โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาหลังเขียว

ดัชนี วงศ์ปลาหลังเขียว

วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.

21 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งชื่อสามัญการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษภาษาไทยสมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาหลังเขียวตลาดปลาหมากผางปลาที่มีก้านครีบปลาซาร์ดีนปลาซาร์ดีนยุโรปปลาซิวแก้วปลาน้ำจืดปลาน้ำเค็มปลาแชดปลาเฮร์ริงปลาเฮร์ริงน้ำจืดแพลงก์ตอน

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหลังเขียว

อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา เป็นต้น โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม".

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและอันดับปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมากผาง

ำหรับปลาที่เป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยดูที่: ปลามงโกรย ปลาหมากผาง (Freshwater herring, Mekong shad, Laotian shad) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa thibaudeaui อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาหมากผาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนยุโรป หรือ ปลาซาร์ดีนแท้ ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาพิลชาร์ด (Sardine, Pilchard) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) โดยปลาที่อาจเรียกได้ว่าซาร์ดีนนั้น ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาซาร์ดีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีนยุโรป

ปลาซาร์ดีนยุโรป หรือ ปลาซาร์ดีนแท้ (Sardine, European pilchard, True sardine) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sardina pilchardus อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sardina มีรูปร่างเพรียวยาวทรงกระบอก ลำตัวกลม แต่ในขณะที่เป็นปลาวัยอ่อน ลำตัวจะแบนเป็นสันบริเวณส่วนท้องมากกว่านี้ ตาโต ครีบหลังมีเพียงตอนเดียว ไม่มีก้านครีบแข็ง มีก้านครีบอ่อนประมาณ 13–21 ก้าน ครีบก้นมี 2 ครีบขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเงิน ลำตัวด้านข้างช่วงบนมีแต้มวงกลมสีน้ำเงินอมม่วง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 27 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ กินแพลงก์ตอนสัตว์และครัสเตเชียนชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร อาศัยและหากินใกล้ชายฝั่งในมหาสมุทรแอตแลนติก เฉพาะในทวีปยุโรป ตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงทะเลดำ และแอฟริกาเหนือ โดยหากินในเวลากลางคืน ในระดับความลึกตั้งแต่ 55–100 เมตร และอาจเพิ่มขึ้นในระดับ 10–35 เมตรได้ในแต่ละวัน เป็นปลาที่วางไข่และตัวอ่อนพัฒนาในแหล่งน้ำจืดหรือใกล้ชายฝั่ง โดยไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.5 มิลลิเมตร วางไข่ได้มากถึงครั้งละ 50,000–60,000 ฟอง ผลการทดลองในที่เลี้ยง พบว่าจะวางไข่ในเวลากลางคืนในช่วงเวลา 19.00–21.00 น. (ตามเวลามาตรฐานกรีนิช) โดยอุณหภูมิของน้ำสัมพันธ์กับการฟักเป็นตัว และความแข็งแรงของลูกปลาที่เกิดมาด้วย ปลาซาร์ดีนยุโรป ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากของยุโรปและทั่วโลก นับเป็นปลาซาร์ดีนชนิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นที่นิยมในการแปรรูปทำเป็นปลากระป๋อง หรือการปรุงสด เช่น การย่างหรือรมควัน ซึ่งเนื้อปลาซาร์ดีนให้คุณค่าทางอาหารมากกว่านมถึง 3 เท่า โดยเนื้อปลาจำนวน 100 กรัม ให้สารอาหารต่าง ๆ เช่น โอเมกา 3 ถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมนุษย์ในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้แล้วยังมี ฟอสฟอรัส, ทองแดง, แม็กนีเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ไลโคปีน และวิตามินบี ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาซาร์ดีนยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวแก้ว

ปลาซิวแก้ว (Thai river sprat) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวยาว ตัวใส ที่ริมฝีปากมีขากรรไกรเป็นแผ่นแบน และมีเขี้ยวแหลมโค้งขนาดเล็กมาก เกล็ดบางมากและหลุดร่วงได้ง่าย ครีบก้นมี 2 ตอน ตอนท้ายเห็นเป็นติ่งเล็ก ๆ แยกออกมา ลำตัวใสสีอมเหลืองอ่อนมีแถบสีเงินคาดกลางลำตัว หัวมีสีคล้ำเล็กน้อยออกสีเขียวอ่อน มีขนาดลำตัวประมาณ 4 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบประมาณ 6 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบมากที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์, เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่มากบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ กินอาหารโดยได้แก่ แมลง โดยการกระโดดงับขึ้นเหนือน้ำ และแพลงก์ตอนสัตว์ มีวิธีจับด้วยการยกยอและใช้ไฟล่อในเวลากลางคืน นิยมใช้บริโภคและเป็นปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่นภาคอีสาน โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำน้ำปลา, ปลาแห้ง, ปลาเจ่า เป็นต้น และได้ถูกส่งไปปล่อยในอ่างเก็บน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซียจนกลายเป็นปลาเศรษฐกิจของทื่นั่นด้วย ปลาซิวแก้ว มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ปลาแก้ว, ปลาแตบแก้ว หรือ ปลาแปบควาย เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาซิวแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแชด

ปลาแชด (Shad ITIS) เป็นวงศ์ย่อยของปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alosinae พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ประมาณ 30 ชนิด พบได้ทั้งในทะเล, ชายฝั่ง, แม่น้ำ หรือในแหล่งน้ำจืด และในที่ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ เช่น Alosa (ปลาแฮร์ริ่งแม่น้ำ), Hilsa (ปลามงโกรย) หรือ Tenualosa (ปลาตะลุมพุก).

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาแชด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฮร์ริง

ปลาเฮร์ริง (herring) เป็นชื่อสามัญของปลาหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupidae) คำว่า herring ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาเยอรมันสูงโบราณว่า heri แปลว่า "ฝูง" หรือ "เจ้าภาพ, เจ้าบ้าน" อันหมายถึง ลักษณะการรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ของปลาจำพวกนี้ โดยมีสกุลต้นแบบคือ Clupea ปลาเฮร์ริงเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาซาร์ดีน มีรูปร่างคล้ายกับปลากะพงแต่รูปร่างเรียวยาวกว่า ความยาวโดยทั่วไป 14–18 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ รวมถึงชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ดำรงชีพด้วยการกินแพลงก์ตอนเหมือนปลาจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน ปลาเฮร์ริงเป็นปลาที่ตกเป็นอาหารของปลาอื่นรวมถึงสัตว์ทะเลประเภทอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น โลมา, วาฬ หรือปลาฉลาม และเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะของทวีปยุโรปจนเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมนำมาบริโภคและแปรรูป เช่น red herring ซึ่งเป็นปลาเฮร์ริงแห้งที่ผ่านการรมควันและหมักเกลือจนมีสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อ และเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง นอกจากนี้ วลี red herring ยังเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึง สิ่งหรือบุคคลที่ล่อหลอกให้เข้าใจผิด หรือการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาเฮร์ริง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฮร์ริงน้ำจืด

ปลาเฮร์ริงน้ำจืด (publisher) เป็นกลุ่มปลาขนาดเล็กกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Pellonulinae ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) เป็นปลาหลังเขียวหรือปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยทั่วโลก บางสกุลและบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและปลาเฮร์ริงน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหลังเขียวและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Clupeidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »