนาทางใต้และกลาง ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้า มะพร้าว ไม้ซุง กาแฟ ป่านอะบากา ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้าไปในเกาะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนได้เดินทางมาถึงเกาะนี้ ใน..

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและมินดาเนา · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

ูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก..

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลซูลู

ทะเลซูลู ทะเลซูลู (Sulu Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ทิศตะวันออกติดกับหมู่เกาะวีซายันและเกาะมินดาเนา ทิศตะวันตกติดกับรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ทิศเหนือติดกับเกาะปาลาวัน หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:ทะเลในประเทศมาเลเซีย หมวดหมู่:แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและทะเลซูลู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปาเลา

ปาเลา (Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กิโลเมตร ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและประเทศปาเลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไมโครนีเซีย

มโครนีเซีย (Micronesia) หรือ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย (Federated States of Micronesia) เป็นรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความสัมพันธ์เสรีกับสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปาปัวนิวกินี ประเทศไมโครนีเซียจัดอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเซีย ซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ หลายร้อยเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ประเทศกับ 2 ดินแดน คำว่า Micronesia มักจะนำมาใช้เรียกเป็นชื่อประเทศ อย่างไรก็ดี ไมโครนีเซียก็เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน ไมโครนีเซียในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งเป็นดินแดนภาวะพึ่งพิงขององค์การสหประชาชาติภายใต้การบริหารของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2522 ไมโครนีเซียได้นำรัฐธรรมนูญมาใช้ และในพ.ศ. 2529 ได้รับเอกราชภายใต้สัญญาความสัมพันธ์เสรี (Compact of Free Association) กับสหรัฐอเมริกา ปัญหาในปัจจุบันคือ อัตราการว่างงานสูง การประมงมากเกินไป และการพึ่งพาสหรัฐมากเกินไป.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและประเทศไมโครนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: พายุโซนร้อนวาชิและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »