สารบัญ
30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2423พืชกระดูกอ่อนกระเพาะปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์ปลาฉลามปากเป็ดวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์น้ำปลาปลากระดูกอ่อนปลาการ์ปลาสเตอร์เจียนปลาที่มีก้านครีบปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาฉลามปลาซีลาแคนท์ปลาปอดปลาโบว์ฟินปลาไบเคอร์นิวเคลียสน้ำจืดน้ำเค็มแพลงก์ตอนแคลเซียมเม็ดเลือดแดงเนื้อเยื่อ
พ.ศ. 2423
ทธศักราช 2423 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1880.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและพ.ศ. 2423
พืช
ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.
กระดูกอ่อน
กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและกระดูกอ่อน
กระเพาะปลา
กระเพาะปลา คือชื่อที่นิยมใช้เรียกถุงลมของปลาซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ระดับราคาขึ้นอยู่กับชนิดของกระเพาะปลาที่มีหลากหลายชนิดโดยเฉพาะกระเพาะปลาที่ได้มาจากปลาน้ำลึกที่อยู่ในตระกูลของปลากุเลาจะมีราคาแพงมาก กระเพาะปลานอกจากจะอยู่ในรูปแบบกระเพาะปลาแห้งแล้วยังอยู่ในรูปแบบของกระเพาะปลาสดอีกด้วยรูปแบบของอาหารที่นิยมปรุงกันเช่น กระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ฯลฯ ถุงลมของปลาเป็นอวัยวะส่วนที่นุ่มและอร่อย เมื่อนำมาปรุงรส การนำถุงลมมาแปลงโฉมเป็นกระเพาะปลา จะต้องลอกเอาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อออกให้หมดแล้ว จึงนำไปทอดให้พองสวยน่ารับประทาน กระเพาะปลามีหลายระดับราคาแล้วแต่ความอร่อย และขนาดของกระเพาะปลา ปกติจะได้จากถุงลมของปลามังกร ปลาจวด ปลากระพง ปลาริวกิว กระเพาะปลาที่มีราคาแพงคือ กระเพาะปลามังกร (เหมี่ยนฮื่อ) ซึ่งช่วยบำรุงและเพิ่มกำลังวังชาได้เป็นอย่างดี ส่วนที่เราได้รับประทานกันบ่อย ๆ นั้นก็คือ กระเพาะปลากระพง เวลาที่ไปซื้อกระเพาะปลาที่ราคาถูกมาทานนั้น มักจะสงสัยกันว่า ใช่กระเพาะปลาจริง ๆ หรือเปล่านั้น หลายร้านใช้หนังหมูแห้งมาทำเป็นกระเพาะปลาแทน ไม่ใช่กระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมของปลา แต่เป็นกระเพาะปลาเทียม หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:มีนวิทยา.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและกระเพาะปลา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด
วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Paddle fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodontidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "poly" หมายถึง "มาก" และ "odous" หมายถึง "ฟัน") ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) เป็นปลาขนาดใหญ่ ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากแบนยาวคล้ายปากของเป็ด หรือใบพายเรือ เป็นที่มาของชื่อสามัญ ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้น พบในสหรัฐอเมริกา และแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ซึ่งเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วในปัจจุบัน.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลาฉลามปากเป็ด
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fishes) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Toxotidae (/ท็อก-ออท-อิ-ดี้/; มาจากคำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง "นักยิงธนู").
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์มีแกนสันหลัง
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์น้ำ
ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์น้ำ
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.
ปลากระดูกอ่อน
ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อน
ปลาการ์
ปลาการ์ หรือ ปลาการ์ไพค์ (Gar, Garpike) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็งที่มีก้านครีบวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lepisosteidae (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ดี้/) และอยู่ในอันดับ Lepisosteiformes (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ฟอร์-เมส/) ปลาการ์มีรูปร่างคล้ายกับปลากระทุงเหว หรือปลาเข็ม ที่อยู่ในอันดับ Beloniformes คือ มีรูปร่างเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีจะงอยปากที่แหลมยาวยื่นออกมาคล้ายเข็มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาอังกฤษเก่าคำว่า "Gar" หมายถึง "หอก" ขณะที่ชื่อสกุลในทางวิทยาศาสตร์คำว่า Lepisosteus มาจากภาษากรีกคำว่า lepis หมายถึง "เกล็ด" หรือหมายถึง "กระดูก" และ Atractosteus ดัดแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า atraktos หมายถึง "ธนู" ทั้งนี้เนื่องจากปลาการ์มีเกล็ดแบบกานอยด์ซึ่งเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ียมแบบเพชร มีความหนา่และแข็งแรงห่อหุ้มลำตัวเสมือนเกราะ โดยมีลักษณะเช่นนี้มา่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยปลาการ์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคครีเตเชียส โดยพบเป็นซากฟอสซิลตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในภาคอีสานของประเทศไทยด้วย ที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ปลาการ์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สกุล เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ในขณะที่บางชนิดอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามชายฝั่งบ้าง พบกระจายพันธุ์ฺเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และแคริบเบียน มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนแท่งดินสอ มีจะงอยปากยื่นแหลมที่ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับล่าเหยื่อและกินอาหาร มีเส้นข้างลำตัวที่ไวต่อความรู้สึก ใช้เป็นประสาทในการสัมผัสและนำทาง ปลายกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของหางจนถึงปลายครีบหาง ทำให้มีครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีรูจมูกอยู่ที่ปลายจะงอยปาก นอกจากนี้แล้วยังมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำที่ีมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำ ปลาการ์ทั้งหมดวางไข่ในน้ำจืด มีรายงานระบุว่าไข่ของปลาวงศ์นี้มีพิษ โดยพฤติกรรมจะอาศัยรวมฝูงกันอยู่ระดับในผิวน้ำในฤดูร้อน และจะดำดิ่งลงสู่เบื้องล่างในฤดูหนาว อาหารส่วนใหญ่จะมักจะเป็น นกน้ำ เช่น นกเป็ดน้ำ และ ปู ซึ่งง่ายต่อการล่า ในหลายพื้นที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและนำชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน รวมถึงเนื้อด้วยในบางชนิดรับประทานเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 10-14 ฟุต ในปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย และนับเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีการเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำพื้นเมืองได้.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาการ์
ปลาสเตอร์เจียน
ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon, Oсетр, 鱘) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ Acipenseridae ในอันดับ Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านใต้ของลำตัว เพราะฉะนั้นหนวดเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนมือที่คอยสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ข้างใต้ของตัวเอง หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปยุโรปตอนเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือตอนบน เช่น อะแลสกา, แคนาดา และบางส่วนในสหรัฐอเมริกา สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปลาสเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 3 สกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาฮูโซ่ (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ ปลาสเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิด ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (Acipenser baerii) ได้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาสเตอร์เจียน
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีครีบเป็นพู่
ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาที่มีครีบเป็นพู่
ปลาฉลาม
ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาฉลาม
ปลาซีลาแคนท์
ซีลาแคนท์ (Coelacanth, ดัดแปลงมาจากคำละตินสมัยใหม่ Cœlacanthus เมื่อ cœl-us + acanth-us จากภาษากรีกโบราณ κοῖλ-ος + ἄκανθ-α) เป็นชื่อสามัญของปลาออร์เดอร์หนึ่งที่รวมถึงสายพันธุ์ของปลาในปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันพวก gnathostomata นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าปลาซีลาแคนท์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปลาปอดและเตตราพอดที่เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคครีเทเชียส จนกระทั่งมีการพบปลา แลติเมอเรีย ครั้งแรกที่นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาใต้เลยแม่น้ำชาลัมนาออกมาในปี..
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาซีลาแคนท์
ปลาปอด
ปลาปอดในสวนสัตว์พาต้า ปลาปอด (Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ ปลาปอดได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างมากนักจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปลาปอดจัดอยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ มีพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อเป็นครีบ มีครีบหางเดี่ยว มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ Cosmoid ซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในโลก ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1.
ปลาโบว์ฟิน
ปลาโบว์ฟิน (Bowfin) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาที่อยู่ในอันดับ Amiiformes และวงศ์ Amiidae เพียงชนิดเดียวที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาในยุคจูราสสิคเมื่อกว่า 200-500 ล้านปีมาแล้ว มีรูปร่างคล้ายกับปลาช่อนที่พบในทวีปเอเชียและแอฟริกา ปลาโบว์ฟินมีรูปร่างเพรียวแบบตอร์ปิโด มีเกล็ดแบบเกล็ดเรียบ มีหางกลมกว้างเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งครีบหลังที่ยาวสามารถใช้ว่ายน้ำได้ทั้งไปข้างหน้าและถอยหลังได้ มีก้านครีบจำนวน 145-250 ก้าน มีหัวที่แข็งและสีของลำตัวคล้ายกับงูอนาคอนดา กระดูกมีทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน มีถุงลมไว้สำหรับโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเองได้ โดยไม่ต้องผ่านเหงือก แต่จะใช้ก็ต่อเมื่อน้ำมีปริมาณออกซิเจนต่ำ หรือในฤดูแล้งที่มีอุณหภูมิของน้ำและอากาศสูงทำให้ออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง เป็นต้น ปลาโบว์ฟินอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมิสซิสซิปปีในตอนกลางของสหรัฐอเมริกาจนถึงรัฐเทกซัส ชอบอยู่บริเวณแหล่งน้ำที่ไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นเป็นแถบ ๆ และมีปลาเล็กต่าง ๆ ว่ายอยู่ การผสมพันธุ์มักจะตีแปลงพืชน้ำ แล้วน้ำพืชน้ำมาสร้างเป็นรัง ตัวผู้จะไล่ปลาอื่นไม่ให้เข้าไกล้ เมื่อได้ลูกปลาแล้ว ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเลี้ยงลูก โดยลูกปลาจะกินแพลงตอนเป็นอาหาร ตัวผู้จะคอยดูแลลูกเป็นเวลา 9 สัปดาห์ มีรายงานว่าเคยทำร้ายสัตว์ใหญ่กว่าอย่าง มนุษย์ด้วย ถ้าเข้าไปในบริเวณรังสืบพันธุ์ ตัวผู้มีความยาวสุด 20 นิ้ว ตัวเมียมีความยาวสุด 3 ฟุต น้ำหนักหนักได้ถึง 9.75 กิโลกรัม (21.5 ปอนด์) เป็นปลากินเนื้อที่มีฟันแหลมคม กินสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก รวมทั้งงู, หนู, หรือเต่าที่มีขนาดเล็กได้ สามารรถกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าตัวได้ถึงครึ่ง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 20 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในระยะเวลา 3-5 ปี เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามสำหรับผู้ที่นิยมปลากินเนื้อ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาโบว์ฟิน
ปลาไบเคอร์
ปลาไบเคอร์ หรือ ปลาบิเชียร์ (Bichir) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มีช่องน้ำออก 1 คู่ และภายในลำไส้มีลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม, ปลาฉลามปากเป็ดและปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงมีท่อจมูก สำหรับดมกลิ่น 2 ท่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สายตาไม่ดี ต้องใช้การดมกลิ่นในการหาอาหาร ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากปลาขึ้นมาจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูร้อน ที่แหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเหือดแห้ง ปลาไบเคอร์สามารถที่จะขุดรูเข้าไปจำศีลในใต้พื้นดินเพื่อรอให้ถึงฤดูฝน เช่นเดียวกับปลาปอ.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาไบเคอร์
นิวเคลียส
นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและนิวเคลียส
น้ำจืด
น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.
น้ำเค็ม
น้ำเค็ม อาจหมายถึง.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและน้ำเค็ม
แพลงก์ตอน
แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและแพลงก์ตอน
แคลเซียม
แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและแคลเซียม
เม็ดเลือดแดง
ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและเม็ดเลือดแดง
เนื้อเยื่อ
นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.
ดู ชั้นปลากระดูกแข็งและเนื้อเยื่อ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bony FishesOsteichthyesปลากระดูกแข็ง