โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิฟาสซิสต์

ดัชนี ลัทธิฟาสซิสต์

ัญลักษณ์ลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) เป็นชาติ-อำนาจนิยมมูลวิวัติรูปแบบหนึ่งTurner, Henry Ashby, Reappraisals of Fascism.

20 ความสัมพันธ์: ชาตินิยมพ.ศ. 2484พรรคผู้บุกเบิกการเมืองฝ่ายขวาการเมืองฝ่ายซ้ายการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาลัทธิอำนาจนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ลัทธิคุ้มครองสังคมนิยมสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อนุรักษนิยมจักรวรรดินิยมประชาธิปไตยเสรีนิยมประเทศอิตาลีโรมันเบนิโต มุสโสลินีเศรษฐกิจแบบผสม

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และพ.ศ. 2484 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคผู้บุกเบิก

รรคผู้บุกเบิก (Pioneers' Party; Partai Pelopor) เป็นพรรคที่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และพรรคผู้บุกเบิก · ดูเพิ่มเติม »

การเมืองฝ่ายขวา

ฝ่ายขวา หมายถึง กลุ่มอนุรักษนิยม เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดว่าการปกครองโดยการกระจายอำนาจแบบเท่าเทียมจะไม่สามารถทำได้ เป็นกลุ่มที่เชื่อว่าการปกครองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ หรืออภิสิทธิ์ชนเท่านั้น และยังเป็นพวกต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ เป็นแนวคิดอำนาจนิยม ซึ่งแนวคิดนี้จะตรงข้ามกับฝ่ายซ้าย แนวคิดทางเศรษฐกิจของฝ่ายขวา คือ ไม่ต้องการให้มีการตั้งสหภาพแรงงาน เพราะคิดว่าเป็นภัยทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับบริษัท ซึ่งฝ่ายขวาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยฝ่ายซ้าย มองว่าในการตั้งสหภาพแรงงานนั้น เป็นการสร้างเศรษฐกิจที่ทุกคนมีส่วนร่วม คำว่าฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาในทางการเมือง เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่มีการแบ่งพื้นที่การนั่งประชุมในสภาสมัชชาแห่งชาติ โดยตัวแทนของกลุ่มชนชั้นกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ จะนั่งอยู่ทางซ้ายของประธานสมัชชา และฝ่ายตัวแทนของขุนนาง ทหาร นักบวช จะนั่งทางขวามือของประธานฯ ทำให้เป็นธรรมเนียมเรียกฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ตั้งแต่นั้นม.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และการเมืองฝ่ายขวา · ดูเพิ่มเติม »

การเมืองฝ่ายซ้าย

การเมืองฝ่ายซ้าย คือ ฐานะหรือกิจกรรมทางการเมืองที่ยอมรับหรือสนับสนุนความเสมอภาคทางสังคม มักคัดค้านลำดับชั้นทางสังคมและความไม่เสมอภาคทางสังคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกังวลต่อผู้ที่ในสังคมถูกมองว่าด้อยโอกาสเมื่อเทียบกับผู้อื่นและความเชื่อที่มีความไม่เสมอภาคอย่างไม่มีเหตุผลจำต้องลดหรือเลิกLukes, Steven.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และการเมืองฝ่ายซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (left-right politics) เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหว" (party of movement) และฝ่ายขวาถูกเรียกว่า "ขบวนการระเบียบ" (party of order) จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate) มีความเห็นพ้องทั่วไปว.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคุ้มครอง

ลัทธิคุ้มครอง (protectionism) เป็นนโยบายเศรษฐกิจที่จำกัดการนำเข้าจากประเทศอื่นโดยใช้วิธีการ เช่น การตั้งภาษีศุลกากร โควตานำเข้า และการวางระเบียบของรัฐบาลอื่น ๆ ผู้สนับสนุนอ้างว่านโยบายลัทธิคุ้มครองจะช่วยป้องกันผู้ผลิต ธุรกิจและคนงานของภาคที่แข่งขันนำเข้าในประเทศจากผู้แข่งขันต่างประเทศ ทว่า นโยบายดังกล่าวยังลดการค้าและมีผลเสียต่อผู้บริโภคโดยรวม (เพราะทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น) และมีผลเสียต่อผู้ผลิตและคนงานในภาคส่งออก ทั้งในประเทศที่ใช้นโยบายลัทธิคุ้มครองและประเทศที่นโยบาลลัทธิคุ้มครองมีผล มีความเห็นพ้องสากลในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่าลัทธิคุ้มครองมีผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ส่วนการค้าเสรี การลดระเบียบ และการลดอุปสรรคการค้ามีผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจN. Gregory Mankiw,, New York Times (April 24, 2015): "Economists are famous for disagreeing with one another....

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และลัทธิคุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนึ่งในการคงไว้ซึ่งอาณานิคม และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำเอาคำว่า 'จักรวรรดินิยม' ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนี้คำว่า "จักรวรรดินิยม" มีนัยแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาม เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่น ๆ เหนือกว่าชาติที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย — โปรดดู ภาระคนขาว (The White Man's Burden) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยม" นั้นไม่ได้มีบริบทจำกัดอยู่เพียงแค่ระดับของการเข้าครอบครองหรือครอบงำทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังขยายเข้าครอบคลุมไปถึงระดับวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมอเมริกันที่แผ่ขยายไปทั่วโลก — โปรดดู ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม หลายคนโต้แย้งการขยายคำจำกัดความดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลว่าเรื่องของ "วัฒนธรรม" นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ยากที่จะแยกความแตกต่างให้เห็นชัดเจนได้ว่า การรับวัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งไปนั้น เป็นเรื่องของปฏิกิริยาที่ชนในชาติมีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย หรือเป็นเรื่องของอิทธิพลที่แผ่ขยายจนเกินขีดจำกัด นอกจากนี้แล้วการนำเอา "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ไปใช้ในการอธิบายหรือวิเคราะห์นั้น ยังมีการ "เลือกปฏิบัติ" ด้วย ตัวอย่าง เช่น "แฮมเบอร์เกอร์" ถูกจัดว่าเป็น "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ขณะที่ "น้ำชา" นั้นไม่ใ.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และจักรวรรดินิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจแบบผสม

รษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ โดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจแสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักมูลเบื้องหลังกิจกรรมเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมเหนือเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและ/หรือภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย ไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยนิยามหลากหลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสมวิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างตลาดและการวางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนในเศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของสหรัฐอเมริกาจนถึงคิวบาเรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลในเศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการจ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน.

ใหม่!!: ลัทธิฟาสซิสต์และเศรษฐกิจแบบผสม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FascismFascistsฟาสซิสฟาสซิสม์ฟาสซิสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »