เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาอกแล

ดัชนี ปลาอกแล

ปลาอกแล หรือ ปลาอกรา หรือ ปลาอกกะแล้ (Herrings) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง ที่จัดอยู่ในสกุล Herklotsichthys มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเป็นปลาผิวน้ำ ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อ.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: ปลากุแล

ปลากุแล

ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.

ดู ปลาอกแลและปลากุแล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Herklotsichthysสกุลปลาอกกะแล้สกุลปลาอกราปลาอกกะแลปลาอกกะแล้