โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ดัชนี การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (left-right politics) เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหว" (party of movement) และฝ่ายขวาถูกเรียกว่า "ขบวนการระเบียบ" (party of order) จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate) มีความเห็นพ้องทั่วไปว.

16 ความสัมพันธ์: ชาตินิยมระบอบนาซีลัทธิฟาสซิสต์ลัทธิอำนาจนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์สังคมนิยมสังคมนิยมแบบอิสรนิยมอนาธิปไตยอนุรักษนิยมทุนนิยมคตินิยมสิทธิสตรีฆราวาสนิยมเสรีนิยมเสรีนิยมใหม่เทวาธิปไตย

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิฟาสซิสต์

ัญลักษณ์ลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) เป็นชาติ-อำนาจนิยมมูลวิวัติรูปแบบหนึ่งTurner, Henry Ashby, Reappraisals of Fascism.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและลัทธิฟาสซิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์

ลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ (royalism) เป็นลัทธิที่สนับสนุนราชอาณาจักร หรือการปกครองรูปแบบใดก็ได้เพียงแต่ให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ สนับสนุนผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ หรือสนับสนุนพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักใช้ในกลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกล้มล้างโดยสาธารณรัฐแล้ว แนวคิดดังกล่าวมีความแตกต่างจาก ลัทธินิยมราชาธิปไตย (monarchism) ที่สนับสนุนการปกครองแบบราชาธิปไตย แต่ต่างกันที่ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ในภาษาไทย บางทีเรียกลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า กษัตริยนิยม กษัตริย์นิยม ลัทธินิยมเจ้า กระแสนิยมเจ้าธงชัย วินิจจะกูล, 2548: ออนไลน.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยมแบบอิสรนิยม

ังคมนิยมแบบอิสรนิยม (libertarian socialism, บ้างเรียก อนาธิปไตยสังคมนิยม (socialist anarchism) อิสรนิยมฝ่ายซ้าย (left libertarianism) หรือ สังคมนิยมเสรี เป็นกลุ่มปรัชญาการเมืองในขบวนการสังคมนิยมซึ่งปฏิเสธมุมมองสังคมนิยมที่ว่ารัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์รูปแบบรัฐที่กว้างขวางกว่า ตลอดจนความสัมพันธ์แรงงานค่าจ้าง (wage labour) ในที่ทำงาน สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเน้นการจัดการตนเองของคนงานในที่ทำงานและโครงสร้างการปกครองการเมืองแบบกระจายอำนาจแทน โดยยืนยันว่า สามารถบรรลุสังคมที่ยึดเสรีภาพและความเสมอภาคได้โดยการยกเลิกสถาบันอำนาจนิยมซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตบางอย่างและทำให้ฝ่ายข้างมากเป็นเบี้ยล่างของชนชั้นที่เป็นเจ้าของหรืออภิชนทางการเมืองและเศรษฐกิจ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมโดยทั่วไปฝากความหวังไว้กับวิธีกระจายอำนาจของประชาธิปไตยทางตรงและสมาคมสหพันธรัฐและสมาพันธรัฐ เช่น ระบบเทศบาลอิสรนิยม สมัชชาพลเมือง สหภาพแรงงานและสภาคนงาน เพราะฉะนั้น นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเชื่อว่า “การใช้อำนาจในรูปแบบของสถาบันใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทาง เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา หรือ ที่เกี่ยวกับเพศ คือการทำร้ายทั้งผู้ใช้อำนาจและผู้ที่ถูกบังคับข่มเหงภายใต้อำนาจนั้นๆ”.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและสังคมนิยมแบบอิสรนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อนาธิปไตย

อนาธิปไตย (anarchism) โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผู้เสนออนาธิปไตย หรือรู้จักกันว่า "ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย" (anarchist) สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น เสรีภาพของปัจเจกชนและการต่อต้านรัฐ คือหลักการที่ชัดเจนของลัทธิอนาธิปไตย สำหรับในเรื่องอื่น ๆ นั้นอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในหมู่ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้ เช่น การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ชนิดของระบอบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและลำดับชั้น การตีความหมายของแนวคิดเกี่ยวกับความสมภาค (egalitarian) และระดับของการจัดองค์กร คำว่า "อนาธิปไตย" ในความหมายที่นักอนาธิปไตยใช้นั้น มิได้หมายถึงภาวะยุ่งเหยิงหรืออโนมี แต่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เสมอภาค ที่ถูกจัดตั้งขึ้นและรักษาอย่างจงใจ หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและอนาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมสิทธิสตรี

ตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมสิทธิสตรี (feminism) เป็นกลุ่มขบวนการและอุดมการณ์ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนิยาม จัดตั้งและปกป้องสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมแก่สตรี ซึ่งรวมถึงการแสวงจัดตั้งโอกาสที่เท่าเทียมแก่สตรีในการศึกษาและการจ้างงานด้วย ชาร์ล ฟูรีเย นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า "เฟมินิสม์" ในปี 1837 คำว่า "เฟมินิสม์" และ "เฟมินิสต์" ปรากฏครั้งแรกในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ในปี 1872 บริเตนใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1890 และสหรัฐอเมริกาในปี 1910Cott, Nancy F. The Grounding of Modern Feminism.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและคตินิยมสิทธิสตรี · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและฆราวาสนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยม

เสรีนิยม (liberalism) เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ ทีแรก เสรีนิยมเป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่างยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความนิยมในหมู่นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่องจอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นประเพณีปรัชญาต่างหาก ล็อกแย้งว่ามนุษย์มีสิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน และตามสัญญาสังคม รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ นักเสรีนิยมคัดค้านอนุรักษนิยมประเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและหลักนิติธรรม นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรัชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ ในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แต่ภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์วสำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกา การสถาปนาเสรีนิยมสังคม (social liberalism) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบัน พรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก หมวดหมู่:ขบวนการทางปรัชญา หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง หมวดหมู่:วัฒนธรรมทางการเมือง หมวดหมู่:ทฤษฎีสังคม หมวดหมู่:ปัจเจกนิยม.

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยมใหม่

รีนิยมใหม่ (neoliberalism) หมายถึง การกำเนิดใหม่ของความคิดที่สัมพันธ์กับเสรีนิยมทางเศรษฐกิจปล่อยให้ทำไปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เสรีนิยมใหม่ประกอบด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การรัดเข็มขัดทางการเงิน (fiscal austerity) การลดข้อบังคับ (deregulation) การค้าเสรี และการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในเศรษฐกิจ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการนำนโยบายเสรีนิยมใหม่มาใช้และการยอมรับทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นเหง้าของกระบวนการเพิ่มอิทธิพลของสถาบันการเงิน (financialization) โดยมีวิกฤตการณ์การเงิน ค.ศ. 2007–2008 เป็นผลสุดท้าย คำนี้มีใช้มาตั้งแต..

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและเสรีนิยมใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาและเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (การเมือง)ฝ่ายซ้าย-ขวา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »