โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาอกแล

ดัชนี ปลาอกแล

ปลาอกแล หรือ ปลาอกรา หรือ ปลาอกกะแล้ (Herrings) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง ที่จัดอยู่ในสกุล Herklotsichthys มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเป็นปลาผิวน้ำ ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อ.

14 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาหลังเขียวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาหลังเขียวอ่าวเปอร์เซียทศพร วงศ์รัตน์ทะเลแดงประเทศออสเตรเลียปลากุแลปลาที่มีก้านครีบปลาเฮร์ริงปีเตอร์ เบลเกอร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วงศ์ปลาหลังเขียว

วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาอกแลและวงศ์ปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาอกแลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาอกแลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาอกแลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหลังเขียว

อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา เป็นต้น โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม".

ใหม่!!: ปลาอกแลและอันดับปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: ปลาอกแลและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทศพร วงศ์รัตน์

ตราจารย์กิตติคุณ ทศพร วงศ์รัตน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานปลา จบการศึกษาจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทจากประเทศเยอรมนี ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกในเชิงอนุกรมวิธานปลาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2524 และต่อมาในปี..

ใหม่!!: ปลาอกแลและทศพร วงศ์รัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: ปลาอกแลและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ปลาอกแลและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุแล

ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาอกแลและปลากุแล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาอกแลและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฮร์ริง

ปลาเฮร์ริง (herring) เป็นชื่อสามัญของปลาหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupidae) คำว่า herring ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาเยอรมันสูงโบราณว่า heri แปลว่า "ฝูง" หรือ "เจ้าภาพ, เจ้าบ้าน" อันหมายถึง ลักษณะการรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ของปลาจำพวกนี้ โดยมีสกุลต้นแบบคือ Clupea ปลาเฮร์ริงเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาซาร์ดีน มีรูปร่างคล้ายกับปลากะพงแต่รูปร่างเรียวยาวกว่า ความยาวโดยทั่วไป 14–18 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ รวมถึงชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ดำรงชีพด้วยการกินแพลงก์ตอนเหมือนปลาจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน ปลาเฮร์ริงเป็นปลาที่ตกเป็นอาหารของปลาอื่นรวมถึงสัตว์ทะเลประเภทอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น โลมา, วาฬ หรือปลาฉลาม และเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะของทวีปยุโรปจนเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมนำมาบริโภคและแปรรูป เช่น red herring ซึ่งเป็นปลาเฮร์ริงแห้งที่ผ่านการรมควันและหมักเกลือจนมีสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อ และเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง นอกจากนี้ วลี red herring ยังเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึง สิ่งหรือบุคคลที่ล่อหลอกให้เข้าใจผิด หรือการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาอกแลและปลาเฮร์ริง · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาอกแลและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลาอกแลและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Herklotsichthysสกุลปลาอกกะแล้สกุลปลาอกราสกุลปลาอกแลปลาอกกะแลปลาอกกะแล้ปลาอกรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »