สารบัญ
41 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2550พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550พระคะแนนพระเครื่องกรมทรัพยากรน้ำภาณวารมูลนิธิชัยพัฒนาวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารวัดพนัญเชิงวรวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดสระเกศราชวรมหาวิหารวัดสัมพันธวงศารามวรวิหารวัดสุวรรณารามราชวรวิหารวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามวัดปากน้ำวัดปากน้ำ ภาษีเจริญวัดปทุมคงคาราชวรวิหารวัดไร่ขิงวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)สมเด็จพระราชาคณะสังฆราชอำเภอพุทธมณฑลผงอิทธิเจผงปถมังจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดนครปฐม5 ธันวาคม
พ.ศ. 2550
ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ระวังสับสนกับ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นงานฉลองที่ประกอบด้วยรัฐพิธี ราชพิธี และราษฎรพิธี เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
พระคะแนน
ระคะแนน หมายถึง พระเครื่องขนาดเล็กใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวนพระเครื่องที่สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ 100 องค์ ก็มีพระคะแนน 1 องค์ พระคะแนนจึงจัดสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจำนวนนับพระ จำนวนพระคะแนนในการสร้างแต่ละครั้งจึงมีจำนวนน้อยกว่าพระปกติ และที่มักจัดสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจน ปัจจุบันการจัดสร้างพระคะแนนอาจไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องด้วยกลวิธีในการผลิตพระแตกต่างจากสมัยก่อน.
พระเครื่อง
ระเครื่องราง นิยมเรียกโดยย่อว่า พระเครื่อง หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาจจะรวมถึงรูปสมมติขนาดเล็กของพระสงฆ์อริยบุคคล พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าด้ว.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและพระเครื่อง
กรมทรัพยากรน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและกรมทรัพยากรน้ำ
ภาณวาร
ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.
มูลนิธิชัยพัฒนา
ตราสัญลักษณ์มูลนิธิ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นมูลนิธิซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกในการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบ มูลนิธิชัยพัฒนาก่อตั้งเมื่อ 14 มิถุนายน..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและมูลนิธิชัยพัฒนา
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ องค์พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทราวดี.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
วัดพนัญเชิงวรวิหาร
วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย มีจุดเด่นสำคัญ คือ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดพนัญเชิงวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
วัดสระเกศ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีนามว่า วัดเกาะ หลักฐานในการสร้างวัดแต่เดิมไม่ปรากฏใครเป็นผู้สร้าง ทราบแต่ว่าเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดเกาะ เนื่องจากการที่มีคูคลองล้อมรอบเชื่อมต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ใหม่หลายวัด ในส่วนของวัดเกาะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอ ต้นราชสกุลมนตรีกุล ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเกาะแก้วลังการาม" ต่อมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง แล้วเปลี่ยนนามวัดใหม่ เป็น วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เช่นในปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯถวายผ้าพระกฐินที่วัดสัมพันธวงศ์วงศารามวรวิหาร รวมถึงวัดปทุมคงคาราม โดยทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งเทียบที่ศาลาท่าน้ำ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดสุวรรณาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตรงข้ามกับแยกบางขุนนนท์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย โดยติดอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตั้งอยู่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
วัดปากน้ำ
วัดปากน้ำ สามารถหมายถึง.
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ถนนทรงวาดติดต่อกับถนนสำเพ็ง แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดสำเพ็ง ตามชื่อถนนหน้าวัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา”.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม..
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" เข้าใจกันว่า ชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ ในปี..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อยูในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) อยู่รวมกับ "โรงเรียนเทพศิรินทร์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)
มเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสีลาจารวัตรมีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม กล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของไทยที่สำเร็จการศึกษาในทางคดีโลกถึงชั้นปริญญาเอก.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
มเด็จพระพุทธปาพจนบดี นามเดิม ทองเจือ สายเมือง ฉายา จินฺตากโร (2 มีนาคม พ.ศ. 2451 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองงานพระธรรมทูต เป็นต้น.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)
มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) (นามเดิม: พุฒ สุวัฒนกุล) (11 มีนาคม พ.ศ. 2450 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2553) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
มเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
มเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เกี่ยว โชคชัย ฉายา อุปเสโณ (11 มกราคม พ.ศ. 2471 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานสมัชชามหาคณิสสร เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคมเดลินิวส์, 30 ธันวาคม 2547มติชน, 15 ม..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)
มเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลั.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
มเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
มเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม เคยดำรงตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)
มเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) (นามเดิม: นิยม จันทนินทร) (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)
สมเด็จพระราชาคณะ
ัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระญาณวโรดม สมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีคำนำหน้าราชทินนามว่า "สมเด็จ" เดิมทีสมเด็จพระราชาคณะเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะใหญ่มาตลอด จนกระทั่งมีการแยกออกมาเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสง..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและสมเด็จพระราชาคณะ
สังฆราช
ังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสง.
อำเภอพุทธมณฑล
อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่สุดและมีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดนครปฐม.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและอำเภอพุทธมณฑล
ผงอิทธิเจ
อิธะเจ หรือ อิทธิเจของเทพย์ สาริกบุตร เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ว่าด้วยการทำผงตามคัมภีร์อิธะเจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์หลักของระบบไสยศาสตร์ไทยโบราณ อันประกอบด้วยคัมภีร์ปถมัง อิธะเจ ตรีนิสิงเห และมหาราช นอกจากนั้นชื่อวิชาอิธะเจยังปรากฏอยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนพลายงามเรียนวิชาด้วย เนื้อหาของวิชาอิธะเจคือการทำผงด้วยการตั้งตัวตามสูตรบาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นระบบบาลีไวยากรณ์ใหญ่ที่ปัจจุบันได้ล้มเลิกไป อิธะเจมีหลายตำรับด้วยกัน แต่ที่เป็นหลักสำคัญจะตั้งตัวด้วย อิทะ อิติ อิติ อัสสา อุทัง อะหัง อัคคัง อะหัง อะหัง อิถัง อัมมะ อัสสา จากนั้นจึงกระทำตามสูตรสนธิโดยอ้างสูตรตามคัมภี์บาลีไวยากรณ์จนสำเร็จเป็น อิธเจตโสทฬฺหํคณฺหาหิถามสา เป็นอันขาดตัวในสูตรสนธิ ผงที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์อิธะเจ เรียกว่าผงอิธะเจ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์โดยเฉพาะแก่สตรี.
ผงปถมัง
ผงปถมัง หรือ ปถมัง ชื่อวิชาไสยศาสตร์โบราณของไทย ว่าด้วยการทำผงด้วยเวทมนตร์คาถา โดยใช้แท่งดินสอพองเขียนอักขระลงบนกระดานชนวน เริ่มจากลงนะปถมังหรือนะทรงแผ่นดิน บางแห่งเรียกนะปัดตลอด แล้วลบบังเกิดเป็นนะโมพุทธายะ เป็นองค์พระ เป็นมะอะอุ เป็นอุณาโลม เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสูญนิพพานจึงเป็นอันสิ้นสุด โดยระหว่างการลงอักขระและลบในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องมีการบริกรรมสูตร ซึ่งเป็นพระคาถาสำหรับการลงอักขระและลบอักขระต่าง ๆ กล่าวกันว่าเป็นอุบายในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ ผงดินสอพองที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์ปถมังนี้ เรียกว่าผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้ ชื่อวิชานี้ปรากฏในวรรณกรรมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วย ผงอิทธิเจ (อ่านว่า ผง-อิด-ทิ-เจ) และผงปถมํ (อ่านว่า ผง-ปัด-ถะ-มัง) เป็นผง ใช้สำหรับสร้างพระพิมพ์ ประกอบด้วยสูตรการเขียนผง ผงอื่นๆ จากพระสงฆ์ชื่อดัง ว่านหลายชนิด เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ เศษพระชำรุดจากพระผงพระสมเด็จกรุต่างๆ เช่น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผงปถมํวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจากหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจาก วัดสามปลื้ม ผงปถมํจาก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ในครั้งแรก การทดลองพิมพ์พระ เนื้อพระเปราะ แตกและหักง่าย พิมพ์ออกมาแล้วไม่สวยบ้างจึงใช้น้ำมนต์และน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสานผง จนประสบผลสำเร็จ ผลปรากฏต่อมาว่าพระผง เนื้อดี เป็นมันแกร่ง คล้ายพระกรุวัดใหม่อมตรส และที่สำคัญเป็นที่เลื่องลือมากในพุทธคุณ มีความเชื่อด้านเมตตามหานิยม หน้.
จังหวัดกำแพงเพชร
ังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 8,607 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..
ดู พระผง ๙ สมเด็จและจังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดนครปฐม
ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.
ดู พระผง ๙ สมเด็จและจังหวัดนครปฐม
5 ธันวาคม
วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันที่ 339 ของปี (วันที่ 340 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 26 วันในปีนั้น.