โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะเทย

ดัชนี กะเทย

กะเทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลำไยกะเทย" ส่วนความหมายทางแพทยศาสตร์ หมายถึง คนที่มีอวัยวะของทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ส่วนกะเทยที่มีจิตใจตรงข้ามกับเพศของตน ทางการแพทย์เรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักเพศ".

47 ความสัมพันธ์: บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์พระวินัยปิฎกพรางชมพู กะเทยประจัญบานพจนานุกรมพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554กฎหมายตราสามดวงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยกะเทย (ชีววิทยา)กังฟูการค้าประเวณีภาวะเพศกำกวมภาษาอาหมภาษาเขมรภิกษุมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยยะโอะอิวอลเลย์บอลศัลยศาสตร์ศาสนาพุทธสมันตปาสาทิกาสามเณรสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสุชีพ ปุญญานุภาพสตรีเหล็กสแลงหอแต๋วแตกอีเห็ดสดเผด็จศึกองคชาตผู้ชายฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวทู้ทซี่ขันทีดัสติน ฮอฟแมนคริตกะจ๋า บ้าสุดสุดคาบาเรต์คู่แรดคนข้ามเพศตั๊ดสู้ฟุดซิดนีย์ พอลแลคแพทยศาสตร์แดน บีช บรัดเลย์ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์เพลงสุดท้ายเกย์เทยเที่ยวไทยเฉือน

บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์

วตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ (Beautiful Boxer) เป็นภาพยนตร์ไทยอิงชีวประวัติ น้องตุ้ม (ปริญญา เจริญผล) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จในประเทศไทยเท่าใดนัก หากแต่ประสบความสำเร็จในเวทีสากล โดยภาพยนตร์ชุดนี้สามารถทำรายได้นอกประเทศไทยรวม 1 ล้านเหรียญ ซึ่งส่วนหนึ่งของการตอบรับ มาจากความนิยมของมวยไทยของผู้ชม ทั้งนี้ อัสนี สุวรรณ ซึ่งเป็นนักแสดงนำผู้รับบทเป็นน้องตุ้มในภาพยนตร์ชุดนี้ ยังเคยเป็นนักมวยไทยมาก่อนด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: กะเทยและบิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: กะเทยและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พรางชมพู กะเทยประจัญบาน

รางชมพู กะเทยประจัญบาน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 โดยฟิล์มบางกอก กำกับโดย กิตติกร เลียวศิริกุล ทางด้านฝ่ายกะเทยนำแสดงโดย อ.เสรี วงษ์มณฑา, อรนภา กฤษฎี, ธงธง มกจ๊ก หรือ คัชฑาเทพ เอี่ยมศิริ, ส้มโอ - ยลรตี โคมกลอง, แจ็ค - บริวัตร อยู่โต และ บดินทร์ ดุ๊ก ส่วนนักแสดงทางฝ่ายทหาร นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, โกวิท วัฒนกุล และ กอล์ฟ - พุฒิชัย อมาตยกุล และยังมีนักแสดงร่วมอย่าง แอ๊ด คาราบาว นักร้องนักดนตรีเพื่อชีวิต ที่รับเชิญมาแสดงเป็น ปางโหลง และยังร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ในเพลง 'เรากระทบตุ๊ด' ภาพยนตร์ทำรายได้ 47 ล้านบาท ภาพยนตร์เรื่องนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Saving Private Tootsie" ซึ่งล้อเลียนภาพยนตร์เรื่อง Saving Private Ryan ที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: กะเทยและพรางชมพู กะเทยประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

ใหม่!!: กะเทยและพจนานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: กะเทยและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: กะเทยและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง ตราประจำตำแหน่ง 3 ดวงที่ประทับในกฎหมายตราสามดวง กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู..1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปี..

ใหม่!!: กะเทยและกฎหมายตราสามดวง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีประวัติของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มาเนิ่นนานตั้งแต่ในอดีต ที่ปรากฏคำเรียกเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศอย่าง "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะก์" หรือ "เล่นสวาท" ในฝ่ายชาย และ "เล่นเพื่อน" ในฝ่ายหญิง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 เริ่มมีการใช้คำว่า "Homosexual" ส่วนพฤติกรรมรักร่วมเพศของคนทั่วไปเริ่มเป็นที่รับรู้ในสมัยหลังประชาธิปไตย และในยุคหลังเริ่มมีสื่อของเกย์ มากขึ้น นอกจากนี้กะเทยและเกย์ยังถูกแต่งเป็นเรื่องราวในภาพยนตร์และนวนิยายอีกด้ว.

ใหม่!!: กะเทยและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กะเทย (ชีววิทยา)

หอยทาก ''Helix aspersa'' ขณะกำลังผสมพันธุ์กัน ''Hylocereus undatus'' ต้นไม้ที่เป็นกะเทยในดอกเดียวมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย Hermaphroditus บุตรแห่งเทพเจ้ากรีก Hermes และ Aphrodite ต้นกำเนิดของคำ "hermaphrodite" กะเทย (hermaphrodite) ในทางชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในตัวเดียวกัน หรือมีอวัยวะเพศแบบก่ำกึ่งบอกไม่ได้แน่ว่าเป็นผู้หญิงหรือชาย หรือบางอวัยวะเป็นชาย บางอวัยวะเป็นหญิง กะเทยพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปในอัตราที่แตกต่างกัน ในคนพบกะเทยได้เป็นส่วนน้อยแต่ในพืชและสัตว์หลายชนิดเป็นกะเทยทั้งหมดหรือเป็นกะเทยเป็นส่วนใหญ่ ในพืชการการผสมพันธุ์จะเกิดในดอกเดียวกัน ต้นเดียวกัน หรือข้ามต้นก็ได้ สัตว์ที่มีกำเนิดเป็นกะเทย เช่น ไส้เดือน หอยทาก ปลาบางชนิด ไส้เดือนแต่ละตัวมีทั้งอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ต้องผสมกับอีกตัวหนึ่ง โดยที่แต่ละตัวเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียพร้อมกัน อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลทางวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตมักมีกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิสนธิในตนเอง (self-fertilization).

ใหม่!!: กะเทยและกะเทย (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

กังฟู

กังฟู (功夫) หรือ วูซู เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีน ในภาษาจีนกลางใช้คำว่า "วูซู" และเมื่อมีการแพร่ขยายออกไปกลายเป็น "กังฟู" ซึ่งเป็นตัวเลข การต่อสู้รูปแบบที่ได้มีการพัฒนากว่าหนึ่งศตวรรษในจีน รูปแบบการต่อสู้เหล่านี้มักจะแยกตามลักษณะทั่วไปที่ระบุว่าเป็น "เจีย" (家), "พ่าย" (派) หรือ "เหมิน" (门) (โดยรวมแปลว่ากลุ่มหรือสำนัก) ในรูปแบบศิลปะการต่อสู้ ตัวอย่างของลักษณะดังกล่าวรวมถึงการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการจำลองทางกายภาพของสัตว์หรือวิธีการฝึกอบรมแรงบันดาลใจจากปรัชญาจีน ศาสนา และตำนาน ลักษณะที่มุ่งเน้นของพลังงาน จัดการได้รับการระบุเป็นระบบภายใน (内家拳, nèijiāquán) ในขณะที่คนอื่น ๆ มีสมาธิในการปรับปรุงและการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดและมีข้อความกำกับภายนอก (外家拳, wàijiāquán) สมาคมภูมิศาสตร์ดังเช่นในภาคเหนือ (ของจีน) (北拳, běiquán) และภาคใต้ (ของจีน) (南拳, nánquán) เป็นอีกวิธีที่นิยมใช้การจัดหมวดหมู.

ใหม่!!: กะเทยและกังฟู · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: กะเทยและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเพศกำกวม

ตัวอย่างอวัยวะเพศกำกวมแบบหนึ่งของมนุษย์ ภาวะเพศกำกวม (intersexuality) เป็นภาวะของสิ่งที่มีชีวิตในสปีชีส์ gonochoristic ที่โครโมโซมเพศ, อวัยวะเพศ และ/หรือ ลักษณะเฉพาะทางเพศเมื่อเติบโตขึ้น ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหญิงหรือชายอย่างชัดเจน สิ่งมีชีวิตที่มีเพศกำกวมอาจมีลักษณะทางชีวภาพของทั้งเพศหญิงและเพศชาย คนที่อยู่ในภาวะเพศกำกวม อาจเผชิญกับปัญหาการเป็นตราบาปและการแบ่งแยกตั้งแต่เกิดหรือเมื่อค้นพบว่ามีลักษณะภาวะเพศกำกวม มีการบันทึกไว้ในในบางประเทศเช่น แอฟริกาและเอเชียว่าอาจมีการฆ่าทารก การละทิ้งและถูกมองว่าเป็นตราบาปของครอบครัว ทั่วโลก ทารกและเด็กที่มีภาวะเพศกำกวม เช่นผู้ที่มีอวัยวะเพศภายนอกคลุมเครือ มันถูกเปลี่ยนแปลงทางการผ่าตัดหรือฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะทางเพศที่เป็นที่ยอมรับทางสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นข้อโต้แย้งโดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลลัพธ์ที่ดี, Australasian Paediatric Endocrine Group (APEG), 27 June 2013 การรักษาดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการทำหมัน ผู้ใหญ่รวมทั้งนักกีฬาหญิงแนวหน้าต่างได้รับการรักษาแบบนี้ด้วยเช่นกัน ประเด็นเหล่านี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ, Office of the UN High Commissioner for Human Rights, February 2013.

ใหม่!!: กะเทยและภาวะเพศกำกวม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหม

ษาอาหม (Ahom language) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มกัม-ไท, เบ-ไท, ไท-แสก อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: กะเทยและภาษาอาหม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: กะเทยและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: กะเทยและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ของประเทศไทย ที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เริ่มประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ หนึ่งในสองแห่งของประเทศไท.

ใหม่!!: กะเทยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ยะโอะอิ

ตัวอย่างงานศิลปะของ shōnen-ai ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ Animexx ยะโอะอิ เป็นคำศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น ใช้ในวงการนิยายและการ์ตูน เริ่มแรกเดิมทีคำนี้ หมายถึง ประเภทหนึ่งของงานโดจินชิซึ่งเป็นผลงานล้อเลียนมังงะหรืออะนิเมะที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น แต่ปัจจุบันความหมายได้เปลี่ยนไป กลายเป็นลักษณะความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเชิงอีโรติกหรือโรแมนติกระหว่างชายกับชาย ซึ่งอยู่ในรูปแบบของมังงะ อะนิเมะ เกม นิยาย และ โดจินชิ ต่อมาในญี่ปุ่นได้เกิดคำศัพท์ใหม่แทนที่ยะโอะอิ คือคำว่า บอยส์เลิฟ (Boy's Love) แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นความรักของเด็กหนุ่ม แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถใช้ได้กว้างตั้งแต่เรื่องราวระหว่างวัยรุ่นไปจนถึงคนสูงวัย แต่มีศัพท์เฉพาะ คือ ความสัมพันธ์กับชายวัยเยาว์ เรียก โชะตะคอน ถ้าเป็นชายสูงอายุเรียก โอจิคอน.

ใหม่!!: กะเทยและยะโอะอิ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล วอลเลย์บอล (volleyball) เป็นกีฬาที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม ทีมละ 6 คน รวมตัวรับอิสระ 1 คน โดยแบ่งแดนจากกันด้วยตาข่ายสูง แข่งทำคะแนนจากลูกบอลที่ตกในเขตแดนของฝ่ายตรงข้าม.

ใหม่!!: กะเทยและวอลเลย์บอล · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: กะเทยและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: กะเทยและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมันตปาสาทิกา

มันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกา คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน..

ใหม่!!: กะเทยและสมันตปาสาทิกา · ดูเพิ่มเติม »

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ใหม่!!: กะเทยและสามเณร · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: กะเทยและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สุชีพ ปุญญานุภาพ

ีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กะเทยและสุชีพ ปุญญานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สตรีเหล็ก

ตรีเหล็ก เป็นภาพยนตร์ไทย ตลก ที่สร้างจากเรื่องจริงของทีมวอลเลย์บอลชาย ที่ผู้เล่นทั้งทีมเป็นกะเทย ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ยงยุทธ ทองกองทุน เขียนบทโดย วิสุทธิชัย บุณยะกาญจน และจิระ มะลิกุล มี ปนัดดา โพธิวิจิตร และศศิวิมล ชินเวชกิจวานิชย์ เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ออกฉายเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 98.70 ล้านบาท ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จด้านรายได้เป็นอย่างดี และก่อให้เกิดกระแสสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับกีฬา และเกี่ยวกับเพศที่สาม ติดตามมาอีกหลายเรื่อง ภาพยนตร์ได้ออกไปฉายในต่างประเทศ และได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างดี ไปฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่ Pusan International Film Festival ปูซาน เกาหลีใต้, San Francisco Asian American Film Festival ซานฟรานซิสโก, Miami Gay and Lesbian Film Festival ไมอามี, Los Angeles Asian Pacific Film Festival ลอสแอนเจลิส, Seattle International Film Festival ซีแอตเทิล และ San Francisco International Lesbian and Gay Film Festival.

ใหม่!!: กะเทยและสตรีเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สแลง

แลง (slang) คือ ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง.

ใหม่!!: กะเทยและสแลง · ดูเพิ่มเติม »

หอแต๋วแตก

หอแต๋วแตก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: กะเทยและหอแต๋วแตก · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็ดสดเผด็จศึก

อีเห็ดสดเผด็จศึก เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 จัดจำหน่ายโดย พระนครฟิลม์ กำกับภาพยนตร์โดย เฉลิม วงศ์พิมพ์ (ผู้กำกับภาพยนตร์ 7 ประจัญบาน, 7 ประจัญบาน 2, คนไฟบิน).

ใหม่!!: กะเทยและอีเห็ดสดเผด็จศึก · ดูเพิ่มเติม »

องคชาต

องคชาต (penis) เป็นอวัยวะเพศของเพศชายที่ใช้สืบพันธ์ุ และทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง.

ใหม่!!: กะเทยและองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ชาย

ผู้ชาย คือมนุษย์เพศชาย ปกติคำนี้สงวนไว้สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นชาย สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นเพศชาย คำปกติที่ใช้เรียก คือ "เด็กชาย" ทว่า พบใช้คำนี้บ้างเพื่อระบุมนุษย์เพศชาย ไม่ว่าอายุเท่าใด เช่น "บาสเกตบอลชาย" เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศผู้อื่นส่วนมาก จีโนมของผู้ชายตรงแบบรับโครโมโซม X จากมารดาและโครโมโซม Y จากบิดา ทารกในครรภ์ชายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าและเอสโตรเจนน้อยกว่าทารกในครรภ์เพศหญิง ความแตกต่างในปริมาณสัมพัทธ์ของสเตอรอยด์เพศเหล่านี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของความแตกต่างทางสรีรวิทยาซึ่งแยกผู้ชายกับผู้หญิง ระหว่างวัยเจริญพันธุ์ ฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศชายส่งผลให้ผู้ชายเป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดได้และเจ็บเป็นเหมือนเธอมีพัฒนาการของลักษณะเพศทุติยภูมิ ฉะนั้นจึงยิ่งแสดงความแตกต่างระหว่างเพศเด่นชัดขึ้น.

ใหม่!!: กะเทยและผู้ชาย · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397 ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Jean-Baptiste Pallegoix.) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน.

ใหม่!!: กะเทยและฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว · ดูเพิ่มเติม »

ทู้ทซี่

ปสเตอร์ต้นฉบับของ ทู้ทซี่ ทู้ทซี่ (Tootsie) เป็นชื่อของภาพยนตร์แนวตลกเรื่องหนึ่งที่ออกฉายใน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) โดย โคลัมเบีย พิคเจอร์ส (Columbia Pictures) โดยมีดาราดังในขณะนั้น คือ ดัสติน ฮอฟแมน เป็นตัวเอกของเรื่อง ทู้ทซี่ เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับดาราชายที่ตกอับ ได้ปลอมตัวเป็นผู้หญิงคนใหม่ เข้าวงการใหม่อีกครั้ง และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครในช่วงเวลานั้น ถึงแม้จะไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เกี่ยวกับการปลอมตัวเป็นเพศตรงข้าม แต่ทู้ทซี่ ก็เป็นเรื่องแรกที่เกี่ยวกับการปลอมตัวเป็นเพศตรงข้ามที่โด่งดังในประเทศไทย ประกอบกับเพลงประกอบภาพยนตร์ คือเพลง It Might Be You ซึ่งร้องโดย สตีเฟน บิชอป ซึ่งติดอันดับท็อปฮิตในสหรัฐอเมริกา ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จงดงาม ทู้ทซี่ ได้รับรางวัลออสการ์ 1 สาขา คือ นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เจสซิกา แลงจ์) ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำรายได้เปิดตัวสัปดาห์แรก 5,440,470 ดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้รวมทั้งหมด 177.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า 390.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน เป็นภาพยนตร์ตลกที่ทำรายได้สูงที่สุดประจำปี พ.ศ. 2525.

ใหม่!!: กะเทยและทู้ทซี่ · ดูเพิ่มเติม »

ขันที

หลี่เสียน ค.ศ. 706 ขันที คือ ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ (ฮกเกี้ยน:太監,ไท้ก่ำ) ในภาษาละตินและอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่า ก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทาง.

ใหม่!!: กะเทยและขันที · ดูเพิ่มเติม »

ดัสติน ฮอฟแมน

ดัสติน ฮอฟแมน ดัสติน ลี ฮอฟแมน (Dustin Lee Hoffman) เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1937 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน มีผลงานการแสดงจากภาพยนตร์เรื่องแรก The Star Wagon ในปี 1967 ต่อมาได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่อง The Graduate (1967) และภาพยนตร์สร้างชื่ออีกเรื่องคือเรื่อง Tootsie ในปี 1983 ผลงานสร้างชื่อ คือภาพยนตร์เรื่อง Kramer vs. Kramer ที่ได้รับรางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำ เป็นภาพยนตร์ในปี 1979 และได้รับรางวัลเดียวกันอีกครั้งทั้งเวทีรางวัลออสการ์และลูกโลกทองคำกับภาพยนตร์เรื่อง Rain Man ที่แสดงร่วมกับทอม ครูซ หมวดหมู่:นักแสดงอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลออสการ์ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว หมวดหมู่:บุคคลจากลอสแอนเจลิส.

ใหม่!!: กะเทยและดัสติน ฮอฟแมน · ดูเพิ่มเติม »

คริตกะจ๋า บ้าสุดสุด

นตร์เรื่อง คริส กะ จ๋า บ้...สุด มีชื่ออย่างอื่นว่า Valentine ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดย กรันย์ คุ้มอนุวงศ์ ทำรายได้รวมที่ 20 ล้านบาท.

ใหม่!!: กะเทยและคริตกะจ๋า บ้าสุดสุด · ดูเพิ่มเติม »

คาบาเรต์

'''คาบาเรต์''' คาบาเรต์ (Cabaret) คือรูปแบบของความบันเทิงที่ประกอบด้วย การแสดงตลก การร้องเพลง การเต้นและการละคร ในสถานที่อย่างเช่นร้านอาหารหรือไนต์คลับ ที่มีเวทีการแสดง และมีผู้ชมที่นั่งอยู่กับโต๊ะ (มักมีการดื่มหรือกินอาหาร) และดูการแสดงนั้นไปด้วย โดยมีการแนะนำของเอ็มซี คาบาเรต์ยังสามารถหมายถึง รูปแบบซ่องเมดิเตอร์เรเนียน ที่เป็นบาร์พร้อมโต๊ะและผู้หญิงที่ร่วมให้ความบันเทิงกับลูกค้าทั้งหมด มักมีรูปแบบการแสดงบนเวที ที่มักมีการร้องและการเต้น หมวดหมู่:ชีวิตกลางคืน.

ใหม่!!: กะเทยและคาบาเรต์ · ดูเพิ่มเติม »

คู่แรด

ู่แรด (The Odd Couple) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: กะเทยและคู่แรด · ดูเพิ่มเติม »

คนข้ามเพศ

ปริญญา เจริญผลจากภาพยนตร์ ''บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์'' คนข้ามเพศ (transgender) คือ บุคคลที่มีเพศภาวะไม่สัมพันธ์กับเพศสภาพของตนเอง ไม่ได้หมายถึง รูปแบบของเพศวิธีหรือรสนิยมทางเพศ คนข้ามเพศอาจจะแสดงตนเป็นคนรักต่างเพศ (heterosexual), รักร่วมเพศ (homosexual), รักร่วมสองเพศ (bisexual), รักทุกเพศ (pansexual), รักหลายเพศ (pansexual) หรือไม่ฝักใจทางเพศ (asexual) ก็ได้ คนข้ามเพศยังอาจหมายถึง บุคคลที่แสดงตนไม่เหมือนเพศชายหรือเพศหญิงตามธรรมเนียมนิยม แต่รวมหรือย้ายไปในทางเพศตรงข้ามAuthor unknown, (2004) "...Transgender, adj.

ใหม่!!: กะเทยและคนข้ามเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊ดสู้ฟุด

ตั๊ดสู้ฟุด เป็นภาพยนตร์ไทยโดยจีทีเอช ออกฉายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 กำกับโดย จตุรงค์ พลบูรณ์ (จตุรงค์ มกจ๊ก) นำแสดงโดยบอย – สิทธิชัย ผาบชมภู (บอย AF3),จตุรงค์ พลบูรณ์ (จตุรงค์ มกจ๊ก),อาเกรียง - เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง,จิ๊บ – ปกฉัตร เทียมชัย,นุ้ย เชิญยิ้ม (ชูเกียรติ เอี่ยมสุข),จิ้ม ชวนชื่น (นพดล ทรงแสง),แดนนี่ – ดนัย ศรีภิญโญ และโก๊ะตี๋ – เจริญพร อ่อนละม้.

ใหม่!!: กะเทยและตั๊ดสู้ฟุด · ดูเพิ่มเติม »

ซิดนีย์ พอลแลค

ซิดนีย์ พอลแลค (Sydney Pollack; 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และนักแสดงชาวอเมริกัน มีผลงานกำกับภาพยนตร์มากกว่า 21 เรื่อง และผลงานแสดงภาพยนตร์มากกว่า 30 เรื่อง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากผลงานกำกับภาพยนตร์ Out of Africa (1985), Tootsie (1982), Three Days of the Condor (1975), The Yakuza (1975), The Way We Were และ Jeremiah Johnson (1972) และผลงานกำกับในยุคหลัง เช่น The Interpreter (2005), Sabrina (1995), The Firm (1993) และ Havana (1990) ซิดนีย์ พอลแลค เสียชีวิตอย่างสงบท่ามกลางครอบครัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ด้วยโรคมะเร็ง ที่บ้านในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เขาตรวจพบว่าป่วยเป็นมะเร็ง 9 เดือนก่อนจะเสียชีวิต.

ใหม่!!: กะเทยและซิดนีย์ พอลแลค · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: กะเทยและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แดน บีช บรัดเลย์

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: กะเทยและแดน บีช บรัดเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์

อารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะซีรีส์ (Diary of Tootsies) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทละครชุดคอมเมดี้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม..

ใหม่!!: กะเทยและไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงสุดท้าย

ลงสุดท้าย เป็นภาพยนตร์ไทย จากบทประพันธ์เรื่องของ วรรณิศา กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี เข้าฉายเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย สาวประเภทสอง "สมหญิง ดาวราย" นางโชว์ดาวเด่นชื่อดังจากทิฟฟานีโชว์ พัทยา ร่วมกับ บิณฑ์ บันลือฤทธิ์, วรรณิศา ศรีวิเชียร,จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา,ชลิต เฟื่องอารมย์ และ เหี่ยวฟ้า เพลงประกอบชื่อ เพลงสุดท้าย ร้องโดย สุดา ชื่นบาน (แทนเสียง สมหญิง ดาวราย) ประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นเดียวกับภาพยนตร์ จนมีภาคสอง ชื่อ รักทรมาน นำแสดงโดย สมหญิง อีกครั้ง ในบท สมนึก น้องชายของสมหญิงที่ตายไป กลับไปล่อลวงให้พระเอกต้องผิดหวังบ้าง ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2530 ต่อมาสร้างภาคแรกใหม่อีกครั้ง เข้าฉายเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นำแสดงโดย อารยา อริยะวัฒนา, วชรกรณ์ ไวยศิลป์, นิรุตต์ ศิริจรรยา, สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตต์, เจริญพร อ่อนละม้าย และ เหี่ยวฟ้า เรื่องราวของ สาวประเภทสอง ที่ผิดหวังในความรักจากชายหนุ่ม และเธอได้เลือกที่จะจบชีวิตลงบนเวทีที่ทำให้เธอเกิดในโลกของการแสดง ด้วยบทเพลงสุดท้ายของชีวิต.

ใหม่!!: กะเทยและเพลงสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

เกย์

มชนเกย์ในอาร์เจนตินา เกย์ (Gay) มักหมายถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศแบบรักร่วมเพศ เดิมคำว่าเกย์ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า ไร้กังวล มีความสุข ความสำราญใจ เฉียบแหลมและน่าประทับใจ แต่ในทุกวันนี้คำว่าเกย์มีความหมายทางวัฒนธรรมย่อยของคนที่รักเพศเดียวกัน และอาจมีความหมายร่วมกระบวนทัศน์ความเป็นเกย์เช่น เพลงเกย์ หนังเกย์ เป็นต้น หรืออาจหมายถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน แม้คำว่าเกย์ไม่ได้จำกัดความทางเพศ แต่มักใช้เฉพาะกับกลุ่มผู้ชายรักเพศเดียวกัน ในขณะที่คำจำกัดความทางเพศอย่างเลสเบี้ยน ก็ใช้เฉพาะกลุ่มผู้หญิงรักเพศเดียวกัน การใช้คำว่าเกย์ในภาษาไทย จะหมายความถึงเฉพาะผู้ชายที่รักร่วมเพศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่รักสองเพศ (รักและมีเพศสัมพันธ์ได้กับทั้งชายและหญิง; ไบเซ็กชวล) ก็มักถูกเรียกว่าเป็นเกย์เช่นกัน ในประเทศไทยมีการใช้คำว่าเกย์คิงและเกย์ควีน โดยทั่วไปเกย์คิงมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรุก และเกย์ควีนมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรั.

ใหม่!!: กะเทยและเกย์ · ดูเพิ่มเติม »

เทยเที่ยวไทย

ทยเที่ยวไทย เป็นรายการท่องเที่ยวในรูปแบบไลฟ์สไตล์ของกะเทย ปัจจุบันออกอากาศทุกวันเสาร์ 23.15 น. ทางช่องวัน และอัปโหลดวิดีโอลงยูทูบทางช่อง GMMTV และ LINE TV ดำเนินรายการโดย กอล์ฟ-กิตติพัทธ์ ชลารักษ์ ก๊อตจิ-ทัชชกร บุญลัภยานันท์ และ เจนนี่ ปาหนัน ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 8 ตุลาคม..

ใหม่!!: กะเทยและเทยเที่ยวไทย · ดูเพิ่มเติม »

เฉือน

ฉือน (Slice) เป็นภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ก้องเกียรติ โขมศิริ กำกับ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เขียนบท อารักษ์ อมรศุภศิริ กับฉัตรชัย เปล่งพานิช นำแสดง เริ่มฉายในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2552 และมีรายได้ทั้งสิ้น 6.3 ล้านบาท.

ใหม่!!: กะเทยและเฉือน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระเทยสาวประเภท 2สาวประเภทสองบัณเฑาะก์ตุ๊ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »