โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

ดัชนี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิฯ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง (หัวเฉียวเป้าเต๋อซ่านถัง; ฮกเกี้ยน: หัวเกียเปอเตียกเชียงต๋อง; แต้จิ๋ว: ฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง) เป็นมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย ปัจจุบันตัั้งอยู่ที่เลขที่ 326 ถนนเจ้าคำรบ ตัดกับถนนพลับพลาไชย แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 ที่มาจาก คณะเก็บศพไต้ฮงกง ก่อตั้งในปี..

17 ความสัมพันธ์: บุญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกรรมกรุงเทพมหานครภาษาหมิ่นใต้ภาษาแต้จิ๋วมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมูลนิธิร่วมกตัญญูวันสารทจีนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอักษรจีนอุเทน เตชะไพบูลย์ถนนพลับพลาไชยถนนเจริญกรุงโรคระบาดโรงพยาบาลหัวเฉียวเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

บุญ

ในพระพุทธศาสนา บุญ (ปุญฺญ; ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและบุญ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้

ษาหมิ่นใต้, ภาษาหมิ่นหนาน เป็นสำเนียงของภาษาจีน ใช้พูดทางใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและภาษาหมิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Huachiew Chalermprakiet University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 โดย มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยชื่อของมหาวิทยาลัย "หัวเฉียว" (華僑) หมายถึง ชาวจีนโพ้นทะเล และเป็นชื่อที่มูลนิธิใช้เป็นชื่อของโรงพยาบาลและวิทยาลัยของมูลนิธิอยู่แล้ว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวิทยาเขต 1 แห่ง คือ วิทยาเขตยศเส ตั้งอยู่บริเวณถนนอนันตนาค แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิร่วมกตัญญู

มูลนิธิร่วมกตัญญู ถนนพระรามที่ 4 มูลนิธิร่วมกตัญญู หรือ หงี่เต็กตึ๊ง (ไท่กั๋วอี้เต๋อซ่านถัง; สำเนียงแต้จิ๋ว: ไทก๊กหงี่เต็กเซี่ยงตึ๊ง) เป็นมูลนิธิในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ดำเนินงานสาธารณะในการเก็บศพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานการศึกษา มูลนิธิร่วมกตัญญูตั้งอยู่ที่ เลขที่ 19 หมู่ 13 ถนนลาดกระบัง-กิ่งแก้ว-บางพลี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีศูนย์ประสานงานและประกอบพิธีศพที่วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร อักษรจีนบนตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิดัดแปลงมาจากคำว่า 義 หมายถึง กตัญญู, คุณธรรม, ยุติธรรม.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและมูลนิธิร่วมกตัญญู · ดูเพิ่มเติม »

วันสารทจีน

ซ้ายคือขนมเทียนและขนมเข่ง ถาดขวาคือไก่ต้ม วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและวันสารทจีน · ดูเพิ่มเติม »

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการ ระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มี ภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการเมือง ด้านวิชาการ ด้านเลขานุการ ตลอดจนการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองในสำนักเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อุเทน เตชะไพบูลย์

อุเทน เตชะไพบูลย์ (3 มกราคม พ.ศ. 2456 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่ในสมัยหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีระดับต้นๆของเมืองไทย ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นายอุเทน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สุรามหาคุณ ที่ได้สัมปทานในการผลิตและจำหน่ายสุราของโรงงานสุราบางยี่ขัน ในชื่อ “แม่โขง” และ “กวางทอง” เมื่อ..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและอุเทน เตชะไพบูลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและถนนพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบาด

ในทางวิทยาการระบาด โรคระบาด (epidemic; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก epi-.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและโรคระบาด · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลหัวเฉียว

รงพยาบาลหัวเฉียว (华侨; พินอิน: Huáqiáo) เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตั้งอยู่ที่ 665 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในปี..

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและโรงพยาบาลหัวเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊งป่อเต็กตึ๊ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »